มหานคร หรือ เมโทรโพลิส (อังกฤษ: metropolis, /mɪˈtrɒpəlɪs/)[2] เป็นนครขนาดใหญ่หรือเขตเมืองขยาย ที่เป็นศูนย์กลางสำคัญทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมของประเทศหรือภูมิภาค และเป็นศูนย์กลางที่สำคัญด้านการเชื่อมต่อ การค้า และการสื่อสารในระดับภูมิภาคหรือระหว่างประเทศ คำว่า เมโทโพลิส เป็นภาษากรีกโบราณ (μητρόπολις) มีความหมายคือ "เมืองแม่" ของอาณานิคม (ในความหมายสมัยโบราณ) ซึ่งเป็นเมืองที่ส่งคนไปตั้งถิ่นฐานในอาณานิคม ในเวลาต่อมาเมืองแม่นี้นับว่าเป็นเมืองใหญ่ที่สำคัญของประเทศ หรือเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมหนึ่ง ๆ ที่เฉพาะเจาะจงในเมืองนั้น

ทิวทัศน์ของโตเกียว มหานครที่มีประชากรมากที่สุดในโลก มีภูเขาไฟฟูจิในฉากหลังของภาพ
นครนิวยอร์กได้รับสมญานามว่า เมโทรโพลิส เพื่อบรรยายถึงนิวยอร์กในเวลากลางวันในวัฒนธรรมสมัยนิยม ซึ่งตรงกันข้ามกับคำว่า ก็อทเทิม (Gotham) ซึ่งบางครั้งก็ใช้เพื่อบรรยายถึงนิวยอร์กในเวลากลางคืน[1]

เมืองใหญ่ที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มการรวมกันของเขตเมือง (urban agglomeration) ที่ใหญ่กว่า แต่ไม่ได้เป็นแกนกลางของกลุ่มนั้น โดยทั่วไปจะไม่นับว่าเป็นมหานคร แต่เป็นส่วนหนึ่งของมหานคร

สำหรับศูนย์กลางเขตเมืองนอกเขตมหานครที่สร้างแรงดึงดูดที่คล้ายกันในระดับที่เล็กลงในแต่ละภูมิภาคของตนนั้น ได้มีการริเริ่มแนวคิดเรื่องรีจิโอโพลิส (regiopolis หรือย่อสั้น ๆ ว่า regio) โดยนักวิจัยการวางผังเมืองและภูมิภาคในเยอรมนีในปี 2006[3]

ประวัติศาสตร์ แก้

 
โคลอสเซียมยามค่ำคืน ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี

ในโลกสมัยโบราณ มหานคร คือ นครหรือรัฐต้นกำเนิดของอาณานิคม

นิรุกติศาสตร์และการใช้คำในสมัยใหม่ แก้

เมโทรโพลิส (μητρόπολις) เป็นคำภาษากรีก มาจาก μήτηρ, mḗtēr หมายถึง "แม่" และ πόλις, pólis หมายถึง "นคร" หรือ "เมือง" ซึ่งเป็นคำที่อาณานิคมของกรีกในสมัยโบราณใช้เรียกเมืองต้นกำเนิดของตน ซึ่งยังคงรักษาความสัมพันธ์ทางศาสนา การเมือง และวัฒนธรรม

เอเชีย แก้

อัฟกานิสถาน แก้

เมืองหลวงของอัฟกานิสถาน คาบูล ได้เติบโตขึ้นจนกลายเป็นมหานครเพียงแห่งเดียวของประเทศ และเป็นเมืองเดียวที่มีประชากรมากกว่าหนึ่งล้านคน[4]

บังกลาเทศ แก้

 
ธากา นครที่ใหญ่ที่สุดในบังกลาเทศ

ในสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศมีเขตมหานคร 11 แห่ง ได้แก่ ธากาเหนือ ธากาใต้ กาซีปุระ จิตตะกอง ราชชาฮี ขุลนา สิเลฏ บอรีชัล และรังปุระ ที่ดินมีราคาสูงและผู้อยู่อาศัยถือว่ามีวิถีชีวิตในเมืองที่ดี มีกรมตำรวจพิเศษซึ่งได้รับจัดสรรให้ดูแลในพื้นที่มหานคร และมีคณะเทศมนตรี โดยนายกเทศมนตรีได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเป็นเวลาห้าปี นครเหล่านี้ส่วนใหญ่มีความหนาแน่นของประชากรตั้งแต่ 35,000 คนต่อตารางไมล์ขึ้นไป ธากาเป็นเมืองที่ร่ำรวยที่สุดในบรรดาเมืองทั้งหมด และถือเป็นเมกะซิตีเนื่องจากมีประชากรมากกว่า 10 ล้านคน[5]

จีน แก้

 
เซี่ยงไฮ้ นครที่ใหญ่ที่สุดในจีน

ประเทศจีนเป็นที่รู้กันดีในเรื่องของการมีมหานครจำนวนมาก โดยมีระดับชั้นที่จำแนกออกเป็นมหานครระดับต่าง ๆ ในจีนแผ่นดินใหญ่ มหานครที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ได้แก่ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กว่างโจว เชินเจิ้น และฮ่องกง โดยที่สี่แห่งแรกคือ "นครชั้นหนึ่ง" (一线城市) ส่วนนครชั้นสองมีจำนวนมากและประกอบไปด้วยนครศูนย์กลางของภูมิภาค เช่น หนานจิง ฉงชิ่ง เฉิงตู เฉิ่นหยาง เทียนจิน หางโจว อู่ฮั่น ฉางชา ซีอาน จี่หนาน ชิงเต่า ฯลฯ มหานครของจีนหลายแห่งประกอบกันเป็นกลุ่มนคร หรืออภิมหานคร เช่น อภิมหานครสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี และอภิมหานครสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพิร์ล (หรือเรียกว่าพื้นที่รอบอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า)

อินเดีย แก้

 
มุมไบ รัฐมหาราษฏระ นครที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย
 
บังคาลอร์ รัฐกรณาฏกะ มหานครที่มีประชากรมากเป็นอันดับห้าของอินเดีย

คณะกรรมการสำมะโนประชากรแห่งอินเดียได้ให้ความหมายเมกะซิตีว่าเป็น "นครที่มีจำนวนประชากรมากกว่า 10 ล้านคนขึ้นไป" และกล่าวว่าจากสำมะโนประชากรอินเดียปี 2011 มีมหานคร 3 แห่ง ได้แก่ "เกรเทอร์มุมไบ UA (18.4 ล้านคน), เดลี UA (16.3 ล้านคน) และโกลกาตา UA (14.1 ล้านคน)"[6]

อินโดนีเซีย แก้

 
จาการ์ตา นครที่ใหญ่ที่สุดและคึกคักที่สุดในอินโดนีเซีย

มหานครในอินโดนีเซีย คือ เขตมหานครจาการ์ตา หรือเรียกว่าจาโบเดตาเบ็ก (Jabodetabek; ประกอบด้วย จาการ์ตา โบโกร์ เดปก ตันเกอรัง เบกาซี) ซึ่งเป็นเขตมหานครใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอันดับ 5 ของโลก (2007) นครอื่น ๆ ได้แก่ ซูราบายา บันดุง เซอมารัง และเมดัน

อิหร่าน แก้

 
เตหะราน นครที่ใหญ่ที่สุดในอิหร่าน

มหานครในอิหร่าน ได่แก่ เตหะราน และแมชแฮด และนครอื่น ๆ เช่น ชีรอซ คาราจ เอสแฟฮอน แทบรีซ อะห์วาซ และเคอร์มันชาห์

ญี่ปุ่น แก้

ศัพท์ทางกฎหมายของญี่ปุ่น โตะ (都) ถูกบัญญัติให้แปลเป็นคำว่า "มหานคร"[7] โตะมีโครงสร้างเหมือนกับจังหวัด ไม่ได้มีโครงสร้างแบบนครทั่วไป ซึ่งมีแห่งเดียวในญี่ปุ่นคือ โตเกียว และนอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังมีนครอื่น ๆ อีก 12 แห่ง ที่มีประชากรมากกว่าหนึ่งล้านคนในปี 2020

อ้างอิง แก้

  1. Keri Blakinger (March 8, 2016). "From Gotham to Metropolis: A look at NYC's best nicknames". Daily News. New York. สืบค้นเมื่อ August 6, 2017.
  2. "Definition of Metropolis". Oxford Dictionaries. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-07. สืบค้นเมื่อ March 2, 2016.
  3. Prof. Dr. Iris Reuther (FG Stadt- und Regionalplanung, Universität Kassel): Presentation "Regiopole Rostock". December 11, 2008. Retrieved June 13, 2009 (pdf).
  4. Szoldra, Paul. "Unbelievable Photos Show Kabul's Dramatic Transformation From Battlefield To Modern Metropolis". Business Insider.
  5. "South Asia – World Population Day – July 11(South Asia Urban Growth)". World Bank. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-02. สืบค้นเมื่อ October 29, 2012.
  6. "Population of UAs/Towns" (PDF). the Registrar General & Census Commissioner, India. p. 3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ July 25, 2014. สืบค้นเมื่อ July 28, 2014.
  7. "Local Government in Japan" (PDF). Council of Local Authorities for International Relations. p. 41. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ October 25, 2007. สืบค้นเมื่อ October 16, 2007.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้