จอห์น บี. กูดอีนาฟ

นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาเคมีชาวอเมริกัน

จอห์น บานนิสเตอร์ กูดอีนาฟ (อังกฤษ: John Bannister Goodenough; 25 กรกฎาคม 1922 – 25 มิถุนายน 2023) เป็นนักฟิสิกส์และนักวิทยาศาสตร์ด้านวัสดุชาวอเมริกัน เขาเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเท็กซัสที่ออสติน เขามีส่วนสำคัญในการพัฒนาแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขามีส่วนร่วมในการค้นพบวัสดุแคโทดที่สำคัญที่สุด ในปี 2019 ขณะที่เขาอายุ 97 ปี เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีร่วมกับ เอ็ม. สแตนลีย์ วิตติงแฮม และ อากิระ โยชิโนะ ทำให้เขาเป็นบุคคลที่มีอายุมากที่สุดที่ได้รับรางวัลโนเบล โดยพิธีมอบรางวัลมีขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคม 2019

จอห์น บี. กูดอีนาฟ
กูดอีนาฟในปี 2019
เกิดจอห์น บานนิสเตอร์ กูดอีนาฟ
25 กรกฎาคม ค.ศ. 1922(1922-07-25)
เยนา, เยอรมนี
เสียชีวิต25 มิถุนายน ค.ศ. 2023(2023-06-25) (100 ปี)
ออสติน, รัฐเท็กซัส, สหรัฐอเมริกา
การศึกษาYale University (BS)
University of Chicago (MS, PhD)
มีชื่อเสียงจากLi-ion rechargeable battery
Goodenough–Kanamori rules
(RAM) random access memory
รางวัลJapan Prize (2001)
Enrico Fermi Award (2009)
National Medal of Science (2011)
IEEE Medal for Environmental and Safety Technologies (2012)
Charles Stark Draper Prize (2014)
Welch Award (2017)
Copley Medal (2019)
Nobel Prize in Chemistry (2019)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์
สถาบันที่ทำงานMassachusetts Institute of Technology
University of Oxford
University of Texas at Austin
วิทยานิพนธ์A theory of the deviation from close packing in hexagonal metal crystals (1952)
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกClarence Zener
ลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงBill David (postdoc)[1]
มีอิทธิพลต่อNevil Francis Mott
John C. Slater
Philip Warren Anderson
ได้รับอิทธิพลจากAkira Yoshino C. N. R. Rao

กูดอีนาฟเกิดที่เยนา ประเทศเยอรมนี โดยมีพ่อแม่เป็นชาวอเมริกัน[2] ระหว่างและหลังจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเยล กูดอีนาฟดำรงตำแหน่งเป็นนักอุตุนิยมวิทยาสำหรับทหารสหรัฐในสงครามโลกครั้งที่สอง[3] เขารับปริญญาเอกในสาขาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก[4] และเป็นนักวิจัยที่ MIT Lincoln Laboratory และต่อมาเป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติการเคมีอนินทรีย์ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ตั้งแต่ปี 1986 เขาได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเท็กซัส

อ้างอิง แก้

  1. Thackeray, M. M.; David, W. I. F.; Bruce, P. G.; Goodenough, J. B. (1983). "Lithium insertion into manganese spinels". Materials Research Bulletin. 18 (4): 461–472. doi:10.1016/0025-5408(83)90138-1.
  2. [1]
  3. "His current quest | The University of Chicago Magazine". mag.uchicago.edu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ January 18, 2018.
  4. Goodenough, John B. (1952). A theory of the deviation from close packing in hexagonal metal crystals (วิทยานิพนธ์ Ph.D.). The University of Chicago. OCLC 44609164 – โดยทาง ProQuest.