ฟริทซ์ ฮาเบอร์
ฟริทซ์ ฮาเบอร์ (เยอรมัน: Fritz Haber; 9 ธันวาคม ค.ศ. 1868 – 29 มกราคม ค.ศ. 1934) เป็นนักเคมีชาวเยอรมัน ผู้ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี ค.ศ. 1918 เนื่องจากการพัฒนาการสังเคราะห์แอมโมเนีย ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในปุ๋ยและระเบิด ฮาเบอร์และมัคส์ บอร์น ได้เสนอวัฏจักรบอร์น-ฮาเบอร์ เป็นวิธีการหาค่าพลังงานแลตทิซของของแข็งไอโอนิก นอกจากนี้ เขายังได้ถูกเรียกว่าเป็น "บิดาแห่งสงครามเคมี"[2] เนื่องจากผลงานในการพัฒนาและใช้แก๊สคลอรีนและแก๊สพิษอื่น ๆ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
ฟริทซ์ ฮาเบอร์ | |
---|---|
เกิด | 9 ธันวาคม ค.ศ. 1868 เบร็สเลา ปรัสเซีย[1] |
เสียชีวิต | 29 มกราคม ค.ศ. 1934 บาเซิล สวิตเซอร์แลนด์ | (65 ปี)
สัญชาติ | เยอรมัน |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยไฮเดิลแบร์ค มหาวิทยาลัยฮุมบ็อลท์แห่งเบอร์ลิน มหาวิทยาลัยเทคนิคเบอร์ลิน |
มีชื่อเสียงจาก | ปุ๋ย ระเบิด กระบวนการฮาเบอร์ ปฏิกิริยาฮาเบอร์-ไวส์ อาวุธเคมี |
รางวัล | รางวัลโนเบลสาขาเคมี (1918) |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | เคมีเชิงฟิสิกส์ |
สถาบันที่ทำงาน | สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิส ซือริช มหาวิทยาลัยคาลส์รูเออ |
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอก | โรแบร์ท บุนเซิน |
ฮาเบอร์ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากเกี่ยวกับการมีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาอาวุธเคมีในเยอรมนีก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งนักวิทยาศาสตร์ร่วมสมัยและนักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่[2] ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงความกำกวมในกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ของเขาเป็นอย่างมาก กล่าวคือ ในแง่หนึ่ง ถึงแม้ว่าการสังเคราะห์แอมโมเนียเพื่อผลิตระเบิดหรือกระบวนการทางเทคนิคสำหรับการผลิตและใช้แก๊สพิษในสงครามได้เป็นไปได้ในพื้นฐานทางอุตสาหกรรม ในอีกแง่หนึ่ง หากไม่มีความรู้นี้ ความสามารถที่จะผลิตอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากรโลกก็คงจะไม่เกิดขึ้น การผลิตปุ๋ยไนโตรเจนสังเคราะห์ทุกปีมีมากกว่า 100 ล้านตัน พื้นฐานอาหารของประชากรครึ่งโลกในปัจจุบันขึ้นกับกระบวนการฮาเบอร์-บ็อช[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Fritz Haber - Biographical". Nobelprize.org.
- ↑ 2.0 2.1 Between Genius and Genocide: The Tragedy of Fritz Haber, Father of Chemical Warfare by Daniel Charles
- ↑ Jörg Albrecht: Brot und Kriege aus der Luft. In: Frankfurter Allgemeine Sonntagszeitung. 41, 2008, S. 77 (Data from "Nature Geosience").