จักรกลโมเลกุล (อังกฤษ: Molecular machine) หรือ นาโนแมชชีน (อังกฤษ: Nanomachine)[1] หมายถึงกลุ่มก้อนของโมเลกุลที่เมื่อได้รับตัวกระตุ้นแล้วจะตอบสนองเป็นการเคลื่อนไหวเชิงกล[2] ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างเครื่องมือหรือกลไกที่มีขนาดเล็กในระดับโมเลกุลได้ จักรกลโมเลกุลจึงมีความหมายคล้ายกับคำว่านาโนเทคโนโลยีอันเป็นการใช้จักรกลโมเลกุลที่ซับซ้อนจำนวนมากเพื่อสร้างโรงงานนาโน จักรกลโมเลกุลสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ ได้แก่แบบสังเคราะห์ (synthetic) กับแบบชีวภาพ (biological)

ในปีค.ศ. 2016 มีการมอบรางวัลโนเบลสาขาเคมีให้แก่ ศาสตราจารย์ ฌ็อง-ปีแยร์ ซอวาจ (Jean-Pierre Sauvage), ศาสตราจารย์ เซอร์ เจมส์ ฟราเซอร์ สต็อดดาร์ท (J. Fraser Stoddart) และศาสตราจารย์ เบน เฟรินกา (Ben Feringa) จากการออกแบบและสังเคระห์จักรกลโมเลกุลขึ้นมา[3][4]

อ้างอิง แก้

  1. Satir, Peter; Søren T. Christensen (2008-03-26). "Structure and function of mammalian cilia". Histochemistry and Cell Biology. Springer Berlin / Heidelberg. 129 (6): 688. doi:10.1007/s00418-008-0416-9. PMC 2386530. PMID 18365235. 1432-119X. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-28. สืบค้นเมื่อ 2009-09-11.
  2. Ballardini R, Balzani V, Credi A, Gandolfi MT, Venturi M (2001). "Artificial Molecular-Level Machines: Which Energy To Make Them Work?". Acc. Chem. Res. 34 (6): 445–455. doi:10.1021/ar000170g. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-15. สืบค้นเมื่อ 2017-09-02.
  3. Staff (5 October 2016). "The Nobel Prize in Chemistry 2016". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 5 October 2016.
  4. Chang, Kenneth; Chan, Sewell (5 October 2016). "3 Makers of 'World's Smallest Machines' Awarded Nobel Prize in Chemistry". New York Times. สืบค้นเมื่อ 5 October 2016.