อากิระ โยชิโนะ

(เปลี่ยนทางจาก Akira Yoshino)

อากิระ โยชิโนะ (ญี่ปุ่น: 吉野 彰โรมาจิYoshino Akira) เป็นนักเคมีชาวญี่ปุ่น โยชิโนะเป็นนักวิจัยในบริษัทอาซาฮิคาเซ (ญี่ปุ่น: 旭化成株式会社โรมาจิAsahi Kasei Kabushiki-gaisha) และศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเมโจ เขาเป็นคนแรกที่คิดค้นแบตเตอรี่ลิเทียมที่ปลอดภัยและผลิตในเชิงอุตสาหกรรมได้[1] ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่าง ๆ ได้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่และคอมพิวเตอร์วางตัก เป็นต้น โยชิโนะได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีใน พ.ศ. 2562[1] ร่วมกับจอห์น บี. กูดอีนาฟและเอ็ม. สแตนลีย์ วิตติงแฮม

อากิระ โยชิโนะ
吉野 彰
เกิด30 มกราคม พ.ศ. 2491 (76 ปี)
ซูอิตะ จังหวัดโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น
การศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโต (ปริญญาตรีและโท)
มหาวิทยาลัยโอซากะ (ปริญญาเอก)
รางวัลรางวัลโนเบลสาขาเคมี (2019)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาไฟฟ้าเคมี
สถาบันที่ทำงานอาซาฮิคาเซ
มหาวิทยาลัยเมโจ
ได้รับอิทธิพลจากเค็งอิจิ ฟูกูอิ
จอห์น บี. กูดอีนาฟ

วัยเด็กและการศึกษา แก้

โยชิโนะเกิดที่เมืองซูอิตะ จังหวัดโอซากะ ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2491[2] เขาจบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเกียวโต ใน พ.ศ. 2513 และจบการศึกษาระดับปริญญาโทในอีกสองปีต่อมาจากสถาบันเดียวกัน และจบการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโอซากะใน พ.ศ. 2548[3][4]

ขณะศึกษาที่มหาวิทยาลัยเกียวโต โยชิโนะได้มีโอกาสเข้าเรียนกับเค็งอิจิ ฟูกูอิซึ่งเป็นชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี[5]

การทำงาน แก้

หลังจบปริญญาโทแล้วโยชิโนะเข้าทำงานที่บริษัทอาซาฮิคาเซ[6][7] เขาเข้าทำงานที่ห้องปฏิบัติการคาวาซากิใน พ.ศ. 2525 และได้เลื่อนชั้นขึ้นเป็นผู้จัดการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์แบตเตอรี่ไอออนใน พ.ศ. 2535[7] ต่อมาใน พ.ศ. 2537 เขาได้เลื่อนชั้นเป็นผู้จัดการฝ่ายพัฒนาเทคนิคสำหรับการผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนของบริษัทเอแอนด์ทีแบตเตอรี่[7] ซึ่งเป็นกิจการร่วมค้าของอาซาฮิคาเซและโตชิบา อาซาฮิคาเซได้แต่งตั้งให้เป็นนักวิจัยระดับสูงใน พ.ศ. 2546 และอีกสองปีถัดมาโยชิโนะได้เลื่อนขึ้นเป็นผู้จัดการทั่วไปโดยมีห้องปฏิบัติการเป็นของตนเอง[7] ใน พ.ศ. 2560 โยชิโนะได้เป็นศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเมโจและนักวิจัยกิตติมศักดิ์ในบริษัทอาซาฮิคาเซ[7]

การพัฒนาแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน แก้

โยชิโนะเริ่มพัฒนาแบตเตอรี่ที่สามารถประจุไฟใหม่ได้โดยใช้พอลิอะเซทิลีนใน พ.ศ. 2524[8] พอลิอะเซทิลีนเป็นพอลิเมอร์นำไฟฟ้าที่ค้นพบโดยฮิเดกิ ชิรากาวะซึ่งต่อมาได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีใน พ.ศ. 2543[7] สองปีถัดมาโยชิโนะได้ดัดแปลงแบตเตอรี่ต้นแบบโดยใช้ลิเทียมโคบอลต์ออกไซด์ (LiCoO2) เป็นแคโทด (ขั้วลบ) และพอลิอะเซทิลีนเป็นแอโนด (ขั้วบวก) ซึ่งลิเทียมโคบอลต์ออกไซด์นั้นค้นพบใน พ.ศ. 2522 โดยเอ็น. เอ. กอดชอลล์และคณะจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด[9][10][11] และโดยจอห์น บี. กูดอีนาฟและโคอิจิ มิซูชิมะจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด[7] ขั้วแอโนดของแบตเตอรี่นี้ไม่มีโลหะลิเทียมอยู่ แต่ในระหว่างประจุไฟนั้นลิเทียมไอออนจะแพร่จากขั้วแคโทด LiCoO2 ไปยังขั้วแอโนด ซึ่งเป็นต้นแบบไปสู่การพัฒนาแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน[7]

พอลิอะเซทิลีนมีความหนาแน่นต่ำ ทำให้ต้องใช้เนื้อที่มากและทำให้แบตเตอรี่มีขนาดใหญ่ตามไปด้วย นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านความเสถียร โยชิโนะจึงเปลี่ยนมาใช้คาร์บอนเป็นขั้วแอโนดแทน ใน พ.ศ. 2528 โยชิโนะจดสิทธิบัตรแบตเตอรี่ลิเทียมที่เขาประดิษฐ์[7][12][13] ซึ่งถือเป็นการกำเนิดแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนแบบที่ใช้ในปัจจุบัน[7] แบตเตอรี่ในลักษณะนี้จัดจำหน่ายโดยโซนี่ใน พ.ศ. 2534 และเอแอนด์ทีแบตเตอรี่ (กิจการร่วมค้าระหว่างอาซาฮิคาเซและโตชิบา) ใน พ.ศ. 2535[14]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Specia, Megan (9 ตุลาคม 2562). "Nobel Prize in Chemistry Honors Work on Lithium-Ion Batteries - John B. Goodenough, M. Stanley Whittingham and Akira Yoshino were recognized for research that has "laid the foundation of a wireless, fossil fuel-free society."". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. https://www.asahi-kasei.co.jp/asahi/jp/news/2013/pdf/ze140108.pdf
  3. "Akira Yoshino: Inventing The Lithium Ion Battery". 1 มิถุนายน 2561.
  4. Profile of Akira Yoshino and Overview of His Invention of the Lithium-ion Battery
  5. 芦原千晶 (30 กันยายน 2561). "<あの頃> リチウムイオン電池開発の研究者・吉野彰さん". 中日新聞. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 ตุลาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "Profile of Dr. Akira Yoshino" (PDF). Asahi Kasei. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.00 7.01 7.02 7.03 7.04 7.05 7.06 7.07 7.08 7.09 "Profile of Akira Yoshino, Dr.Eng., and Overview of His Invention of the Lithium-ion Battery" (PDF). อาซาฮิคาเซ. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. Fehrenbacher, Katie (26 เมษายน 2561). "A conversation with a lithium-ion battery pioneer". GreenBiz. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2562. "It was over 35 years ago, in 1981, when I started my research on batteries....This research initiative started not fully focused on batteries. It started from the study on polyacetylene" {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. N. A. Godshall, I. D. Raistrick, and R. A. Huggins, Journal of the Electrochemical Society, Abstract 162, Vol. 126, p. 322C; "Thermodynamic Investigations of Ternary Lithium-Transition Metal-Oxide Systems for Lithium Batteries" (August 1979).
  10. N. A. Godshall, I. D. Raistrick, and R. A. Huggins, Journal of the Electrochemical Society, Extended Abstract 162, Vol. 79-2, pp. 420-422; "Thermodynamic Investigations of Ternary Lithium-Transition Metal-Oxide Systems for Lithium Batteries" (October 1979).
  11. Ned A. Godshall, "Electrochemical and Thermodynamic Investigation of Ternary Lithium -Transition Metal-Oxide Cathode Materials for Lithium Batteries: Li2MnO4 spinel, LiCoO2, and LiFeO2", Presentation at 156th Meeting of the Electrochemical Society, Los Angeles, CA, (17 October 1979).
  12. แม่แบบ:Ref patent, Priority Data 10 May 1985, by Espacenet Patent search
  13. "JP 2642206". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-22. สืบค้นเมื่อ 2019-10-15., by USPTO PATENT FULL-TEXT AND IMAGE DATABASE
  14. Masaki Yoshio, Akiya Kozawa, and Ralph J. Brodd (2009). "Introduction: Development of Lithium-Ion Batteries" (PDF). Springer. p. xvii. สืบค้นเมื่อ 10 October 2019.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)