แบกแดด
แบกแดด (อังกฤษ: Baghdad, Bagdad; อาหรับ: بغداد บัฆดาด; เคิร์ด: بەغدا) เป็นเมืองหลวงของประเทศอิรัก มีประชากรในเขตมหานครประมาณ 7,000,000 คน เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในอิรัก[2][3] แบกแดดเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกอาหรับ (รองจากไคโร) และใหญ่เป็นอันดับสองในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ (รองจากเตหะราน)
แบกแดด بغداد ܒܲܓ݂ܕܵܕ | |
---|---|
![]() ตามเข็มนาฬิกาจากบน: ภาพมุมสูงของกรีนโซน; มหาวิทยาลัยอัล-มุสตันซีรียะฮ์; มัสยิด อัล-คัดฮิมียะฮ์; อนุสาวรีย์ดาบกอดีซียะฮ์; และพิพิธภัณฑ์แห่งชาติอิรัก | |
สมญา: เมืองแห่งสันติ (مدينة السلام)[1] | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 33°20′N 44°23′E / 33.333°N 44.383°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 33°20′N 44°23′E / 33.333°N 44.383°E (33°20′N 44°23′E / 33.333°N 44.383°E) | |
ประเทศ | ![]() |
เขตผู้ว่าการ | แบกแดด |
ก่อตั้ง | ค.ศ.762 |
ผู้ก่อตั้ง | อบูญะฟัร อัล-มันซูร |
การปกครอง | |
• ประเภท | นายกเทศมนตรี-สภา |
• หน่วยงาน | Baghdad City Advisory Council |
• นายกเทศมนตรี | Zekra Alwach |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 204.2 ตร.กม. (78.8 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 34 เมตร (112 ฟุต) |
ประชากร | |
• ประมาณ (2018)[note 1] | 6,643,000 |
• อันดับ | 1st |
เดมะนิม | แบกแดด |
เขตเวลา | UTC+3 (เวลามาตรฐานอาระเบีย) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+3 (ไม่ใช้) |
รหัสไปรษณีย์ | 10001 ถึง 10090 |
เว็บไซต์ | Mayoralty of Baghdad |

ประวัติแก้ไข
แบกแดดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1305 โดยคอลีฟะห์อัล-มันซูร์ แห่งราชวงศ์อับบาสิยะ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำไทกริสติดกับคลองที่เชื่อมแม่น้ำยูเฟรทีส แบกแดดมีความรุ่งเรืองมากในสมัยคอลีฟะห์ฮารูน อัล-เราะชีด เมื่อแรกสร้างนั้น เมืองนี้สร้างขึ้นที่หมู่บ้านเก่าแก่ชื่อแบกแดด อยู่ทางเหนือของเทซิฟอน ที่เคยเป็นเมืองหลวงของเปอร์เซียโบราณ เมื่อสร้างแล้วได้ตั้งชื่อว่า มะดีนะห์ อัลซาเลม แปลว่าเมืองแห่งสันติ แต่คนทั่วไปยังนิยมเรียกว่าแบกแดดตามชื่อเดิม ความยิ่งใหญ่ของแบกแดดในสมับคอลีฟะห์นี้ปรากฏในวรรณคดีอาหรับที่มีชื่อเสียงคือพันหนึ่งราตรีหรืออาหรับราตรี ผู้แต้ช่งดั้งเดิมคืออัล-จาห์ชิยาร์ ในแบกแดดได้กลายเป็นศูนย์กลางทางด้านวิทยาการ โดยนำวิทยาการที่เป็นภาษากรีก ภาษาละติน ภาษาเปอร์เซีย ภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอาหรับ ทำให้แบกแดดมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านโคลงกลอนจากเปอร์เซีย ทางด้านดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์จากอินเดีย การแพทย์และวิทยาศาสตร์จากกรีก
ความเสื่อมของแบกแดดเกิดขึ้นเมื่อฮูลากูข่าน ผู้นำมองโกลยกทัพเข้าโจมตีแบกแดดเมื่อ พ.ศ. 1801 นอกจากนั้นยังมีศัตรูจากเติร์กเข้าโจมตีแบกแดดเป็นระยะๆ ในที่สุด แบกแดดจึงอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมานใน พ.ศ. 2181 จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจึงถูกอังกฤษยึดครองได้เมื่อ พ.ศ. 2460 เมื่ออิรักได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2475 แบกแดดได้เป็นเมืองหลวงของอิรัก แม้จะได้รับการบูรณะให้เป็นเมืองสมัยใหม่ แต่ในแบกแดดก็ยังมีโบราณสถานอยู่หลายแห่งเพราะเป็นเมืองเก่าที่อยู่ในเขตอารยธรรมเมโสโปเตเมีย มีความพยายามที่จะพัฒนาให้เป็นศูนย์ประวัติศาสตร์ตั้งแต่ พ.ศ. 2519 แต่หลังจากที่อิรักเกิดสงครามหลายครั้ง ตั้งแต่สงครามอิรัก-อิหร่านและสงครามอ่าวเปอร์เซียสองครั้งทำให้แบกแดดถูกทำลายไปมาก
สถานที่สำคัญแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ภูมิศาสตร์แก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ภูมิอากาศแก้ไข
ข้อมูลภูมิอากาศของแบกแดด | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 16 (61) |
19 (66) |
22 (72) |
29 (84) |
36 (97) |
41 (106) |
43 (109) |
44 (111) |
40 (104) |
34 (93) |
25 (77) |
18 (64) |
30.6 (87.1) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 3.8 (38.8) |
5.5 (41.9) |
9.6 (49.3) |
15.2 (59.4) |
20.1 (68.2) |
23.3 (73.9) |
25.5 (77.9) |
24.5 (76.1) |
20.7 (69.3) |
15.9 (60.6) |
9.2 (48.6) |
5.1 (41.2) |
14.9 (58.8) |
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) | 26 (1.02) |
28 (1.1) |
28 (1.1) |
17 (0.67) |
7 (0.28) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
3 (0.12) |
21 (0.83) |
26 (1.02) |
156 (6.14) |
ความชื้นร้อยละ | 71 | 61 | 53 | 43 | 30 | 21 | 22 | 22 | 26 | 34 | 54 | 71 | 42.3 |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm) | 5 | 6 | 4 | 2 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 1 | 5 | 6 | 29 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 192.2 | 203.3 | 244.9 | 255.0 | 300.7 | 348.0 | 347.2 | 353.4 | 315.0 | 272.8 | 213.0 | 195.3 | 3,240.8 |
แหล่งที่มา1: Climate & Temperature[4] | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: World Meteorological Organisation (UN)[5] |
เขตการปกครองแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เศรษฐกิจแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การศึกษาแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วัฒนธรรมแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กีฬาแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ถนนที่สำคัญแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เมืองพี่น้องแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ Petersen, Andrew (13 September 2011). "Baghdad (Madinat al-Salam)". Islamic Arts & Architecture. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 16 September 2016. สืบค้นเมื่อ 23 August 2016. Unknown parameter
|dead-url=
ignored (help) - ↑ การประมาณการจำนวนประชากรทั้งหมดแต่ละชิ้นนั้นแตกต่างอย่างสำคัญ Encyclopædia Britannica ระบุจำนวนในปี พ.ศ. 2544 ว่า 4,950,000, ในขณะที่ 2006 Lancet Report ระบุจำนวน 6,554,126 ในปี พ.ศ. 2547
- "Baghdad." Encyclopædia Britannica. 2006. Encyclopædia Britannica Online. 13 November, 2006.
- "Mortality after the 2003 invasion of Iraq: a cross-sectional cluster sample survey"PDF (242 KiB). By Gilbert Burnham, Riyadh Lafta, Shannon Doocy, and Les Roberts. The Lancet, October 11, 2006
- Baghdad from GlobalSecurity.org
- ↑ "Cities and urban areas in Iraq with population over 100,000", Mongabay.com
- ↑ "Baghdad Climate Guide to the Average Weather & Temperatures, with Graphs Elucidating Sunshine and Rainfall Data & Information about Wind Speeds & Humidity:". Climate & Temperature. สืบค้นเมื่อ 2011-12-25.
- ↑ "World Weather Information Service - Baghdad". สืบค้นเมื่อ 2010-03-29.
- ↑ "Twinning the Cities". City of Beirut. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2008-02-21. สืบค้นเมื่อ 2008-01-13.
- สาคร ช่วยประสิทธิ์. แบกแดด ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: เอเชีย เล่ม 1 อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กทม.ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. หน้า 328 - 330
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: แบกแดด |
- แผนที่แบกแดด
- แผนที่แบบโต้ตอบ
- คำอธิบายผังเมืองเดิมของแบกแดด
- แผนที่ทางชาติพันธุ์และศาสนาของแบกแดด - Healingiraq
- Baghdad Treasure (บล็อก)
- Baghdad Burning Riverbend (บล็อก)
- Electronic Iraq
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "note" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="note"/>
ที่สอดคล้องกัน หรือไม่มีการปิด </ref>