โอเอซิส (วงดนตรี)

วงร็อกสัญชาติบริติช

โอเอซิส (อังกฤษ: Oasis) เป็นวงดนตรีร็อกจากแมนเชสเตอร์ ในปี 1991 ซึ่งสมาชิกบางส่วนมาจากวง The Rain มีสมาชิกดั้งเดิมได้แก่ เลียม แกลลาเกอร์ (Liam Gallagher) (ร้องนำ) พอล อาร์เทอร์ส (Paul Arthurs) (กีตาร์) พอล แม็กเกวียน (Paul McGuigan) (กีตาร์เบส) และโทนี แม็กคาร์รอลล์ (Tony McCarroll) (กลอง) พวกเขาได้ชักชวนพี่ชายของเลียม โนล แกลลาเกอร์ (Noel Gallagher) (กีตาร์นำ ร้อง) เป็นสมาชิกลำดับที่ห้าของวง และวงก็ได้ตัดสินใจไลน์อัพจนถึงเดือนเมษายน 1995

โอเอซิส
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดแมนเชสเตอร์, ประเทศอังกฤษ
แนวเพลง
ช่วงปี
  • ค.ศ. 1991–2009
  • ค.ศ. 2024–ปัจจุบัน
สมาชิกเลียม กัลลาเกอร์
โนล กัลลาเกอร์
อดีตสมาชิกพอล อาร์เทอร์ส
พอล แม็กเกวียน
โทนี แม็คคาร์รอลล์
อลัน ไวต์ (Alan White)
เก็ม อาร์เชอร์ (Gem Archer)
แอนดี เบลล์ (Andy Bell)
เว็บไซต์oasisinet.com

โอเอซิสเซ็นสัญญาเป็นศิลปินกับสังกัดค่ายเพลงอิสระ Creation Records ในปี 1993 และปล่อยสตูดิโออัลบั้มแรกของวง Definitely Maybe (1994) ปีถัดมาทางวงก็ได้ปล่อยสตูดิโออัลบั้มลำดับที่สอง (วอตส์เดอะสทอรี) มอร์นิงกลอรี? (What's the Story) Morning Glory?) (1995) โทนี แม็กคาร์รอลล์ มือกลองของวงลาออกอย่างไม่ทราบสาเหตุและได้อลัน ไวต์ มือกลองจากวงร็อคอังกฤษ Starclub เข้ามาแทนที่ ท่ามกลางการแข่งขันชิงความเป็นใหญ่ในทำเนียบเพลงชาร์จเพลงกับวงบริตป็อป เบลอ สองพี่น้องตระกูลแกลลาเกอร์ให้ความสำคัญกับหนังสือพิมพ์ที่มีการเขียนข้อพิพาทสำหรับสองพี่น้องและการใช้ชีวิตที่ดูป่าเถื่อน ในปี 1997 โอเอซิสปล่อยสตูดิโออัลบั้มลำดับที่สาม Be Here Now (1997) นับได้ว่าเป็นอัลบั้มเพลงที่ขายได้รวดเร็วนับตั้งแต่วันปล่อยอัลบั้มในวงการชาร์จเพลงอังกฤษ ความนิยมของอัลบั้มนับว่าได้เสียงตอบรับอย่างดีมากนัก แม็กเกวียนและอาร์เธอร์สได้ลาออกจากจากวง ในปี 1999 และวงก็ได้ปล่อยอัลบั้มสตูดิโอลำดับที่สี่ Standing on the Shoulder of Giants (2000) หลังการลาออกของอาร์เธอร์สและแม็กเกวียน ได้ถูกแทนที่ด้วยเก็ม อาร์เชอร์ มือกีต้าร์และฟร้อนแมนท์จากวง Heavy Stereo และแอนดี้ เบลล์มือกีต้าร์และฟร้อนแมนวง Hurricane No. 1 ซึ่งทั้งคู่ยังมีส่วนช่วยในการทัวร์คอนเสิร์ตโปรโมทอัลบั้มชุดที่ 4 และทำให้อัลบั้มชุดนี้ประสบความสำเร็จในระดับที่พึงพอใจ อัลบั้มชุดที่ห้าของพวกเขา Heathen Chemistry (2002) โนล แกลลาเกอร์มีการเข้มงวดมากขึ้นโดยสมาชิกทั้งหมดมีส่วนร่วมในการทำอัลบั้มนี้ ในปี 2004 ทางวงได้มือกลองวง The Who แซ็ก สตาร์คีย์ แทนที่แอลัน ไวต์และก็ได้วางจำหน่ายอัลบั้มชุดที่หก Don't Belive the Truth (2005) นับได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างกว้างขวาง[1]

หลังจากปล่อยอัลบั้มชุดที่เจ็ด Dig Out Your Soul (2008) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สตาร์กี้มือกลองก็ได้ลาออก และถูกแทนที่ด้วยคริส ชาร์ร็อกซึ่งนับได้ว่าเป็นการทัวร์คอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายของวง ระหว่างการทัวร์คอนเสิร์ตของสองพี่น้องตระกูลแกลลาเกอร์ก็ทวีความรุนแรงมากขึ้นหลังจากนั้น โนล แกลลาเกอร์ประกาศชี้แจงในเดือนสิงหาคม 2009 ว่าเขาต้องการจะออกจากวงหลังจากทะเลาะกับเลียมในงานเทศกาลดนตรี[2][3][4] โดยวงที่ประกอบไปด้วยสมาชิกที่ยังคงหลงเหลืออยู่นำโดยเลียม แกลลาเกอร์ตัดสินใจที่จะทำงานดนตรีต่อโดยใช้ชื่อวง Beady Eye ก่อนที่จะยุบวงลงในปี ค.ศ. 2014[5] ขณะที่โนล แกลลาเกอร์อยากทำวงดนตรีเพลงแยกออกมากซึ่งต่อมาก็คือ Noel Gallagher's High Flying Birds

โอเอซิสยังติดลำดับที่แปดในชาร์ตซิงเกิลของอังกฤษ และติดลำดับที่แปดของชาร์ตอัลบั้มอังกฤษ และได้ลำดับที่สิบห้าใน NME Awards และลำดับที่เก้าของ Q Awards และลำดับที่สี่ของ MTV Europe Music Awards และลำดับที่หกของ Brit Awards และในปี 2007 ยังได้รางวัลผลงานโดดเด่น และยังได้อัลบั้มที่ดีในช่วงสามสิบปีคัดเลือกโดย BBC Radio 2 อีกทั้งเขายังได้รับการเสนอชิงชื่อจาก รางวัลแกรมมี ถึงสามครั้ง ในปี 2009 วงมียอดขายประมาณ 70 ล้านแผ่นทั่วโลก[6] อีกทั้งวงยังได้รับการระบุในหนังสือกินเนสส์บุ๊คในปี 2010 10 วงดนตรีที่ติดชาร์จท็อปเป็นเวลายาวนานโดยไม่มีเคยมีมาก่อนสำหรับการติดอันดับ 22 เป็นเวลา 10 สัปดาห์ของอังกฤษ กินเนสส์บุ๊คยังกล่าวว่าเป็นวงดนตรีที่ประสบความสำเร็จในช่วงปี 1995 ถึง 2005 โดยกินเวลาไปถึง 765 สัปดาห์ในการติดท็อป 75 ซิงเกิลและชาร์จอัลบั้ม[7]

ประวัติ

แก้

ก่อตั้งวงและยุคเริ่มแรก : 1991–1992

แก้

สมาชิกบางส่วนมาจากวงดนตรี เดอะเรน (The Rain) ซึ่งประกอบไปด้วย พอล แม็กเกวียน มือเบส พอล อาร์เธอร์ส มือกีตาร์ โทนี แม็กคาร์รอลล์ มือกลอง และคริส ฮัตตัน นักร้อง ฮัตตันไม่พอใจ อาเทอร์สสนิทสนมกับเลียม แกลลาเกอร์จึงเอามาแทนที่ โดยเลียมแนะนำว่าชื่อควรจะเปลี่ยนเป็นโอเอซิส การเปลี่ยนแปลงชื่อนี้ได้แรงบันดาลใจจากโปสเตอร์ทัวร์ของวงดนตรี Inspiral Carpets ที่อยู่ในห้องของพี่ชายของเขา หนึ่งในสถานที่ทัวร์คอนเสิร์ตที่โปสเตอร์ระบุไว้คือโอเอซิส เลซัว เซนเตอร์ในสวิทดอน วิสไชน์[8]

และเป็นการเล่นโชว์ครั้งแรกของโอเอซิสในวันที่ 18 สิงหาคม 1991 ในคลับบอร์ดว็อก ที่แมนเชสเตอร์ เลียมน้องชายของโนล แกลลาเกอร์ ยังเป็นเด็กยกเครื่องดนตรีให้กับวง Inspiral Carperts โนลต้องการดูผลงานการเล่นของน้องชาย โนลและเพื่อนของเขาคิดว่าโอเอซิสยังทำได้ไม่ดี เขาเริ่มคิดท่าทางเป็นไปได้จะอยู่วงดนตรีของน้องเขาเองซึ่งเป็นทางออกที่ดีสำหรับผลงานชุดเพลงของเขาที่เขาแต่งเนื้อเพลงเป็นเวลาหลายปี โนลเข้าวงโอเอซิสและเขาก็ได้รับการคัดเลือกจากสมาชิกในวงให้เป็นนักแต่งเพลงและเป็นหัวหน้าวง และพวกเขาก็เริ่มที่จะแสวงหารายให้กับวง เขาเขียนเพลงมากมาย อาร์เธอร์เล่า เมื่อเขาอยู่ในวงเดียวกับพวกเรา เขาเหมือนจรวด ในทันตาเขาเต็มไปด้วยความคิด[9] โอเอซิสภายใต้โนล แกลลาเกอร์ มีฝีมือดนตรีที่เรียบง่ายกับอาร์เทอร์สและแม็กเกวียนพวกเขาต่างเริ่มกันเล่นคอร์ดกีตาร์และบันทึกเสียงเบส แม็กคาร์รอลล์ก็เริ่มศึกษาจังหวะพื้นฐานของโน้ต โอเอซิสสร้างเสียงเพลงที่เต็มด้วยไปด้วยความซับซ้อนแต่แฝงไปด้วยความสวยงามมากมาย[10]

Definitely Maybe: 1993–1994

แก้

หลังจากเริ่มแสดงสดมาได้ปีกว่า พวกเขาก็หมั่นฝึกซ้อมและเริ่มอัดเพลงเดโม (ซึ่งต่อมาก็คือเทปเดโม Live Demonstration) และวงก็เงียบพักหายไปช่วงพฤษภาคม 1993 จนพวกเขาถูกอลัน แม็คจีผู้บริหารค่ายเพลง Creation Records โอเอซิสถูกชักชวนให้ไปเล่นในคลับ King Tut's Wah Wah Hut ในกลาสโกว์ สก็อตแลนด์ โดยวง Sister Lovers พวกเขายังแบ่งบันไปให้ใช้ห้องอัดของพวกเขาได้ โอเอซิสพร้อมกับกลุ่มเพื่อน พวกเขาหาเงินที่จะเช่ารถตู้ได้ที่สามารถเดินทางไปกลาสโกว์ เมื่อเขามาถึง พวกเขาถูกปฏิเสธหน้าทางเข้าเนื่องจากพวกเขาไม่อยู่ในรายชื่อ และมีรายงานว่าโอเอซิสเกิดทะเลาะที่ไม่ได้เข้าไปข้างใน (ทั้งสองวงรวมทั้งเอ็มจีได้แถลงการณ์เกี่ยวกับความแข้งแย้งเกี่ยวกับพวกเขาที่ต้องการเข้าไปข้างในคลับ[11] พวกเขาได้เล่นเป็นวงเปิดพวกเขาประทับใจเอ็มจีอย่างมาก โดยเขาอยู่ที่นั่นเพื่อดูวง 18 Wheeler หนึ่งในวงดนตรีของพวกเขา ในคืนนั้น เอ็มจีรู้สึกประทับใจอย่างมากกับการเล่นโชว์ โดยเขาเสนอให้ยอมรับข้อตกลง แต่เขาก็ไม่ได้เซ็นสัญญาจนหลายเดือนต่อมา[12] และมีปัญหากับความปลอดภัยกับข้อตกลงของชาวอเมริกัน เอ็มจี โอเอซิสได้ข้อสรุปด้วยการเซ็นสัญญาเป็นศิลปินกับโซนี ซึ่งต่อมาได้รับการอนุญาตเป็นศิลปินใน Creation Records ในสหราชอาณาจักรในเวลาต่อมา[13] หลังจากนั้นพวกเขาได้ปล่อยแผ่นเสียง White Label[14] เดโมเพลง Columbia ผลงานเพลงซิงเกิลแรก Supersonic ถูกวางจำหน่ายในเดือนเมษายน 1994 ติดอันดับที่ 31 ในชาร์จเพลงของสหราชอาณษจักร[15] หลังจากนั้นก็ได้ปล่อยซิงเกิลที่ 2 Shakermaker ประสบความสำเร็จแต่โอเอซิสถูกฟ้องร้องโดยโรเจอร์ คุกส์ โรเจอร์ กรีนอะเวย์ บิล เบคเกอร์ บิลลี เดวิดที่มีดนตรีละม้ายคล้ายคลึงกับเพลง I'd Like To Teach The World To Sing จากวงดนตรี The New Seekers[16] โดยโอเอซิสได้จ่ายค่าเสียหายไปจำนวน 500,000 ดอลลาร์ ซิงเกิลที่สามของพวกเขา Live Forever เป็นเพลงแรกของพวกเขาที่ติดหนึ่งในสิบในชาร์จของสหราชอาณาจักร หลังจากที่มีปัญหาในการอัดเพลง ผลงานสตูดิโออัลบั้มชุดแรก Definitely Maybe ถูกวางจำหน่ายเมื่อเดือนกันยายน 1994 และขึ้นแท่นอันดับหนึ่งในชาร์จสหราชอาณาจักรและกลายเป็นอัลบั้มเปิดตัวชุดแรกที่ขายได้อย่างรวดเร็วในสหราชอาณาจักร[17]

นับว่าเป็นปีที่มีการแสดงสดและการอัดเพลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมีการใช้ชีวิตที่หรูหราฟุ่มเฟื่อย มีการโทรเข้าหาวงจำนวนมาก พวกเขาได้ทำงานในลอส แองเจอลิสในเดือนกันยายน 1994 และนำไปสู่การแสดงของเลียม แกลลาเกอร์ที่ไม่เหมาะในระหว่างที่เขาเห็นความน่ารังเกียจของผู้ชมชาวอเมริกันและเลียมก็ตีโนลด้วยกลอง[18] เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้โนลเกิดอารมณ์เสียและทำให้เขาลาออกจากวงอย่างชั่วคราวหลังจากนั้นก็โนลก็บินไปยังซานฟรานซิสโก (ซึ่งต่อมาโนลได้นำไปแต่งเป็นเพลง Talk To Night)

สมาชิกวง

แก้

สมาชิกปัจจุบัน

แก้
  • เลียม แกลลาเกอร์ – ร้อง แทมบูรีน (1991–2009, 2024–ปัจจุบัน); กีตาร์โปร่ง (2001–2002, 2007-2008)
  • โนล แกลลาเกอร์ – กีตาร์นำ ร้อง (1991–2009, 2024–ปัจจุบัน); กีตาร์ริทึม (1991, 1999–2009, 2024–ปัจจุบัน); คีย์บอร์ด (1993–2009); กีตาร์เบส (1993–1994, 1995, 1999)

อดีตสมาชิก

แก้

อดีตสมาชิกทัวร์

แก้

เส้นเวลา

แก้

เส้นเวลาทัวร์

แก้

ผลงาน

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Oasis top best British album poll". BBC News. 18 February 2008. สืบค้นเมื่อ 21 February 2009.
  2. "Oasis split as Noel quits group". BBC News. 29 August 2009.
  3. "Oasis annule son concert à Rock-en-Seine et se sépare". Le Parisien. France. 29 August 2009. สืบค้นเมื่อ 29 August 2009.
  4. "Oasis annonce la fin du groupe rock". Ouest France. 29 August 2009. สืบค้นเมื่อ 29 August 2009.
  5. "Oasis – Liam Gallagher renames Oasis". Contactmusic.com. 5 February 2010. สืบค้นเมื่อ 7 February 2011.
  6. "Some might say Oasis are still world beaters after Slane gig". The Belfast Telegraph. 22 June 2009. สืบค้นเมื่อ 4 May 2010.
  7. "Oasis, Coldplay & Take That enter Guinness World Records 2010 Book – Guinness World Records Blog post". Community.guinnessworldrecords.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-11. สืบค้นเมื่อ 23 June 2010.
  8. Harris, John. Britpop!: Cool Britannia and the Spectacular Demise of English Rock. Da Capo Press, 2004. ISBN 0-306-81367-X, pg. 124–25
  9. Harris, pg. 125–26
  10. Harris, pg. 127–28
  11. VH1 Behind the Music VH1 2000
  12. "Oasis." Encyclopedia of Popular Music, 4th ed. Ed. Colin Larkin. Oxford Music Online. Oxford University Press.
  13. Harris, pg. 131
  14. แผ่นเสียง White Label เป็นแผ่นเสียงที่ผลิตก่อนหรือปั้มออกมาก่อนแผ่นเสียงที่จะจำหน่ายทั่วไป มักจะเป็นแผ่นที่ทางบริษัทผู้ผลิตแจกให้แก่ผู้จัดรายการทางสถานีวิทยุ
  15. Harris, pg. 149
  16. โอเอซิสวงดนตรี
  17. Harris, pg. 178
  18. Grundy, Gareth. "Born To Feud". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 27 February 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้