จูลีโย นัตตา
จูลีโย นัตตา (อิตาลี: Giulio Natta; 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1903 – 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1979) เป็นนักเคมีชาวอิตาลี เกิดที่เมืองอิมเปรียา เป็นบุตรของฟรันเชสโกและเอเลนา (นามสกุลเดิม เครสปี) นัตตา[1] นัตตาเรียนจบด้านวิศวกรรมเคมีจากมหาวิทยาลัยสารพัดช่างมิลาน ระหว่างปี ค.ศ. 1933–1935 นัตตาดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์และผู้อำนวยการสถาบันเคมีทั่วไปของมหาวิทยาลัยปาวีอา ต่อมานัตตาไปดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านเคมีฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยซาปีเยนซาแห่งโรม ระหว่างปี ค.ศ. 1936–1938 นัตตาดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์และผู้อำนวยการสถาบันเคมีอุตสาหกรรมของมหาวิทยาลัยสารพัดช่างตูริน และดำรงตำแหน่งหัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรรมเคมีของมหาวิทยาลัยสารพัดช่างมิลาน[2] ขณะทำงานอยู่ที่นั่น นัตตาได้พัฒนางานของคาร์ล ซีกเลอร์ และนำไปสู่การค้นพบตัวเร่งปฏิกิริยาซีกเลอร์–นัตตา (Ziegler–Natta catalyst) ซึ่งใช้ในการสังเคราะห์พอลิเมอร์แอลฟา-โอเลฟิน ผลงานนี้ทำให้นัตตาและซีกเลอร์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี ค.ศ. 1963[3]
จูลีโย นัตตา | |
---|---|
เกิด | 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1903 อิมเปรียา ราชอาณาจักรอิตาลี |
เสียชีวิต | 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1979 แบร์กาโม อิตาลี | (76 ปี)
สัญชาติ | อิตาลี |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยสารพัดช่างมิลาน |
มีชื่อเสียงจาก | ตัวเร่งปฏิกิริยาซีกเลอร์–นัตตา |
รางวัล | รางวัลโนเบลสาขาเคมี (ค.ศ. 1963) เหรียญทองโลโมโนซอฟ (ค.ศ. 1969) |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | เคมีอินทรีย์ |
สถาบันที่ทำงาน | มหาวิทยาลัยปาวีอา มหาวิทยาลัยซาปีเยนซาแห่งโรม มหาวิทยาลัยสารพัดช่างตูริน |
ด้านชีวิตส่วนตัว นัตตาแต่งงานกับโรซีตา เบอาตี ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 2 คน นัตตาเกษียณตัวเองในปี ค.ศ. 1973 และเสียชีวิตที่เมืองแบร์กาโมในปี ค.ศ. 1979[1]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "Natta, Giulio - Encyclopedia.com". สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2016.
- ↑ Giulio Natta - Biographical - Nobelprize.org
- ↑ The Nobel Prize in Chemistry 1963 - Nobelprize.org
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จูลีโย นัตตา
- Giulio Natta - NNDB.com