สงครามกลางเมืองซีเรีย

สงครามกลางเมืองซีเรีย เป็นการขัดกันด้วยอาวุธหลายฝ่ายที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศซีเรีย โดยมีต่างชาติเข้าแทรกแซง ความไม่สงบเริ่มในต้นฤดูใบไม้ผลิปี 2554 ในบริบทการประท้วงอาหรับสปริง โดยมีการประท้วงทั่วประเทศต่อรัฐบาลประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัด ซึ่งกำลังของเขาสนองโดยการปราบปรามอย่างรุนแรง ความขัดแย้งค่อย ๆ กลายจากการประท้วงของประชาชนเป็นการกบฏมีอาวุธหลังการล้อมทางทหารหลายเดือน[85] รายงานสหประชาชาติฉบับหนึ่งในปลายปี 2555 อธิบายความขัดแย้งว่า "มีสภาพนิยมนิกาย (sectarian) อย่างเปิดเผย" ระหว่างกำลังรัฐบาล ทหารอาสาสมัครซึ่งส่วนใหญ่เป็นอะละวี (Alawite) และกลุ่มชีอะฮ์อื่น[86] ต่อสู้กับกลุ่มกบฏซึ่งมีซุนนีครอบงำเป็นส่วนใหญ่[87][88] แม้ทั้งฝ่ายค้านและกำลังรัฐบาลต่างปฏิเสธ[89][90]

สงครามกลางเมืองซีเรีย
ส่วนหนึ่งของ อาหรับสปริง, อาหรับวินเทอร์, สงครามต่อต้านการก่อการร้าย, ความขัดแย้งอิหร่าน-ซาอุดิอาระเบีย, ความขัดแย้งรัสเซีย-สหรัฐ และ ความขัดแย้งอิหร่าน-อิสราเอล

สงครามกลางเมืองซีเรียตั้งอยู่ในประเทศซีเรีย
อัลฮะซะกะฮ์
อัลฮะซะกะฮ์
ลาษิกียะฮ์
ลาษิกียะฮ์
ฏ็อรฏูส
ฏ็อรฏูส
โคบานี
โคบานี
ดัยรุซซูร
ดัยรุซซูร
อิดลิบ
อิดลิบ
อัลกุสซัยร
อัลกุสซัยร
ดัรอา
ดัรอา
กุนัยฏิเราะฮ์
กุนัยฏิเราะฮ์
อะซัซ
อะซัซ
เราะอัลอัย
เราะอัลอัย
มันบิจ
มันบิจ
กะมิชลิ
กะมิชลิ
คอนชัยคูน
คอนชัยคูน
อัลบับ
อัลบับ
อะฟริน
อะฟริน
อัลกัรยาตัยน์
อัลกัรยาตัยน์
อะบูกะมัล
อะบูกะมัล
ตัลริฟอัต
ตัลริฟอัต

(คลิกเพื่อดูแผนที่ละเอียด)
สถานการณ์ทางทหารเมื่อเดือนสิงหาคม 2563:
     สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย (SAA)      สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย & โรจาวา (SAA & SDF)      โรจาวา (SDF)      รัฐบาลชั่วคราวซีเรีย (SNA) & การยึดครองของตุรกี      รัฐบาลไถ่ซีเรีย (HTS[a])      กองทัพคอมมานโดปฏิวัติ & การยึดครองของสหรัฐ      กลุ่มฝ่ายค้านที่กำลังประนีประนอม      ISIL
วันที่15 มีนาคม 2554 – ปัจจุบัน
(13 ปี 6 เดือน 3 สัปดาห์ 6 วัน)
สถานที่
ประเทศซีเรีย (ลุกลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านบ้าง)
ผล ยังไม่สิ้นสุด
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง

ณ เดือนมีนาคม 2563:

  • รัฐบาลถือครองพื้นที่ 63.57% ของประเทศ
  • SDF ถือครองพื้นที่ 25.57%
  • กลุ่มกบฏรวมทั้ง HTS และตุรกีถือครอง 9.72%
  • ISIL ถือครอง 1.14%[9]
คู่สงครามหลัก
ฝ่ายค้าน

 ตุรกี[b] (ตั้งแต่ปี 2559)


อะห์รัรอัชชาม[e]

สนับสนุน:

ไฟล์:Flag of Hayat Tahrir al-Sham.svg ตะห์รีรุชชาม[d][e]

พรรคอิสลามเตอร์กิสถาน

(ตั้งแต่ปี 2556)
สหพันธรัฐประชาธิปไตยซีเรียเหนือ (SDF)
(ตั้งแต่ปี 2555)
สนับสนุน:

ซีเจทีเอฟ–โอไออาร์
(ตั้งแต่ปี 2557)
สหรัฐ
 ฝรั่งเศส[7]
 บริเตนใหญ่
 เบลเยียม
 เนเธอร์แลนด์
 ออสเตรเลีย
 จอร์แดน
 เยอรมนี

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
เสียชีวิตในหน้าที่:
เสียชีวิตในหน้าที่:

เสียชีวิตในหน้าที่:

เสียชีวิตในหน้าที่:
เสียชีวิตในหน้าที่:

กำลัง

Syrian Armed Forces: 180,000[48]
General Security Directorate: 8,000[49]
National Defense Force: 80,000[50]
Ba'ath Brigades: 7,000 Hezbollah: 6,000–8,000[51]
Liwa Al-Quds: 4,000-8,000 รัสเซีย: 4,000 troops[52] and 1,000 contractors[53]
อิหร่าน: 3,000–5,000[51][54]

Other allied groups: 20,000+

FSA: 40,000–50,000[55] (2013)
Islamic Front: 40,000–70,000[56] (2014)
Other groups: 12,500[57] (2015)
Turkish Armed Forces: 4,000 - 8,000[58][59]


Ahrar al-Sham: 18,000–20,000+[60][61] (March 2017)


Tahrir al-Sham: 31,000[62]
15,000–20,000 (U.S. claim, late 2016)[63] 1,000 (U.S. claim, late 2017)[64]

SDF: 60,000–75,000 (ประมาณ 2017)[65]

  • YPG & YPJ: 20,000–30,000 (ประมาณ 2017)[66]
  • Syriac Military Council (MFS): 1,000 (ประมาณ 2017)[67]
  • Al-Sanadid Forces: 2,000–4,000 (ประมาณ 2017)[67]
  • SDF Military Councils: 10,000+[68][69][70]
ความสูญเสีย
Syrian Arab Republic:
68,308–103,308 soldiers & 52,568–66,568 militiamen killed[71][72]
4,100 soldiers/militiamen & 1,800 supporters captured[71]
Hezbollah:
1,705–2,000 killed[71][73]
รัสเซีย Russia:
137–160 soldiers killed & 184–284 PMCs killed[74]
Other non-Syrian fighters:
8,300 killed[71] (2,300–3,500+ IRGC-led)[75][76]

ฝ่ายค้านซีเรีย Syrian opposition/HTS:
85,155–141,155 killed[g][71][72]


ตุรกี Turkey:
239–296 killed (2016–20 incursions)[77]
รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ ISIL:
40,515 killed[71]

Autonomous Administration of North and East Syria:
13,814 killed[71]
PKK:
3,200+ killed[78]


CJTF–OIR:
13 killed[79] (สหรัฐ 10, สหราชอาณาจักร 1, ฝรั่งเศส 1, จอร์แดน 1)

พลเรือนเสียชีวิต 117,388 ตามบันทึกของฝ่ายค้าน[71]
ทหารต่างชาติอื่นเสียชีวิต 100 นาย (เลบานอน 60, ตุรกี 17 (pre-'16), อิรัก 16, จอร์แดน 7)


Total killed: 388,652–594,000 (per SOHR)[71]


Estimated ≥7,600,000 internally displaced & ≥5,116,097 refugees (July 2015/2017)[80]

a ตั้งแต่ต้นปี 2556 FSA มีการแยกศูนย์โดยกบฏต่าง ๆ ใช้ชื่อนี้แบบไม่เลือก
b ประเทศตุรกีให้การสนับสนุนอาวุธแก่ฝ่ายค้านซีเรียตั้งแต่ปี 2554 ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2559 ถึงมีนาคม 2560 ประเทศตุรกีต่อสู้ร่วมกับหน่วยทหารกบฏในเขตผู้ว่าการอะเลปโปต่อ SDF และ ISIL แต่ไม่รบกับรัฐบาลซีเรีย ตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 ตุรกีรบกับ SDF และรัฐบาลซีเรียในอะฟริน
c ตั้งแต่เดือนกันยายนถึงพฤศจิกยน 2559 สหรัฐรบร่วมกับหน่วยทหารกบฏในเขตผู้ว่าการอะเลปโปต่อ ISIL เท่านั้น แต่ไม่รบกับรัฐบาลซีเรียหรือ SDF[81][82] ในปี 2560 สหรัฐเจตนาโจมตีรัฐบาลซีเรียหกครั้ง ขณะที่พลาดไปโดนฐานทัพซีเรียโดยอุับิตเหตุในเดือนกันยายน 2559 รัฐบาลซีเรียถือว่าครั้งนั้นเป็นการโจมตีโดยเจตนา[83]
d องค์การก่อนหน้า HTS (แนวร่วมอัลนุสเราะ) และองค์การก่อนหน้าของ ISIL (ISI) เป็นสาขาพันธมิตรของอัลกออิดะฮ์จนถึงเดือนเมษายน 2556 อัลนุสเราะปฏิเสธข้อเสนอรวมสองกลุ่มเข้าด้วยกันเป็น ISIL และอัลกออิดะฮ์ประกาศตัดความสัมพันธ์ทั้งหมดกับ ISIL ในเดือนกุมภาพันธ์ 2557
e อะห์รัรอัชชามและแนวร่วมอัลนุสเราะ องค์การก่อนหน้าของตะห์รีรุชชาม เคยเป็นพันธมิตรกันภายใต้ Army of Conquest ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2558 ถึงเดือนมกราคม 2560

f จำนวนดังกล่าวรวมนักรบเคิร์ดและ ISIL ซึ่งผู้เสียชีวิตแสดงรายการในสดมภ์ต่างหาก[84][71]

ทีแรกรัฐบาลซีเรียอาศัยกองทัพเป็นหลัก แต่ตั้งแต่ปี 2557 หน่วยป้องกันท้องถิ่นซึ่งประกอบจากอาสาสมัครที่เรียก กำลังป้องกันชาติ (National Defence Force) ได้มีบทบาทมากขึ้น ค่อย ๆ กลายเป็นกำลังทหารหลักของรัฐซีเรีย รัฐบาลซีเรียได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิค การเงิน การทหารและการเมืองจากประเทศรัสเซีย อิหร่านและอิรักมาตั้งแต่ต้น ในปี 2556 ฮิซบุลลอฮ์ที่อิหร่านสนับสนุนเข้าร่วมสงครามโดยสนับสนุนกองทัพซีเรีย[91][92] รัสเซียเข้าร่วมปฏิบัติการทางอากาศตั้งแต่เดือนกัยายน 2558 เนื่องจากการเกี่ยวพันของต่างชาติ ความขัดแย้งนี้จึงถูกเรียกว่าเป็น สงครามตัวแทน ระหว่างชาติซุนนีและชีอะฮ์ภูมิภาค ที่สำคัญที่สุดคือความขัดแย้งตัวแทนระหว่างซาอุดีอาระเบียและอิหร่าน[93][94] ในเดือนกันยายน 2558 รัสเซีย อิรัก อิหร่านและซีเรียตั้งห้องปฏิบัติการร่วม (ศูนย์สารสนเทศ) ในกรุงแบกแดดเพื่อประสานงานกิจกรรมของพวกตนในประเทศซีเรีย วันที่ 30 กันยายน 2558 ประเทศรัสเซียเริ่มการทัพทางอากาศของตนโดยเข้ากับฝ่ายและด้วยคำขอของรัฐบาลซีเรีย จึงเกิดสงครามตัวแทนระหว่างสหรัฐและรัสเซีย[95][96][97][98] ซึ่งนักวิจารณ์บางส่วนบรรยายสถานการณ์ว่าเป็น "ก่อนสงครามโลกโดยมีประเทศเกือบโหลพัวพันในสองความขัดแย้งที่ทับซ้อนกัน"[99]

ฝ่ายค้านมีอาวุธประกอบด้วยหลายกลุ่มซึ่งก่อตั้งในห้วงความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองทัพซีเรียเสรี (FSA) ซึ่งเป็นผู้แรกที่หยิบอาวุธในปี 2554 และแนวร่วมอิสลามซึ่งก่อตั้งในปี 2556 ฝ่ายทางตะวันออก รัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์ (ISIL) กลุ่มนักรบญิฮัดซึ่งกำเนิดในประเทศอิรัก ได้ชัยชนะทางทหารอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศซีเรียและอิรัก จนลงเอยด้วยพิพาทกับกบฏอื่น ฝ่ายแนวร่วมนานาชาติที่มีสหรัฐเป็นผู้นำมีการสถาปนาขึ้นในปี 2557 โดยมีวัตถุประสงค์ที่ประกาศไว้ว่าเพื่อตอบโต้ ISIL และได้ดำเนินการโจมตีทางอากาศต่อ ISIL ในซีเรีย ตลอดจนเป้าหมายบะอัธซีเรียและให้การสนับสนุนต่อสหพันธรัฐประชาธิปไตยซีเรียเหนือ สหรัฐเลิกให้การสนับสนุนด้านอาวุธโดยตรงต่อ FSA ในปี 2560; ปลายปี 2560 อิทธิพลและดินแดนควบคุมของ ISIL เสื่อมลง จนซีเรียประกาศว่าประเทศได้รับการปลดปล่อยจาก ISIL แล้ว ด้านตุรกีมีความเกี่ยวข้องในสงครามตั้งแต่ปี 2559 และสนับสนุนฝ่ายค้านซีเรียอย่างแข็งขันและยึดพื้นที่ได้เป็นบริเวณกว้างทางภาคเหนือของประเทศซีเรีย

องค์การระหว่างประเทศกล่าวหารัฐบาลซีเรีย ISIL และกำลังฝ่ายค้านอื่นว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง โดยเกิดการสังหารหมู่หลายครั้ง[100][101][102][103][104] ความขัดแย้งนี้ทำให้เกิดการย้ายประชากรอย่างสำคัญ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558[105] สหประชาชาติประกาศเริ่มการเจรจาสันติภาพซีเรียเจนีวาที่สหประชาชาติเป็นสื่อกลางอย่างเป็นทางการ โดยการสู้รบยังดำเนินไปโดยไม่มีทีท่าลดลง[106]

เบื้องหลัง

แก้

รัฐบาลอะซัด

แก้

ประเทศซีเรียกลายเป็นสาธารณรัฐเอกราชในปี 2489 แต่การปกครองระบอบประชาธิปไตยสิ้นสุดลงด้วยรัฐประหารในเดือนมีนาคม 2492 ตามด้วยรัฐประหารอีกสองครั้งในปีเดียวกัน[107][108] การก่อการกำเริบของประชาชนต่อการปกครองระบอบทหารในปี 2497 มีการถ่ายโอนอำนาจของกองทัพสู่พลเรือน ตั้งแต่ปี 2501 ถึง 2504 สหภาพช่วงสั้น ๆ กับประเทศอียิปต์เปลี่ยนระบบรัฐสภาของซีเรียเป็นรัฐบาลระบบประธานาธิบดีที่รวมอำนาจปกครองอย่างสูง[109] รัฐบาลพรรคบะอัธสาขาภูมิภาคซีเรียซึ่งเป็นฆราวาสเถลองอำนาจผ่านรัฐประหารที่สัมฤทธิ์ผลในปี 2506 อีกหลายปีถัดมา ประเทศซีเรียเผชิญรัฐประหารและการเปลี่ยนแปลงผู้นำอีก[110]

ในเดือนมีนาคม 2514 ฮาฟิซ อัลอะซัด ชาวอะละวี ประกาศตนเป็นประธานาธิบดีซึ่งเป็นตำแหน่งที่เขาครองจนถึงแก่อสัญกรรมในปี 2543 ตั้งแต่ปี 2513 สาขาภูมิภาคซีเรียซึ่งเป็นฆราวาสยังเป็นองค์การการเมืองที่ครอบงำในประเทศซึ่งเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวจนมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาประชาชนซีเรียแบบหลายพรรคการเมืองครั้งแรกในปี 2555[111] ในวันที่ 31 มกราคม 2516 ฮาฟิซ อัลอะซัดนำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไปปฏิบัติ ซึ่งนำสู่วิกฤตการณ์ระดับชาติ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ผิดจากฉบับก่อนที่ไม่กำหนดให้ประธานาธิบดีซีเรียเป็นมุสลิม ทำให้เกิดการเดินขบวนดุเดือดในฮะมาฮ์ ฮอมส์และอะเลปโป ซึ่งกลุ่มภราดรภาพมุสลิมและอูละมา (ulama) เป็นผู้จัดระเบียบ พวกเขาตีตราอะซัดว่าเป็น "ศัตรูแห่งอัลลอฮ์" และเรียกร้องญิฮาดต่อการปกครองของเขา[112] รัฐบาลรอดพ้นการกบฏด้วยอาวุธโดยอิสลามซุนนีย์ซึ่งเป็นสมาชิกภราดรภาพมุสลิมเป็นหลักหลายครั้งตั้งแต่ปี 2519 ถึง 2525

ครั้นฮาฟิซ อัลอะซัดถึงแก่อสัญกรรมในปี 2553 บุตรของเขา บัชชาร อัลอะซัด ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีซีเรีย บัชชาร อัลอะซัดกับภรรยา อัสมา มุสลิมซุนนีย์ซึ่งเกิดและได้รับการศึกษาในบริเตน ทีแรกจุดความหวังการปฏิรูปประชาธิปไตย เกิดดามัสกัสสปริง ช่วงการอภิปรายทางสังคมและการเมือง ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2543 และสิงหาคม 2544[113] ดามัสกัสสปริงสิ้นสุดลงในเดือนสิงหาคม 2544 ด้วยการจับกุมและจำคุกนักกิจกรรมชั้นแนวหน้าสิบคนซึ่งเรียกร้องการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยและการรณรงค์ดื้อแพ่ง[114] ในความเห็นของนักวิจารณ์ บัชชาร อัลอะซัดไม่อาจให้การปฏิรูปตามที่ให้คำมั่นไว้[115] ในการเลือกตั้งปี 2543 และ 2550 เขาได้รับเสียงสนับสนุน 99.7% และ 97.6% ในการลงประชามติเรื่องตำแหน่งผู้นำของเขาโดยไม่มีคู่แข่ง[116][117][118] ประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัดยืนยันว่าไม่มี "ฝ่ายค้านสายกลาง" ต่อการปกครองของเขา และว่ากำลังฝ่ายค้านทั้งหมดเป็นญิฮัดที่เจตนาทำลายรัฐบาลฆราวาสของเขา ในเดือนเมษายน 2560 เขาให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์โครเอเชียฉบับหนึ่งว่า กลุ่มก่อการร้ายที่ปฏิบัติการอยู่ในซีเรีย "เชื่อมโยงกับวาระของต่างประเทศ"[119]

ประชากรศาสตร์

แก้

อาหรับซีเรีย ร่วมกับอาหรับปาเลสไตน์ประมาณ 600,000 คนคิดเป็นร้อยละ 74 ของประชากร (หากไม่นับคริสต์ศาสนิกชนซีเรีย)[120] มุสลิมในซีเรียเป็นซุนนีร้อยละ 74 (รวมซูฟี) ชีอะฮ์ร้อยละ 13 (รวมอะลาวีร้อยละ 8–12 และมูรชิด) ดรูซร้อยละ 3 ส่วนอีกร้อยละ 10 ที่เหลือเป็นคริสต์ศาสนิกชน ซุนนีซีเรียมิใช่อาหรับทั้งหมด ตระกูลอะซัดมีศาสนาผสม บัชชารแต่งงานกับภรรยาซุนนีและมีบุตรหลายคน เขาเข้ารีตนิกายเดียวกับบิดามารดาคืออะลาวี[121] อะลาวีควบคุมฝ่ายความมั่นคงของซีเรีย[122][123] ส่วนคริสต์ศาสนิกชนซีเรียส่วนใหญ่เป็นคริสตจักรตะวันออกซึ่งอยู่ในบริเวณนี้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1[124]

เคิร์ดซีเรีย ชนกลุ่มน้อยซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 9 ของประชากร เผชิญเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาตและปฏิเสธสิทธิทางวัฒนธรมและภาษา ตลอดจนการปฏิเสธความเป็นพลเมืองอยู่บ่อยครั้งตลอดประวัติศาสตร์ของรัฐซีเรีย[125] เติร์กเมนคิดเป็นร้อยละ 3–5 ของประชากร

ชาวอัสซีเรีย ชนเซมิติกคริสต์ศาสนิกชนที่พูดภาษาแอราเมอิกตะวันออกพื้นเมือง มีจำนวนประมาณ 400,000 คน[126] ส่วนใหญ่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศซีเรีย ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์อื่นได้แก่อาร์มีเนีย เซอร์แคสเซียน เติร์กเมน กรีก Mhallami, Kawliya, เยซีดี, Shabaks, และ Mandeans[127]

ภูมิหลังทางสังคม-เศรษฐกิจ

แก้

ความไม่เสมอภาคทางสังคม-เศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างสำคัญหลังฮาฟิซ อัลอะซัดริเริ่มนโยบายตลาดเสรีในช่วงบั้นปลายชีวิต และเพิ่มมากขึ้นหลังบัชชาร อัลอะซัดเถลิงอำนาจ ด้วยการเน้นภาคบริการ นโยบายเหล่านี้ให้ประโยชน์ต่อประชากรส่วนน้อยของประเทศ ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์กับรัฐบาล และสมาชิกของชนชั้นวาณิชซุนนีในกรุงดามัสกัสและอะเลปโป[128] ในปี 2553 จีดีพีต่อหัวของซีเรียอยู่ที่ 2,834 ดอลลาร์สหรัฐ เทียบได้กับประเทศแอฟริกาใต้สะฮาราอย่างไนจีเรีย และต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างเลบานอน โดยมีอัตราเติบโตต่อปีร้อยละ 3.39 ซึ่งต่ำกว่าประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่[129]

ประเทศซีเรียยังเผชิญกับอัตราว่างงานของเยาวชนสูง[130] เมื่อสงครามเริ่ม ความไม่พอใจต่อรัฐบาลมีมากที่สุดในพื้นที่ยากจนของซีเรีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งซุนนีอนุรักษนิยม[128] ซึ่งรวมนครที่มีความยากจนสูงอย่างดัรอาและฮอมส์ และเขตยากจนของนครใหญ่ ๆ

สิทธิมนุษยชน

แก้

สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศซีเรียเป็นหัวข้อวิจารณ์อย่างหนักจากองค์การระดับโลก[131] สิทธิการแสดงออกอย่างเสรี การสมาคมและการชุมนุมถูกควบคุมอย่างเข้มงวดตั้งแต่ก่อนการก่อการกำเริบ[132] ประเทศอยู่ภายใต้การปกครองฉุกเฉินตั้งแต่ปี 2506 ถึงปี 2554 และห้ามการชุมนุมเกินกว่าห้าคน[133] กำลังความมั่นคงมีอำนาจจับกุมและกักขังอย่างกว้างขวาง[134]

ทางการรังควานและจำคุกนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนและนักวิจารณ์รัฐบาลอื่นซึ่งมักถูกกักขัอย่างไม่มีกำหนดและถูกทรมานภายใต้ภาวะคล้ายเรือนจำ[132] สตรีและชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์เผชิญกับการเลือกปฏิบัติในภาครัฐ[132] เคิร์ดซีเรียหลายพันคนถูกปฏิเสธการให้สิทธิพลเมืองในปี 2505 และผู้สืบสันดานถูกตีตราว่า "คนต่างด้าว"[135] เหตุจลาจลหลายครั้งในปี 2547 ทำให้เกิดความตึงเครียดเพิ่มขึ้นในเคอร์ดิสถานซีเรีย[136] และมีการปะทะกันบางครั้งระหว่างผู้ประท้วงเคิร์ดกับกำลังความมั่นคงนับแต่นั้น

แม้มีความหวังการเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตยในดามัสกัสสปริงปี 2543 แต่ส่วนใหญ่ถือว่าบัชชาร อัลอะซัดล้มเหลวการนำพัฒนาการไปปฏิบัติ รายงานของฮิวแมนไรตส์วอชที่ออกก่อนการก่อการกำเริบปี 2554 ระบุว่า เขาล้มเหลวในการพัฒนาสถานะสิทธิมนุษยชนนับแต่ครองอำนาจ[137]

ลำดับเหตุการณ์

แก้

การก่อการกำเริบของประชาชน (มีนาคม–กรกฎาคม 2554)

แก้
 
ภาพเด็กชายที่เสียชีวิตในการควบคุมของรัฐบาลซีเรีย[138] ตามตัวมีกระดูกหัก แผลกระสุนปืน รอยไหม้และอวัยวะเพศถูกตัด[139]

การประท้วงเริ่มต้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2554 เมื่อผู้ประท้วงเดินขบวนในเมืองหลวงดามัสกัส เรียกร้องการปฏิรูปประชาธิปไตยและการปล่อยตัวนักโทษการเมือง กำลังความมั่นคงตอบโต้โดยการเปิดฉากยิงใส่ผู้ประท้วง[140] การประท้วงดังกล่าวมีสาเหตุจากการที่รัฐบาลจับกุมเด็กชายกับเพื่อนฐานเขียนกราฟิตี "ประชานต้องการให้รัฐบาลล่มสลาย" ในนครดัรอา (Daraa)[140][141] เด็กชายผู้นั้นชื่อ ฮัมซา อัลคาตีป (Hamza al-Khateeb) วัย 13 ปี ถูกทรมานและฆ่า[142] วันที่ 20 มีนาคม ผู้ประท้วงเผาสำนักงานใหญ่พรรคบะอัษและ "อาคารอื่น" เหตุปะทะให้หลังนั้นทำให้ตำรวจเสียชีวิตเจ็ดนาย[143] และผู้ประท้วงเสียชีวิต 15 คน[144] สิบวันถัดมา ประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัดกล่าวสุนทรพจน์โทษ "ผู้สมคบต่างด้าว" ที่ผลักดันโฆษณาชวนเชื่ออิสราเอลให้เกิดการประท้วง[145]

จนถึงวันที่ 7 เมษายน ผู้ประท้วงเรียกร้องการปฏิรูปประชาธิปไตย การปล่อยตัวนักโทษการเมือง การเพิ่มเสรีภาพ การเลิกกฎหมายฉุกเฉินและการยุติการฉ้อราษฎร์บังหลวงเป็นสำคัญ หลังวันที่ 8 เมษายน การเน้นคำขวัญการเดินขบวนค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นการเรียกร้องให้ล้มรัฐบาลอะซัดแทน การประท้วงลุกลาม ในวันที่ 8 เมษายน เกิดการประท้วงพร้อมกันในสิบนคร ครั้นวันที่ 22 เมษายน เกิดการประท้วงในยี่สิบนคร เมื่อถึงปลายเดือนพฤษภาคม 2554 มีพลเรือนเสียชีวิต 1,000 คน[146] และทหารและตำรวจ 150 นาย[147] และมีผู้ถูกควบคุมตัวอีกหลายพันคน[148] ซึ่งในจำนวนนี้มีนักศึกษา นักกิจกรรมเสรีนิยมและผู้เรียกร้องสิทธิมนุษยชนรวมอยู่ด้วย[149]

เกิดการขัดขืนด้วยอาวุธอย่างสำคัญต่อฝ่ายความมั่นคงของรัฐในวันที่ 4 มิถุนายน 2554 ในจิซร์ อัล-ชูกูร์ (Jisr al-Shughur) รายงานที่ไม่ได้รับการยืนยันอ้างว่ากำลังความมั่นคงส่วนหนึ่งในจิซร์แปรพักตร์หลังตำรวจลับและเจ้าหน้าที่ข่าวกรองประหารชีวิตทหารที่ปฏิเสธคำสั่งยิงพลเรือน[150] ต่อมา ผู้ประท้วงในประเทศซีเรียจับอาวุธมากขึ้น และทหารแปรพักตร์มากขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้ประท้วง

การก่อการกำเริบด้วยอาวุธช่วงต้น (กรกฎาคม 2554–เมษายน 2555)

แก้
 
นายทหารใน FSA ประกาศการก่อตั้งสาขาของ FSA ในตัลริฟอัต (Tell Rifaat) ทางเหนือของอะเลปโป เมื่อ 31 กรกฎาคม 2555

ระยะการก่อการกำเริบช่วงต้นของสงครามกลางเมืองซีเรียกินเวลาตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม 2554 ถึงเมษายน 2555 และสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของทหารอาสาสมัครฝ่ายค้านติดอาวุธทั่วประเทศซีเรียและจุดเริ่มต้นของการกบฏด้วยอาวุธต่อรัฐบาลสาธารณรัฐอาหรับซีเรีย การตั้งกองทัพซีเรียเสรี (FSA) เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2554 เป็นสัญลักษณ์จุดเริ่มต้นของการก่อการกำเริบ เมื่อกลุ่มนายทหารแปรพักตร์ประกาศสถาปนากำลังทหารฝ่ายค้านจัดระเบียบครั้งแรก โดยมีเป้าหมายเพื่อกำจัดบัชชาร อัลอะซัดและรัฐบาลจากอำนาจ

สงครามระยะนี้มีการก่อการกำเริบของประชาชนในขั้นต้นมีลักษณะหลายประการของสงครามกลางเมือง จากผู้สังเกตการณ์ภายนอกหลายกลุ่ม รวมทั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เมื่อฝ่ายที่ติดอาวุธมีการจัดระเบียบดีขึ้นและเริ่มดำเนินการโจมตีตอบโต้การปราบปรามการเดินขบวนและผู้แปรพักตร์ของรัฐบาลซีเรียเป็นผลสำเร็จ[151]

คณะผู้แทนเฝ้าสังเกตของสันนิบาตอาหรับ ซึ่งเริ่มมีขึ้นในเดือนธันวาคม 2554 ยุติด้วยความล้มเหลวในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 เมื่อกำลังพรรคบะอัษซีเรียและทหารอาสาสมัครฝ่ายค้านยังคงรบพุ่งกันทั่วประเทศและรัฐบาลพรรคบะอัษซีเรียกีดกันมิให้ผู้สังเกตการณ์ต่างชาติเที่ยวชมสมรภูมิที่กำลังรบกันอยู่รวมทั้งที่มั่นของฝ่ายค้านที่ถูกล้อม

ต้นปี 2555 โคฟี อันนันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนพิเศษซีเรียร่วมของสหประชาชาติและสันนิบาติอาหรับ แผนสันติภาพของเขาจัดให้มีการหยุดยิง แต่แม้ระหว่างมีการเจรจาแผนดังกล่าว ฝ่ายกบฏและรัฐบาลซีเรียยังต่อสู้กันอยู่แม้หลังแผนสันติภาพนี้[152] การหยุดยิงที่สหประชาชาติสนับสนุนมีโคฟี อันนัน ผู้แทนพิเศษ เป็นนายหน้าและมีประกาศในกลางเดือนเมษายน 2555

การหยุดยิงและการเพิ่มระดับ (เมษายน 2555–ธันวาคม 2556)

แก้

การเพิ่มระดับปี 2555–56 ของสงครามกลางเมืองซีเรียเป็นระยะที่สามของสงครามกลางเมืองซีเรีย ซึ่งค่อย ๆ เพิ่มระดับจากความพยายามหยุดยิงที่มีสหประชาชาติเป็นสื่อกลางระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2555 แต่เสื่อมลงเป็นความรุนแรงมูลวิวัติ เพิ่มระดับความขัดแย้งดังกล่าวเป็นสงครามกลางเมืองเต็มรูป

 
ซากรถถังที่ถูกทำลายบนถนนในอะเลปโป เดือนตุลาคม 2555

ให้หลังการสังหารหมู่ฮูลา (Houla) เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2555 ซึ่งมีผู้ถูกประหารชีวิตโดยรวบรัด 108 คน และคำขาดของ FSA ต่อรัฐบาลพรรคบะอัษซีเรีย การหยุดยิงหมดสภาพโดยปฏิบัติเมื่อ FSA เริ่มการบุกทั่วประเทศต่อทหารฝ่ายรัฐบาล วันที่ 12 กรกฎาคม 2555 สหประชาชาติประกาศอย่างเป็นทางการครั้งแรกว่าประเทศซีเรียอยู่ในสภาพสงครามกลางเมือง[153] ความขัดแย้งเริ่มเคลื่อนสู่สองนครใหญ่สุด คือ ดามัสกัสและอะเลปโป

หลังการหยุดยิงเดือนตุลาคม 2555 ล้มเหลว ระหว่างฤดูหนาวปี 2555–56 และต้นฤดูใบไม้ผลิปี 2556 ฝ่ายกบฏยังคงรุกคืบทุกแนวรบ วันที่ 11 มกราคม 2556 กลุ่มอิสลามรวมทั้งแนวร่วมอัลนุสเราะเข้าควบคุมฐานทัพอากาศ Taftanaz ในเขตผู้ว่าการอิดลิปได้อย่างสมบูรณ์หลังการสู้รบหลายสัปดาห์ กลางเดือนมกราคม 2556 เมื่อมีการปะทะใหม่ระหว่างกบฏและกำลังเคิร์ดในเราะอัลอัย (Ras al-Ayn) กำลัง YPG เริ่มขับไล่ทหารรัฐบาลออกจากพื้นที่อุดมด้วยน้ำมันในอัลฮะซะกะฮ์ (Hassakeh)[154] วันที่ 6 มีนาคม 2556 ฝ่ายกบฏยึดนครอัรร็อกเกาะฮ์ ทำให้เป็นเมืองเอกของเขตผู้ว่าการแห่งแรกที่รัฐบาลอะซัดเสีย

สุดท้ายการรุกของฝ่ายกบฏถูกหยุดยั้งในเดือนเมษายน 2556 เมื่อกองทัพอาหรับซีเรียสามารถจัดระเบียบใหม่และเริ่มการบุก ในวันที่ 17 เมษายน 2556 กำลังรัฐบาลพรรคบะอัษทะลวงแนวล้อมหกเดือนของฝ่ายกบฏใน Wadi al-Deif ใกล้อิดลิป มีรายงานการสู้รบอย่างหนักรอบเมืองบะบู Babuleen หลังทหารรัฐบาลพยายามเข้าควบคุมทางหลวงหลักซึ่งมุ่งสู่อะเลปโป การเจาะวงล้อมดังกล่าวยังทำให้กำลังพรรคบะอัษส่งกำลังบำรุงต่อฐานทัพหลักสองแห่งในพื้นที่ซึ่งต้องอาศัยการส่งทางอากาศประปราย[155] ในเดือนเมษายน 2556 กำลังรัฐบาลและฮิซบุลลอฮ์ซึ่งมีความพัวพันในการสู้รบมากขึ้นเรื่อย ๆ เปิดฉากการบุกเพื่อยึดพื้นที่ใกล้อัลกุสซัยร (al-Qusayr) วันที่ 21 เมษายน กำลังนิยมอะซัดยึดเมือง Burhaniya, Saqraja และ al-Radwaniya ใกล้ชายแดนเลบานอน[156]

 
ศพผู้เสียชีวิตจากการโจมตีเคมีที่กูตา

ทว่าตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2556 สถานการณ์กลายเป็นเสมอ โดยการสู้รบในทุกแนวรบระหว่างกลุ่มแยกต่าง ๆ ดำเนินต่อโดยสูญเสียรี้พลไปเป็นจำนวนมากแต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงดินแดนที่สำคัญ วันที่ 28 มิถุนายน 2556 กำลังกบฏยึดด่านตรวจทหารสำคัญในนครดัรอา[157] ไม่นาน กลุ่มแยกฝ่ายค้านซีเรียประกาศสงครามต่อรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ซึ่งกลายมาครอบงำเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั่วทั้งเขตสงครามโดยฆ่าไม่เลือกไม่ว่าภักดีต่ออะซัดหรือฝ่ายกบฏ มีการรุกใหญ่เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2556 เมื่อฝ่ายกบฏยึดฐานทัพอากาศเมนาจฮ์ (Menagh) หลังการล้อมนาน 10 เดือน วันที่ 21 สิงาหคม เกิดการโจมตีเคมีขึ้นในเขตกูตา (Ghouta) ชานกรุงดามัสกัส ทำให้มีผู้บาดเจ็บหลายพันคน และเสียชีวิตหลายร้อยคนในที่มั่นที่ฝ่ายค้านถือครองอยู่ การโจมตีดังกล่าวมีขึ้นก่อนรัฐบาลส่งกำลังทหารเข้าสู่พื้นที่ซึ่งเป็นที่กำเนิดของฝ่ายค้าน[158] การโจมตีดังกล่าวซึ่งส่วนใหญ่ถือว่ามาจากกำลังอะซัดทำให้ประชาคมนานาชาติมุ่งปลดอาวุธเคมีจากกองทัพอาหรับซีเรีย

การต่อสู้ระหว่าง ISIL กับกลุ่มกบฏอื่น (มกราคม–มีนาคม 2557)

แก้

ความตึงเครียดระหว่างกำลังกบฏสายกลางและ ISIS มีสูงตั้งแต่ ISIS ยึดเมืองชายแดนอะซัซ (Azaz) จากกำลังกองทัพซีเรียเสรีเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2556[159] ความขัดแย้งเหนืออะซัซกลับมาอีกในต้นเดือนตุลาคม[160] และในปลายเดือนพฤศจิกายน ISIS ยึดเมืองชายแดนอัตมะฮ์ (Atme) จากกองทัพซีเรียเสรี[161] วันที่ 3 มกราคม 2557 กองทัพมุญาฮีดีน กองทัพซีเรียเสรีและแนวร่วมอิสลามเปิดฉากการบุกต่อ ISIS ในเขตผู้ว่าการอเลปโปและอิดลิบ โฆษกฝ่ายกบฏกล่าวว่า กบฏโจมตี ISIS ใน 80% ของหมู่บ้านที่ ISIS ถือครองอยู่ในอิดลิบและ 65% ของหมู่บ้านในอะเลปโป[162]

วันที่ 6 มกราคม กบฏฝ่ายค้านจัดการขับกำลัง ISIS ออกจากนครรักกา ที่มั่นใหญ่สุดของ ISIS และเมืองหลวงของเขตผู้ว่าการอัรร็อกเกาะฮ์[163] วันที่ 8 มกราคม กบฏฝ่ายค้านขับกำลัง ISIS ส่วนใหญ่ออกจากนครอะเลปโป อย่างไรก็ดี กำลังเสริม ISIS จากเขตผู้ว่าการดัยรุซซูรจัดการยึดคืนหลายย่านของนครอัรร็อกเกาะฮ์[164] เมื่อถึงกลางเดือนมกราคม ISIS ยึดนครอัรร็อกเกาะฮ์คืนได้ทั้งหมด ส่วน ISIS ขับไล่นักรบ ISIS จากนครอะเลปโปและหมู่บ้านที่อยู่ทางตะวันตกของนคร

วันที่ 29 มกราคม อากาศยานตุรกีใกล้ชายแดนยิงใส่ขบวนรถ ISIS ใกล้จังหวัดอะเลปโป ฆ่านักรบ ISIS 11 คนและเอมีร์ 1 คน[165] ปลายเดือนมกราคม มีการยืนยันว่ากบฏลอบฆ่า Haji Bakr รองผู้บัญชาการของ ISIS ซึ่งเป็นประธานสภาทหารของอัลกออิดะฮ์และอดีตนายทหารในกองทัพของซัดดัม ฮุสเซน[166] เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ แนวร่วมอัลนุสเราะเข้าร่วมรบสนับสนุนกำลังกบฏและขับ ISIS ออกจากเขตผู้ว่าการดัยรุซซูร[167] เมื่อถึงเดือนมีนาคม กำลัง ISIS ถอนทัพสมบูรณ์จากเขตผู้ว่าการอิดลิบ[168] วันที่ 4 มีนาคม ISIS ถอยจากเมืองชายแดน Azaz และหมู่บ้านใก้เคียง โดยเลือกประชุมกำลังรอบรักกาเพื่อเตรียมยกระดับการสู้รบกับอัลนุสเราะแทน[169]

การบุกของรัฐบาลและการเลือกตั้งประธานาธิบดี (มีนาคม–มิถุนายน 2557)

แก้

วันที่ 4 มีนาคม กองทัพซีเรียเข้าควบคุมซาเฮล (Sahel) ในภูมิภาค Qalamoun[170] วันที่ 8 มีนาคม กำลังรัฐบาลยึดซาราในเขตผู้ว่าการฮอมส์ ขัดขวางเส้นทางกำลังบำรุงของกบฏจากเลบานอนยิ่งขึ้น[171] วันที่ 11 มีนาคม กำลังรัฐบาลและฮิซบุลลอฮ์เข้าควบคุมภูมิภาค Rima Farms ที่เผชิญหน้า Yabrud โดยตรง[172] วันที่ 18 มีนาคม อิสราเอลยิงปืนใหญ่ใส่ฐานทัพกองทัพซีเรีย หลังทหารสี่นายได้รับบาดเจ็บจากระเบิดข้างถนนขณะลาดตระเวนที่สูงโกลัน[173]

วันที่ 19 มีนาคม กองทัพซีเรียยึด Ras al-Ain ใกล้ Yabrud หลังการสู้รบสองวัน และ al-Husn ในเขตผู้ว่าการฮอมส์ ขณะกบฏในเขตผู้ว่าการดารายึดเรือนจำดาราและปล่อยผู้จำขังหลายร้อยคน[174][175] วันที่ 20 มีนาคม กองทัพซีเรียเข้าควบคุมครักเดเชอวาลีเยใน al-Husn[175] วันที่ 29 มีนาคม กองทัพซีเรียเข้าควบคุมหมู่บ้าน Flitah และ Ras Maara ใกล้ชายแดนกับเลบานอน[176]

วันที่ 22 มีนาคม กบฏเข้าควบคุมจุดผ่านแดน Kesab ในเขตผู้ว่าการอัลลาษิกียะฮ์[177] วันที่ 23 มีนาคม กบฏยึดส่วนใหญ่ของคอนชัยคูนในฮะมาฮ์[178] ระหว่างการปะทะใกล้จุดผ่านแดน Kesab ในลาษิกียะฮ์ Hilal Al Assad หัวหน้ากำลังป้องกันชาติ (ทหารอาสาสมัครนิยมรัฐบาล) ในลาษิกียะฮ์ และลูกพี่ลูกน้องคนหนึ่งของบัชชาร อัลอะซัดถูกนักรบฝ่ายกบฏฆ่า[179] วันที่ 4 เมษายน กบฏยึดเมือง Babulin ในเขตผู้ว่าการอิดลิบ[180] วันที่ 9 เมษายน กองทัพซีเรียเข้าควบคุม Rankous ในภูมิภาค Qalamoun[181] วันที่ 12 เมษายน กบฏในอะเลปโปบุกโจมตีย่านอุตสาหกรรม Ramouseh ที่รัฐบาลควบคุมอยู่เพื่อพยายามตัดเส้นทางส่งกำลังบำรุงของกองทัพระหว่างสนามบินและฐานทัพขนาดใหญ่ กบฏยังยึดย่าน Rashidin และบางส่วนของเขต Jamiat al-Zahra[182] วันที่ 26 เมษายน กองทัพซีเรียเข้าควบคุม Al-Zabadani[183] ข้อมูลของ SOHR ระบุว่า กบฏเข้าควบคุม Tell Ahrmar เขตผู้ว่าการอัลกุนัยฏิเราะฮ์[184] กบฏในดารายังยึดฐานทัพกองพลน้อย 61 และกองพันที่ 74[185]

วันที่ 26 เมษายน กองทัพซีเรียเสรีประกาศว่าเริ่มการบุกต่อ ISIS ในเขตผู้ว่าการรักกา และยึดห้าเมืองทางตะวันตกของนครอัรร็อกเกาะฮ์[186] วันที่ 29 เมษายน นักเคลื่อนไหวกล่าวว่า กองทัพซีเรียยึด Tal Buraq ใกล้เมือง Mashara ในกุนัยฏิเราะฮ์โดยไม่มีการปะทะใด ๆ[187] วันที่ 7 พฤษภาคม SOHR รายงานว่าการพักรบมีผลในนครฮอมส์ เงื่อนไขของความตกลงมีการอพยพอย่างปลอดภัยของนักรบอิสลามมิสต์จากนคร ซึ่งจะตกอยู่ใต้การควบคุมของรัฐบาล เพื่อแลกกับการปล่อยตัวนักโทษและเส้นทางปลอดภัยของความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ Nubul และ Zahraa ซึ่งเป็นดินแดนแทรกชีอะฮ์สองแห่งที่ถูกกบฏล้อมไว้[188] วันที่ 18 พฤษภาคม หัวหน้าการป้องกันภัยทางอากาศซีเรีย พลเอก Hussein Ishaq เสียชีวิตจากบาดแผลที่ได้รับระหว่างการโจมตีของกบฏต่อฐานทัพอากาศแห่งหนึ่งใกล้ Mleiha เมื่อวันก่อน ในเขตผู้ว่าการฮอมส์ กำลังกบฏเข้าควบคุมเมือง Tel Malah ฆ่านักรบนิยมอะซัด 34 คนที่จุดตรวจกองทัพแห่งหนึ่งใกล้เมือง การยึดเมืองนี้เป็นครั้งที่สามที่กบฏเข้าควบคุมเมือง[189]

ประเทศซีเรียจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีในพื้นที่ที่รัฐบาลาถือครองในวันที่ 3 มิถุนายน 2557 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ซีเรียที่มีผู้ได้รับอนุญาตให้ลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีมากกว่าหนึ่งคน[190] มีการจัดสถานีลงคะแนนเสียงกว่า 9,000 แห่งในพื้นที่ที่รัฐบาลถือครอง[191] ตามข้อมูลของศาลรัฐธรรมนูญสูงสุดแห่งซีเรีย มีชาวซีเรียออกเสียง 11.63 ล้านคน (คิดเป็นผู้มาใช้สิทธิร้อยละ 73.42)[192] ประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัดชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 88.7 ส่วนผู้ท้าชิง Hassan al-Nouri ได้คะแนนเสียงร้อยละ 4.3 และ Maher Hajjar ได้คะแนนเสียงร้อยละ 3.2[193] พันธมิตรของอะซัดจากกว่า 30 ประเทศได้รับเชิญจากรัฐบาลซีเรียให้ติดตามการเลือกตั้งประธานาธิบดี[194] รวมทั้งโบลิเวีย บราซิล คิวบา เอกวาดอร์ อินเดีย อิหร่าน อิรัก นิการากัว รัสเซีย แอฟริกาใต้ และเวเนซุเอลา[195] ข้าราชการอิหร่าน Alaeddin Boroujerdi อ่านถ้อยแถลงของกลุ่มกล่าวว่าการเลือกตั้งนั้น "อิสระ เป็นธรรมและโปร่งใส"[196] สภาความร่วมมืออ่าว สหภาพยุโรปและสหรัฐล้วนปฏิเสธการเลือกตั้งดังกล่าวว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นละครตลก[197]

ข้าราชการได้รับคำสั่งให้ออกเสียงลงคะแนนหรือต้องถูกสอบสวน[198] ในภาคสนามไม่มีผู้เฝ้าติดตามอิสระประจำ ณ จุดลงคะแนน[199] เนื่องจากการควบคุมดินแดนซีเรียของกบฏ เคิร์ดและ ISIS จึงไม่มีการออกเสียงลงคะแนนในพื้นที่ประมาณร้อยละ 60 ของประเทศ[200]

ความขัดแย้ง ISIS–รัฐบาลทวีความรุนแรง

แก้

ผู้สังเกตการณ์สิทธิมนุษยชนซีเรียระบุเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2557 ว่า ISIS เข้าควบคุมบ่อน้ำมัน Shaar ฆ่ากำลังนิยมรัฐบาล 90 คนและเสียนักรบ 21 คน นอกจากนี้ ทหารยามและนักรบที่เข้ากับรัฐบาลยังสูญหายอีก 270 คน บุคคลของรัฐบาลประมาณ 30 คนสามารถหลบหนีไปบ่อ Hajjar ใกล้เคียงได้[201] วันที่ 20 กรกฎาคม กองทัพซีเรียยึดบ่อน้ำมันดังกล่าวได้ แม้ยังมีการสู้รบอยู่รอบนอก[202] วันที่ 25 กรกฎาคม รัฐอิสลามเข้าควบคุมฐานกองพล 17 ใกล้อัรร็อกเกาะฮ์[203]

วันที่ 7 สิงหาคม 2557 ISIL ยึดฐานกองพลน้อย 93 ในรักกาโดยใช้อาวุธที่ยึดจากการบุกในประเทศอิรัก มีระเบิดฆ่าตัวตายหลายครั้งก่อนการบุกฐาน[204] วันที่ 13 สิงหาคม กำลัง ISIL ยึดเมือง Akhtarin และ Turkmanbareh จากกบฏในอะเลปโป กำลัง ISIL ยังยึดหมู่บ้านใกล้เคียงจำนวนหนึ่ง เมืองอื่นที่ยึดได้แก่ Masoudiyeh, Dabiq และ Ghouz วันที่ 14 สิงหาคม หลังถูกแนวร่วมอัลนุสเราะจับได้ ผู้บัญชาการกองทัพซีเรียเสรี Sharif As-Safouri ยอมรับว่าทำงานร่วมกับอิสราเอลและได้รับอาวุธต่อสู้รถถังจากอิสราเอล และทหารกองทัพซีเรียเสรียังได้รับการรักษาทางการแพทย์ เป็นไปได้ว่าคำสารภาพนี้ได้มาภายใต้การขู่เข็ญว่าจะทำร้าย[205] วันที่ 14 สิงหาคม กองทัพซีเรียตลอดจนทหารอาสาสมัครฮิซบุลลอฮ์ยึดเมือง Mleiha ในเขตผู้ว่าการรีฟดิมัชก์ สภาทหารสูงสุดของ FSA ปฏิเสธข้ออ้างการยึด Mleiha แต่ระบุว่ากบฏมีการวางกำลังใหม่จากการบุกล่าสุดไปยังแนวป้องกันอื่น[206] Mleiha ถูกแนวร่วมอิสลามถือครอง กบฏใช้เมืองนี้ยิงปืนครกใส่พื้นที่ที่รัฐบาลถือครองในกรุงดามัสกัส[207][208]

ขณะเดียวกัน กำลัง ISIL ในร็อกเกาะฮ์ล้อมฐานทัพอากาศ Tabqa ฐานทัพสุดท้ายของรัฐบาลซีเรียในร็อกเกาะฮ์ ฐานทัพอากาศ Kuwaires ในอะเลปโปก็ถูก ISIL โจมตีหนักเช่นกัน[209] วันที่ 16 สิงหาคม 2557 มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิต 22 คนในหมู่บ้านดาราจากเหตุระเบิดรถยนต์นอกมัสยิด คาดว่า ISIS เป็นผู้จุดระเบิด วันเดียวกัน รัฐอิสลามยึดหมู่บ้าน Beden ในเขตผู้ว่าการอะเลปโปจากกบฏ[210]

วันที่ 17 สิงหาคม 2557 SOHR กล่าวว่าในสองสัปดาห์ที่ผ่านมา นักรบญิฮัด ISIL ฆ่าสมาชิกเผ่าในเขตผู้ว่าการดัยรุซซูรกว่า 700 คน[211] วันที่ 19 สิงหาคม Abu Abdullah al-Iraqi สมาชิกอาวุโสใน ISIL ที่ช่วยเตรียมการและวางแผนระเบิดรถยนต์และระเบิดฆ่าตัวตายทั่วประเทศซีเรีย เลบานอนและอิรักถูกฆ่า บางรายงานว่าเขาถูกนักรบฮิซบอลเลาะฮ์ฆ่า นอกจากนี้ยังมีหลายรายงานระบุว่าเขาถูกกองทัพซีเรียฆ่าในภูมิภาค Qalamoun ใกล้ชายแดนเลบานอน[212]

ในร็อกเกาะฮ์ กองทัพซีเรียเข้าควบคุมเมือง Al-Ejeil;[213] มีรายงานว่า ISIL ส่งกำลังเสริมจากอิรักสู่เขตผู้ว่าการร็อกเกาะฮ์ SOHR กล่าวว่านักรบ ISIL อย่างน้อย 400 คนได้รับบาดเจ็บจากการปะทะห้าวันกับกองทัพซีเรียและกำลังป้องกันชาติในร็อกเกาะฮ์ที่เดียว[213][214] ขณะเดียวกัน ข้าราชการระดับสูงของสหราชอาณาจักรและสหรัฐกระตุ้นตุรกีให้หยุดอนุญาตให้ ISIL เดินทางข้ามพรมแดนไปซีเรียและอิรัก[215] ในช่วงนี้เองสหรัฐตระหนักว่าตุรกีไม่มีเจตจำนงปิดชายแดนฝั่งตน ฉะนั้นรัฐบาลจึงตัดสินใจทำงานร่วมกับเคิร์ดซีเรียเพื่อปิดชายแดนฝั่งซีเรีย[216] ปีต่อมา เมื่อเคิร์ดควบคุมพรมแดนตุรกี–ซีเรียได้เป็นส่วนใหญ่ และกองทัพซีเรียรุกคืบภายใต้การสนับสนุนทางอากาศของรัสเซียเพื่อปิดชายแดนที่เหลือ สถานการณ์จึงก่อให้เกิดความรบกวนอย่างมากในกรุงอังการา[217]

วันที่ 26 สิงหาคม 2557 กองทัพอากาศซีเรียดำเนินการโจมตีทางอากาศต่อ ISIL ในเขตผู้ว่าการดัยรุซซูร เป็นครั้งแรกที่กองทัพซีเรียโจมตีในดัยรุซซูรขณะที่กองทัพซีเรียถอนกำลังออกจากร็อกเกาะฮ์แล้วเบนไปยังดัยรุซซูรเนื่องจากทรัพยากรน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ตลอดจนการแบ่งแยกดินแดนของ ISIL ตามยุทธศาสตร์[218] เครื่องบินเจ็ตอเมริกันเริ่มทิ้งระเบิด ISIL ในซีเรียเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2557 เพิ่มระดับความพัวพันของสหรัฐในซีเรีย กลุ่ม SOHR รายงานว่ามีเป้าหมายในและรอบร็อกเกาะฮ์ถูกถล่มอย่างน้อย 20 จุด ประเทศที่เข้าร่วมการโจมตีกับสหรัฐได้แก่ บาห์เรน ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์และจอร์แดน[219]

การแทรกแซงของสหรัฐในร็อกเกาะฮ์และโคบานี

แก้
 
การโจมตีทางอากาศของกำลังผสมในโคบานีต่อที่ตั้งของ ISIL เดือนตุลาคม 2557

อากาศยานสหรัฐรวมทั้งเครื่องบินทิ้งระเบิดบี-1, เอฟ-16, เอฟ-18 และพรีเดเตอร์โดรน โดยเอฟ-18 ดำเนินภารกิจบินจากยูเอสเอส จอร์จ เอช.ดับเบิลยู. บุช (ซีวีเอ็น-77) ในอ่าวเปอร์เซีย มีการยิงขีปนาวุธโทมาฮอว์กจากเรือพิฆาต ยูเอสเอส อาร์เลห์ เบิร์ก (ดีดีจี-51) ในทะเลแดง กระทรวงการต่างประเทศซีเรียบอกแอสโซซิเอเต็ดเพรสว่า สหรัฐแจ้งทูตซีเรียประจำยูเอ็นว่า "จะเปิดฉากโจมตีต่อกลุ่มก่อการร้ายในร็อกเกาะฮ์"[220] สหรัฐแจ้งกองทัพซีเรียเสรีถึงการโจมตีทางอากาศดังกล่าวล่วงหน้า และกบฏกล่าวว่าเริ่มการโอนอาวุธให้กองทัพซีเรียเสรีแล้ว[221] สหรัฐยังโจมตีกลุ่มแยกบางกลุ่มของอัลนุสเราะชื่อกลุ่มโคราซัน (Khorasan) ซึ่งสหรัฐระบุว่ามีค่ายฝึกและแผนโจมตีสหรัฐในอนาคต[222] ตุรกียื่นคำร้องอย่างเป็นทางการต่อยูเอ็นให้ตั้งเขตห้ามบินเหนือประเทศซีเรีย[223] วันเดียวกัน อิสราเอลยิงเครื่องบินรบซีเรียตกหลังล้ำเข้าพื้นที่โกลันจากอัลกุนัยฏิเราะฮ์[224]

วันที่ 3 ตุลาคม 2557 กำลัง ISIS ยิงปืนใหญ่ถล่มนครโคบานีอย่างหนักและอยู่ในระยะหนึ่งกิโลเมตรจากนคร[225] ภายใน 36 ชั่วโมงหลังวันที่ 21 ตุลาคม กองทัพอากาศซีเรียดำเนินการโจมตีทางอากาศกว่า 200 ครั้งทั่วประเทศซีเรียและเครื่องบินเจ็ตสหรัฐและอาหรับโจมตีที่ตั้ง IS รอบโคบานี รัฐมนตรีสารสนเทศซีเรีย Omran al-Zoubi กล่าวว่า กำลัง YPG ในโคบานีได้รับการจัดหาการสนับสนุนทางทหารและลอจิสติกส์[226] ซีเรียรายงานว่ากองทัพอากาศของตนทำลายเครื่องบินรบเจ็ตสองลำที่ IS ปฏิบัติการ[227] วันที่ 26 มกราคม YPG เคิร์ดบีบให้ ISIL ล่าถอยออกจากโคบานี[228] จึงควบคุมนครได้อีกครั้ง[229]

แนวรบใต้และกองทัพพิชิตดินแดนฝ่ายเหนือ (ตุลาคม 2557 – มิถุนายน 2558)

แก้

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 มีการตั้งแนวรบใต้ของกองทัพซีเรียเสรีในภาคใต้ของซีเรีย หกเดือนต่อมา เริ่มได้ชัยในดัรอาและอัลกุนัยฏิเราะฮ์ ระหว่างการบุกอัลกุนัยฏิเราะฮ์, ยุทธการที่ Al-Shaykh Maskin, ยุทธการที่บอสรา (2558), และยุทธการที่จุดผ่านแดน Nasib การรุกโต้ตอบของรัฐบาลในช่วงนี้ซึ่งมีเหล่าพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม (ของอิหร่าน) และฮิซบุลลอฮ์ยึดเมือง หมู่บ้านและเขาได้ 15 แห่ง แต่หลังจากนั้นก็หยุดลง ตั้งแต่ต้นปี 2558 ห้องปฏิบัติการทางทหารของฝ่ายค้านในจอร์แดนและตุรกีเริ่มประสานงานกันมากขึ้น โดยมีรายงานว่าซาอุดีอาระเบียและกาตาร์ตกลงกันถึงความจำเป็นในการสร้างเอกภาพของกลุ่มแยกฝ่ายค้านต่อรัฐบาลซีเรีย[230]

ปลายเดือนตุลาคม 2557 เกิดความขัดแย้งระหว่างแนวร่วมอัลนุสเราะฝ่ายหนึ่งและ SRF และขบวนการฮาซัม (Hazzm) ที่ตะวันตกสนับสนุนอีกฝ่ายหนึ่ง ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2558 อัลนุสเราะพิชิตทั้งสองกลุ่ม ยึดภูมิภาคภูเขา Zawiya ทั้งหมดในเขตผู้ว่าการอิดลิบ และเมืองและฐานทัพหลายแห่งในเขตผู้ว่าการอื่น และยึดอาวุธที่ซีไอเอจัดหาให้กลุ่มสายกลางสองกลุ่มดังกล่าว[231] อาวุธปริมาณมากที่ยึดได้รวมทั้งขีปนาวุธต่อสู้รถถังบีจีเอ็ม-71 คล้ายกับระบบอาวุธของอัลนุสเราะที่ยึดได้จากคลังของรัฐบาลก่อนหน้านี้ เช่น มิลานฝรั่งเศส, เอชเจ-8 ของจีน และ 9เค111 ฟากอตของรัสเซีย[232] รอยเตอส์รายงานว่านี่เป็นตัวแทนของอัลนุสเราะบดขยี้กบฏนิยมตะวันตกในภาคเหนือของประเทศ[233] ทว่า ผู้บัญชาการ FSA ในซีเรียตอนเหนือระบุว่า การกำจัด Harakat Hazm และ SRF เป็นสถานการณ์น่ายินดีเพราะผู้นำของกลุ่มแยกเหล่านี้ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการฉ้อราษฎร์บังหลวง[234] กองพลที่ 30 ของ FSA ที่ตะวันตกสนับสนุนยังปฏิบัติการอยู่ที่อื่นในอิดลิบ[235]

จนถึงวันที่ 24 มีนาคม 2558 แนวร่วมอัลนุสเราะครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตผู้ว่าการอิดลิบ ยกเว้นอิดลิบ เมืองหลวงของเขตที่รัฐบาลควบคุมอยู่ ซึ่งพวกเขาตีวงล้อมสามด้านร่วมกับพันธมิตรอิสลามิสต์[236] ฉะนั้น พวกเขาจึงเข้ากันตั้งกองทัพพิชิตดินแดน (Army of Conquest) ในวันนี้[237] วันที่ 28 มีนาคม กองทัพพิชิตดินแดนยึดอิดลิบ[238] ทำให้ภาคเหนือถูกอะห์รัรอัชชาม แนวร่วมอัลนุสเราะและกบฏอิสลามิสต์อื่นควบคุม เหลือภาคใต้ของประเทศเป็นที่มั่นสำคัญสุดท้ายของนักรบฝ่ายค้านที่มิใช่ญิฮัด[239]

วันที่ 22 เมษายน มีการเปิดฉากการบุกรอบใหม่ของกบฏในภาคตะวันตกเฉียงเหนือ และในวันที่ 25 เมษายน แนวร่วมกบฏกองทัพพิชิตดินแดนยึดนคร Jisr al-Shughur[240] เมื่อปลายเดือนถัดมา กบฏยังยึดฐานทัพ Al-Mastumah[241] และ Ariha ทำให้กำลังรัฐบาลควบคุมวงล้อมเล็ก ๆ ในอิดลิบ รวมทั้งสนามบินทหาร Abu Dhuhur[242] นอกจากนั้น ตามข้อมูลของชาลส์ ลิสเตอร์ แนวร่วมกองทัพพิชิตดินแดนเป็นความพยายามของฝ่ายค้านกว้างขวางเพื่อรับประกันว่าแนวร่วมอัลนุสเราะที่มีความสัมพันธ์กับอัลกออิดะฮ์ถูกควบคุม โดยมีการเกี่ยวข้องเป็นกองหลังของกลุ่มแยกที่ตะวันตกสนับสนุนถือว่ามีความสำคัญ[234] กระนั้น บางคนว่า FSA ในภาคเหนือของซีเรียหมดไปเกือบทั้งสิ้นแล้ว นักรบสายกลางจำนวนมากเข้ากับองค์การที่สุดโต่งกว่า อย่างอะห์รัรอัชชาม กลุ่มแยกใหญ่สุดของกองทัพพิชิตดินแดน ซึ่งนำไปสู่ความเจริญของแนวร่วมกองทัพพิชิตดินแดนอิสลามิสต์[243]

การรุกของกบฏทำให้ขวัญกำลังใจของรัฐบาลและฮิซบุลลอฮ์ตกต่ำ[244] ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของซีเรีย การเสียเหล่านี้ได้การบุกที่ฮิซบุลลอฮ์เป็นผู้นำในเทือกเขา Qalamoun ทางเหนือของกรุงดามัสกัสติดชายแดนเลบานอน มาชดเชย ทำให้ฮิซบุลลอฮ์ควบคุมบริเวณดังกล่าวได้ทั้งหมด[245]

การบุกของ ISIL รอบใหม่ (พฤษภาคม – กันยายน 2558)

แก้

วันที่ 21 พฤษภาคม ISIL เข้าควบคุมแพลไมรา แหล่งมรดกโลกของยูเนสโก หลังการสู้รบแปดวัน[246] ISIL ยังยึดเมืองใกล้เคียง Al-Sukhnah และ Amiriya ได้ ตลอดจนบ่อน้ำมันหลายแห่ง[247] หลัการยึดพัลไมรา ISIL สังหารหมู่ในบริเวณนั้น ฆ่าผู้สนับสนุนรัฐบาลที่เป็นพลเรือนและทหารประมาณ 217–329 คนตามข้อมูลของนักเคลื่อนไหวฝ่ายค้าน[248] แหล่งข่าวของรัฐบาลระบุเลขไว้ระหว่าง 400–450 คน[249] ในต้นเดือนมิถุนายน ISIL ถึงเมือง Hassia ซึ่งตั้งอยู่บนถนนหลักจากกรุงดามัสกัสถึงฮอมส์และอัลลาษิกียะฮ์ และมีรายงานว่ายึดที่มั่นทางตะวันตกของเมือง ทำให้อาจเป็นภัยพิบัติต่อรัฐบาลและเพิ่มภัยคุกคามต่อเลบานอนถูกดึงเข้าสู่สงครามด้วย[250]

วันที่ 25 มิถุนายน ISIL เปิดฉากการบุกสองครั้ง ครั้งหนึ่งเป็นการโจมตีเบี่ยงเบนแบบจู่โจมต่อโคบานี ส่วนครั้งที่สองเป็นนครอัลฮะซะกะฮ์ส่วนที่รัฐบาลควบคุมอยู่[251] การบุกของ ISIL ต่ออัลฮะซะกะฮ์ทำให้มีผู้พลัดถิ่น 60,000 คน โดยยูเอ็นประมาณการว่าอาจมีผู้พลัดถิ่นทั้งสิ้น 200,000 คน[252] ในเดือนกรกฎาคม 2558 การตีโฉบฉวยของกำลังพิเศษสหรัฐต่อสถานที่พักของ "หัวหน้าเจ้าหน้าที่การเงิน" ของรัฐอิสลาม อะบู ซัยยัฟ (Abu Sayyaf) พบหลักฐานว่าข้าราชการตุรกีติดต่อกับสมาชิก ISIS ระดับสูงโดยตรง[253]

ISIS ยึดนครกัรยาตัยน์ (Qaryatayn) จากรัฐบาลเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2558[254] ออสเตรเลียเข้าร่วมการทิ้งระเบิด ISIL ในซีเรียในกลางเดือนกันยายน ซึ่งเป็นการขยายความพยายามของพวกตนในอิรักเมื่อปีที่แล้ว[255] วันที่ 2 สิงหาคม ข้าราชการสหรัฐแจ้งรอยเตอส์ว่าสหรัฐตัดสินใจ "อนุญาตการโจมตีทางอากาศเพื่อช่วยป้องกันการโจมตีใด ๆ ต่อกบฏซีเรียที่สหรัฐฝึก แม้ผู้โจมตีมาจากกำลังที่ภักดีต่อประธานาธิบดีซีเรียบัชชาร อัลอะซัด" วันต่อมากระทรวงกลาโหมสหรัฐประกาศว่าจะบินภารกิจโดรนติดอาวุธไม่มีคนควบคุมในซีเรียครั้งแรก[256]

การแทรกแซงของรัสเซียและการรุกอะเลปโป (กันยายน 2558 – กุมภาพันธ์ 2559)

แก้

วันที่ 30 กันยายน 2558[257] กำลังห้วงอากาศ-อวกาศรัสเซียเริ่มการทัพโจมตีทางอากาศต่อทั้ง ISIL และ FSA ที่ต่อต้านอะซัด[258] เพื่อสนองตอบคำขออย่างเป็นทางการของรัฐบาลซีเรีย[259] ทีแรกการโจมตีมาจากอากาศยานรัสเซียที่ประจำอยู่ที่ฐาน Khmeimim ในประเทศซีเรียอย่างเดียว ไม่นานหลังจากรัสเซียเริ่มปฏิบัติการ มีรายงานว่าประธานาธิบดีสหรัฐ บารัก โอบามา อนุญาตการส่งกำลังบำรุงแก่เคิร์ดซีเรียและฝ่ายค้านอาหรับ-ซีเรีย ม่รายงานว่าโอบามาเน้นทีมของเขาว่าสหรัฐจะสนับสนุนฝ่ายค้านซีเรียต่อไปเมื่อบัดนี้รัสเซียเข้าร่วมความขัดแย้งแล้ว[260]

คลิปกองทัพเรือรัสเซียยิงขีปนาวุธร่อนจากทะเลแคสเปียนใส่เป้าหมาย ISIL เมื่อเดือนตุลาคม 2558

วันที่ 7 ตุลาคม 2558 ข้าราชการรัสเซียกล่าวว่าเรือจากกองเรือแคสเปียนยิงขีปนาวุธร่อนจากทะเล 26 ลูกใส่เป้าหมาย ISIL 11 แห่งในประเทศซีเรียวันเดียวกันก่อนหน้านี้ โดยไม่มีพลเรือนเสียชีวิต[261] วันเดียวกัน รัฐบาลซีเรียเปิดฉากการบุกซีเรียภาคตะวันตกเฉียงเหนือ[262] ในอีกไม่วันสามารถยึดคืนดินแดนบางส่วนในเขตผู้ว่าการฮะมาฮ์เหนือ[263] วันที่ 8 ตุลาคม 2558 สหรัฐประกาศการสิ้นสุดของโครงการฝึกและติดอาวุธกบฏซีเรีย 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐอย่างเป็นทางการ และยอมรับว่าโครงการล้มเหลว[264] ทว่า โครงการลับอื่นที่มีขนาดใหญ่ของซีเรียในการติดอาวุธนักรบต่อต้านรัฐบาลในประเทศซีเรียยังดำเนินต่อ[265]

สองสัปดาห์หลังเริ่มการทัพรัสเซียในประเทศซีเรีย เดอะนิวยอร์กไทมส์ เขียนความเห็นว่าผู้บังคับบัญชาต่อต้านรัฐบาลได้รับกำลังบำรุงขีปนาวุธต่อสู้รถถังที่ผลิตในสหรัฐอย่างมาก และรัสเซียเพิ่มจำนวนการโจมตีทางอากาศต่อฝ่ายค้านช่วยเสริมขวัญกำลังใจของทั้งสองฝ่าย ขยายวัตถุประสงค์ของสงครามและยิ่งส่งเสริมฐานะทางการเมือง ความขัดแย้งนี้กลายเป็นสงครามตัวแทนเต็มขั้นระหว่างสหรัฐและรัสเซีย[266] แม้มีทหารอิหร่านระดับสูงที่แนะนำนักรบในประเทศซีเรียเสียชีวิตหลายคน[267] แต่ในกลางเดือนตุลาคม การบุกของรัสเซีย-ซีเรีย-อิหร่าน-ฮิซบุลลอฮ์ที่มีเป้าหมายต่อกบฏในอะเลปโปเดินหน้าต่อ[267]

 
รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐ รัสเซีย ซาอุดีอาระเบียและตุรกีประชุมในกรุงเวียนนา 29 ตุลาคม 2558

ปลายเดือนตุลาคม 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ แอชตัน คาร์เตอร์ ส่งสัญญาณการเปลี่ยนยุทธศาสตร์ของการทัพที่สหรัฐเป็นผู้นำโดยระบุว่าจะมีการโจมตีทางอากาศมากขึ้นและพิจารณาการใช้การตีโฉบฉวยทางบกโดยตรง และการสู้รบในประเทศซีเรียเน้นส่วนใหญ่ต่ออัรร็อกเกาะฮ์ วันที่ 30 ตุลาคม และอีกสองสัปดาห์ต่อมา มีการจัดการเจรจาสันติภาพในกรุงเวียนนาที่มีสหรัฐ รัสเซีย ตุรกีและซาอุดีอาระเบียเป็นผู้ริเริ่ม วันที่ 30 ตุลาคม ประเทศอิหร่านเข้าร่วมการเจรจาครั้งแรกต่อการระงับข้อพิพาทซีเรีย ประเทศผู้เข้าร่วมเห็นไม่ตรงกันเรื่องอนาคตของบัชชาร อัลอะซัด

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2558 กำลังรัฐบาลซีเรียสำเร็จปฏิบัติการตีฝ่าวงล้อมฐานทัพอากาศ Kweires ของรัฐอิสลามในเขตผู้ว่าการอะเลปโป ซึ่งถูกล้อมมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2556;[268] กลางเดือนพฤศจิกายน 2558 ในห้วงเหตุเครื่องบินรัสเซียระเบิดเหนือซีนายและเหตุโจมตีในกรุงปารีส ทั้งรัสเซียและฝรั่งเศสเพิ่มระดับการโจมตีในประเทศซีเรียอย่างสำคัญ โดยฝรั่งเศสประสานงานใกล้ชิดกับกองทัพสหรัฐ[269] วันที่ 17 พฤศจิกายน ปูตินกล่าวว่าตนออกคำสั่งให้เรือลาดตระเวน มอสควา ที่อยู่ในเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกนับแต่เริ่มปฏิบัติการรัสเซียให้ "ทำงานเหมือนกับเป็นพันธมิตร"[270][271][272] กับกลุ่มกองทัพเรือฝรั่งเศสที่มีเรือธง ชาลส์ เดอ โกล นำซึ่งออกเดินทางสู่เมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกนับแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน[273] ไม่นานจากนั้น ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐวิจารณ์ท่าทีต่อต้านอะซัดแข็งกร้าวของฝรั่งเศสเช่นเดียวกับการโจมตีทางอากาศต่อสิ่งก่อสร้างน้ำมันและแก๊สในประเทศซีเรีย[274] ซึ่งดูเหมือนเป็นไปเพื่อป้องกันสถานที่เหล่านั้นมิให้ตกอยู่ในการควบคุมของรัฐบาลซีเรีย ข้าราชการคนดังกล่าวชี้ว่าการโจมตีของฝรั่งเศสไม่มีความชอบธรรมเพราะดำเนินการโดยปราศจากความยินยอมของรัฐบาลซีเรีย[275] วันที่ 14 พฤศจิกายน ประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัดวิจารณ์การกระทำของฝรั่งเศสและชาติตะวันตกอื่นต่อรัฐบาลซีเรียโดยแนะว่าการสนับสนุนกำลังฝ่ายค้านซีเรีของฝรั่งเศสนำสู่การโจมตีที่รัฐอิสลามอ้างในกรุงปารีส[276]

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2558 ประธานาธิบดีสหรัฐบารัก โอบามากล่าวถึงกระบวนการกรุงเวียนนา กล่าวว่าเขาไม่สามารถ ""พยากรณ์สถานการณ์ที่เราสามารถยุติสงครามกลางเมืองในประเทศซีเรียขณะที่อะซัดยังครองอำนาจ" เขากระตุ้นให้รัสเซียและอิหร่านยุติการสนับสนุนรัฐบาลซีเรีย[277] วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ แม้ไม่สามารถอ้างบทที่ 7 ของยูเอ็นซึ่งให้อำนาจทางกฎหมายเฉพาะสำหรับการใช้กำลัง[278] แต่ผ่านข้อมติที่ 2249 ซึ่งกระตุ้นสมาชิกยูเอ็นให้เพิ่มและประสานงานความพยายามของสมาชิกเพื่อป้องกันและปราบปราม ISIL และบุคคลหรือกลุ่มที่เข้าร่วมกับอัลกออิดะฮ์และกลุ่มก่อการร้ายอื่น [279]

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 ประเทศตุรกียิงเครื่องบินรบรัสเซียที่อ้างว่าละเมิดน่านฟ้าตุรกีตกในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศซีเรีย ทำให้นักบินซีเรียเสียชีวิต 1 นาย[280] หลังเกิดเหตุมีรายงานว่ากบฏเติร์กเมนซีเรียจากกองพลน้อยเติร์กเมนซีเรียโจมตีและยิงเฮลิคอปเตอร์กู้ภัยรัสเซียตก ทำให้มีทหารเรือรัสเซียเสียชีวิต 1 นาย[280] ไม่กี่วันถัดมา มีรายงานว่าอากาศยานรัสเซียโจมตีเป้าหมายในเมือง Ariha ในเขตผู้ว่าการอิดลิบซึ่งถูกกองทัพพิชิตดินแดนควบคุมทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายคน[281][282] วันที่ 2 ธันวาคม 2558 รัฐสภาสหราชอาณาจักรลงมติให้ขยายปฏิบัติการเชเดอร์เข้าสู่ซีเรียด้วยฝ่ายข้างมาก 397–223[283] รัฐมตนรีกลาโหม ไมเคิล ฟัลลอนกล่าวว่าการโจมตีถูกบ่อน้ำมันโอมาร์ในภาคตะวันออกของซีเรีย และมีการส่งเครื่องบินเจ็ตอีกแปดเครื่องไปยัง RAF Akrotiri สมทบกับอีกแปดเครื่องที่อยู่ที่นั่นแล้ว[284]

วันที่ 7 ธันวาคม 2558 รัฐบาลซีเรียประกาศว่าเครื่องบินรบของแนวร่วมที่มีสหรัฐเป็นผู้นำยิงขีปนาวุธเก้าลูกใส่ฐานทัพแห่งหนึ่งใกล้ Ayyash เขตผู้ว่าการดัยรุซซูรเมื่อเย็นวาน ทำให้มีทหารเสียชีวิต 3 นายและได้รับบาดเจ็บอีก 13 นาย พาหนะหุ้มเกราะ 3 คัน, พาหนะทหาร 4 คัน, ปืนกลหนักและคลังอาวุธและเครื่องกระสุนถูกทำลายด้วย[285] รัฐบาลประณามการโจมตีดังกล่าว เป็นครั้งแรกที่กำลังรัฐบาลถูกแนวร่วมตะวันตกโจมตี[286] ถือเป็นการกระทำ "ก้าวร้าวซึ่งหน้า" โฆษกแนวร่วมปฏิเสธว่าแนวร่วมรับผิดชอบ[285] วันที่ 14 ธันวาคม 2558 สื่อข่าวรัฐบาลรัสเซียรายงานว่ากำลังรัฐบาลซีเรียยึดฐานทัพอากาศ Marj al-Sultan ทางตะวันออกของกรุงดามัสกัสซึ่งถูกกลุ่มญัยชุลอิสลามยึดคืนได้[287]

ข้อมติยูเอ็นที่ 2254 วันที่ 18 ธันวาคม 2558 ซึ่งสนับสนุนแผนเปลี่ยนผ่านของกลุ่มสนับสนุนซีเรียระหว่างประเทศ (International Syria Support Group) แต่ไม่ระบุว่าผู้ใดจะเป็นผู้แทนของฝ่ายค้านซีเรีย และประณามกลุ่มก่อการร้ายอย่าง ISIL และอัลกออิดะฮ์ แต่ไม่ระบุบทบาทในอนาคตของประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัด[288]

วันที่ 12 มกราคม 2559 รัฐบาลซีเรียประกาศว่ากองทัพและกำลังพันธมิตร "ควบคุมอย่างสมบูรณ์" ซึ่งเมืองที่ตั้งยุทธศาสตร์ Salma ในเขตผู้ว่าการอัลลาษิกียะฮ์ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ และรุกขึ้นเหนือต่อ[289] วันที่ 16 มกราคม 2559 นักรบ ISIL เปิดฉากตีโฉบฉวยต่อพื้นที่ที่รัฐบาลถือครองในนครดัยรุซซูร ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 300 คน[290] มีรายงานว่าการตีโต้ตอบโดยเครื่องบินขับไล่เจ็ตกองทัพอากาศรัสเซียเพื่อสนับสนุนกองทัพซีเรียยึดพื้นที่คืน[291]

วันที่ 21 มกราคม 2559 มีรายงานกิจกรรมของรัสเซียซึ่งสันนิษฐานว่ากำลังตั้งฐานใหม่ในท่าอากาศยาน Kamishly ที่รัฐบาลควบคุมครั้งแรก[292][293] เมือง Qamishli ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเขตผู้ว่าการอัลฮะซะกะฮ์ส่วนใหญ่อยู่ในการควบคุมของเคิร์ดซีเรียนับแต่เริ่มต้นความขัดแย้งเคิร์ดซีเรีย–อิสลามิสต์ในเขตผู้ว่าการอัลฮะซะกะฮ์ในเดือนกรกฎาคม 2556 มีการสงสัยกิจกรรมคล้ายกันของกองทัพสหรัฐในฐานทัพอากาศ Rmeilan ห่างจากท่าอากาศยาน Kamishly 50 กิโลเมตร พื้นที่ดังกล่าวถูกหน่วยคุ้มครองประชาชนเคิร์ด (YPG) ที่สหรัฐสนับสนุนควบคุม[293][294] วันที่ 24 มกราคม 2559 รัฐบาลซีเรียประกาศว่ากำลังของตนยึดเมืองราเบีย เมืองสำคัญสุดท้ายที่กบฏถือครองในเขตผู้ว่าการอัลลาษิกียะฮ์สำเร็จ มีการกล่าวว่ากำลังรัสเซียมีบทบาทสำคัญในการยึดเมืองคืน กล่าวกันว่าการยึดราเบียคุกคามเส้นทางกำลังบำรุงจากประเทศตุรกี[295][296] วันที่ 26 มกราคม 2559 รัฐบาลซีเรียสถาปนา "การควบคุมสมบูรณ์" เหนือเมือง Al-Shaykh Maskin ในเขตผู้ว่าการดัรอา[297] ฉะนั้นจึงสำเร็จปฏิบัติการที่เริ่มเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2558 อัลญะซีเราะฮ์ถือว่าการยึดเมืองคืนของรัฐบาลซีเรียนี้เป็น "การพลิกกระแสในสงครามซีเรีย"[298]

การหยุดยิงบางส่วน (กุมภาพันธ์–กรกฎาคม 2559)

แก้
 
การโจมตีแพลไมราโดยแนวร่วมรัสเซีย-ซีเรีย-อิหร่าน-อิรักในเดือนมีนาคม 2559

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติรับข้อมติที่ 2268 อย่างเป็นเอกฉันท์ที่สนับสนุนข้อตกลงที่สหรัฐ-รัสเซียเป็นนายหน้าก่อนหน้านี้ว่าด้วย "การยุติความเป็นปรปักษ์"[299] การหยุดยิงเริ่มเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 00:00 (เวลาดามัสกัส)[300] การหยุดยิงไม่รวมการโจมตีต่อองค์การก่อการร้ายที่ยูเอ็นกำหนด[301][302] เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2559 แม้มีการปะทะบ้างประปราย แต่มีรายงานว่าการพักรบยังมีผล[303] เมื่อปลายเดือนมีนาคม กำลังรัฐบาลซีเรียด้วยการสนับสนุนจากรัสเซียและอิหร่านยึดแพลไมราคืนจาก ISIL สำเร็จ[304]

เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม 2559 กล่าวกันว่าการพักรบไม่มีผลมากแล้ว ความรุนแรงยกระดับขึ้นอีกครั้ง และการสู้รบระหว่างภาคีหลักของความขัดแย้งดำเนินต่อ[305] ปลายเดือนกรกฎาคม 2559 การสู้รบระหว่างรัฐบาลและกบฏอิสลามิสต์ในและรอบอะเลปโปทวีความรุนแรง

การบุกของ SDF และการแทรกแซงทางทหารของตุรกี (สิงหาคม–ตุลาคม 2559)

แก้
 
ทหารเคิร์ดและอาหรับแห่ง SDF ขณะบุกเข้าใจกลางนครมันบิจที่ ISIL ถือครองอยู่

วันที่ 12 สิงหาคม 2559 กำลังประชาธิปไตยซีเรียยึดมันบิจคืนจาก ISIL อย่างสมบูรณ์ หลายวันต่อมา SDF ประกาศการบุกรอบใหม่ต่ออัลบับ (Al-Bab)[306] ซึ่งสุดท้ายจะเชื่อมภูมิภาคเคิร์ดในภาคเหนือของซีเรีย

หลายวันต่อมา ยุทธการที่อัลฮะซะกะฮ์เริ่มต้น วันที่ 22 สิงหาคม หลัง YPG เคิร์ดยึด Ghwairan ซึ่งเป็ยย่านอาหรับสำคัญแห่งเดียวในฮะซะกะฮ์ซึ่งอยู่ในมือของรัฐบาล เปิดฉากการบุกใหญ่เพื่อยึดพื้นที่ที่รัฐบาลควบคุมในนครฮะซะกะฮ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของซีเรีย หลังทีมไกล่เกลี่ยรัสเซียไม่สามารถประสานรอยร้าวระหว่างทั้งสองฝ่าย[307] วันต่อมา การยึดนครสำเร็จ[308] ไม่กี่วันก่อนหน้านั้น กระทรวงกลาโหมสหรัฐแนะนำรัฐบาลซีเรียไม่ให้ "แทรกแซงกับกำลังแนวร่วมหรือผู้ให้ความร่วมมือของเรา" ในภูมิภาคนั้น โดยเสริมว่าสหรัฐมีสิทธิป้องกันทหารของตน[309]

วันที่ 24 สิงหาคม 2559 กองทัพตุรกีบุกครองพื้นที่ Jarabulus ที่ ISIL ควบคุม เปิดฉากปฏิบัติการยูเฟรตีสชีลด์ ซึ่งประธานาธิบดีตุรกีเรเจป ไตยิป แอร์โดอันแถลงว่ามุ่งเป้าต่อทั้ง "กลุ่มก่อการร้ายที่คุกคามประเทศของเราในภาคเหนือของซีเรีย"[310] IS และเคิร์ด รัฐบาลซีเรียประณามการแทรกแซงดังกล่าวว่าเป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตยอย่างโจ่งแจ้ง และว่าการต่อสู้การก่อการร้ายไม่ได้กระทำโดยขับ ISIS ออกแล้วแทนที่ด้วยกลุ่มก่อการร้ายอื่นที่ตุรกีหนุนหลังโดยตรง[311] Salih Muslim ผู้นำ PYD ระบุว่าขณะนี้ตุรกีอยู่ใน "หล่มซีเรีย" และจะแพ้เหมือน IS[310][312] รองประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน สนับสนุนท่าทีของตุรกีทางอ้อมและกล่าวว่าสหรัฐเคยแสดงออกชัดเจนต่อกำลังเคิร์ดซีเรียแล้วว่าพวกเขาควรย้ายไปฝั่งตะวันออกของแม่น้ำยูเฟรตีส หรือเสียการสนับสนุนจากสหรัฐ[313]

เมื่อทหารตุรกีและกบฏซีเรียที่เข้ากับตุรกีเข้าควบคุม Jarablus แล้วเคลื่อนลงใต้สู่เมืองมันบิจของซีเรีย พวกเขาปะทะกับ YPG เคิร์ด ซึ่งทำให้ข้าราชการสหรัฐแสดงความกังวลและออกคำเตือนแก่ทั้งสองฝ่าย วันที่ 29 สิงหาคม รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ แอช คาร์เตอร์ เจาะจงว่าสหรัฐไม่สนับสนุนการบุกของตุรกีไปใต้กว่า Jarablus คำเตือนตลอดจนประกาศหยุดยิงเบื้องต้นระหว่างกำลังตุรกีและเคิร์ดในพื้นที่ Jarablus ของสหรัฐพลันถูกข้าราชการตุรกีปัดทันควันอย่างโกรธเกรี้ยว ทว่า การสู้รบระหว่างกำลังตุรกีและ SDF ซาลงและกำลังตุรกีเคลื่อนไปทางตะวันตกไปเผชิญ IS แทน[314] ขณะเดียวกัน SDF รวมทั้งอาสาสมัครตะวันตกยังเสริมกำลังมันบิจต่อ[315]

ยามตะวันตกของวันที่ 12 กันยายน 2559 การหยุดยิงที่สหรัฐ-รัสเซียเป็นนายหน้ามีผล[316] ห้าวันถัดมา เครื่องบินเจ็ตสหรัฐและแนวร่วมอื่นทิ้งระเบิดใส่ที่ตั้งของกองทัพซีเรียใกล้กัยดัยรุซซูร ซึ่งน่าจะเป็นอุบัติเหตุ แต่รัสเซียแย้งว่าเจตนา ฆ่าทหารซีเรียอย่างน้อย 62 นายที่กำลังสู้รบกับนักรบ ISIL[317] ไม่นานหลังจากนั้น การหยุดยิงก็ไม่มีผล และในวันที่ 19 กันยายน กองทัพซีเรียประกาศว่าจะไม่ยินยอมพักรบต่อไป[318] วันเดียวกัน ขบวนรถช่วยเหลือในอะเลปโปถูกโจมตีโดยแนวร่วมสหรัฐกล่าวหารัฐบาลรัสเซียและซีเรียว่าก่อเหตุดังกล่าว ฝ่ายรัฐบาลทั้งสองประเทศปฏิเสธ และโทษผู้ก่อการร้ายแทน

วันที่ 22 กันยายน กองทัพซีเรียประกาศการบุกรอบใหม่ในอะเลปโป[319] การบุกสำเร็จในวันที่ 14 ธันวาคม เมื่อที่มั่นสุดท้ายของกบฏในอะเลปโปถูกรัฐบาลซีเรียยึดคืนหลังความตกลงหยุดยิง[320]

วันที่ 26 ตุลาคม 2559 รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ แอช คาร์เตอร์ กล่าวว่าการบุกเพื่อยึดร็อกเกาะฮ์คืนจาก IS จะเริ่มต้นในอีกไม่กี่สัปดาห์[321] SDF ดำเนินความพยายามนี้ในปฏิบัติการรอธออฟยูเฟรตีส ปฏิบัติการนี้ใช้ทหารอาหรับ คริสต์ศาสนิกชนและเคิร์ดถึง 30,000 คนด้วยการสนับสนุนจากแนวร่วมตะวันตก ในเดือนธันวาคม 2559 SDF ยึดหมู่บ้านหลายแห่งและดินแดนทางตะวันตกของร็อกเกาะฮ์ซึ่งเดิม IS ควบคุม[322] ในเดือนมกราคม 2560 ดินแดนกว้างใหญ่ทางตะวันตกของร็อกเกาะฮ์ถูกยึด และปฏิบัติการระยะที่สองสำเร็จ

การหยุดยิงที่รัสเซีย-อิหร่าน-ตุรกีสนับสนุน (ธันวาคม 2559 – เมษายน 2560)

แก้

ในเดือนธันวาคม 2559 กำลังรัฐบาลซีเรียยึดส่วนของอะเลปโปที่กบฏควบคุมคืนได้ทั้งหมด ยุติการยุทธ์ 4 ปีในนคร[323] วันที่ 29 ธันวาคม 2559 ประธานาธิบดีรัสเซียวลาดีมีร์ ปูตินประกาศข้อตกลงหยุดยิงรอบใหม่ซึ่งบรรลุระหว่างรัฐบาลซีเรียและกลุ่มฝ่ายค้านโดยมีรัสเซียและตุรกีทำหน้าที่เป็นผู้ค้ำประกัน และอิหร่านเป็นผู้ลงนามความตกลงไตรภาคี การหยุดยิงมีผลเมื่อเวลา 00:00 ตามเวลาซีเรีย (02:00 UTC) ของวันที่ 30 ธันวาคม ทั้งนี้ ไม่รวมกลุ่มก่อการร้ายที่ระบุแล้ว เช่น ISIL และ Jabhat Fateh al-Sham ผู้แทนคณะกรรมการเจรจาระดับสูงซีเรียในตุรกียืนยันว่าพวกตนมีความเกี่ยวข้องในข้อตกลงดังกล่าวด้วย มีกำหนดการเจรจาระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในกรุงอัสตานา เมืองหลวงของประเทศคาซัคสถาน ในวันที่ 15 มกราคม[324]

รายงานแรก ๆ ชี้ว่าแม้มีเหตุการณ์สู้รบประราย แต่การหยุดยิงดูจะมีผล โดยไม่มีพลเรือนเสียชีวิต[325] สายวันเดียวกัน สำนักงานประสานงานกิจการมนุษยธรรมสหประชาชาติรายงานว่ามีประชาชน 4 ล้านคนในกรุงดามัสกัสและพื้นที่ใกล้เคียงไม่สามารถเข้าถึงน้ำได้อย่างน่าไว้วางใจหลังโครงสร้างพื้นฐานการประปาตกเป็นเป้าหมายอย่างเจตนาเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พวกเขากล่าวว่าแม้รัฐบาลเริ่มโครงการปันส่วน แต่ยังกังวลว่าทุกคนอาจไม่สามารถเข้าถึงน้ำดื่มปลอดภัย และเรียกร้องให้ภาคีบรรลุความตกลงอย่างสันติเพื่อรับประกันปัจจัยพื้นฐาน[325]

วันที่ 2 มกราคม 2560 กลุ่มกบฏกล่าวว่าจะไม่เข้าร่วมการเจรจาตามกำหนดหลังมีการกล่าวหาการละเมิดการหยุดยิงของกำลังรัฐบาลในหุบวะดีบาราดาใกล้กับกรุงดามัสกัส ฝ่ายรัฐบาลระบุว่าภูมิภาคดังกล่าวถูกงดการหยุดยิงเพราะมีกลุ่ม Fatah al-Sham แต่นักเคลื่อนไหวท้องถิ่นปฏิเสธว่ามีกลุ่มนี้อยู่ที่นั่น[326] ปลายเดือนมกราคม กำลังรัฐบาลสามารถยุดวะดีบาราบาและการประปาของกรุงดามัสกัสกลับมาอีกครั้ง[327][328]

 
ควันลอยขึ้นจากอาคารในโญบัรหลังถูกระเบิดระหว่างการตีโต้ตอบของกบฏระหว่างการบุกกาบวน (Qaboun)

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2560 การหยุดยิงระหว่างกำลังอะซัดและกบฏล้มเหลวทั่วประเทศ ทำให้มีการปะทะรอบใหม่ตามจุดต่าง ๆ และมีการบุกของกบฏในดัรอา[329] มีการจัดการประชุมสันติภาพรอบใหม่ในเจนีวาในวันที่ 23 กุมภาพันธ์[330]

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ กองทัพตุรกียึดอัลบับจาก ISIL ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอะเลปโป[331] กำลังรัฐบาลซีเรียเริ่มการบุกทางตะวันออกของอะเลปโปเพื่อพิชิต Dayr Hafir จาก ISIL และป้องกันการบุกของตุรกีเพิ่มเติม

วันที่ 17 มีนาคม กองทัพซีเรียยิงขีปนาวุธเอส-200 ใส่เครื่องบินเจ็ตอิสราเอลเหนือที่สูงโกลัน กองทัพอิสราเอลอ้างว่าระบบป้องกันขีปนาวุธแอร์โรว์สกัดขีปนาวุธได้ 1 ลูก ส่วนกองทัพซีเรียอ้างว่ายิงเครื่องบินเจ็ตอิสราเอลลำดังกล่าวตก กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียเรียกตัวเอกอัครราชทูตอิสราเอลมาชี้แจงสถานการณ์[332]

กองทัพอาหรับซีเรียเข้า Dayr Hafir ที่มั่นสุดท้ายที่ IS ถือครองในอะเลปโปตะวันออกในวันที่ 23 มีนาคมและยึดได้ในวันเดียวกัน ซึ่งเปิดโอกาสให้ผลักลงใต้เข้าสู่เขตผู้ว่าการอัรร็อกเกาะฮ์ซึ่งเป็นเมืองหลวงโดยพฤตินัยของรัฐอิสลาม ทว่า วันเดียวกัน หน่วยชั่วคราวของกำลังประชาธิปไตยซีเรียขึ้นฝั่งบนคาบสมุทรทางตะวันตกของอัรร็อกเกาะฮ์โดยเรือและเฮลิคอปเตอร์เพื่อพยายามปิดมิให้กองทัพอาหรับซเรียเข้าสู่ร็อกเกาะฮ์ วันที่ 28 มีนาคม มีรายงานว่ามีการบรรลุความตกลงที่มีกาตาร์และอิหร่านเป็นนายหน้าสำหรับการอพยพเมืองที่ถูกล้อมสี่แห่งในประเทศซีเรียซึ่งมีประชากรรวมประมาณ 60,000 คน ข้อตกลงเกี่ยวข้องกับการอพยพผู้อยู่อาศัยในเมือง al-Fu'ah และ Kafriya ในเขตผู้ว่าการอิดลิบที่ถูกกำลังกบฏล้อม แลกกับการอพยพผู้อยู่อาศัยและกบฏใน Zabadani และ Madaya ในเขตผู้ว่าการรีฟดิมัชก์ที่ถูกรัฐบาลล้อม[333]

การโจมตีของสหรัฐตอบโต้การโจมตีเคมีที่คอนชัยคูน และการสู้รบรอบใหม่ (เมษายน – มิถุนายน 2560)

แก้
ขณะปล่อยขีปนาวุธจากยูเอสเอส พอร์เตอร์

วันที่ 7 เมษายน เรือรบสหรัฐปล่อยขีปนาวุธโทมาฮอว์กใส่ฐานทัพชะริอัตของรัฐบาลซีเรีย ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นแหล่งของการโจมตีเคมีที่คอนชัยคูนเมื่อสามวันก่อนหน้านั้น[334] เนื่องจากการโจมตีของสหรัฐดำเนินการโดยไม่ได้รับอนุญาตจากทั้งรัฐสภาสหรัฐหรือคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ จึงก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายภายใต้กฎหมายสหรัฐเช่นเดียวกับกฎหมายระหว่างประเทศ[335] มีการจัดประชุมคณะมนตรีความมั่นคงฯ ฉุกเฉิน ตามคำขอของโบลิเวียและรัสเซียสนับสนุน ผู้แทนสหรัฐกล่าวว่า "มลทินศีลธรรมของระบอบอะซัดไม่อาจปล่อยไว้ได้อีกต่อไป"[336] โฆษกประธานาธิบดีกล่าวว่า ปูตินมองการโจมตีของสหรัฐว่าเป็น "การกระทำรุกรานต่อชาติเอกราชโดยละเมิดบรรทัดฐานของกฎหมายระหว่างประเทศและภายใต้บริบทกุขึ้น"[337] เดโบราห์ เพิร์ลสเตน (Deborah Pearlstein) แนะว่าการโจมตีของกองทัพสหรัฐต่อกำลังรัฐบาลซีเรียละเมิดกฎบัตรยูเอ็น[338]

 
กบฏยิงปืนใหญ่และจรวดใส่ที่ตั้งของรัฐบาลระหว่างยุทธการที่ฮะมาฮ์เหนือ

ขณะเดียวกัน การสู้รบดุเดือดระหว่างกำลังรัฐบาลและกลุ่มกบฏเริ่มทางเหนือของฮะมาฮ์ในวันที่ 21 มีนาคม ดำเนินต่อ[339]

วันที่ 12 เมษายน ความตกลงแลกเปลี่ยนผู้อยู่อาศัยในเมืองที่กบฏยึดครอง Zabadani และ Madaya กับผู้อยู่อาศัยของเมืองนิยมรัฐบาล Al-Fu'ah และ Kafraya เริ่มมีการนำไปปฏิบัติ[340] ในวันที่ 15 เมษายน ขบวนรถโดยสารประจำทางที่บรรทุกผู้อพยพจาก Al-Fu'ah และ Kafriya ถูกระเบิดฆ่าตัวตายในอะเลปโป ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 126 คน[341]

วันที่ 24 เมษายน กองทัพอากาศตุรกีดำเนินการโจมตีทางอากาศหลายครั้งต่อที่ตั้งของ YPG และ YPJ ใกล้กับ al-Malikiyah ทำให้มีนักรบเสียชีวิตอย่างน้อย 20 คน สหรัฐประณามเหตุดังกล่าว[342]

วันที่ 4 พฤษภาคม 2560 รัสเซีย อิหร่านและตุรกีลงนามความตกลงในกรุงอัสตานาเพื่อสถาปนา "เขตลดขอบเขต" (de-escalation zone) 4 เขตในประเทศซีเรีย ได้แก่ เขตผู้ว่าการอิดลิบ เขตผู้ว่าการฮอมส์ส่วนเหนือที่กบฏควบคุม กูตาตะวันออกที่กบฏควบคุมและชายแดนจอร์แดน–ซีเรีย กลุ่มกบฏบางกลุ่มปฏิเสธความตกลงนี้[343] และพรรคสหภาพประชาธิปไตยยังประณามข้อตกลงนี้ โดยกล่าวว่าเขตหยุดยิง "แบ่งซีเรียออกตามนิกาย" การหยุดยิงมีผลในวันที่ 6 พฤษภาคม[344]

วันที่ 18 พฤษภาคม 2560 เครื่องบินขับไล่โจมตีขบวนกำลังนิยมรัฐบาลซีเรียที่มุ่งหน้าสู่ฐานของแนวร่วมสหรัฐ ณ เมืองชายแดน al-Tanf ที่ซึ่งกองทัพสหรัฐปฏิบัติการและฝึกกบฏต่อสู้รัฐบาล[345] กระนั้น การรุกทะเลททรายของรัฐบาลยังดำเนินต่อและในวันที่ 9 มิถุนายน กำลังรัฐบาลยึดบางส่วนของชายแดนซีเรีย–อิรักได้เป็นครั้งแรกนับแต่ปี 2558[346]

การหยุดส่งอาวุธของซีไอเอ, ISIL แพ้, วางกำลังรัสเซียถาวร (กรกฎาคม–ธันวาคม 2560)

แก้

วันที่ 7 กรกฎาคม 2560 สหรัฐ รัสเซียและจอร์แดนตกลงหยุดยิงในบางส่วนของภาคตะวันตกเฉียงใต้ของซีเรีย รัสเซียรับรองว่าอะซัดจะปฏิบัติตามความตกลง[347]

วันที่ 19 กรกฎาคม 2560 มีรายงานว่ารัฐบาลดอนัลด์ ทรัมป์ตัดสินใจยุติโครงการของซีไอเอในการติดอาวุธและฝึกกลุ่มกบฏต่อสู้รัฐบาล ซึ่งเป็นไปตามความประสงค์ของรัสเซีย[348]

 
ทหารซีเรียต่อสู้ตามถนนในดัยรุซซูร 2 พฤศจิกายน

วันที่ 5 กันยายน 2560 การรุกซีเรียภาคกลางของรัฐบาลทำให้แก้ไขการล้อมดัยรุซซูรนานสามปีของ ISIL ได้สำเร็จ โดยกองทัพอากาศและกองทัพเรือรัสเซียเข้าร่วมด้วย[349][350][351] ไม่นานหลังจากนั้น ท่าอากาศยานของนครก็ได้รับการแก้ไขวงล้อมเช่นกัน[352]

 
พื้นที่ส่วนใหญ่ของร็อกเกาะฮ์ได้รับความเสียหายอย่างหนักระหว่างการยุทธ์[353]

วันที่ 17 ตุลาคม 2560 หลังการสู้รบดุเดือดกว่าสี่เดือนและการทิ้งระเบิดของแนวร่วมที่มีสหรัฐเป็นผู้นำ กำลังประชาธิปไตยซีเรียประกาศว่าสถาปนาการควบคุมสมบูรณ์ซึ่งนครร็อกเกาะฮ์ในภาคเหนือของประเทศซีเรียซึ่งเป็นเมืองหลวงโดยพฤตินัยเดิมของ ISIL ปลายเดือนตุลาคม รัฐบาลซีเรียกล่าวว่าจะถือว่าร็อกเกาะฮ์เป็นนครที่ถูกยึดครองซึ่ง "ถือว่าได้รับการปลดปล่อยเฉพาะเมื่อกองทัพอาหรับซีเรียเข้าเท่านั้น" กลางเดือนพฤศจิกายน 2560 กำลังรัฐบาลและทหารอาสาสมัครพันธมิตรสถาปนาการควบคุมสมบูรณ์เหนือดัยรุซซูรและเมือง Abu Kamal ที่ถูกยึดครองในภาคตะวันออกของประเทศ ใกล้กับชายแดนอิรัก[354]

วันที่ 6 ธันวาคม 2560 รัฐบาลซีเรียประกาศว่าซีเรีย "ได้รับการปลดปล่อยอย่างสมบูรณ์" จาก ISIL วันที่ 11 ธันวาคม ประธานาธิบดีปูตินเยือนฐานทัพรัสเซียในประเทศซีเรีย ซึ่งเขาสั่งให้ถอนกำลังบางส่วนที่ประจำอยู่ในประเทศ[355][356] วันที่ 26 ธันวาคม รัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย เซียร์เกย์ ชอยกูกล่าวว่ารัสเซียจะ "ตั้งกลุ่มถาวร" ที่ฐานทัพเรือที่ฏ็อรฏูสและฐานทัพอากาศ Hmeymim[357][358] สองวันให้หลัง รัฐมนตรีคนดังกล่าวระบุว่า รัสเซียเชื่อว่ากำลังสหรัฐต้องออกจากดินแดนซีเรียอย่างเต็มตัวเมื่อส่วนสุดท้ายของผู้ก่อการร้ายถูกขจัดไปอย่างสมบูรณ์และคาดว่าจะเกิดขึ้นในเร็ววัน[359][360]

การบุกของรัฐบาลรอบใหม่และปฏิบัติการกิ่งมะกอก (มกราคม–มีนาคม 2561)

แก้
 
รถถังกองทัพบกตุรกีบนถนนสู่อะฟริน

ระหว่างเดือนแรก ๆ ของปี 2561 กองทัพอาหรับซีเรียเปิดฉากการบุกในเขตผู้ว่าการฮะมาฮ์และชานเมืองกูตา ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ มีการบุกขนาดใหญ่ต่อกำลังตะห์รีรุชชาม (HTS), ISIS, หน่วยของพรรคอสิลามเตอร์กิสถาน (TIP) และกบฏอื่นในเขตผู้ว่าการฮะมาฮ์ การบุกประสบความสำเร็จในการยึดฐานทัพอากาศ Abu Adh Dhuhur เช่นเดียวกับการยุติ ISIS ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศซีเรียอย่างถาวร ขณะเดียวกันวันที่ 21 กุมภาพันธ์ กองทัพซีเรียและพันธมิตรเริ่มปฏิบัติการกวาดล้างวงล้อมของกบฏที่ตั้งอยู่ในย่านกูตาทางตะวันออกของกรุงดามัสกัส ปฏิบัติการดังกล่าวมีชื่อรหัสว่า "ดามัสกัสสตีล" เริ่มต้นด้วยการทัพทางอากาศอย่างเข้มข้น และจนถึงวันที่ 12 มีนาคม กำลังกบฏซึ่งประกอบด้วย Al-Rahman Legion, Jaysh al-Islam และกลุ่มแยกอื่น[361] ถูกบีบให้เป็นสามวงล้อมเล็ก ๆ แยกกัน[362]

 
แผนที่ปฏิบัติการกิ่งมะกอกแสดงการเปลี่ยนแปลงแนวรบตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561

ขณะเดียวกับที่กำลังรัฐบาลซีเรียบุกทั่วประเทศซีเรีย ประเทศตุรกีก็เปิดฉากการบุกของตนเองเช่นกันชื่อ ปฏิบัติการกิ่งมะกอก (Olive Branch) เป็นปฏิบัติการตามหลังปฏิบัติการยูเฟรตีสชีลด์ในปี 2559 และเป็นการโจมตีข้ามพรมแดนอีกครั้ง โดยครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อยึดอะฟรินแคนทอน (Afrin Canton) และ Tell Rifaat ที่เคิร์ดยึดในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทซีเรีย ปฏิบัติการเริ่มต้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม โดยกองทัพตุรกีซึ่งมีกลุ่มแยก FSA หลายกลุ่มสนับสนุน ปะทะกับกำลัง YPG/YPJ ในวันที่ 18 มีนาคม FSA และกองทัพตุรกียึดอะฟรินแคนทอนจากกำลังเคิร์ด 58 วันหลังเริ่มปฏิบัติการ ทว่า กำลังที่ตุรกีสนับสนุนมิได้บุกต่อไปยังพื้นที่ Tell Rifaat เนื่องจากทั้งกำลังป้องกันชาติของรัฐบาลซีเรียและสารวัตรทหารรัสเซียเข้าพื้นที่และยึดเมือง Tell Rifaat และฐานทัพอากาศ Menaghe แล้ว[363]

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 กำลังป้องกันภัยทางอากาศซีเรียยิงเครื่องบินขับไล่เจ็ตเอฟ-16 ของอิสราเอลเพื่อตอบโต้การตีโฉบฉวยข้ามชายแดนที่อิสราเอลดำเนินการต่อเป้าหมายอิหร่านใกล้กรุงดามัสกัสผ่านน่านฟ้าเลบานอน[364] [365] นักบินรอดชีวิตจากเครื่องตก แต่ถูกนำตัวรับการรักษาพยาบาล[366]

การโจมตีเคมีในดูมา, การสลายวงล้อมกูตา, การรุกภาคใต้ของซีเรีย (เมษายน–สิงหาคม 2561)

แก้
การระเบิดใกล้กับดุมมัร ประเทศซีเรีย

วันที่ 7 เมษายน 2561 มีรายงานการโจมตีเคมีในนครดูมา มีผู้เสียชีวิต 70 คน[367][368] และบาดเจ็บ 500 คน แพทย์สนามระบุว่าสาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากการสัมผัสแก๊สคลอรีนและซาริน[369] รัฐบาลซีเรียปฏิเสธการใช้อาวุธเคมี หลังเกิดเหตุ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติไม่สามารถรับข้อมติที่ขัดกันสามข้อมติว่าด้วยการสอบสวนเหตุโจมตีเคมีดังกล่าวได้ โดยรัสเซียและสหรัฐขัดกันในประเด็นดังกล่าว[370] วันรุ่งขึ้น กบฏทั้งหมดที่ควบคุมดูมาตกลงกับรัฐบาลยอมยกพื้นที่ดังกล่าวให้[371] วันที่ 12 เมษายน มีการสถาปนาการควบคุมของรัฐบาลอย่างสมบูรณ์เหนือพื้นที่กูตาตะวันออกทั้งหมดที่เดิมกบฏ Jaysh al-Islam ถือ การล้อมกูตาตะวันออกจึงสิ้นสุดลงหลังการสู้รบนานกว่า 5 ปี[372] วันที่ 13 เมษายน 2561 สหรัฐ สหราชอาณาจักรและฝรั่งศสเปิดฉากการโจมตีด้วยขีปนาวุธตอบแทนต่อเป้าหมายในกรุงดามัสกัสและฮอมส์ ประเทศซีเรีย

วันที่ 19 เมษายน 2561 กองทัพซีเรียและกลุ่มพันธมิตรชาวปาเลสไตน์เริ่มการบุกต่อค่ายผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ยาร์มุก ซึ่งถูก ISIL ยึดครองบางส่วน วันที่ 21 พฤษภาคม กลุ่มนิยมรัฐบาลเข้ายึดค่ายยาร์มุคคืนได้อย่างสมบูรณ์ ขณะที่นักรบ ISIL ถอนกำลังออกไปทางทะเลทรายทางทิศตะวันออกของนคร ฉะนั้นจึงทำให้กองทัพอาหรับซีเรียเมืองหลวงได้อย่างสมบูรณ์ครั้งแรกในรอบ 6 ปี[373][374]

วันที่ 6 กรกฎาคม ผลของการบุกภาคใต้ของซีเรียซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน กองทัพซีเรียที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพรัสเซียถึงชายแดนจอร์แดนและยึดจุดผ่านแดนนาซิบ[375][376] วันที่ 31 กรกฎาคม การบุกยุติลงทำให้รัฐบาลซีเรียควบคุมเขตผู้ว่าการดัรอาและกุนัยฏิเราะฮ์ได้อย่างเบ็ดเสร็จ

วันที่ 17 กันยายน อิสราเอลโจมตีเป้าหมายหลายตำแหน่งในภาคตะวันตกของซีเรีย กองทัพซีเรียยิงเครื่องบินรัสเซียตกลำหนึ่งขณะพยายามโจมตีเครื่องบินอิสราเอล ทำให้ชาวรัสเซียเสียชีวิต 15 คน[377][378] การโจมตีดังกล่าวมีขึ้นไม่กี่ชั่วโมงหลังรัสเซียกับตุรกีตกลงสร้างเขตปลอดทหารรอบเขตอิดลิบ ซึ่งชะลอปฏิบัติการบุกของกำลังรัฐบาลบะอัธซีเรียและพันธมิตร[379] รัสเซียกล่าวโทษอสิราเอลจากเหตุการณ์นี้[380][381]

วันที่ 24 กันยายน 2561 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรัสเซีย Sergey Shoygu ยืนยันว่ากองทัพซีเรียจะได้รับระบบขีปนาวุธป้องกันภัยทางอากาศเอส-300 เพื่อเสริมสมรรถนะการป้องกันภัยทางอากาศในการรบของซีเรีย เขาเสริมว่าการยกเลิกสัญญาส่งมอบเอส-300 ในปี 2556 เป็นเพราะคำขอของอิสราเอล แต่สถาการณเปลี่ยนไปหลังเหตุเครื่องบินรัสเซียถูกยิงตกในซีเรีย[382][383][384] ทั้งนี้ เอส-300 มีระบบ IFF สมัยใหม่ซึ่งป้องกันการเล็งขีปนาวุธใส่เครื่องบินรัสเซีย[385]

การทำให้อิดลิบปลอดทหาร ทรัมป์ประกาศถอนทหารสหรัฐ อิรักโจมตีเป้าหมาย ISIL (กันยายน–ธันวาคม 2561)

แก้

วันที่ 17 กันยายน 2561 ประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูตินของรัสเซียและเอร์โดอันของตุรกีบรรลุความตกลงสร้างเขตกันชนในอิดลิป

วันที่ 12 ธันวาคม รัฐบาลตุรกีประกาศจะเริ่มปฏิบัติการต่อโรยาวา โดยเป็นการวิจารณ์ความพยายามของสหรัฐในการรับประกันความมั่นคงชายแดนของตุรกีในพื้นที่ ประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศในวันที่ 19 ธันวาคม 2561 ว่าจะถอนกำลังทั้งหมดออกจากซีเรีย หลังตุรกีชะลอการเข้าตีตามแผน

วันที่ 25 ธันวาค อิสราเอลเปิดฉากการเข้าตีจากหรือข้ามน่านฟ้าเลบานอน "เพื่อตอบสนองขีปนาวุธต่อสู้อากาศยานที่ยิงมาจากซีเรีย" รายงานจากซีเรียกล่าวว่าคลังอาวุธใน Qatifah ห่างจากกรุงดามัสกัสไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 40 กิโลเมตร ถูกโจมตี ทำให้มีทหารบาดเจ็บ 3 นาย

วันที่ 30 ธันวาคม รัฐบาลบะอัธซีเรียอนุญาตให้อิรักโจมตี ISIL ในดินแดนซีเรีย อิรักโจมตีเป้าหมาย ISIL ใน Deir ez-Zor ในวันถัดมา

ISIL โจมตีต่อ สหรัฐประกาศเงื่อนไขการถอนกำลัง ความขัดแย้งภายในกลุ่มกบฏรอบห้า (มกราคม–พฤษภาคม 2562)

แก้

ระหว่างวันที่ 1 ถึง 10 มกราคม 2562 Hayat Tahrir al-Sham (HTS) เข้าตีและยึดที่ตั้งของ National Front for Liberation (NLF) ข้ามอิดลิปและอะเลปโปที่กบฏถือครอง วันที่ 9 มกราคม 2562 ทั้งสองกลุ่มบรรลุการพักรบ โดย NLF ยอมยกที่ตั้งสุดท้ายในอิดลิปให้ HTS และอพยพไปยังพื้นที่ที่อยู่ใต้การควบคุมของกองทัพซีเรียเสรีในอะฟรินที่ตุรกีหนุนหลังอยู่ วันต่อมา HTS เข้าควบคุมพื้นที่ดังกล่าว

วันที่ 6 มกราคม 2562 ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาตของสหรัฐ จอห์น โบลตัน กล่าวว่าการถอนกำลังสหรัฐจากซีเรียขึ้นอยู่กับเงื่อนไขบางประการ เช่น การรับประกันว่ากำลัง ISIL กลุ่มสุดท้ายแพ้และเคิร์ดในซีเรียเหนือปลอดภัยจากองทัพตุรกี อย่างไรก็ดี ประธานาธิบดีเอร์โดอันปฏิเสธข้อเรียกร้องให้คุ้มครองเคิร์ดซึ่งเขาถือว่าเป็นกลุ่มก่อการร้าย วันที่ 10 มกราคท 2562 ไมก์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ กล่าวว่าสหรัฐจะถอนกำลังจากซีเรียแต่ยังจะสู้กับ ISIL ต่อไป แต่เตือนด้วยว่าจะไม่มีงบช่วยเหลือบูรณะสำหรับพื้นที่ที่ประธานาธิบดีอัลอะซัดควบคุมอยู่จนกว่าอิหร่านและตัวแทนออกจากพื้นที่

วันที่ 23 มีนาคม หลังการสู้รบอย่างประปรายนานหลายสัปดาห์ใน Baghuz กองทัพรัฐบาลซีเรียประกาศว่า ISIL ถูกปราบในซีเรียหมดสิ้นแล้ว แต่ในวันที่ 20 เมษายน ISIL รายงานว่าได้ฆ่าทหารรัฐบาล 35 นายในจังหวัด Homs และ Deir al-Zour นับเป็นการโจมตีใหญ่สุดหลัง ISIL ถูกประกาศว่าปราชัยแล้ว

ความตกลงปลอดทหารล้มเหลว, การบุกของตุรกี, และตั้งเขตกันชนซีเรียเหนือ (พฤษภาคม–ตุลาคม 2562)

แก้

ในเดือนสิงหาคม สหรัฐและตุรกีบรรลุข้อตกลงในการตั้งเขตปลอดทหารในซีเรียเหนือ และซีเรียกับรัสเซียประกาศหยุดยิงฝ่ายเดียวในอิดลิบ

อย่างไรก็ดี วันที่ 9 ตุลาคม ประธานาธิบดีตุรกีแอร์โดกันประกาศบุกซีเรียเหนือเต็มขั้น ทำให้ในวันที่ 13 ตุลาคม โรยาวาและรัฐบาลซีเรียตกลงในการป้องปรามการบุกของตุรกี โดยมีรัสเซียเป็นนายหน้า จนในวันที่ 22 ตุลาคม ประธานาธิบดีตุรกีและรัสเซียบรรลุความตกลงรอบใหม่ในการตั้งเขตปลอดทหารในซีเรียเหนือ

วันที่ 26 ตุลาคม การโจมตีทางอากาศของสหรัฐฆ่าอะบู บักร์ อัลบัฆดาดี ผู้นำ ISIL ในจังหวัดอิดลิบ

การบุกซีเรียตะวันตกเฉียงเหนือ; ปฏิบัติการสปริงชีลด์ (ธันวาคม 2562–พฤษภาคม 2563)

แก้

รัสเซียและซีเรียเร่งการโจมตีต่อทัพกบฏในอิดลิบ ซึ่งเป็นบริเวณของฝ่ายกบฏบริเวณสุดท้ายในประเทศ กองทัพซีเรียและพันธมิตรเปิดฉากบุกต่อฝ่ายกบฏตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 ถึงมีนาคม 2563 จนสามารถยึดถนน M5 ที่เชื่อมระหว่างกรุงดามัสกัสกับนครอะเลปโปได้

ภาวะทางตัน

แก้

ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศซีเรียซึ่งค่าเงินปอนด์ซีเรียอ่อนตัวลงอย่างมาก วันที่ 11 มิถุนายน นายกรัฐมนตรี Imad Khamis ถูกปลดจากตำแหน่งท่ามกลางการประท้วงต่อต้านรัฐบาลต่อสภาพเศรษฐกิจที่เลวลง นับเป็นภัยต่อความอยู่รอดของรัฐบาลอะซัด มีนักวิเคราะห์บางส่วนเชื่อว่าอะซัดอาจใกล้เสียอำนาจ ขณะที่รัสเซียยังคงขยายอิทธิพลและบทบาททางทหารในประเทศซีเรีย

คู่สงคราม

แก้
 
แผนภาพกลุ่มแยกหลักในสงครามกลางเมืองซเรียและฝ่ายต่าง ๆ ในปี 2561

พรรคบะอัธซีเรียและพันธมิตร

แก้

แหล่งข้อมูลหลายแหล่งเน้นว่าปลายปี 2558 และต้นปี 2559 รัฐบาลซีเรียพึ่งพาอาสาสมัครและทหารอาสาสมัครมากกว่ากองทัพซีเรีย[386][387]

กองทัพซีเรีย

แก้

ก่อนการก่อการกำเริบและสงครามอุบัติ มีประมาณการว่ากองทัพซีเรียมีกำลังพลประจำการ 325,000 นาย ซึ่งในจำนวนนี้ 220,000 นายเป็น "ทหารบก" และที่เหลืออยู่ในกองทัพเรือ กองทัพอากาศและกำลังป้องกันภัยทางอากาศ นอกจากนี้ยังมีกองหนุนอีกประมาณ 280,000–300,000 นาย ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2554 มีรายงานการแปรพักตร์ของทหาร ในเดือนกรกฎาคม 2555 การสังเกตการณ์สิทธิมนุษยชนซีเรียประมาณว่าทหารหลายหมื่นนายแปรพักตร์ และข้าราชการตุรกีคนหนึ่งประมาณว่ามีทหารแปรพัตกร์ 60,000 นาย

รัฐบาลซีเรียได้รับการสนับสนุนระดับสูงในบางพื้นที่ในการควบคุม ตามผลสำรวจความเห็นที่จัดโดย บริติชโออาร์บีอินเตอร์เนชันแนล โดยประชากร 73% ในพื้นที่ที่รัฐบาลควบคุมสนับสนุนความพยายามของรัฐบาล[388]

กำลังป้องกันชาติ

แก้

กำลังป้องกันชาติซีเรียตั้งจากทหารอาสาสมัครนิยมรัฐบาล พวกเขาได้รับเงินเดือนและยุทธภัณฑ์จากรัฐบาล[389][390] มีจำนวนประมาณ 100,000 นาย[391][392] กำลังนี้ปฏิบัติหน้าที่ในบทบาททหารราบ โดยสู้รบกับกบฏโดยตรงภาคพื้นและดำเนินปฏิบัติการต่อต้านการก่อความไม่สงบโดยประสานงานกับกองทัพบก ซึ่งจัดการสนับสนุนทางลอจิสติกส์และปืนใหญ่ กำลังนี้มีหน่วยหญิง 500 นายที่เรียก "นางสิงห์แห่งกำลังป้องกันชาติ" (Lionesses of National Defense) ซึ่งควบคุมจุดตรวจ[393] ทหารกำลังป้องกันชาติได้รับอนุญาตให้ฉกชิงทรัพย์จากสมรภูมิและขายของนั้นเอาเงินในที่ที่ถูกตั้งฉายาว่า "ตลาดซุนนี" เช่นเดียวกับทหารบกตามแบบ[389]

แชบบีฮา

แก้

แชบบีฮา (Shabiha) เป็นทหารอาสาสมัครนิยมรัฐบาลอย่างไม่เป็นการที่ส่วนใหญ่มาจากชนกลุ่มน้อยอะลาวีของอะซัด นับแต่การก่อการกำเริบ รัฐบาลซีเรียใช้แชบบีฮาสลายการชุมนุมและบังคับใช้กฎหมายในย่านที่กระด้างกระเดื่อง[394] เมื่อการประท้วงบานปลายเป็นการขัดกันด้วยอาวุธ ฝ่ายค้านเริ่มใช้คำว่า แชบบีฮา อธิบายผู้สนับสนุนอะซัดพลเรือนใด ๆ ที่มีส่วนในการปราบปรามการก่อการกำเริบของรัฐบาล[395] ฝายค้านกล่าวหาแชบบีฮาว่าใช้ความรุนแรงเกินต่อผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลและผู้สนับสนุนฝ่ายค้าน[395] ตลอดจนการฉกชิงทรัพย์และการทำลาย[396][397] ในเดือนธันวาคม 2555 สหรัฐกำหนดให้แชบบีฮาเป็นองค์การก่อการร้าย[398]

มีรายงานว่าบัสเซล อัลอะซัด (Bassel al-Assad) สถาปนาแชบบีฮาในคริสต์ทศวรรษ 1980 เพื่อให้รัฐบาลใช้ในยามวิกฤต[399] มีการอธิบายว่าแชบบีฮาเป็น "กำลังกึ่งทหารอะลาวีที่ฉาวโฉ่ ซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำตนเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายอย่างไม่เป็นทางการให้ระบอบอะซัด"[400] "มือปืนภักดีต่ออะซัด"[401] และจากข้อมูลของศูนย์อาหรับเพื่อการวิจัยและนโยบายศึกษาในประเทศกาตาร์ ว่า "กึ่งแก๊งอาชญากรที่ประกอบด้วยอัทธพาลที่ใกล้ชิดกับระบอบ"[401] แม้ภาพลักษณ์ของกลุ่มเป็นทหารอาสาสมัครอะลาวี มีรายงานว่าแชบบีฮาที่ปฏิบัติหน้าที่ในอะเลปโปบางส่วนเป็นซุนนี[402] ในปี 2555 รัฐบาลอะซํดสถาปนาทหารอาสาสมัครอย่างเป็นทางการที่จัดระเบียบมากกว่า เรียก ญัยช์อัลชาบี (Jaysh al-Sha'bi) ซึ่งมีการกล่าวหาว่าได้รับความช่วยเหลือจากอิหร่านและฮิซบุลลอฮ์ เช่นเดียวกับแชบบีฮา สมาชิกญัยช์อัลชาบีส่วนใหญ่เป็นอาสาสมัครอะลาวีและชีอะฮ์[403][404]

ทหารอาสาสมัครคริสต์ศาสนิกชน

แก้

ทหารอาสาสมัครคริสต์ศาสนิกชนในประเทศซีเรีย (และประเทศอิรักตอนเหนือ) ส่วนใหญ่ประกอบขึ้นจากชาติพันธุ์อัสซีเรีย ซีเรีย-อารัม (Syriac-Aramean) และอาร์มีเนีย รายงานของซีบีเอสหนึ่งแสดงว่าคริสต์ศาสนิกชนในประเทศซีเรียส่วนใหญ่นิยมรัฐบาลโดยอ้างว่าพวกเขาเชื่อว่าความอยู่รอดของพวกเขาเชื่อมโยงกับรัฐบาลโลกวิสัยส่วนใหญ่[405][406] ทหารอาสาสมัครคริสต์ศาสนิกชนต่อสู้อยู่ข้างรัฐบาลซีเรีย[407][408] จากข้อมูลของเวิลด์ทริบูน.คอม (WorldTribune.com) "แหล่งข่าวอ้างว่าคริสต์ศาสนิกชนหลายพันคนเข้าร่วมกองทัพบกซีเรียตลอดจนทหารอาสาสมัครของระบอบ เช่น กำลังป้องกันชาติและคณะกรรมการประชาชน พวกเขาว่า NDF ช่วยจัดระเบียบหน่วยคริสต์ศาสนิกชนเพื่อคุ้มครองชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคอัสซีเรียทางตะวันออกเฉียงเหนือของซีเรีย หน่วยหลักเรียกว่า การต้านทานคริสเตียน (Christian Resistance) กล่าวกันว่าปฏิบัติการในจังหวัดฮอมส์"[409] ชาวอัสซีเรียที่พูดภาษาอารัมตะวันออกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของซีเรียและภาคเหนือของอิรักตั้งทหารอาสาสมัครต่าง ๆ (รวมกำลังป้องกันอัสซีเรีย) เพื่อปกป้องเมืองโบราณ หมู่บ้านและฟาร์มของพวกตนจากผู้ก่อการร้าย ISIS พวกเขามักต่อสู้เคียงคู่กับกลุ่มชาวเคิร์ดและอาร์มีเนีย แต่ไม่เสมอไป[410][411][412]

ฮิซบุลลอฮ์

แก้

ในปี 2555 นักรบฮิซบุลลอฮ์ข้ามพรมแดนจากเลบานอนและยึดแปดหมู่บ้านในเขตอัลกุสซัยร (Al-Qusayr) ของซีเรีย อดีตเลขาธิการฮิซบุลลอฮ์ ชิคซุบฮีอัลตุฟัยลี (Subhi al-Tufayli) ยืนยันในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ว่า ฮิซบุลลอฮ์กำลังต่อสู้ให้กองทัพบกซีเรีย[413]

วันที่ 14 พฤษภาคม 2556 มีรายงานว่านักรบฮิซบุลลอฮ์ต่อสู้เคียงคู่กับกองทัพซีเรีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตผู้ว่าการฮอมส์ Hassan Nasrallah เรียกร้องให้ชีอะฮ์และฮิซบุลลอฮ์พิทักษ์เทวสถาน Sayida Zeinab วันที่ 25 พฤษภาคม 2556 นัสรัลละฮ์ประกาศว่าฮิซบุลลอฮ์กำลังต่อสู้ในซีเรียต่อพวกหัวรุนแรงอิสลามและ "สาบานว่ากลุ่มของเขาจะไม่ยอมให้นักรบซีเรียควบคุมดินแดนที่ต่อแดนกับเลบานอน"[414] เขายืนยันว่าฮิซบุลลอฮ์กำลังต่อสู้ในเมืองกุซัยรซึ่งเป็นเมืองยุทธศาสตร์ในซีเรียอยู่ข้างเดียวกับกำลังของอะซัด[91] ในการปราศรัยทางโทรทัศน์ เขากล่าวว่า "หากซีเรียตกอยู่ในมืออเมริกา อิสราเอลและตักฟีรี ประชาชนในภูมิภาคของเราจะเข้าสู่ยุคมืด"[91] จากข้อมูลของนักวิเคราะห์อิสระ เมื่อต้นปี 2557 มีนักรบฮิซบุลลอฮ์เสียชีวิตในความขัดแย้งซีเรียแล้วประมาณ 500 คน[415] วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 นักรบฮิซบุลลอฮ์เสียชีวิต 50 คนในการปะทะกับ Jaysh al-Islam ใกล้กับกรุงดามัสกัส นักรบเหล่านี้อยู่ในกำลังรบของกองทัพซีเรีย เรียก กองพลทหารบก 39[416]

ประเทศอิหร่าน

แก้
 
ศพของทหารอิหร่านกลับคืนประเทศอิหร่าน เดือนสิงหาคม 2559

ประเทศอิหร่านยังปฏิเสธการมีกำลังรบอยู่ในประเทศซีเรีย โดยยืนยันว่าให้คำแนะนำทางทหารแก่กำลังของอะซัดในการต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้าย[417] หลังจากระยะการก่อการกำเริบ ประเทศอิหร่านให้การสนับสนุนทางการเงิน เทคนิคและทางทหาร ซึ่งรวมการฝึกและกำลังรบบ้าง[418][419][420] ประเทศอิหร่านและซีเรียเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ที่ใกล้ชิด ประเทศอิหร่านมองว่าการอยู่รอดของรัฐบาลซีเรียสำคัญต่อผลประโยชน์ในภูมิภาคของตน[420][421] ผู้นำสูงสุดอิหร่าน อาลี คาเมนี มีรายงานว่าออกปากสนับสนุนรัฐบาลซีเรีย[419]

ราชการความมั่นคงและข่าวกรองของอิหร่านให้คำปรึกษาและช่วยเหลือกองทัพซีเรียเพื่อธำรงการครองอำนาจของบัชชาร อัลอะซัด[420] ความพยายามเหล่านี้ได้แก่ การฝึก การสนับสนุนทางเทคนิค กำลังรบ[418][420] ในเดือนธันวาคม 2556 เชื่อว่าประเทศอิหร่านมีผู้ปฏิบัติงานในประเทศซีเรียประมาณ 10,000 นาย[421] แต่ตามข้อมูลของจูบิน กูดาร์ซี (Jubin Goodarzi) ผู้ช่วยศาสตราจารย์และนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ ประเทศอิหร่านช่วยเหลือระบอบอะซัดด้วยหน่วยและกำลังพลที่วางกำลังจำนวนจำกัด "มากสุดหลายร้อยคน ... และมิใช่หลายพันอย่างที่แหล่งข่าวฝ่ายค้านอ้าง"[422] นักรบฮิซบุลลอฮ์ที่รัฐบาลอิหร่านหนุนหลังมีบทบาทรบโดยตรงตั้งแต่ปี 2555[421][423] ในฤดูร้อนปี 2556 ประเทศอิหร่านและฮิซบุลลอฮ์จัดหาการสนับสนุนในสมรภูมิที่สำคัญแก่อะซํดโดยทำให้รัฐบาลรุกคืบต่อฝ่ายค้าน[423] ในปี 2557 ในเวลาเดียวกับการเจรจาสันติภาพที่เจนีวา 2 ประเทศอิหร่านสนับสนุนประธานาธิบดีอะซัดอย่างเปิดเผย[421][423] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและเศรษฐกิจซีเรียประกาศว่า "รัฐบาลอิหร่านให้เงินกว่า 15,000 ล้านดอลลาร์" แก่ประเทศซีเรีย[424] ผู้บัญชาการกำลังกุดส์ (Quds Force) ของเหล่าพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน (Iranian Revolutionary Guards Corps) กะเซม ซุลัยมะนี (Qasem Suleimani) รับผิดชอบตำแหน่งรัฐมนตรีที่ประจำตามกระทรวงความมั่นคงและดูแลการติดอาวุธและฝึกนักรบชีอะฮ์นิยมรัฐบาลหลายพันคน[425][426]

ทหารเหล่าพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่านอย่างน้อย 328 นาย ซึ่งรวมผู้บัญชาการหลายนาย ถูกฆ่าในสงครามกลางเมืองซีเรียนับแต่เกิดสงคราม[427]

ทหารอาสาสมัครชีอะฮ์ต่างประเทศ

แก้

นักรบชีอะฮ์จากประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานมี "จำนวนมากกว่า" นักรบต่างประเทศซุนนีมาก แม้ได้รับ "ความสนใจน้อยกว่ามาก" จากสื่อ[428] จำนวนชาวอัฟกานิสถานที่ต่อสู้ในประเทศซีเรียในนามของรัฐบาลซีเรียมีประมาณการไว้ "ระหว่าง 10,000 ถึง 12,000 คน" ส่วนจำนวนชาวปากีสถานนั้นไม่ทราบ[428] นักรบหลายคนหรือส่วนใหญ่เป็นผู้ลี้ภัย และประเทศอิหร่านถูกกล่าวหาว่าฉวยประโยชน์จากที่พวกเขาไม่สามารถ "ได้ใบอนุญาตประกอบอาชีพหรือเป็นผู้อยู่อาศัยตามกฎหมายในประเทศอิหร่าน" และใช้การขู่เนรเทศแก่ผู้ที่ไม่ยินยอมอาสาสมัคร[428] นักรบเหล่านี้ยังได้รับค่าจ้างค่อนข้างสูง และบอกกับนักหนังสือพิมพ์ว่า "รัฐอิสลามเป็นศัตรูร่วมของอิหร่านและอัฟกานิสถาน ... นี่เป็นสงครามศักดิ์สิทธิ์ และว่าพวกเขาปรารถนาพิทักษ์สถานแสวงบุญชีอะฮ์ชายยิดาไซอินับ (Sayyida Zaynab) จากญิฮัดซุนนี"[428]

ประเทศรัสเซีย

แก้
 
ซู-34 ของรัสเซียทิ้งระเบิดเหนือประเทศซีเรีย

วันที่ 30 กันยายน 2558 สภาสหพันธรัฐของรัสเซียอนุมัติคำขอของประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน อย่างเป็นเอกฉันท์อนุญาตให้ใช้กองทัพรัสเซียในซีเรีย[429][430] หลังจากคำขอความช่วยเหลือทางทหารต่อกลุ่มกบฏและญิฮัดอย่างเป็นทางการของรัฐบาลซีเรีย[431][432] วันเดียวกัน พลเอก เซอร์เกย์ คูราเลนโกของรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้แทนของรัสเซีย ณ ศูนย์สารสนเทศร่วมในกรุงแบกแดดมายังสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐในกรุงแบกแดดและขอให้กำลังสหรัฐในพื้นที่เป้าหมายใด ๆ ออกทันที[433] ชั่วโมงต่อมา อากาศยานรัสเซียที่อยู่ในดินแดนที่รัฐบาลครองเริ่มการโจมตีทางอากาศโดยดูเหมือนต่อเป้าหมายฝ่ายกบฏ[434]

 
ป้อมปืนป้องกันภัยทางอากาศรัสเซียในเดือนธันวาคม 2558 ประกอบด้วยระบบป้องกันพิสัยใกล้ปันซีร์-เอส1 และพาหนะปล่อยสองคันสำหรับขีปนาวุธบินพิสัยไกลเอส-400 ที่ลาษิกียะฮ์

ก่อนหน้าปฏิบัติการเหล่านี้ การเข้ามีส่วนของรัสเซียในสงครามกลางเมืองซีเรียส่วนใหญ่เป็นการจัดหากำลังบำรุงแก่กองทัพบกซีเรีย[435] ข้าราชการรัสเซียรับรองวัตถุประสงค์ของพวกตนว่า เพื่อช่วยรัฐบาลซีเรียยึดพื้นที่คืนจากกลุ่มค้านต่าง ๆ ซึ่งรวม ISIL และกลุ่มที่สหรัฐหนุนหลังและติดอาวุธ[436] ในการสัมภาษณ์ทางโทรทัศน์ที่แพร่ภาพเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2558 ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน กล่าวว่า ปฏิบัติการทางทหารมีการเตรียมล่วงหน้าอย่างรอบคอบ เขานิยามเป้าหมายของรัสเซียในซีเรียว่า "สร้างเสถียรภาพอำนาจชอบธรรมในซีเรียและสร้างสภาพสำหรับการประนีประนอมทางการเมือง"[437]

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 อากาศยานซุคฮอย ซู-24 ของรัสเซียถูกเครื่องบินขับไล่เอฟ-16 ของกองทัพอากาศตุรกียิงตกในเหตุการณ์ที่เชื่อว่าเป็นครั้งแรกที่ประเทศนาโตยิงเครื่องบินรัสเซียตกในรอบครึ่งศตวรรษ[438] รัสเซียตอบโต้โดยประกาศว่าเครื่องบินรบของแนวร่วมที่มีสหรัฐนำที่บินผ่านทางตะวันตกของแม่น้ำยูเฟรตีสจะถูกกำลังต่อสู้อากาศยานรัสเซียติดตามทั้งบนฟ้าและบนบกและถือเป็นเป้าหมาย[439]

ฝ่ายค้านซีเรีย

แก้

ฝ่ายค้านติดอาวุธประกอบด้วยหลายกลุ่มที่ตั้งระหว่างห้วงความขัดแย้งหรือเข้าร่วมจากนอกประเทศ จากข้อมูลของมัวร์ เฮิร์ช (Seymour Hersh) ฝ่ายค้านได้รับเงินสนับสนุนจากซาอุดีอาระเบีย 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ปี 2557)[440] ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของซีเรีย กลุ่มแยกฝ่ายค้านหลักคือ แนวร่วมอัลนุสเราะ (al-Nusra Front) ที่เข้ากับอัลกออิดะฮ์ ซึ่งเป็นพันธมิตรกับกลุ่มอิสลามอื่นที่เล็กกว่าหลายกลุ่ม ในจำนวนนี้บางกลุ่มปฏิบัติการภายใต้กลุ่มกองทัพซีเรียเสรี (FSA)[441] ชาติตะวันตกกำหนดให้ FSA เป็นกลุ่มแยกฝ่ายค้านสายกลางซึ่งทำให้กลุ่มได้รับอาวุธทันสมัยและการสนับสนุนทางทหารอื่นจากสหรัฐและประเทศอ่าวบางประเทศภายใต้โครงการที่ซีไอเอดำเนินการ[266][265][442] ซึ่งเพิ่มสมรรถนะการสู้รบรวมของกบฏอิสลาม[443][444] ในทางตะวันออก รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (ISIL) กลุ่มนักรบญิฮัดที่กำเนิดจากประเทศอิรัก ได้ความได้เปรียบทางทหารอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศซีเรียและอิรัก สุดท้าย ISIL กลายมาขัดแย้งกับกบฏอื่น โดยเฉพาะอัลนุสเราะ ซึ่งผู้นำกลุ่มไม่ต้องการสวามิภักดิ์ต่อ ISIL ในเดือนกรกฎาคม 2557 ISIL ควบคุมหนึ่งในสามของดินแดนประเทศซีเรีย และการผลิตน้ำมันแลัแก๊สส่วนใหญ่ ฉะนั้นจึงสถาปนาตนเป็นกำลังต่อต้านรัฐบาลหลัก[445] ในปี 2558 กาตาร์ ซาอุดีอาระเบียและตุรกีหนุนหลังกองทัพการพิชิตดินแดน (Army of Conquest) อย่างเปิดเผย ซึ่งเป็นกลุ่มกบฏรวมที่มีรายงานว่ารวมแนวร่วมอัลนุสเราะที่เชื่อมโยงกับอัลกออิดะฮ์และแนวร่วมซะละฟีอีกกลุ่มหนึ่ง ชื่อ อะห์รัรอัชชาม (Ahrar ash-Sham) และฟัยลักอัลชาม (Faylaq Al-Sham) กลุ่มกบฏที่เชื่อมโยงกับแนวร่วมภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood)[446][447][448] นอกจากนี้ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทหารอาสาสมัครเคิร์ดอย่างหน่วยคุ้มครองประชาชน (YPG) จับอาวุธขึ้นต่อสู้กับทั้งกลุ่มแยกอิสลามกบฏ[449]และผู้จงรักภักดีต่อรัฐบาล[450]

แนวร่วมแห่งชาติซีเรีย

แก้
 
สมาชิกแนวร่วมแห่งชาติซีเรียในโดฮา 11 พฤศจิกายน 2555

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2555 ในกรุงโดฮา สภาแห่งชาติและกำลังฝ่ายค้านอื่นรวมกันเป็นแนวร่วมกำลังปฏิวัติและฝ่ายค้านซีเรียแห่งชาติ (National Coalition for Syrian Revolutionary and Opposition Forces)[451] วันรุ่งขึ้น หลายรัฐอ่าวเปอร์เซียรับรองให้เป็นรัฐบาลซีเรียโดยชอบ ผู้แทนสภาผู้นำของแนวร่วมฯ มีหญิงและผู้แทนของชนกลุ่มน้อยศาสนาและชาติพันธุ์ซึ่งรวมอะละวีด้วย มีรายงานว่าสภาทหารรวมกองทัพซีเรียเสรีด้วย[452] เป้าหมายหลักของแนวร่วมแห่งชาติฯ คือ แทนรัฐบาลบัชชาร อัลอะซัดและ "สัญลักษณ์และเสาการสนับสนุนของมัน" "รื้อราชการความมั่นคง" สร้างเอกภาพและสนับสนุนกองทัพซีเรียเสรี ปฏิเสธการพูดคุยเจรจากับรัฐบาลอัลอะซัด และ "นำตัวผู้รับผิดชอบการฆ่าชาวซีเรีย ทำลาย [ซีเรีย] และไล่ที่ [ชาวซีเรีย] มาลงโทษ"[453]

กองทัพซีเรียเสรี
แก้

มีการประกาศตั้งกองทัพซีเรียเสรีเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2554 โดยนายทหารกองทัพบกซีเรียที่แปรพักตร์กลุ่มหนึ่ง ในวิดีทัศน์ นายทหารเรียกร้องให้นายทหารและทหารชาวซีเรียแปรพักตร์เพื่อคุ้มครองผู้ประท้วงพลเรือนจากความรุนแรงโดยรัฐและมีผลเปลี่ยนแปลงรัฐบาล[454] ในเดือนธันวาคม 2554 ประมาณการจำนวนผู้แปรพักตร์ FSA มีตั้งแต่ 1,000 ถึงกว่า 25,000 คน FSA เดิมมีสำนักงานใหญ่ในประเทศตุรกี ย้ายสำนักงานใหญ่สู่ภาคเหนือของซีเรียในเดือนกันยายน 2555 และเป็นเสมือนองค์การรวม ๆ มากกว่าสายการบังคับบัญชาตามเดิม

ในเดือนมีนาคม 2555 ผู้สื่อข่าวเดอะนิวยอร์กไทมส์ เป็นพยานการเข้าตีแนวรถถังซีเรียหุ้มเกราะของ FSA ในซะระกิบ (Saraqib) และทราบว่า FSA มีทหารและอดีตนายทหารที่สามารถและได้รับการฝึก มีการจัดระเบียบอยู่ระดับหนึ่ง แต่ไม่มีอาวุธที่จะต่อสู้อย่างจริงจัง[455]

ในเดือนเมษายน 2556 สหรัฐประกาศว่าจะส่งความช่วยเหลือไม่ถึงชีวิตต่อกบฏซีเรีย 123 ล้านดอลลาร์สหรัฐผ่านพลเอกที่แปรพักตร์ ซะลิม อิดริส (Salim Idriss) ผู้นำ FSA[456] ต่อมาเขายอมรับว่า "กบฏ" แตกเป็นเสี่ยงและขาดทักษะทางทหารที่จำเป็นเพื่อโค่นรัฐบาลประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัด อิดริสกล่าวว่าเขากำลังสร้างโครงสร้างบังคับบัญชาทั่วประเทศ แต่การขาดการสนับสนุนทางวัตถุทำให้ความพยายามนั้นไม่เป็นผล เขายอมรับว่าปฏิบัติการร่วมกับกลุ่มอิสลาม อะห์รัรอัชชาม แต่ปฏิเสธความร่วมมือใด ๆ กับกลุ่มอิสลาม แนวร่วมอัลนุสเราะ[456]

อะบู ยูซัฟ (Abu Yusaf) ผู้บัญชาการคนหนึ่งของรัฐอิสลาม กล่าวในเดือนสิงหาคม 2557 ว่าสมาชิก FSA หลายคนที่นายทหารสหรัฐ ตุรกีและอาหรับฝึกแท้จริงแล้วกำลังเข้าร่วมกับไอเอส[457] ซึ่งในทางตรงข้ามกับข้ออ้างของผู้บัญชาการนายนี้ ในเดือนกันยายน 2557 กองทัพซีเรียเสรีกำลังเข้าร่วมพันธมิตรและแนวร่วมกับทหารอาสาสมัครเคิร์ดซึ่งรวม YPG ซึ่งต่อสู้กับไอเอส[458][459]

ต้นเดือนตุลาคม 2558 ไม่นานหลังรัสเซียเริ่มแทรกแซงทางทหารในซีเรีย โรเบิร์ต ฟิสก์ประเมินว่าการดำรงอยู่ของ FSA เป็นกลลวง เป็นข้อเท็จจริงที่ข้าราชการสหรัฐรับทราบ โดยกบฏ FSA แทบทั้งหมดที่สหรัฐฝึกแปรพักตร์เข้ากับกลุ่มกบฏอื่น[460] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เซอร์เกย์ ลัฟรอฟ เรียก FSA ว่า "โครงสร้างที่ไม่มีตัวตนแล้ว"[461][462] ภายหลังประกาศว่ารัสเซียพร้อมช่วยเหลือ FSA ด้วยการโจมตีทางอากาศต่อ ISIS[463] อีกฝ่ายหนึ่ง ในเดือนธันวาคม 2558 ตามข้อมูลสถาบันยุทธศึกษาอเมริกัน กลุ่มที่ระบุตัวเป็น FSA ยังมีอยู่รอบอะเลปโปและฮะมาฮ์และในภาคใต้ของซีเรีย และ FSA ยังเป็น "กลุ่มกบฏใหญ่สุดและโลกวิสัยที่สุด"[464]

ในเดือนมีนาคม 2560 FSA ที่ตุรกีหนุนหลังสำเร็จการกวาดล้างรัฐอิสลามจากภาคเหนือของซีเรีย[465] หลังจากนั้นหันไปพยายามยึดแคนทอนอะฟรินจาก YPG

สภาแห่งชาติซีเรีย

แก้

สภาแห่งชาติซีเรียตั้งเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 เป็นแนวร่วมกลุ่มต่อต้านรัฐบาลซึ่งมีฐานในประเทศตุรกี สภาแห่งชาติมุ่งยุติการปกครองของอัลอะซัด และสถาปนารัฐประชาธิปไตยสมัยใหม่ SNC มีความเชื่อมโยงกับกองทัพซีเรียเสรี ในเดือนพฤศจิกายน 2555 สภาตกลงรวมกับกลุ่มฝ่ายค้านอีกหลายกลุ่มตั้งเป็นแนวร่วมแห่งชาติซีเรีย SNC มีผู้แทน 22 จาก 60 ที่นั่งในแนวร่วมแห่งชาติซีเรียง[466]

สภาฯ ถอนตัวจากแนวร่วมฯ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2557 เป็นการประท้วงการตัดสินใจของแนวร่วมในการเข้าประชุมการเจรจาเจนีวา[467]

แนวร่วมอิสลาม
แก้

แนวร่วมอิสลามเป็นการรวมกลุ่มกบฏเจ็ดกลุ่มที่เกี่ยวข้องในสงครามกลางเมืองซีเรีย[26] มีการประกาศเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2556[468] กลุ่มนี้มีนักรบระหว่าง 40,000[469] ถึง 60,000 คน โฆษกนิรนามของกลุ่มแถลงว่า กลุ่มจะไม่มีความสัมพันธ์กับแนวร่วมแห่งชาติซีเรีย[470] แม้สมาชิกกรมการเมืองของกลุ่ม อะห์มัด มุซาแถลงว่า เขาหวังการรับรองจากสภาแห่งชาติซีเรียในความร่วมมือสิ่งที่เขาแนะว่า "สิ่งที่ชาวซีเรียต้องการ พวกเขาต้องการการปฏิวัติและมิใช่วาระการเมืองและต่างชาติ"[471] ซาอุดีอาระเบียหนุนหลังและติดอาวุธกลุ่มนี้อย่างกว้างขวาง[472][473][474]

กฎบัตรของแนวร่วมอิสลามปฏิเสธมโนทัศน์ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนและโลกวิสัย และมุ่งสถาปนารัฐอิสลามที่ปกครองโดยมัยลิสอัชชูรา (Majlis-ash-Shura) และบังคับใช้ชะรีอะฮ์ กลุ่มยอมรับชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์และศาสนาที่อาศัยอยู่ในซีเรีย ขณะที่ยังต้อนรับนักรบต่างด้าวที่เข้าร่วมกำลังต่อต้านอะซัด และปฏิเสธวิธียุติสงครามกลางเมืองนอกเหนือจากทางทหาร[475]

กลุ่มแยกซะละฟี

แก้

ในเดือนกันยายน 2556 จอห์น เคอร์รี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ แถลงว่ากลุ่มญิฮัดซะละฟีสุดโต่งประกอบเป็น 15–25% ของกำลังกบฏ[476] จากข้อมูลของชาลส์ ลิสเตอร์ กบฏประมาณ 12% เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มที่เชื่อมโยงกับอัลกออิดะฮ์ 18% เป็นของอะห์รัรอัชชาม และ 9% เป็นของศุกูรอัชชาม (Suqour al-Sham Brigade)[477][478] จำนวนนี้ค้านกับกลุ่มสารสนเทศเจนส์ (Jane's Information Group) สิ่งพิมพ์ด้านกลาโหม อ้างว่ากบฏทั้งหมดเกือบครึ่งเข้ากับกลุ่มอิสลาม[479] ศูนย์ศาสนาและภูมิรัฐศาสตร์ คลังสมอง (think-tank) สัญชาติบริติช ซึ่งเชื่อมโยงกับอดีตนายกรัฐมนตรีบริติช โทนี แบลร์ กล่าวว่า กบฏ 60% อาจจำแนกเป็นพวกหัวรุนแรงอิสลาม[480] นักรบต่างด้าวเข้าร่วมความขัดแย้งโดยอยู่ฝ่ายค้านซีเรีย[481]

ศูนย์ระหว่างประเทศเพื่อการศึกษาการทำให้หัวรุนแรงและความรุนแรงทางการเมือง (The International Centre for the Study of Radicalisation and Political Violence) ประมาณว่านักรบต่างด้าว 2,000–5,500 คนไปประเทศซีเรียนับแต่เริ่มการประท้วง โดยประมาณ 7–11% มาจากทวีปยุโรป ศูนย์ฯ ยังประมาณว่าจำนวนนักรบต่าวด้าวมีไม่เกิน 10% ของกองทัพฝ่ายค้าน[482] อีกการประมาณหนึ่งกะจำนวนนักรบญิฮัดต่างด้าวไว้ 15,000 คนเมื่อต้นปี 2557[483] คณะกรรมการยุโรปแสดงความกังวลว่า นักรบบางส่วนอาจใช้ทักษะที่ได้ในประเทศซีเรียกลับมาก่อการร้ายในทวีปยุโรปในอนาคต[484]

ในเดือนตุลาคม 2555 กลุ่มศาสนาอิรักหลายกลุ่มเข้าร่วมความขัดแย้งในซีเรียทั้งสองฝ่าย ซุนนีหัวรุนแรงจากประเทศอิรักเดินทางไปประเทศซีเรียเพื่อต่อสู้กับประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัดและรัฐบาลซีเรีย[485] นอกจากนี้ ชีอะฮ์จากประเทศอิรัก ในจังหวัดบาบิลและดิยาลา เดินทางไปกรุงดามัสกัสจากกรุงเตหะราน หรือจากนะญัฟ ประเทศอิรัก นครศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามชีอะฮ์ เพื่อพิทักษ์ซัยยิดะห์ซัยนับ (Sayyida Zeinab) มัสยิดสำคัญและแท่นบูชาของนิกายชีอะฮ์ในกรุงดามัสกัส[485]

ในเดือนกันยายน 2556 ผู้นำกองพลน้อยกบฏที่ทรงอำนาจ 13 คนปฏิเสธแนวร่วมแห่งชาติซีเรีย และเรียกร้องให้กฎหมายชะรีอะฮ์เป็น "บ่อเกิดของกฎหมายแหล่งเดียว" กลุ่มกบฏที่ลงนามมีแนวร่วมอัลนุสเราะ อะห์รัรอัชชามและอัลเตาฮีดรวมอยู่ด้วย[486]

แนวร่วมอัลนุสเราะ

แก้

แนวร่วมอัลนุสเราะซึ่งเชื่อมโยงกับอัลกออิดะฮ์[487] เป็นกลุ่มญีฮัดใหญ่สุดในประเทศซีเรีย มักถือว่าเป็นส่วนที่ก้าวร้าวและรุนแรงที่สุดของฝ่ายค้าน[488] กลุ่มนี้ก่อเหตุระเบิดฆ่าตัวตายแล้วกว่า 50 ครั้ง ซึ่งรวมเหตุระเบิดที่มีผู้เสียชีวิตหลายครั้งในกรุงดามัสกัสในปี 2554 และ 2555 รัฐบาลซีเรียและรัฐบาลสหรัฐกำหนดให้เป็นองค์การก่อการร้ายในเดือนธันวาคม 2555[92] จากข้อมูลของหน่วยข่าวกรองสหรัฐ รัฐบาลตุรกีสนับสนุนกลุ่มนี้มาหลายปีแล้ว[440] ในเดือนเมษายน 2556 ผู้นำรัฐอิสลามอิรักออกแถลงการณ์เสียงประกาศว่าแนวร่วมอัลนุสเราะเป็นสาขาของตนในประเทศซีเรีย[489] ผู้นำอัลนุสเราะ อะบู โมฮัมมัด อัลโกลานี (Abu Mohammad al-Golani) กล่าวว่า กลุ่มจะไม่รวมกับรัฐอิสลามอิรักแต่จะยังสวามิภักดิ์ต่ออัยมัน อัซเซาะวาฮิรี ผู้นำอัลกออิดะฮ์[490] กำลังคนโดยประมาณของแนวร่วมอัลนุสเราะอยู่ประมาณ 6,000–10,000 คน ซึ่งรวมนักรบต่างด้าวจำนวนมาก[491]

ความสัมพันธ์ระหว่างแนวร่วมอัลนุสเราะและฝ่ายค้านซีเรียพื้นเมืองตึงเครียด แม้อัลนุสเราะต่อสู้ร่วมกับ FSA ในหลายยุทธการ และนักรบ FSA บางส่วนแปรพักตร์ไปแนวร่วมอัลนุสเราะ[492] มุมมองศาสนาเข้มงวดของมูญาฮิดีนและเจตนาบังคับกฎหมายชะรีอะฮ์รบกวนชาวซีเรียจำนวนมาก[493] ผู้บัญชาการกบฏบางนายกล่าวหานักรบญีฮัดว่า "ขโมยการปฏิวัติ" ปล้นโรงงานซีเรียและแสดงอขันติทางศาสนา[494] แนวร่วมอัลนุสเราะถูกกล่าวหาว่าปฏิบัติไม่ดีต่อชนกลุ่มน้อยศาสนาและชาติพันธุ์นับแต่ก่อตั้ง[495]

เคิร์ดซีเรีย

แก้
 
ทหารหญิงของหน่วยคุ้มครองหญิงยิงปืนอัตโนมัติจากที่กำบัง

ชาวเคิร์ดซึ่งส่วนใหญ่เป็นมุสลิมซุนนี และกลุ่มน้อยยะซีดีส (Yezidis) ขนาดเล็กประกอบเป็น 10% ของประชากรซีเรียเมื่อเริ่มการก่อการกำเริบในปี 2554 พวกเขาถูกเลือกปฏิบัติและละเลยหลายทศวรรษ ขาดสิทธิพลเมือง วัฒนธรรม เศรษฐกิจและสังคมพื้นฐาน[496] เมื่อการประท้วงเริ่ม สุดท้ายรัฐบาลอะซัดให้ความเป็นพลเมืองแก่ชาวเคิร์ดไร้สัญชาติประมาณ 200,000 คน ในความพยายามเพื่อหยุดการค้านของชาวเคิร์ดที่อาจเกิดขึ้น[497] การให้สิทธินี้ประกอบกับการสนับสนุนฝ่ายค้านของตุรกีและการมีผู้แทนน้อยเกินในสภาแห่งชาติซีเรีย ส่งผลให้มีชาวเคิร์ดเข้าร่วมสงครามกลางเมืองเป็นจำนวนน้อยกว่าอาหรับซุนนีซีเรีย[497] ผลคือ ความรุนแรงและการปราบปรามของรัฐในพื้นที่เคิร์ดรุนแรงน้อยลง[497] ในแง่ของซีเรียหลังอะซัด มีรายงานว่าชาวเคิร์ดปรารถนาอัตตาณัติระดับหนึ่งในรัฐที่กระจายอำนาจปกครอง[498] เมื่อสงครามกลางเมืองเริ่ม พรรคการเมืองเคิร์ดส่วนใหญ่จัดระเบียบตนเองเป็นคณะกรรมการประสานงานแห่งชาติเพื่อการเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตย (NCC) โดยถือท่าทีสายกลางมากกว่าต่อรัฐบาลอะซัด ทว่า ในเดือนตุลาคม 2554 ทุกพรรคยกเว้นพรรคสหภาพประชาธิปไตย (PYD) ออกจาก NCC ไปตั้งองค์การรวมของตนเอง คือ สภาแห่งชาติเคิร์ด

 
อาสาสมัครตะวันตกจากกำลังกองโจรประชาชนปฏิวัตินานาชาติ (International Revolutionary People's Guerrilla Forces) ต่อสู้ในตับเกาะ กลุ่มนี้ต่อสู้ร่วมกับ SDF

หน่วยป้องกันประชาชนเคิร์ดซีเรีย (YPG) เข้าสู่สงครามกลางเมืองซีเรียครั้งแรกเป็นคู่สงครามในเดือนกรกฎาคม 2555 โดยยึดเมืองโคบานีซึ่งจนถึงเวลานั้นอยู่ในการควบคุมของรัฐบาลอะซัดซีเรีย กำลังประชาธิปไตยซีเรียก่อตั้งในเดือนธันวาคม 2558 นำโดยหน่วยป้องกันประชาชน (YPG) เคิร์ดเป็นหลัก ประมาณการขนาดมีตั้งแต่ 55,000[499] ถึง 80,000 คน[500] ส่วนใหญ่เป็นเคิร์ด แต่นักรบประมาณ 40% มิใช่เคิร์ด สภาทหารซีเรีย เช่นเดียวกับทหารอาสาสมัครคริสต์ศาสนิกชนหลายกุล่มเดิมก่อตั้งเพื่อคุ้มครองหมู่บ้านคริสต์ศาสนิกชน แต่เข้าร่วมกำลังเคิร์ดเพื่อยึดอัลฮะซะกะฮ์จาก ISIS ในปลายปี 2558[501] กำลังคุ้มครองแผ่นดินระหว่างสองแม่น้ำหญิง (Female Protection Forces of the Land Between the Two Rivers) เป็นกำลังหญิงล้วนนักรบอัสซีเรียในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของซีเรีย ซึ่งต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับหน่วยอื่น ๆ[502]

ความขัดแย้งระหว่างหน่วยป้องกันประชาชนเคร์ด (YPG) และกลุ่มอิสลามอย่างแนวร่วมอัลนุสเราะบานปลายตั้งแต่กลุ่มชาวเคิร์ดขับฝ่ายอิสลามออกจากเมืองชายแดนรัสอัลอัยน์ (Ras al-Ain)[503]

วันที่ 17 มีนาคม 2559 สภาประชาธิปไตยซีเรีย ฝ่ายการเมืองของ SDF ประกาศการสถาปนาสหพันธรัฐอัตตาณัติในซีเรียเหนือ[504] สภาประชาธิปไตยซีเรียได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมสันติภาพเจนีวาระหว่างประเทศในเดือนมีนาคม 2559 แต่ปฏิเสธคำเชิญ

รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์

แก้

รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (ISIL) หรือรัฐอิสลามอิรักและซีเรีย (ISIS) ได้เปรียบทางทหารอย่างรวดเร็วในซีเรียตอนเหนือเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2556 และในกลางปี 2557 ควบคุมส่วนใหญ่ของภูมิภาคนั้น ขณะที่ผู้สังเกตการณ์สิทธิมนุษยชนซีเรียอธิบายว่าเป็น "กลุ่มแข็งแกร่งที่สุด"[505] กลุ่มกำหนดกฎหมายชะรีอะฮ์เข้มงวดเหนือดินแดนที่ตนควบคุม จนถึงปี 2557 กลุ่มสวามิภักดิ์ต่ออัลกออิดะฮ์ ซึ่งมีนักรบชาวอิรัก อะบู บักร์ อัลบัฆดาดี และมีนักรบโดยประมาณ 7,000 คนในประเทศซีเรีย ซึ่งมีผู้ที่มิใช่ชาวซีเรียหลายคน ถูกยกย่องว่าทุจริตน้อยกว่ากลุ่มทหารอาสาสมัครอื่นแต่ถูกวิจารณ์ว่าละเมิดสิทธิมนุษยชน[506] และไม่มีขันติต่อกลุ่มทหารอาสาสมัคร นักหนังสือพิมพ์หรือคนงานช่วยเหลือต่างประเทศ ซึ่งสมาชิกถูกขับไล่ กักขัง[507]หรือประหารชีวิต ไมเคิล ไวส์ (Michael Weiss) เขียนว่า ISIL ไม่ถูกรัฐบาลซีเรียมุ่งเป้า "ด้วยความกระตือรือร้นอย่างเดียวกัน" กับกลุ่มแยกกบฏอื่น[425]

ในฤดูร้อน 2557 ISIL ควบคุมหนึ่งในสามของประเทศซีเรีย สถาปนาตนเป็นกำลังครอบงำของฝ่ายค้านซีเรีย พิชิตยับฮัตอัลนุสเราะ (Jabhat al-Nusra) ในเขตผู้ว่าราชการเดอีร์เอซซอร์ (Deir Ezzor Governorate) และอ้างสิทธิควบคุมเหนือการผลิตน้ำมันและแก๊สส่วนใหญ่ของประเทศซีเรีย[508]

รัฐบาลซีเรียไม่เริ่มต่อสู้กับ ISIL จนเดือนมิถุนายน 2557 แม้มีอยู่ในประเทศซีเรียตั้งแต่เดือนเมษายน 2556 จากข้อมูลของข้าราชการเคิร์ดผู้หนึ่ง[509]

ISIL สามารถเกณฑ์นักรบได้กว่า 6,300 คนในเดือนกรกฎาคม 2557 เดือนเดียว[510] ในเดือนกันยายน 2557 มีรายงานว่า กบฏซีเรียบางส่วนลงนามความตกลง "ไม่รุกราน" กับ ISIL ในชานกรุงดามัสกัส โดยอ้างความไร้สามารถจัดการกับทั้งการโจมตีของ ISIL และกองทัพซีเรียได้พร้อมกัน[511] ทว่า กบฏซีเรียบางส่วนประณามข่าวสนธิสัญญา "ไม่รุกราน" ISIL ยังวางระเบิดในพื้นที่นครโบราณพัลไมรา นครซึ่งมีประชากร 50,000 คน พัลไมรานับเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก เพราะเป็นที่ของซากปรักโรมันโบราณที่กว้างใหญ่และรักษาดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลก[512]

แนวร่วมที่สหรัฐนำต่อ ISIL

แก้
 
ประเทศที่เข้าร่วมในกำลังเฉพาะกิจร่วมผสม ไม่ใช่ทั้งหมดที่ปฏิบัติการอยู่ในประเทศซีเรีย

ประเทศจำนวนหนึ่ง รวมทั้งสมาชิกนาโต้หลายประเทศ เข้าร่วมกำลังเฉพาะกิจร่วมผสม (Combined Joint Task Force) โดยหลักเพื่อต่อสู้กับ ISIL และสนับสนุนกลุ่มกบฏที่ถูกมองว่าสายกลางและเป็นมิตรต่อชาติตะวันตกอย่างกองทัพซีเรียเสรี ประเทศที่ดำเนินการโจมตีทางอากาศในประเทศซีเรียมีสหรัฐ ออสเตรเลีย บาห์เรน แคนาดา ฝรั่งเศส จอร์แดน เนเธอร์แลนด์ ซาอุดีอาระเบีย ตุรกี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และสหราชอาณาจักร[513] สมาชิกบางประเทศเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งนอกเหนือจากการสู้รบกับ ISIL คือ ประเทศตุรกีถูกกล่าวหาว่าต่อสู้กับกำลังเคิร์ดในประเทศซีเรียและอิรัก รวมทั้งการประสานงานด้านข่าวกรองกับ ISIL ในบางกรณี[514][515] ข้อสรุปของการประเมินที่เป็นความลับสูงที่สำนักข่าวกรองกลาโหม (DIA) ดำเนินการและเสนาธิการร่วมในปี 2556 มีว่า ประเทศตุรกีเปลี่ยนโครงการอาวุธลับของสหรัฐเพื่อสนับสนุนกบฏสายกลางซึ่งไม่มีอยู่แล้วเป็นโครงการจัดหาการสนับสนุนทางเทคนิคและลอจิสติกส์แบบไม่เลือกแก่ฝ่ายค้านทั้งหมด ซึ่งรวมยับฮัตอัลนุสเราะและรัฐอิสลาม[440]

การพัวพันของต่างประเทศ

แก้
 
แผนที่ประเทศแวดล้อมซีเรีย (สีแดง) แบ่งตามการเกี่ยวข้องทางทหาร
  ประเทศที่สนับสนุนรัฐบาลซีเรีย
  ประเทศที่สนับสนุนกบฏซีเรีย
  ประเทศที่สนับสนุนสองฝ่าย

ทั้งรัฐบาลซีเรียและฝ่ายค้านได้รับการสนับสนุนทั้งทางทหารและการทูตจากต่างประเทศซึ่งนำให้ความขัดแย้งนี้ถูกขนานนามว่า สงครามตัวแทน[516] ภาคีหลักที่สนับสนุนรัฐบาลซีเรีย ได้แก่ ประเทศรัสเซีย อิหร่านและฮิซบุลลอฮ์ ทั้งสองประทเศพัวพันในสงครามทั้งทางการเมืองและลอจิสติกส์โดยจัดหายุทธภัณฑ์ การฝึกกำลังพลและกำลังรบ รัฐบาลซีเรียยังได้รับอาวุธจากประเทศรัสเซียและการสนับสนุนข่าวกรองทางสัญญาณโดยตรงจากหน่วยอำนวยการข่าวกรองหลัก (GRU)[517] นอกเหนือไปจากการสนับสนุนทางการเมืองอย่างสำคัญจากรัสเซีย[518]

องค์กรฝ่ายค้านหลักของซีเรีย หรือแนวร่วมซีเรีย ได้รับการสนับสนุนทางการเมือง ลอจิสติกส์และทางทหารจากสหรัฐ บริเตนและฝรั่งเศส[519] กบฏซีเรียบางส่วนได้รับการฝึกจากซีไอเอที่ฐานทัพในประเทศกาตาร์ จอร์แดนและซาอุดีอาระเบีย[520] ภายใต้โครงการทิมเบอร์ซิกามอร์ (Timber Sycamore) และความเคลื่อนไหวซ่อนเร้นอื่น เจ้าหน้าที่ซีไอเอและทหารปฏิบัติการพิเศษของสหรัฐฝึกและติดอาวุธนักรบฝ่ายกบฏเกือบ 10,000 คนเป็นมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่ปี 2555[521] ฝ่ายค้านซีเรียยังได้รับการสนับสนุนทางลอจิสติกส์และการเมืองจากรัฐซุนนี ที่สำคัญคือ ประเทศตุรกี กาตาร์และซาอุดีอาระเบีย ทว่ารัฐผู้สนับสนุนหลักทั้งสามมิได้ส่งกำลังพัวพันโดยตรงในสงคราม แม้ประเทศตุรกีมีอุบัติการณ์ชายแดนกับกองทัพซีเรีย เดอะไฟแนนเชียลไทมส์และดิอินดีเพนเดนต์รายงานว่าประเทศกาตาร์ให้เงินทุนกบฏซีเรียมากถึง 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[522] มีรายงานว่าประเทศกาตาร์เสนอข้อตกลงลี้ภัยประมาณ 50,000 ดอลลาร์สหสรัฐต่อปีแก่ผู้แปรพักตร์และครอบครัว[522] ประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นกลุ่มหลักที่ให้เงินสนับสนุนและติดอาวุธฝ่ายกบฏ[523] ในปี 2557 ฝ่ายข่าวกรองสหรัฐประมาณการว่าฝ่ายค้านได้รับเงินทุนสนับสนุนจากซาอุดีอาระเบียปีละ 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การกำหนด FSA เป็นกลุ่มแยกฝ่ายค้านสายกลางโดยตะวันตกทำให้ FSA ได้รับอาวุธทันสมัยและการสนับสนุนอื่นจากสหรัฐ ตุรกีและประเทศอ่าวบางประเทศซึ่งเพิ่มสมรรถนะการสู้รบรวมของกบฏอิสลามิสต์[443][444]

สถานีโทรทัศน์ฝรั่งเศส ฟรานซ์ 24 รายงานว่ารัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ ซึ่งมีนักรบญิฮัดต่างด้าวประมาณ 3,000 คน[524] "ได้รับการบริจาคเอกชนจากรัฐอ่าว"[525] มีการประมาณว่า ISIL ขายน้ำมันเป็นมูลค่าระหว่าง 1–4 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อวันแก่ผู้ซื้อชาวตุรกีเป็นหลัก ระหว่างอย่างน้อยหกเดือนในปี 2556 ซึ่งช่วยการเติบโตของกลุ่มอย่างมาก[526] รัฐบาลตุรกียังถูกกล่าวหาว่าช่วยเหลือ ISIL โดยเพิกเฉยต่อการขนย้ายอาวุธ นักรบ น้ำมันและโบราณวัตถุที่ถูกปล้นอย่างผิดกฎหมายข้ามชายแดนทางใต้[527] ในปี 2558 ประเทศกาตาร์ ซาอุดีอาระเบียและตุรกีหนุนหลังกองทัพพิชิตดินแดนอย่างเปิดเผย ซึ่งเป็นกลุ่มกบฏรวมซึ่งมีรายงานว่ารวมแนวร่วมอัลนุสเราะซึ่งเกี่ยวข้องกับอัลกออิดะฮ์และแนวร่วมซาลาฟีอีกหนึ่ง เรียก อะห์รัรอัชชาม และฟัยลักอัลชาม แนวร่วมของกลุ่มกบฏที่เชื่อมโยงกับภราดรภาพมุสลิม[446][447] กลุ่มฝ่ายค้านเคิรดซีเรียหลัก PYD มีรายงานว่าได้รับการสนับสนุนทางลอจิสติกส์และการฝึกฝนกำลังพลจากอิรักเคอร์ดิสถาน

อาสาสมัครต่างประเทศเข้าร่วมการพิพาทนี้เพื่อคัดค้านอะซัด ส่วนใหญ่เป็นญิฮัด แต่บางคน เช่น Mahdi al-Harati (อดีตผู้บังคับบัญชาในสงครามกลางเมืองลิเบีย) ร่วมสนับสนุนฝ่ายค้านซีเรีย[528]

ศูนย์การศึกษาการกลายเป็นหัวรุนแรงและความรุนแรงทางการเมืองระหว่างประเทศ (The International Centre for the Study of Radicalisation and Political Violence) ประมาณการว่ามีนักรบต่างประเทศ 2,000–5,500 คนเดินทางไปประเทศซีเรียนับแต่เริ่มต้นการประท้วง ประมาณร้อยละ 7–11 มาจากทวีปยุโรป มีประมาณการว่าจำนวนนักรบต่างประเทศไม่เกินร้อยละ 10 ของกองทัพฝ่ายค้าน[529] ต้นปี 2557 มีประมาณการญิฮัดต่างประเทศไว้ 15,000 คน[483] ในเดือนตุลาคม 2555 กลุ่มศาสนาในอิรักหลายกลุ่มเข้าร่วมความขัดแย้งในประเทศซีเรียทั้งสองฝ่าย ซุนนีหัวรุนแรงจากประเทศอิรักเดินทางเข้าสู่ประเทศซีเรียเพื่อต่อสู้รัฐบาลซีเรีย[485] ในเดือนธันวาคม 2558 กลุ่ม Soufan ประมาณการว่ามีนักรบต่างประเทศรวม 27,000–31,000 คนจาก 86 ประเทศเดินทางไปประเทศซีเรียและอิรักเพื่อเข้าร่วมกับกลุ่มสุดโต่ง[530]

ปฏิกิริยาต่างประเทศ

แก้

สันนิบาตอาหรับ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรปและอีกหลายประเทศประณามการใช้ความรุนแรงต่อผู้ประท้วง สันนิบาตอาหรับระงับสมาชิกภาพของซีเรียเพราะการตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ดังกล่าวของรัฐบาล แต่ให้ที่นั่งแก่แนวร่วมแห่งชาติซีเรียเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2556[531] สันนิบาตอาหรับยังส่งคณะผู้แทนสังเกตการณ์ในเดือนธันวาคม 2554 โดยเป็นส่วนหนึ่งของข้อเสนอการแก้ไขวิกฤตการณ์อย่างสันติ มีความพยายามระงับวิกฤตการณ์อื่นอีก ผ่านการแต่งตั้งโคฟี อันนันเป็นผู้แทนทางการทูตพิเศษ

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2555 กาชาดสากลประเมินความขัดแย้งซีเรียว่าเป็น "การขัดกันด้วยอาวุธไม่ระหว่างประเทศ" (เป็นศัพท์กฎหมายของสงครามกลางเมือง) ฉะนั้น จึงบังคับใช้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศภายใต้อนุสัญญาเจนีวาต่อซีเรีย สงครามลดระดับลงเป็นการคุมเชิงในต้นปี 2556 โดยฝ่ายกบฏค่อย ๆ ได้พื้นที่ในบางบริเวณ[532][533] ขณะที่ในบางบริเวณ ฝ่ายรัฐบาลก็ค่อย ๆ ได้พื้นที่เช่นกัน[534]

กลุ่มสิทธิมนุษยชนรายงานว่า การละเมิดส่วนใหญ่กระทำโดยกำลังรัฐบาลซีเรีย และการสืบสวนของสหประชาชาติสรุปว่า การละเมิดของรัฐบาลนั้นมีความร้ายแรงและขอบเขตสูงสุด[535][536]

ความพยายามสันติภาพ

แก้
 
การเจรจาสันติภาพในกรุงเวียนนา 30 ตุลาคม 2558

ระหว่างสงคราม มีการริเริ่มสันติภาพระหว่างประเทศหลายครั้งที่สันนิบาตอาหรับ สหประชาชาติและตัวแสดงอื่นจัดการ[537] รัฐบาลซีเรียปฏิเสธความพยายามเจรจากับฝ่ายที่เรียกว่ากลุ่มก่อการร้ายติดอาวุธ[538] วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 ยูเอ็นประกาศเริ่มการเจรจาสันติภาพซีเรียเจนีวาที่ยูเอ็นเป็นตัวกลางอย่างเป็นทางการ[105] ซึ่งกลุ่มสนับสนุนซีเรียนานาชาติ (International Syria Support Group) ในกรุงเวียนนาตกลงกัน วันที่ 3 กุมภาพันธ์ ตัวกลางสันติภาพซีเรียของยูเอ็นระงับการเจรจา[539] วันที่ 14 มีนาคม การเจรจาสันติภาพเจนีวาเริ่มอีกครั้ง รัฐบาลซีเรียยืนกรานว่าการอภิปรายเรื่องประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัด "เป็นเส้นแดง" ทว่า ประธานาธิบดีซีเรียบัชชาร อัลอะซัดกล่าวว่าเขาหวังว่าการเจรจาสันติภาพในเจนีวาจะยังผลจับต้องได้ และเน้นความจำเป็นของกระบวนการทางการเมืองในประเทศซีเรีย[540]

การเจรจารอบใหม่ระหว่างรัฐบาลาซีเรียและกลุ่มกบฏซีเรียบางกลุ่มได้ข้อสรุปในวันที่ 24 มกราคม 2560 ในกรุงอัสตานา ประเทศคาซัคสถาน โดยรัสเซีย อิหร่านและตุรกีสนับสนุนความตกลงหยุดยิงที่เป็นนายหน้าในปลายเดือนธันวาคม 2559[541] เจ้าหน้าที่รัสเซียอธิบายการเจรจากระบวนการอัสตานาว่าเป็นการเสริมการเจรจากระบวนการเจนีวาที่สหประชาชาตินำ[541] วันที่ 4 พฤษภาคม 2560 ในการประชุมกรุงอัสตานารอบสี่ ผู้แทนรัสเซีย อิหร่านและตุรกีลงนามบันทึกความเข้าใจซึ่งมีการตั้ง "เขตลดขอบเขตสงคราม" ในซีเรีย มีผลวันที่ 6 พฤษภาคม 2560[542][543]

การพรรณนา

แก้

วิดีโอเกม

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Iraq conducts first airstrikes against ISIS in Syria". CNN. February 24, 2017.
  2. "Trump ends CIA arms support for anti-Assad Syria rebels: U.S. officials". Reuters. 19 July 2017.
  3. Hozan Mamo; Ahmed Shiwesh (June 10, 2016). "French special forces assisting Kurdish-led SDF in war on ISIS north Syria". ARA News. สืบค้นเมื่อ March 7, 2017.
  4. "U.S.-backed fighters poised to cut key ISIS supply line". CBS News. June 9, 2016. สืบค้นเมื่อ March 7, 2017.
  5. "First unit of Peshmerga enters Kobane". ARA News. October 30, 2014. สืบค้นเมื่อ March 29, 2017.
  6. Jack Murphy (March 23, 2017). "Did Kurdistan's Counter-Terrorist Group assault the Tabqa Dam in Syria?". SOFREP. สืบค้นเมื่อ March 29, 2017.
  7. "France Says Its Airstrikes Hit an ISIS Camp in Syria". The New York Times. 28 September 2015.
  8. Barton, Rosemary (26 November 2015). "Justin Trudeau to pull fighter jets, keep other military planes in ISIS fight". CBC News. สืบค้นเมื่อ 12 September 2016.
  9. Syria-Irak-Yemen-Libya maps
  10. "Leading Syrian regime figures killed in Damascus bomb attack". The Guardian. July 2012.
  11. "Syria defence minister killed in Damascus bomb". The Daily Telegraph. 18 July 2012. สืบค้นเมื่อ 18 July 2012.
  12. "Syria Remains Silent on Intelligence Official's Death". The New York Times. 24 April 2015.
  13. (Head of National Defence Forces)"Assad cousin killed in Syria's Latakia". Al Jazeera. 8 October 2015. สืบค้นเมื่อ 24 April 2014.
  14. "Qasem Soleimani: US kills top Iranian general in Baghdad air strike". The BBC. 3 January 2020.
  15. "Iranian commander Brigadier General Hossein Hamedani killed by Isis while advising Syrian regime". The Independent. 8 October 2015. สืบค้นเมื่อ 31 August 2016.
  16. "Iranian General Is Killed in Syria". The Wall Street Journal. 13 February 2013. สืบค้นเมื่อ 31 August 2016.
  17. "Commander of Hezbollah Freed by Israel Is Killed in Syria". BBC. 20 December 2015. สืบค้นเมื่อ 31 August 2016.
  18. "Obituary: Hezbollah military commander Mustafa Badreddine". BBC. 14 May 2016. สืบค้นเมื่อ 31 August 2016.
  19. "Al-Nusra Front claims responsibility for Hezbollah fighters' death". Middle East Monitor. 19 January 2015. สืบค้นเมื่อ 31 August 2016.
  20. "Israeli strike on Syrian Golan Heights 'kills son of top military commander and five other fighters from Lebanese Shiite militant group'". Daily Mail. 19 January 2015. สืบค้นเมื่อ 31 August 2016.
  21. "Analysis: Shiite Afghan casualties of the war in Syria". FDD's Long War Journal. 12 March 2015. สืบค้นเมื่อ 31 August 2016.
  22. "Update 1-Moscow blames 'two-faced U.S. policy' for Russian general's Syria death -RIA". Reuter. 25 September 2017.
  23. "Turkish Special Forces: From stopping a coup to the frontline of the ISIL fight". Hürriyet Daily News. 24 August 2016.
  24. sitesi, milliyet.com.tr Türkiye'nin lider haber. "Son dakika: Afrin harekatını Korgeneral İsmail Metin Temel yönetecek!". Milliyet.com.tr. สืบค้นเมื่อ 21 January 2018.
  25. "Top Syrian rebel commander dies from wounds". Reuters. 17 November 2013.
  26. 26.0 26.1 26.2 "Leading Syrian rebel groups form new Islamic Front". BBC. 22 November 2013. สืบค้นเมื่อ 22 January 2014. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "BBC22Nov" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  27. "Suicide bombing kills head of Syrian rebel group". The Daily Star.
  28. "Al Qaeda's chief representative in Syria killed in suicide attack". FDD's Long War Journal.
  29. "Russian raids kill prominent Syrian rebel commander". Al Jazeera. 25 December 2015.
  30. Nic Robertson & Paul Cruickshank (5 March 2015). "Source: Syrian warplanes kill leaders of al-Nusra". CNN.
  31. "Senior Nusra Front commander killed in Syria air strike". Al Jazeera. 6 March 2015. สืบค้นเมื่อ 3 June 2015.
  32. "Nusra Front spokesman killed by air strike in Syria". Al Jazeera. 4 April 2016.
  33. "Syria's Qaeda spokesman, 20 jihadists dead in strikes: monitor". AFP. 3 April 2016 – โดยทาง Yahoo!.
  34. "Air strike kills top commander of former Nusra group in Syria". Reuters. 9 September 2016.
  35. "Leader of Qaeda Cell in Syria, Muhsin al-Fadhli, Is Killed in Airstrike, U.S. Says". The New York Times. 2 July 2015.
  36. "Isis leader incapacitated with suspected spinal injuries after air strike". The Guardian. 1 May 2015.
  37. "ISIS confirms death of senior leader in Syria". FDD's Long War Journal. February 2014. สืบค้นเมื่อ 16 September 2016.
  38. Alessandria Masi (11 November 2014). "If ISIS Leader Abu Bakr al-Baghdadi Is Killed, Who Is Caliph Of The Islamic State Group?". International Business Times. สืบค้นเมื่อ 11 June 2015.
  39. Schmidt, Michael S.; Mazzetti, Mark (25 March 2016). "A Top ISIS Leader Is Killed in an Airstrike, the Pentagon Says". The New York Times.
  40. Starr, Barbara (14 March 2016). "U.S. assesses ISIS operative Omar al-Shishani is dead". CNN.
  41. Ryan, Missy (3 July 2015). "U.S. drone strike kills a senior Islamic State militant in Syria". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 31 August 2016.
  42. Starr, Barbara; Conlon, Kevin (19 May 2015). "U.S. names ISIS commander killed in raid". CNN. สืบค้นเมื่อ 31 August 2016.
  43. Starr, Barbara; Acosta, Jim (22 August 2015). "U.S.: ISIS No.2 killed in US drone strike in Iraq". CNN.
  44. Sherlock, Ruth (9 July 2014). "Inside the leadership of Islamic State: how the new 'caliphate' is run". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 31 August 2016.
  45. "Isis: US-trained Tajik special forces chief Gulmurod Khalimov becomes Isis war minister". International Business Times. 6 September 2016 – โดยทาง Yahoo News.
  46. Sands, Phil; Maayeh, Suha web (17 November 2015), "Death of 'ISIL commander' in southern Syria a blow to the group", The National
  47. "New Operation Inherent Resolve commander continues fight against ISIL". Army Worldwide News. 22 August 2016.
  48. "Syria military strength". Global Fire Power. 17 October 2015.
  49. "Syria's diminished security forces". Agence France-Presse. 28 August 2013. สืบค้นเมื่อ 14 May 2014.
  50. ISIS’ Iraq offensive could trigger Hezbollah to fill gap left in Syria The Daily Star, 16 June 2014
  51. 51.0 51.1 "Iran 'Foreign Legion' Leads Battle in Syria's North". The Wall Street Journal. 17 February 2016.
  52. http://www.businessinsider.com/russias-syria-force-has-reportedly-grown-to-4000-people-2015-11
  53. https://www.wsj.com/articles/up-to-nine-russian-contractors-die-in-syria-experts-say-1450467757
  54. "State-of-the-art technology is giving Assad's army the edge in Syria". 26 February 2016.
  55. Cockburn, Patrick (11 December 2013). "West suspends aid for Islamist rebels in Syria, underlining their disillusionment with those forces opposed to President Bashar al-Assad". The Independent.
  56. "Front to Back". Foreign Policy.
  57. Who are these 70,000 Syrian fighters David Cameron is relying on?. Retrieved 18 February 2016.
  58. http://www.yenisafak.com/dunya/8-bin-asker-emir-bekliyor-2591721
  59. http://aranews.net/2017/01/us-assistant-secretary-of-defense-tells-turkey-only-isis-a-target-not-kurds/
  60. "Is Syria's Idlib being groomed as Islamist killing ground?".
  61. "Al Qaeda Is Starting to Swallow the Syrian Opposition".
  62. Rida, Nazeer (30 January 2017). "Syria: Surfacing of 'Hai'at Tahrir al-Sham' Threatens Truce". Asharq Al-Awsat.
  63. "Isis ranks dwindle to 15,000 amid 'retreat on all fronts', claims Pentagon". The Guardian. 11 August 2016. สืบค้นเมื่อ 13 August 2016.
  64. "EXCLUSIVE: ISIS Took The Decision To Withdraw From Deir Ezzor". Qasion News. 28 December 2017. สืบค้นเมื่อ 28 December 2017.
  65. Rashid (2018), p. 7.
  66. Rashid (2018), p. 16.
  67. 67.0 67.1 Rashid (2018), p. 53.
  68. "US coalition spokesman: Arabs are leading Manbij campaign, not Kurds – ARA News". 4 June 2016. สืบค้นเมื่อ 6 June 2016.
  69. "US-backed fighters close in on IS Syria bastion". สืบค้นเมื่อ 6 June 2016.
  70. Rodi Said (25 August 2017). "U.S.-backed forces to attack Syria's Deir al-Zor soon: SDF official". Reuters.
  71. 71.00 71.01 71.02 71.03 71.04 71.05 71.06 71.07 71.08 71.09 "Syrian Revolution 120 months on: 594,000 persons killed and millions of Syrians displaced and injured". SOHR. 14 March 2021.
  72. 72.0 72.1 "Tantalizing promises of Bashar al- Assad kill more than 11000 fighters of his forces during 5 months". SOHR. 17 December 2014. สืบค้นเมื่อ 15 December 2016.
  73. "On Balance, Hezbollah Has Benefited from the Syrian Conflict". The Soufan Group. สืบค้นเมื่อ 17 September 2018.
  74. 151–201 killed (2015–17),[1][2][3] 14–64 killed (Battle of Khasham, Feb. 2018),[4][5] 18 killed (May 2018 – June 2019),[6][7][8][9][10][11] total of 183–283 reported dead
  75. "IRGC Strategist Hassan Abbasi Praises Iranian Parents Who Handed Over Their Oppositionist Children For Execution: Educating People To This Level Is The Pinnacle Of The Islamic Republic's Achievement; Adds: 2,300 Iranians Have Been Killed In Syria War". MEMRI.
  76. الشامية, محرر الدرر (30 August 2017). "عميد إيراني يكشف عن إحصائية بأعداد قتلى بلاده في سوريا". الدرر الشامية. สืบค้นเมื่อ 19 February 2019.
  77. 72 killed in Operation Euphrates Shield, 61–96 killed in Operation Olive Branch, 70–84 killed in Idlib buffer zone, 18 killed in Operation Peace Spring, 16–24 killed after Operation Spring Shield, 2 killed after Operation Euphates Shield, total of 239–296 reported killed (for more details see here)
  78. "On International Human Rights Day: Millions of Syrians robbed of "rights" and 593 thousand killed in a decade". SOHR. 9 December 2020.
  79. "Pilot killed as U.S. F-16 crashes in Jordan".
    "Jordan pilot murder: Islamic State deploys asymmetry of fear". BBC News. 4 February 2015.
    "US service member killed in Syria identified as 22-year-old from Georgia". ABC News. 27 May 2017.
    "US identifies American service member killed by IED in Syria". ABC News. 27 May 2017.
    "French soldier killed in Iraq-Syria military zone, Élysée Palace says". France24. 27 May 2017.
    "4 Americans among those killed in Syria attack claimed by ISIS". CNN. 27 May 2017.
    "Mystery surrounds the killing of a US soldier in the countryside of Ayn al-Arab (Kobani) amid accusations against Turkey of targeting him". Syrian Observatory of Human Rights. 2 May 2019.
    "US service member killed in Syria identified as 22-year-old from Georgia". ABC News. 27 May 2017.
    "Army identifies U.S. soldier killed in Syria". The Washington Times. 27 January 2020.
    "Pentagon identifies US soldier killed in Syria". The Hill. 23 July 2020.
  80. (UNHCR), United Nations High Commissioner for Refugees. "UNHCR Syria Regional Refugee Response".
  81. Thomas Gibbons-Neff (16 September 2016). "U.S. Special Operations forces begin new role alongside Turkish troops in Syria". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 16 September 2016.
  82. Andrew Tilghman (November 16, 2016). "U.S. halts military support for Turkey's fight in key Islamic State town". MilitaryTimes. สืบค้นเมื่อ January 4, 2017.
  83. Fadel, Leith (27 September 2016). "US Coalition knew they were bombing the Syrian Army in Deir Ezzor".
  84. "More than 215,000 killed in Syria since 2011". 3news.co.nz.
  85. Oweis, Khaled Yacoub; Solomon, Erika (22 February 2012). "Bombardment of Syria's Homeless kills 21 people". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-03. สืบค้นเมื่อ 21 July 2014.
  86. Chulov, Martin (12 March 2014). "Controlled by Iran, the deadly militia recruiting Iraq's men to die in Syria". The Guardian. Najaf. สืบค้นเมื่อ 2014-05-21.
  87. "Sunni v Shia, here and there". The Economist. Retrieved 14 September 2013
  88. "UN says Syria conflict is 'overtly sectarian'". 20 December 2012.
  89. "Nasrallah says Hezbollah will not bow to sectarian threats". NOW News. 14 June 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-09. สืบค้นเมื่อ 21 October 2013.
  90. "Syria Opposition Contradicts U.N., Says Conflict not Sectarian". Naharnet. 22 December 2012. สืบค้นเมื่อ 21 October 2013.
  91. 91.0 91.1 91.2 Mroue, Bassem (25 May 2013). "Hezbollah chief says group is fighting in Syria". Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-21. สืบค้นเมื่อ 25 May 2013.
  92. 92.0 92.1 "Al Nusrah Front claims 3 more suicide attacks in Daraa". Threat matrix. Long war journal. 27 November 2012.
  93. "Saudi Arabia and Iran must end their proxy war in Syria". The Gurdian. 15 December 2013. สืบค้นเมื่อ 30 November 2015.
  94. "By arming Syria rebels, US drawn into proxy war". Yahoo News. 15 June 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-14. สืบค้นเมื่อ 2016-02-16.
  95. "U.S. Weaponry Is Turning Syria Into Proxy War With Russia". The New York Times. 12 October 2015. สืบค้นเมื่อ 14 October 2015.
  96. "John McCain says US is engaged in proxy war with Russia in Syria". The Guardian. 4 October 2015. สืบค้นเมื่อ 17 October 2015.
  97. "U.S., Russia escalate involvement in Syria". CNN. 13 October 2015. สืบค้นเมื่อ 17 October 2015.
  98. ""The Russians have made a serious mistake": how Putin's Syria gambit will backfire". The VOA. 1 October 2015. สืบค้นเมื่อ 17 October 2015.
  99. "Untangling the Overlapping Conflicts in the Syrian War". The New York Times. 18 October 2015. สืบค้นเมื่อ 19 October 2015.
  100. "UN Details Rampant War Crimes By ISIS And Assad's Regime". 27 August 2014. สืบค้นเมื่อ 15 October 2014.
  101. Abdelaziz, Salma. "Syrian rebels blame 'heinous' executions on 'extremists'". CNN. สืบค้นเมื่อ 15 October 2014.
  102. "Syria and Isis committing war crimes, says United Nations". 27 August 2014. สืบค้นเมื่อ 15 October 2014.
  103. "UN human rights probe panel reports continuing 'gross' violations in Syria". United Nations. 24 May 2012. สืบค้นเมื่อ 12 September 2013.
  104. "UN chief warns of Syrian civil war if massacres continue". WN. สืบค้นเมื่อ 15 October 2014.
  105. 105.0 105.1 "U.N. announces start of Syria peace talks as government troops advance". Reuters. 1 February 2016. สืบค้นเมื่อ 2 February 2016.
  106. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ reutersrageon
  107. Douglas Little (1990). "Cold War and Covert Action: The United States and Syria, 1945–1958". Middle East Journal. 44 (1).
  108. "1949–1958, Syria: Early Experiments in Cover Action, Douglas Little, Professor, Department of History, Clark University" (PDF).
  109. "Syria Profile". BBC. 13 September 2013. สืบค้นเมื่อ 13 September 2013.
  110. Wilson, Scott (25 April 2011). "Syria escalates attacks against demonstrators". The Seattle Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 April 2011.
  111. "Assad says Syria 'able' to get out of crisis". Al Jazeera. 25 May 2012. สืบค้นเมื่อ 11 June 2012.
  112. Alianak 2007, p. 55.
  113. "No Room to Breathe: State Repression of Human Rights Activism in Syria". 19 (6). Human Rights Watch. October 2007: 8–13. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  114. George, Alan (2003). Syria:Neither Bread nor Freedom. New York, NY: Zed Books. pp. 56–58. ISBN 1-84277-213-9.
  115. Liam Stack; J. David Goodman (1 April 2011). "Syrian Protesters Clash With Security Forces". New York Times. สืบค้นเมื่อ 19 December 2013.
  116. "Syrians Vote For Assad in Uncontested Referendum". The Washington Post. Associated Press. 28 May 2007. สืบค้นเมื่อ 13 March 2015.
  117. "Syria's Assad wins another term". BBC News. 29 May 2007. สืบค้นเมื่อ 13 March 2015.
  118. "Democracy Damascus style: Assad the only choice in referendum". The Guardian. 28 May 2007.
  119. "President Bashar al-Assad interview with Croatian newspaper Vecernji List". leakofnations.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-13. สืบค้นเมื่อ 12 April 2017.
  120. "Syria". The World Factbook. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 2018-04-16.
  121. Heneghan, Tom (3 December 2011). "Syria's Alawites is a secretive, unorthodox sect". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-18. สืบค้นเมื่อ 8 August 2013.
  122. Nir Rosen. "Assad's Alawites: The guardians of the throne".
  123. Syria's Alawites: The People Behind Assad The Wall Street Journal, 25 June 2015.
  124. "Syria". U.S. Department of State.
  125. "Syria Kurd leader vows to keep up democracy struggle". Reuters. 7 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 10 August 2013.
    "US will not intervene in Syria as it has in Libya, says Hillary Clinton". The Guardian. London. 27 March 2011.
  126. "Syria's Assyrians threatened by extremists". AINA. 28 April 2014.
  127. Phillips, David J. (1 January 2001). Peoples on the Move: Introducing the Nomads of the World. William Carey Library. p. 301. ISBN 978-0-87808-352-7. Retrieved 12 November 2012
    ^ "A Country Study: Syria". Library of Congress. Retrieved 30 January 2013.
  128. 128.0 128.1 "Rebels in Syria's largest city of Aleppo mostly poor, pious and from rural backgrounds". Fox News Channel. Associated Press. 16 October 2012. สืบค้นเมื่อ 28 January 2013.
  129. CEIC Data.
  130. "Youth Exclusion in Syria: Social, Economic, and Institutional Dimensions". Journalist's Resource. สืบค้นเมื่อ 11 August 2012.
  131. "World Report 2010 Human Rights Watch World Report 2010", p. 555.
  132. 132.0 132.1 132.2 Human Rights Watch World Report 2005 Events of 2004, Human Rights Watch 2005. ISBN 1-56432-331-5.
  133. "Syria's Assad vows to lift emergency law by next week". Reuters. 16 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-02. สืบค้นเมื่อ 1 January 2014.
  134. "Syria". Amnesty International. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 February 2012. สืบค้นเมื่อ 1 February 2012.
  135. "Stateless Kurds in Syria granted citizenship". CNN. 7 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 February 2012. สืบค้นเมื่อ 13 November 2011.
  136. Brandon, James (21 February 2007). "The PKK and Syria's Kurds". Terrorism Monitor. Washington, DC: The Jamestown Foundation. 5 (3). สืบค้นเมื่อ 1 February 2012.
    Isseroff, Ami (24 March 2004). "Kurdish agony – the forgotten massacre of Qamishlo". MideastWeb. สืบค้นเมื่อ 16 February 2012.
  137. Black, Ian (16 July 2010). "Syrian human rights record unchanged under Assad, report says". The Guardian. London.
  138. Londo, Ernesto (2011-05-29). "Apparent torture of boy propelled Syria's protest movement". Washingtonpost.com. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  139. Sundby, Alex. "Syrian boy's brutal death rouses protesters". Cbsnews.com. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  140. 140.0 140.1 Fahim, Kareem; Saad, Hwaida (8 February 2013). "A Faceless Teenage Refugee Who Helped Ignite Syria's War". New York Times. สืบค้นเมื่อ 7 August 2015.
  141. "Middle East unrest: Silence broken in Syria". BBC. สืบค้นเมื่อ 7 August 2015.
  142. http://www.aljazeera.com/indepth/features/2011/05/201153185927813389.html. {{cite news}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  143. "Syria: Seven Police Killed, Buildings Torched in Protests". Israel National News. สืบค้นเมื่อ 18 August 2015.
  144. "The struggle for Syria in 2011" (PDF). Understanding War. สืบค้นเมื่อ 7 August 2015.
  145. "Assad blames conspirators for Syrian protests". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 7 August 2015.
  146. "US policy on Syria 'depends on success in Libya'". BBC News. 24 May 2011. สืบค้นเมื่อ 7 March 2014.
  147. "Armed residents put up resistance to Syrian army". Khaleej Times (Dubai). 31 May 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-07. สืบค้นเมื่อ 2 April 2014.
  148. "Syria protests: Rights group warns of 'Deraa massacre'". BBC News. 5 May 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 May 2011. สืบค้นเมื่อ 2 February 2014.
  149. Salloum, Raniah (10 October 2013). "From Jail to Jihad: Former Prisoners Fight in Syrian Insurgency". Spiegel. สืบค้นเมื่อ 27 May 2014.
  150. Holliday, Joseph (December 2011). "The Struggle for Syria in 2011" (PDF). Institute for the Study of War. สืบค้นเมื่อ 20 September 2013. (page 21)
  151. "UN: Syria now in a civil war". MSNBC. 1 December 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-02. สืบค้นเมื่อ 26 December 2011.
  152. "Deadly Reprisals: deliberate killings and other abuses by Syria's armed forces" (PDF). Amnesty International. June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 June 2012. สืบค้นเมื่อ 25 June 2012. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  153. "Syria in civil war, says UN official Herve Ladsous". BBC News. 12 June 2012. สืบค้นเมื่อ 7 January 2014.
  154. van Wilgenburg, Wladimir (17 January 2013). "Kurdish Forces Clash with Main Syrian Opposition in Syria, Reports Say". Rudaw. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2013. สืบค้นเมื่อ 4 February 2013.
  155. "Syrian forces Loyal to Asaad break Rebel Blockade in North Syria". Jafria News. 17 เมษายน 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2014.
  156. "Syria army closes in on Qusayr near Lebanon". Al Arabiya Network. 21 April 2013. สืบค้นเมื่อ 7 June 2015.
    Yacoub, Khaled (21 April 2013). "Syria fighting flares both sides of Lebanese border". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-22. สืบค้นเมื่อ 2018-04-15.
  157. "Syrian army, backed by jets, launches assault on Homs". Haaretz. 29 June 2013.
  158. Sam Dagher; Farnaz Fassihi (22 August 2013). "Syria Presses Offensive, Shrugs Off Gas Attack Claims". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 5 September 2013.
  159. "Al-Qaida militants captured town in northern Syria". Associated Press. 19 September 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2015. สืบค้นเมื่อ 4 January 2014.
  160. "Syrian rebel factions tell al Qaeda groups to withdraw". 3 October 2013. สืบค้นเมื่อ 4 January 2014.
  161. "ISIL captures Syrian town on border with Turkey". World Bulletin. 22 November 2013. สืบค้นเมื่อ 4 January 2014.
  162. Bulos, Nabih (5 January 2014). "Al Qaeda-linked group routed in Syrian rebel infighting". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 5 January 2014.
  163. Chulov, Martin (6 January 2014). "Syrian rebels oust al-Qaida-affiliated jihadists from northern city of Raqqa". The Guardian.
  164. "Syria jihadist HQ in Aleppo falls to rebels". Al Arabiya. สืบค้นเมื่อ 21 May 2014.
    Moukalled, Diana (7 มกราคม 2014). "Syria: ISIS besieged by opposition fighters in Raqqa « ASHARQ AL-AWSAT". Aawsat.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2014.
  165. "Turkish army strikes ISIS convoy in Syria". สืบค้นเมื่อ 21 May 2014.
    "Syria: Turkey Hits Islamic State of Iraq Convoy Near Border". EA WorldView. 29 January 2014. สืบค้นเมื่อ 20 March 2014.
  166. Moukalled, Diana (27 มกราคม 2014). "Key Al-Qaeda militant reportedly killed in Syria " ASHARQ AL-AWSAT". Aawsat.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 เมษายน 2014. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2014.
  167. "Islamist rebels oust ISIS from Syria's Deir Ezzor". Al Arabiya. สืบค้นเมื่อ 21 May 2014.
  168. "إدلب خالية من " داعش " بشكل كامل .. و الثوار يعلنون بدء معركة تحرير " خان شيخون " ( فيديو ) | عكس السير دوت كوم". Aksalser.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-25. สืบค้นเมื่อ 20 March 2014.
    Syria Comment – Joshua Landis (21 February 2014). "Saudis And CIA Agree To Arm Syrian 'Moderates' With Advanced Weapons – OpEd Eurasia Review". Eurasiareview.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 June 2015. สืบค้นเมื่อ 20 March 2014.
  169. Liz Sly for the Washington Post. "Renegade al-Qaida faction withdraws from Syrian border town of Azaz | World news | Guardian Weekly". Theguardian.com. สืบค้นเมื่อ 20 March 2014.
  170. "Syria Army Advancing on Key Rebel Town, Supply Route". Theepochtimes.com. 4 March 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 June 2015. สืบค้นเมื่อ 20 March 2014.
  171. Bulos, Nabih; McDonnell, Patrick J. (8 March 2014). "Syria government forces seize strategic town near Lebanon border". LA Times.
  172. "Syrian army advances amid new wave of explosions". Turkish Weekly. 7 March 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 March 2014. สืบค้นเมื่อ 21 May 2014. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  173. "Israel bombs Syria's Golan after blast". Al Jazeera English. สืบค้นเมื่อ 20 March 2014.
  174. Associated, The. "Syrian Troops Capture Village Near Lebanon Border". NPR. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2014. สืบค้นเมื่อ 20 March 2014.
    "Syria rebels seize prison near Jordan, free inmates | Arab News – Saudi Arabia News, Middle East News, Opinion, Economy and more". Arabnews.com. 14 March 2014. สืบค้นเมื่อ 20 March 2014.
  175. 175.0 175.1 "Le régime syrien reprend le Krak des Chevaliers et coupe la "route libanaise" des rebelles – L'Orient-Le Jour". Lorientlejour.com. 20 March 2014. สืบค้นเมื่อ 27 March 2014.
  176. Albert Aji (29 March 2014). "Syrian army takes two villages near Lebanon". The Daily Star. สืบค้นเมื่อ 30 March 2014.
  177. "Syria condemns Turkey 'aggression' after jet downed". Ndtv.com. Damascus. Agence France-Presse. 24 March 2014. สืบค้นเมื่อ 7 June 2015.
  178. "Rebels battle for northern Syria town | Video | Reuters.com". Uk.reuters.com. 17 March 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-23. สืบค้นเมื่อ 27 March 2014.
  179. "Assad's cousin killed in fighting with Syrian rebels near Turkish border | JPost | Israel News". JPost. 23 March 2014. สืบค้นเมื่อ 27 March 2014.
    "Assad cousin killed in Syria's Latakia – Middle East". Al Jazeera English. สืบค้นเมื่อ 27 March 2014.
  180. "Rebels take northern Syrian town on main highway: activists". Reuters. 4 April 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2018-04-15.
  181. "Syrian army regains full control of Rankous | News, Middle East". The Daily Star. สืบค้นเมื่อ 19 May 2014.
  182. "Syria rebels advance in Aleppo city". Aljazeera.com. สืบค้นเมื่อ 21 May 2014.
  183. "Syria rebels surrender in border town". Aljazeera.com. สืบค้นเมื่อ 21 May 2014.
  184. "السيطرة على تل استراتيجي جديد على الحدود مع الجولان المحتل". Syriahr.com. 27 April 2014. สืบค้นเมื่อ 21 May 2014.
  185. "Syria Daily, April 25: Insurgents Take Key Regime Position in the Southwest". EA WorldView. 25 April 2014. สืบค้นเมื่อ 19 May 2014.
  186. "FSA strikes jihadist-held stronghold". The Times. 26 April 2014. สืบค้นเมื่อ 19 May 2014.
  187. "Activists: regime forces captured Tal Buraq". Syriahr.com. 29 April 2014. สืบค้นเมื่อ 21 May 2014.
  188. "Evacuation truce in key Syrian city of Homs goes into effect". CNN. 7 May 2014. สืบค้นเมื่อ 8 May 2014.
  189. "BBC News – Syria war: Air defence chief Gen Hussein Ishaq killed". Bbc.co.uk. 1 January 1970. สืบค้นเมื่อ 19 May 2014.
    Reuters – 14 hours ago (20 April 2011). "Syria air defence head killed, rebels take northern town – Yahoo News UK". Uk.news.yahoo.com. สืบค้นเมื่อ 19 May 2014.
  190. "Syria election: Assad win expected amid civil war". BBC. 3 June 2014.
  191. Ian Black. "Syria presidential election: Assad's stage-managed show of democracy". the Guardian. สืบค้นเมื่อ 1 April 2015.
    Sherlock, Ruth (2 June 2014). "Syria set to vote as the bloodshed goes on". Telegraph.co.uk. London. สืบค้นเมื่อ 1 April 2015.
  192. "Supreme Constitutional Court: Number of participants in Presidential elections reached at 11.634.412 with 73.42%". SANA. Damascus. 4 June 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2014. สืบค้นเมื่อ 4 June 2014.
  193. "Syrian President Bashar al-Assad wins third term". BBC. 4 June 2014.
  194. "Kerry calls Syrian presidential vote 'meaningless'". Aljazeera. 4 June 2014.
  195. "Foreign delegation in Syria slams West, endorses elections". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 8 June 2014.
    "Indian Delegation to monitor Syria election on June 3". KohraM. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2015. สืบค้นเมื่อ 8 June 2014.
  196. "International observers say Syrian elections were transparent". laInfo.es. 4 June 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-18. สืบค้นเมื่อ 8 June 2014.
  197. "Arab League criticizes Syrian election plan". Reuters. 22 April 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2 October 2014.
    GHAZANFAR ALI KHAN (4 June 2014). "GCC slams Syrian elections as 'farce'". Arab News. RIYADH. สืบค้นเมื่อ 7 June 2015.
    "Syria election: Bashar al-Assad re-elected president in poll with 'no legitimacy'". ABC. 4 June 2014. สืบค้นเมื่อ 8 June 2014.
    Sam Tarling (5 June 2014). "Inside Aleppo: the people refusing to leave Syria's shattered city". Telegraph. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-24. สืบค้นเมื่อ 8 June 2014.
  198. "Syria calls in North Korea to monitor its presidential election". The Week. สืบค้นเมื่อ 2 October 2014.
  199. Dagher, Sam (3 June 2014). "Syria Elections a Forum to Celebrate Assad". WSJ. สืบค้นเมื่อ 2 October 2014.
    "Bashar Assad claims 88.7 per cent of vote in Syrian election". thestar.com. Toronto. สืบค้นเมื่อ 2 October 2014.
    Sly, Liz (4 June 2014). "Kerry calls Syria election a 'great big zero'". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2 October 2014.
  200. "Syrians vote as war rages". Gulf-Times. สืบค้นเมื่อ 2 October 2014.
    "Assad wins vote branded illegitimate by opposition – Hindustan Times". hindustantimes.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-13. สืบค้นเมื่อ 2 October 2014.
  201. "UPDATE 2-Ninety killed by Islamist attack on Syrian gas field – monitor". Reuters. 17 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-27. สืบค้นเมื่อ 3 August 2014.
  202. "مقتل 65 من قوات النظام في شاعر". Syriahr.com. 20 July 2014. สืบค้นเมื่อ 3 August 2014.
  203. "Jihadists storm Syrian army base in Raqqa". The Daily Star Newspaper – Lebanon. สืบค้นเมื่อ 2 October 2014.
  204. "Jihadists capture key base from Syrian army". The Daily Star Newspaper – Lebanon. สืบค้นเมื่อ 2 October 2014.
  205. "Syrian militant commander admits collaboration with Israel". 14 August 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 2 October 2014.
  206. "Syria Daily, August 14: Are Insurgents Doomed in Aleppo?". EA WorldView. สืบค้นเมื่อ 2 October 2014.
  207. "Syrian army takes town near Damascus in blow to rebels". Reuters UK. 14 August 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-13. สืบค้นเมื่อ 1 April 2015.
  208. "en/News/middle-east/2014/08/13/ISIS-militants-seize-more-territory-in-Syria-". english.alarabiya.net. สืบค้นเมื่อ 21 October 2015.
  209. "Islamic militants crush tribal uprising in Syria". Indian Monitor. The Washington Post. 11 August 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 June 2015. สืบค้นเมื่อ 7 June 2015.
    "Aleppo province: a man was killed with... – Syrian Observatory for Human Rights – Facebook". สืบค้นเมื่อ 2 October 2014.
  210. "World – News – msn". MSN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-19. สืบค้นเมื่อ 2 October 2014.
  211. "IS Killed More than 700 Syria Tribe Members in 2 Weeks". Naharnet. สืบค้นเมื่อ 2 October 2014.
  212. "Lebanon's Hezbollah kills top jihadist in Syria: NGO". Yahoo News. 19 August 2014. สืบค้นเมื่อ 2 October 2014.
    "ISIL commander 'Abu Abdullah al-Iraqi' killed in Syrian army operation: report". 19 August 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 2 October 2014.
    "Hezbollah kills suicide bombing plotter: activists". The Daily Star Newspaper – Lebanon. สืบค้นเมื่อ 2 October 2014.
  213. 213.0 213.1 "Syrian army repels Islamic State attack". สืบค้นเมื่อ 2 October 2014.
    "Third ISIL Attempt to Seize Tabaqa Airport Fails". สืบค้นเมื่อ 2 October 2014.
  214. AFP. "ISIS begins push to seize Syrian air base". สืบค้นเมื่อ 2 October 2014.
  215. Toby Helm. "US 'set to launch air strikes' on senior Isis terror chiefs in Syria – World news – The Observer". the Guardian. สืบค้นเมื่อ 2 October 2014.
  216. Cockburn, Patrick (20 February 2016). "Turkish threats of intervention after Ankara bombing taken seriously by Obama". สืบค้นเมื่อ 21 February 2016.
  217. Butler, Daren (17 February 2016). "Kurds' advance in Syria divides U.S. and Turkey as Russia bombs". Reuters. สืบค้นเมื่อ 21 February 2016.
  218. "Syria war planes hit jihadist sites in Deir Ezzor". Zee News. สืบค้นเมื่อ 2 October 2014.
    "Syria Warplanes Strike ISIL Sites in Deir Ezour, Army Operates across Country". สืบค้นเมื่อ 2 October 2014.
  219. "U.S. airstrikes hit ISIS targets inside Syria – CNN.com". CNN. 23 September 2014. สืบค้นเมื่อ 2 October 2014.
  220. "US, Arab allies launch first wave of strikes in Syria". Fox News. 23 September 2014. สืบค้นเมื่อ 2 October 2014.
  221. Abi-Habib, Maria (23 September 2014). "Syria Rebels Say They Were Told of Airstrikes Against Islamic State". WSJ. สืบค้นเมื่อ 2 October 2014.
  222. "Syria Daily, Sept 23: US Airstrikes & Missiles Hit Islamic State". EA WorldView. สืบค้นเมื่อ 2 October 2014.
  223. "Erdogan asks UN for no-fly zone over Syria". สืบค้นเมื่อ 2 October 2014.
  224. "IDF shoots down Syrian fighter plane infiltrating Israeli territory". Haaretz.com. 23 September 2014. สืบค้นเมื่อ 2 October 2014.
  225. "BBC News – Islamic State steps up attack on Syrian town of Kobane". BBC News. 4 October 2014. สืบค้นเมื่อ 14 October 2014.
  226. "Syria destroys two warplanes used by ISIS to train fighter pilots". Mail Online. London. 22 October 2014. สืบค้นเมื่อ 23 October 2014.
    "BBC News – Syria conflict: '200 air force strikes' in 36 hours". BBC News. 22 October 2014. สืบค้นเมื่อ 23 October 2014.
  227. Oliver Holmes (22 October 2014). "Syria says shoots down two of three Islamic State jets". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-26. สืบค้นเมื่อ 26 October 2014.
  228. "Syrian Kurds 'drive Islamic State out of Kobane'". BBC News. 26 January 2015. สืบค้นเมื่อ 26 January 2015.
  229. sohranas. "YPG retakes the entire city of Ayn al- Arab "Kobani" after 112 days of clashes with IS militants". Syrian Observatory For Human Rights. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2015. สืบค้นเมื่อ 27 January 2015.
  230. Blanford, Nicholas (21 August 2015). "Can Syria's Assad withstand latest battlefield setbacks? (+video)". Christian Science Monitor. สืบค้นเมื่อ 22 April 2015. The regime's recent setbacks in Idlib and the south are due in part to Assad's regional enemies – including Saudi Arabia, Turkey, Qatar, and Jordan – agreeing on the need to unite rebel factions to oust Assad, according to analysts and regional diplomats.
  231. "US-backed forces in Syria suffer big setback". 1 November 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 December 2014. สืบค้นเมื่อ 3 November 2014.
    Sly, Liz (2 November 2014). "U.S.-backed Syria rebels routed by fighters linked to al-Qaeda". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 3 November 2014.
  232. Gibbons-Neff, Thomas (15 December 2014). "Al-Qaeda faction in Syria claims to have U.S.-supplied anti-tank weapon". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 3 June 2015. The fielding of a TOW system would not necessarily provide al-Nusra with a capability it didn't already have. Similar weapons systems such as the Chinese HJ-8, French Milan and the Russian Spigot have all been seen in operation in Syria.
  233. "Southern Syria rebels set collision course with al Qaeda". Reuters. 14 April 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2018-04-15.
  234. 234.0 234.1 Lister, Charles (1 June 2015). "An Internal Struggle: Al Qaeda's Syrian Affiliate Is Grappling With Its Identity". Huffington Post. สืบค้นเมื่อ 1 June 2015. But not all saw it the same way, especially when it came to the fighting against the SRF and Harakat Hazm. One FSA commander exclaimed to this author that "Jamal Maarouf was a criminal and his group was unpopular," while another such leader told this author in February 2015 that "Hazm's destruction cannot come soon enough, they have done nothing but cause trouble in Aleppo." [...] Having spoken extensively with leading commanders from across the Syrian spectrum in recent weeks, it is clear this [Army of Conquest] cooperation has at least partly been motivated by a desire to ensure victories in Idlib do not become strategic gains for al Qaeda.
  235. al-Akla, Ahmad (8 May 2015). "After Syrian Army's Defeat, People Trickle Back to Idlib Towns". IWPR. สืบค้นเมื่อ 29 May 2015.
  236. "The Nusra Front's Game-Changing Rise in Syria". Carnegie Middle East Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-13. สืบค้นเมื่อ 21 September 2015.
  237. "News Update 3-25-15". Syria Direct. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-28. สืบค้นเมื่อ 25 March 2015.
  238. "Middle East – New Islamist alliance seizes Idlib from Syrian troops – France 24". France 24.
    Blasting News. "New Islamist alliance captures Syrian regional capital Idlib from government forces". Blasting News.
    "Thousands flee Syrian city Idlib after rebel capture". The Daily Telegraph. London. 29 March 2015. สืบค้นเมื่อ 1 April 2015.
  239. "As regional war rages, Syria's Assad faces setbacks". Reuters. 2 April 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-07. สืบค้นเมื่อ 2018-04-15.
  240. "Syria conflict: Islamists capture Jisr al-Shughur". BBC News.
  241. sohranas. "After al- Mastomi town and its military camp, Al- Fateh Army expels the regime forces from Nihlaya". Syrian Observatory For Human Rights. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2015. สืบค้นเมื่อ 22 May 2015.
  242. "Rebels take Ariha from Assad". The Daily Star Newspaper – Lebanon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-29. สืบค้นเมื่อ 2018-04-15.
  243. Erin Banco (19 June 2015). "In Syria's North, Opposition Is Making A Major Comeback Thanks To One Rebel Group, And To Turkey". International Business Times.
  244. "Outside Powers Weigh Their Options in Syria". Stratfor. 6 มิถุนายน 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 มิถุนายน 2015. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2015.
  245. "Hezbollah, Syrian army make big gains in border battle". Reuters. 13 May 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-15. สืบค้นเมื่อ 13 May 2015.
  246. "ISIS is 'everywhere' in Syria's ancient city of Palmyra". CNN. 21 May 2015.
  247. "IS overruns parts of Unesco-listed Syrian city". สืบค้นเมื่อ 20 May 2015.
  248. sohranas. "Islamic State carries out its motto "lasting and explading" and seizes more than 50% of Syria". Syrian Observatory For Human Rights. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2015. สืบค้นเมื่อ 21 May 2015.
    "Syrian air force targets captured Palmyra city – monitor". Reuters. 25 May 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-26. สืบค้นเมื่อ 2018-04-15.
  249. "Syria regime launches 15 air raids around Palmyra".
  250. Spencer, Richard (9 June 2015). "Assad's forces defeated on roads north and south". London: The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 10 June 2015. Meanwhile, Islamic State of Iraq and the Levant, attacked west from Palmyra, reached the town of Hassia on the main road north from Damascus to Homs and the coast.
  251. "Islamic State Launches Two Attacks in Syria". Stratfor. 25 June 2015. สืบค้นเมื่อ 25 June 2015. The Islamic State launched two attacks in northern Syria on June 25 [...] The second attack was directed against the parts of al-Hasaka city still occupied by forces loyal to Syrian President Bashar al Assad and Kurds in the northern part of town. The mainstream media has largely focused on the Kobanî attack, but the al-Hasaka operation in the northeast is more important by far.
  252. "Islamic State attack in northeast Syria reported to displace 60,000 – UN". The Star Online. Reuters. 26 June 2015. สืบค้นเมื่อ 26 June 2015.
  253. Bertrand, Natasha (28 July 2015). "Senior Western official: Links between Turkey and ISIS are now 'undeniable'".
  254. "ISIS seize Qaryatain town in central Syria". 6 August 2015. สืบค้นเมื่อ 9 September 2015.
  255. "Australia launches first air strikes inside Syria – BBC News". bbc.com. สืบค้นเมื่อ 21 October 2015.
  256. "The US says it will defend Syria rebels with airpower — even from Assad".
    "First U.S.-trained Syria rebel believed killed in fighting: sources". 3 August 2017 – โดยทาง Reuters.
  257. "US Confirms Russian Airstrikes in Syria", 30 September 2015.
  258. "Syria conflict: Russia launches fresh strikes – BBC News". bbc.com. สืบค้นเมื่อ 21 October 2015.
    "Russians make air strikes on Islamic State, US-backed Syrian rebel targets | Stuff.co.nz". stuff.co.nz. สืบค้นเมื่อ 21 October 2015.
  259. Manal. "Syria's ambassador to Russia urges all countries to join Syria and Russia against terrorism". sana.sy.
  260. "Obama authorizes resupply of Syrian opposition – CNNPolitics.com". edition.cnn.com. สืบค้นเมื่อ 21 October 2015.
  261. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ BBC_Russian_Navy
  262. "Russian missiles 'hit IS in Syria from Caspian Sea'". BBC. 7 October 2015.
    "Russia has ground troop battalion, advanced tanks in Syria: U.S. NATO envoy". Reuters. 7 October 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-11. สืบค้นเมื่อ 2018-04-15.
  263. "Syrian army, Russian jets drive back rebels in fiercest clashes for days: monitor". Reuters. 12 October 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-15. สืบค้นเมื่อ 2018-04-15.
  264. "Obama Administration Ends Pentagon Program to Train Syrian Rebels". The New York Times. 9 October 2015. สืบค้นเมื่อ 9 October 2015.
  265. 265.0 265.1 "US axes $500m scheme to train Syrian rebels, says NYT". The Guardian. 9 October 2015. สืบค้นเมื่อ 13 October 2015.
    "Secret CIA effort in Syria faces large funding cut". The Washington Post. 10 June 2015. สืบค้นเมื่อ 13 October 2015.
  266. 266.0 266.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ larger
  267. 267.0 267.1 Lizzie Dearden (9 October 2015). "Iranian commander Brigadier General Hossein Hamedani killed by Isis while advising Syrian regime". The Independent.
    "Iran's involvement in Syria carries growing costs – U.S. official: 'Psychological blow' in ISIS killing of Iranian general in Syria". edition.cnn.com. สืบค้นเมื่อ 21 October 2015.
    "Two more Iranian commanders killed in Syria". Al Jazeera. 13 September 2015. สืบค้นเมื่อ 14 October 2015.
  268. "Syrian army enters Aleppo air base after Islamic State siege – state TV". Reuters. 10 November 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-09. สืบค้นเมื่อ 11 November 2015.