ถ้ำ คือโพรงที่ลึกเข้าไปในภูเขา[1] หรือเป็นช่องที่เป็นโพรงลึกเข้าไปในพื้นดินหรือภูเขา มีขนาดใหญ่พอที่มนุษย์สามารถเข้าไปได้ เกิดขึ้นตามธรรมชาติ[2] โดยทั่วไปถ้ำเกิดในหินปูนที่มีน้ำใต้ดินไหลผ่านกัดเซาะ ซึ่งมักพบตามภูเขาหินปูนหรือ ภูเขาชายฝั่งทะเล นอกจากนี้ยังมีถ้ำที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในยุคสังคมบุพกาล

ถ้ำ Lechuguilla นิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา
ถ้ำ
     มนุษย์เริ่มอาศัยอยู่ในถ้ำตั้งแต่ยุคหินเก่า เพื่อให้เป็นที่หลบภัยธรรมชาติ และภัยจากสัตว์ร้าย ปัจจุบันก็ยังพบว่ามีชาวจีนภาคเหนือหลายร้อยคนอาศัยอยู่ในบ้านถ้ำบนที่ราบสูงดินเลิสส์

ประเภทของถ้ำ แก้

แบ่งตามลักษณะและทิศทาง แก้

  • ถ้ำแนวนอน ทอดตัวยาวลึก
  • ถ้ำชั้น ภายในแบ่งเป็นหลายๆ ชั้น
  • ถ้ำแนวตั้ง ทอดตัวแนวตั้งลึกลงไปในดิน
  • ถ้ำแนวลาด ทอดตัวลาดเท ไม่ขนานหรือตั้งฉากกับระดับพื้น[ต้องการอ้างอิง]

แบ่งตามโครงสร้าง แก้

  • ถ้ำหินปูน เกิดจากการกัดเซาะของน้ำใต้ดินและน้ำฝนจนทำให้เกิดเป็นโพรงถ้ำ
  • ถ้ำน้ำแข็ง เป็นถ้ำในแถบขั้วโลก ส่วนใหญ่เกิดจากการละลายในธารน้ำแข็ง สามารถเกิดได้ในเขตหุบเขาที่อุณหภูมิต่ำตลอดปีด้วยเช่นกัน
  • โพรงหินชายฝั่ง หรือ ถ้ำทะเล เกิดจากกระบวนการกัดเซาะพื้นหินจนเกิดเป็นโพรงถ้ำมักเจอตามแนวชายฝั่งตามรอยแตกของชั้นหินและรอยเลื่อน[3]
  • ถ้ำภูเขาไฟ เกิดขึ้นจากการปะทุของภูเขาไฟและการเย็นตัวของลาวาขณะไหลทะลักออกมาจากภูเขาไฟ[4]

สิ่งที่น่าสนใจในถ้ำ แก้

หินงอก แก้

ตะกอนหินปูนที่จัดตัวเป็นแท่งสูงจากพื้นถ้ำขึ้นไปหาเพดานถ้ำ เกิดจากหยดน้ำที่ไหลออกจากหินย้อยเมื่อหล่นถึงพื้นถ้ำจะเกิดการสูญเสียคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้สารประกอบคาร์บอเนตเกิดการสะสมตัวและค่อยๆ สูงขึ้นจากพื้นถ้ำ

หินย้อย แก้

ตะกอนหินปูนที่จับตัวเป็นแท่งหรือแผ่นย้อยลงมาจากเพดานถ้ำ เกิดจากน้ำใต้ดินที่มีหินปูนละลายอยู่หยดลงมาจากรอยแตกบนเพดานถ้ำ และเมื่อน้ำสูญเสียก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปก็จะทำให้เกิดสารประกอบคาร์บอเนตเริ่มสะสมตัวทีละน้อย และพอกยาวลงมาจากเพดานเรื่อยๆ โดยปกติมักมีลักษณะเป็นหลอดกลวงอยู่ตรงกลาง

เสาหิน แก้

ลักษณะของหินที่เป็นแท่งหรือเสายาวจากพื้นถ้ำจรดเพดานถ้ำ เกิดจากหินงอกหินย้อยมาบรรจบกัน

หลอดหินย้อย แก้

สารหินปูนที่จัดตัวเป็นหลอดหรือท่อย้อยลงมาจากเพดานถ้ำ สารประกอบคาร์บอเนตที่เกิดจะมีการเรียงตัวของผลึกในแนวยาวและย้อยลงมาทำให้มีความยาวเพิ่มขึ้น ทำให้ดูคล้ายหลอดกลวงที่มีน้ำหยดออกมา

หินปูนฉาบ แก้

ตะกอนที่เกิดจากน้ำที่มีสารประกอบคาร์บอเนตไหลเป็นแผ่นบางๆ บนพื้นผิวของพื้นถ้ำ ซึ่งมักจะประกอบไปด้วยหินทราเวอร์ทีน ซึ่งเป็นอีกรูปหนึ่งของสารประกอบคาร์บอเนต

ม่านถ้ำ แก้

เกิดจากน้ำที่มีสารคาร์บอเนตสูงที่ไหลตามผนังที่เอียงซึ่งเกิดจากแรงตึงผิวของน้ำ เมื่อน้ำเกิดสูญเสียก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จึงทำให้เกิดการตกตะกอนของสารประกอบคาร์บอเนต มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ ย้อยลงมาจากผนังถ้ำดูคล้ายม่าน บางแห่งจะมีสีน้ำตาลแดงสลับกับสีขาวหรือเหลืองอ่อนมีชื่อเรียกเฉพาะว่า ม่านเบคอน

สัตว์ในถ้ำ แก้

สัตว์ในถ้ำแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่

  1. ทร็อกโลไบต์ จะอาศัยอยู่ในถ้ำตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่สามารถดำรงชีวิตนอกถ้ำได้ มักอยู่ในส่วนลึกของถ้ำ หาอาหารในถ้ำ เช่น จิ้งโกร่ง แมลงสองง่าม
  2. ทร็อกโลไฟล์ ดำรงชีวิตอยู่ได้ทั้งในถ้ำ และภายนอก เช่น แมงมุม
  3. สัตว์ถ้ำชั่วคราว ปกติใช้ชีวิตอยู่นอกถ้ำ แต่มักมีพฤติกรรมเข้าๆ ออกๆ จากถ้ำบ่อยๆ เช่น ค้างคาว ผีเสื้อกลางคืน หมี

การเตรียมตัวสำรวจถ้ำ แก้

อุปกรณ์ แก้

 
เข็มทิศ
 
กล้องถ่ายรูป

สิ่งสำคัญ แก้

  1. เราจะไม่กลัว ถ้าศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับถ้ำ
  2. ไม่ควรสำรวจถ้ำคนเดียว ควรไปเป็นหมู่คณะ และมีผู้เชี่ยวชาญนำสำรวจ
  3. ก่อนสำรวจ ควรแจ้งสถานีตำรวจ และศูนย์ท่องเที่ยวในบริเวณนั้น
  4. การสำรวจถ้ำเสี่ยงต่อการหลงทาง จึงห้ามเดินพลัดหลงคนเดียว
  5. ถ้าจะปีนหน้าผา หรือเก็บรังนก ควรฝึกการปีนบันไดเชือกให้แม่นยำก่อน
  6. เตรียมอุปกรณ์ข้างต้นให้พร้อมก่อนเดินทาง
  7. ระมัดระวังตัว

กฎและข้อห้าม แก้

  • ห้ามนำหินงอกหินย้อยออกจากถ้ำ
  • ห้ามขีดเขียนผนังถ้ำ
  • ห้ามทิ้งขยะในถ้ำ และแหล่งน้ำในถ้ำ ไม่ว่าตรงไหนก็ตามในถ้ำ
  • ห้ามสัมผัสหินงอก หินย้อย[5]

อ้างอิง แก้

  1. "พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-03. สืบค้นเมื่อ 2009-06-01.
  2. พจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยาฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2544
  3. "Sea/Littoral Caves - Caves and Karst (U.S. National Park Service)". www.nps.gov (ภาษาอังกฤษ).
  4. "Cave Types - National Cave and Karst Research Institute" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-02-02.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2012-08-14.
  • วิทยาศาสตร์ฉลาดรู้ เรื่อง สำรวจถ้ำ

แหล่งข้อมูลอื่น แก้