ภาษากรีกโบราณ เป็นรูปแบบของภาษากรีกที่ใช้ในยุคกรีซโบราณ และกรีซยุคคลาสสิค ตลอดจนโลกยุคโบราณของอารยธรรมเมดิเตอเรเนียน ตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล จนถึง ศตวรรษที่ 6 ค.ศ. โดยปกติจะถูกแบ่งออกเป็นกรีซยุคอาร์เคอิก (ช่วงระหว่าง ศตวรรษที่ 9 ถึง ศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล), กรีซยุคคลาสสิค (ศ. ที่ 5 และ ที่ 4 ก่อนคริสตกาล), และ กรีซยุคเฮลเลนิสติก (ในรูปของภาษากรีกคอยนี หรือ Koine Greek ราวช่วง ศตวรรษ ที่ 3 ก่อนคริสตกาล ถึง ศตวรรษ ที่ 4) หลังจากนั้นก็พัฒนาต่อมาจนกลายเป็นภาษากรีกสมัยกลาง (medieval Greek)

กรีกโบราณ
Ἑλληνική
Hellēnikḗ
ข้อความจารึกเกี่ยวกับการก่อสร้างอนุสาวรีย์เทพีอะธีน่าในวิหารพาร์เธนอน ราว 440/439 ก่อนคริสตกาล
ภูมิภาคทะเลเมดิเตอเรเนียนตะวันออก
ยุคศตวรรษที่ 9 - ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรกรีก
รหัสภาษา
ISO 639-2grc
ISO 639-3grc (includes all pre-modern stages)
บทเปิดเรื่องมหากาพย์ โอดิสซีย์

ภาษากรีกโบราณเป็นภาษาที่ใช้แต่งวรรณกรรมกรีกโบราณ เป็นภาษาของกวีโฮเมอร์ และของนักประวัติศาสตร์ นาฏศิลปิน รวมไปถึงนักปรัชญา ที่มีชีวิตอยู่ในสมัยยุคทองของนครรัฐเอเธนส์ ภาษากรีกโบราณเป็นภาษาที่รุ่มรวยไปด้วยวัฒนธรรมการใช้ระดับสูง ไม่ว่าในทางปรัชญา ทางวรรณคดี ทางวิทยาศาสตร์ ในวิชาการแพทย์ และในวิชาคณิตศาสตร์ คำภาษากรีกเป็นจำนวนมากถูกยืมมาใช้ในภาษาละติน และผ่านต่อมายังภาษาสำคัญๆของยุโรป รวมทั้งภาษาอังกฤษ ปัจจุบันแม้ภาษากรีกโบราณจะนับว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว กล่าวคือไม่มีคนใช้พูดอีกต่อไป แต่การศึกษาภาษากรีกยังคงมีอยู่ในสถาบันการศึกษาชั้นนำของซีกโลกตะวันตก นับตั้งแต่ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการเป็นต้นมา

ระบบการเขียน แก้

รายชื่ออักษรกรีก
 
อักษรกรีก
Αα แอลฟา Νν นิว
Ββ บีตา Ξξ ไซ
Γγ แกมมา Οο โอไมครอน
Δδ เดลตา Ππ พาย
Εε เอปไซลอน Ρρ โร
Ζζ ซีตา Σσς ซิกมา
Ηη อีตา Ττ เทา
Θθ ทีตา Υυ อิปไซลอน
Ι ι ℩ ไอโอตา Φφ ฟาย
Κκ แคปปา Χχ ไค
Λλ แลมดา Ψψ พไซ
Μμ มิว Ωω โอเมกา
ใกล้คลาสสิก
Ϝϝ เวา ϘϙϞϟ คอปปา
Ϻϻ แซน ͲͲϠϡ แซมไพ
Ϛϛ สติกมา Ͱͱ ฮีตา
Ϸϸ โช

เครื่องหมายเสริมอักษร

ตัวอย่างข้อความภาษากรีกโบราณ แก้

บทกวีท่อนเปิดเรื่องของมหากาพย์อีเลียด เป็นแบบอย่างที่รู้จักกันมากที่สุดของภาษาโบราณในยุคอาร์เคอิก ซึ่งมีชื่อเรียกอีกอย่างว่าภาษากรีกของโฮเมอร์ บทกวีที่โฮเมอร์ใช้รจนามหากาพย์อีเลียด และโอดิสซีย์ เป็นบทกวีประเภท heroic hexameter โดยหนึงวรรคจะมี 6 คณะ และใน 1 คณะอาจจะมีสองพยางค์ (spondee) หรือสามพยางค์ (trochee) ขึ้นอยู่กับความสั้นยาวของคำ ทั้งนี้เพราะคำภาษากรีกมีค่าความสั้นยาว หรือมอรา (อังกฤษ: mora)แตกต่างกัน คล้ายกับบทกวีในภาษาสันสกฤต (ซึ่งเมื่อไทยรับมาใช้ทำให้ต้องกำหนดคำครุ-ลหุ ตามฉันทลักษณ์ในธรรมเนียมของกวีนิพนธ์ภาษาสันสกฤต และภาษาบาลี):

Μῆνιν ἄειδε, θεά, Πηληϊάδεω Ἀχιλῆος
οὐλομένην, ἣ μυρί’ Ἀχαιοῖς ἄλγε’ ἔθηκε,
πολλὰς δ’ ἰφθίμους ψυχὰς Ἄϊδι προΐαψεν
ἡρώων, αὐτοὺς δὲ ἑλώρια τεῦχε κύνεσσιν
οἰωνοῖσί τε πᾶσι· Διὸς δ’ ἐτελείετο βουλή·
ἐξ οὗ δὴ τὰ πρῶτα διαστήτην ἐρίσαντε
Ἀτρεΐδης τε ἄναξ ἀνδρῶν καὶ δῖος Ἀχιλλεύς.

คำอ่านเสียงภาษาไทย

แมนิน อ๊ะเอเดะ, เธะอ้า, แปแลอิอ้ะดอ อะคิแลออส
อูเลาะเม๊ะแนน-แฮ มุริ อะไคอ๊อยส อัลเกะ เอ๊ทแธเก,
ปอลลาส ดิพธีมูส ซูคาส อ๊ะอิดิ ปรออิอัพเซน
แฮร้อ-ออน, เอาตูส เดะ-เฮะล้อริยะ เต็วเคะ คู้เน็สซิน
ออยออน๊อยสิ เตะ ปาสิ. ดิออส เดเตเล้เอะตอ บูแล้.
เอ็กซ-อู๋ แด ตา ปร๋อตา ดิอัสแต๊แตน เอะริซานเตะ
อะเตรอิ๊แดส เตะ อ๊ะนักซ-อานดร๋อน ไก ดิออส อะคิลเล้วส์.