การก่อการร้าย

(เปลี่ยนทางจาก ก่อการร้าย)

คำว่า การก่อการร้าย (อังกฤษ: Terrorism) เป็นคำที่ยังไม่มีการจำกัดความในกฎหมายอาญาที่มีผลผูกมัดตามกฎหมายและได้รับการยอมรับอย่างสากล[1][2] การจำกัดความโดยทั่วไปของการก่อการร้ายนั้นหมายถึงเพียงพฤติการณ์รุนแรงซึ่งมีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความกลัว กระทำการเพื่อจุดประสงค์ทางศาสนา การเมืองหรืออุดมการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นการกระทำที่จงใจหรือไม่ใส่ใจต่อความปลอดภัยของผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง (พลเรือน) และกระทำโดยองค์กรที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐใด ๆ

ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175 ที่ถูกจี้ พุ่งเข้าชนอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ในนครนิวยอร์ก ระหว่างเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544

"การก่อการร้าย" เป็นข้อกล่าวหาทางการเมืองและอารมณ์[3] ซึ่งยิ่งเป็นการทำให้การให้คำจำกัดความที่แม่นยำยิ่งยากขึ้นไปอีก การศึกษาได้พบการจำกัดความ "การก่อการร้าย" มากกว่า 100 แบบ[4][5] แนวคิดของการก่อการร้ายนั้นอาจเป็นหัวข้อโต้เถียงด้วยตัวของมันเอง เนื่องจากมันถูกใช้อย่างบ่อยครั้งโดยหน่วยงานของรัฐเพื่อลดความชอบธรรมของศัตรูการเมืองหรืออื่น ๆ[6] และมีศักยภาพที่จะเพิ่มความชอบธรรมให้แก่รัฐในการใช้กำลังกับผู้ต่อต้าน ซึ่งการใช้กำลังเช่นนี้อาจถูกอธิบายว่าเป็นการสร้าง "ความกลัว" ขึ้นโดยศัตรูการเมืองนั้นด้วย[6][7]

การก่อการร้ายเป็นการกระทำโดยองค์กรการเมืองอย่างกว้างขวางเพื่อสนับสนุนเป้าหมายของตนเอง ซึ่งมีการดำเนินการทั้งพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา กลุ่มชาตินิยม กลุ่มศาสนา กลุ่มปฏิวัติ และรัฐบาลซึ่งปกครอง[8] ลักษณะทั่วไปคือการใช้ความรุนแรงอย่างขาดการพิจารณาต่อผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเพื่อจุดประสงค์ในการเพิ่มความเป็นที่รู้จักให้กับกลุ่ม แนวคิด หรือบุคคล[9]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Angus Martyn, The Right of Self-Defence under International Law-the Response to the Terrorist Attacks of 11 September เก็บถาวร 2009-04-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Australian Law and Bills Digest Group, Parliament of Australia Web Site, 12 February 2002.
  2. Thalif Deen. POLITICS: U.N. Member States Struggle to Define Terrorism เก็บถาวร 2006-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Inter Press Service, 25 July 2005.
  3. Hoffman, Bruce "Inside Terrorism" Columbia University Press 1998 ISBN 0-231-11468-0. p. 32. See review in The New York Times Inside Terrorism.
  4. Record, Jeffrey (December 2003). "Bounding the Global War on Terrorism" (PDF). Strategic Studies Institute (SSI). สืบค้นเมื่อ 2009-11-11. The views expressed in this report are those of the author and do not necessarily reflect the official policy or position of the Department of the Army, the Department of Defense, or the U.S. Government. This report is cleared for public release; distribution is unlimited.
  5. Schmid, Alex, and Jongman, Albert. Political Terrorism: A new guide to actors, authors, concepts, data bases, theories and literature. Amsterdam ; New York : North-Holland ; New Brunswick: Transaction Books, 1988.
  6. 6.0 6.1 Geoffrey Nunberg (October 28, 2001). "Head Games / It All Started with Robespierre / "Terrorism": The history of a very frightening word". San Francisco Chronicle. สืบค้นเมื่อ 2010-01-11. For the next 150 years the word "terrorism" led a double life – a justifiable political strategy to some an abomination to others
  7. Elysa Gardner (2008-12-25). "Harold Pinter: Theater's singular voice falls silent". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2010-01-11. In 2004, he earned the prestigious Wilfred Owen prize for a series of poems opposing the war in Iraq. In his acceptance speech, Pinter described the war as "a bandit act, an act of blatant state terrorism, demonstrating absolute contempt for the concept of international law."
  8. "Terrorism". Encyclopædia Britannica. p. 3. สืบค้นเมื่อ 2006-08-11.
  9. Ruby, Charles L. (2002). "The Definition of Terrorism" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-25. สืบค้นเมื่อ 2010-02-22.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้