กอเซม โซเลย์มอนี

พลโท กอเซม โซเลย์มอนี (เปอร์เซีย: قاسم سلیمانی‎; 11 มีนาคม พ.ศ. 2500 – 3 มกราคม พ.ศ. 2563) เป็นนายพลชาวอิหร่านในกองพิทักษ์ปฏิวัติอิสลามของอิหร่าน และตั้งแต่ พ.ศ. 2541 จนกระทั่งถูกสังหาร เป็นผู้บัญชาการกองกำลังโกดส์ซึ่งเป็นหน่วยหนึ่งของกองพิทักษ์ฯ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบหลักด้านปฏิบัติการทางทหารและปฏิบัติการลับนอกประเทศ[9]

กอเซม โซเลย์มอนี
โซเลย์มอนีในเครื่องแบบทหารประดับเครื่องอิสริยาภรณ์โซลแฟฆอร์ ใน พ.ศ. 2562
ชื่อเล่น"ฮัจญีกอเซม" (ในหมู่ผู้สนับสนุน)
"ผู้บัญชาการเงา" (ในโลกตะวันตก)[1]
เกิด11 มีนาคม พ.ศ. 2500
Qanat-e Malek เคร์มอน รัฐจักรพรรดิแห่งอิหร่าน
เสียชีวิต3 มกราคม พ.ศ. 2563 (62 ปี)[2]
ใกล้ท่าอากาศยานนานาชาติแบกแดด แบกแดด อิรัก
รับใช้อิหร่าน
แผนก/สังกัดกองพิทักษ์ปฏิวัติอิสลาม
ประจำการพ.ศ. 2522–2563
ชั้นยศพลตรี
พลโท (บำเหน็จหลังเสียชีวิต)
หน่วยกองกำลังโกดส์
บังคับบัญชากองพลซอแรลลอฮ์ที่ 41 แห่งเคร์มอน
กองกำลังโกดส์
การยุทธ์สงครามอิรัก–อิหร่าน (พ.ศ. 2523–2531)[3]
สงครามในอัฟกานิสถาน[4][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
สงครามเลบานอน พ.ศ. 2549[5][6]
สงครามอิรัก
สงครามกลางเมืองซีเรีย
สงครามกลางเมืองอิรัก (พ.ศ. 2557–2560)
บำเหน็จเครื่องอิสริยาภรณ์โซลแฟฆอร์ (1)[7]
เครื่องอิสริยาภรณ์แฟตฮ์ (3)[8]

โซเลย์มอนีเริ่มต้นอาชีพทหารในช่วงต้นสงครามอิรัก–อิหร่านในคริสต์ทศวรรษ 1980 ซึ่งในระหว่างนั้นเขาบัญชาการกองพลที่ 41 จากนั้นเขาก็เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในปฏิบัตินอกประเทศโดยให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่กลุ่มชีอะฮ์และกลุ่มชาวเคิร์ดที่ต่อต้านซัดดัมในอิรัก และต่อมาแก่ฮิซบุลลอฮ์ในเลบานอนและฮะมาสในดินแดนปาเลสไตน์ ใน พ.ศ. 2555 โซเลย์มอนีช่วยหนุนรัฐบาลซีเรีย (ซึ่งเป็นพันธมิตรสำคัญของอิหร่าน) ในช่วงสงครามกลางเมืองซีเรีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปฏิบัติการต่อต้านรัฐอิสลามอิรักและซีเรีย (ไอซิส) และองค์กรสาขา นอกจากนี้ เขายังช่วยบังคับบัญชากองกำลังระดมพลประชาชนซึ่งเป็นกองกำลังนักรบชีอะฮ์ในอิรักเพื่อรุกคืบโจมตีกองกำลังรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (ไอซิล) ระหว่าง พ.ศ. 2557–2558[10]

โซเลย์มอนีถูกสังหารระหว่างการโจมตีทางอากาศของสหรัฐเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2563 ในกรุงแบกแดดของอิรัก สมาชิกกองกำลังระดมพลประชาชนอีกหลายคนก็ถูกสังหารในการโจมตีครั้งนี้ด้วย โซเลย์มอนีได้รับการเลื่อนยศเป็นพลโทหลังเสียชีวิต[11][12] และพลจัตวา เอสมออีล กอออนี ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกองกำลังโกดส์สืบต่อจากเขา[13]

อ้างอิง แก้

  1. Dexter Filkins (30 กันยายน 2013). "The Shadow Commander". The New Yorker. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 มีนาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2015.
  2. "Qasem Soleimani among those killed in Baghdad Airport attack – report". Reuters. 3 มกราคม 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มกราคม 2020. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2020.
  3. "لشکر 41 ثارالله (ع) | دفاع‌مقدس". defamoghaddas.ir. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2017. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2016.
  4. "El iraní Qasem Soleimani, "el hombre más poderoso en Irak"". Terra. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 ตุลาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2014.
  5. soleimani reveals details role he played 2006 israel hezbollah war เก็บถาวร 24 ตุลาคม 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน aawsat.com
  6. Shadowy Iran commander Qassem Soleimani gives rare interview on 2006 Israel-Hezbollah war เก็บถาวร 24 ตุลาคม 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน thenational.ae
  7. "Leader awards General Soleimani with Iran's highest military order". Press TV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 มีนาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2019.
  8. عکس/ مدال های فرمانده نیروی قدس سپاه. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2015.
  9. Solomon, Jay; Gorman, Siobhan (6 เมษายน 2012). "Iran's Spymaster Soleimani Counters U.S. Moves in the Mideast". Wall Street Journal. New York City: Dow Jones and Company. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 ตุลาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2017.
  10. "From the east, Iran-backed force advances on Tikrit". The Daily Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 เมษายน 2015. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2015.
  11. "Airstrike kills top Iran general Qassim Suleimani at Baghdad airport, Iraqi TV reports". Euronews. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2020.
  12. "Iran's SNSC to Sit to Extraordinary Meeting". Farsnews. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มกราคม 2020. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2020.
  13. "Soleimani's Deputy Esmail Ghaani Named Iran's Quds Force Chief". Bloomberg. 3 มกราคม 2020. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2020.