สงครามกลางเมืองลิเบีย พ.ศ. 2554

(เปลี่ยนทางจาก สงครามกลางเมืองลิเบีย)

สงครามกลางเมืองลิเบีย พ.ศ. 2554 หรือเรียก การปฏิวัติลิเบีย เป็นความขัดแย้งติดอาวุธในประเทศลิเบีย เพื่อต่อต้านอำนาจรัฐภายใต้การปกครองของพันเอกมูอัมมาร์ กัดดาฟี ซึ่งเป็นผู้นำเผด็จการในประเทศโดยพฤตินัยของประเทศที่ครองอำนาจมายาวนานร่วม 40 ปี เหตุความไม่สงบได้เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 และได้ขยายตัวกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการลุกฮือขึ้นทั่วประเทศ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะโค่นล้มกัดดาฟีลงจากตำแหน่งและจัดการเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตย[29][30] เหตุการณ์ดังกล่าวได้ถูกจุดประกายขึ้นจากการลุกฮือต่อต้านรัฐบาลเผด็จการในประเทศตูนีเซียและอียิปต์ ซึ่งเชื่อมโยงกับการประท้วงในวงกว้างทั่วทั้งทวีปแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง[31] ฝ่ายต่อต้านกัดดาฟีจัดตั้งรัฐบาลตั้งอยู่ที่เบงกาซี ชื่อว่า สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติ ซึ่งระบุเป้าหมายเพื่อโค่นล้มรัฐบาลกัดดาฟีและจัดการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย[32]

สงครามกลางเมืองลิเบีย พ.ศ. 2554
ส่วนหนึ่งของ อาหรับสปริง

รถถังที่ถูกทำลายนอกเมืองมิสราตา
วันที่15 กุมภาพันธ์ – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554
สถานที่
ผล ฝ่ายกองทหารกบฏชนะ รัฐบาลกัดดาฟีถูกโค่นล้ม
คู่สงคราม

ลิเบีย สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติ


รัฐสมาชิกสหประชาชาติซึ่งบังคับใช้ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงที่ 1973:

ลิเบีย รัฐบาลกัดดาฟี

สนับสนุน
 เบลารุส[10]
 แอลจีเรีย[11]

 เกาหลีเหนือ[12]
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

ลิเบีย มุสตาฟา อับดุล จาลิล [13]
ลิเบีย โอมาร์ อัลฮาริรี[14]
ลิเบีย อับดุล ฟาตา ยูนิส[15]

ลิเบีย สุไลมาน มะฮ์มูด[16]

ลิเบีย มูอัมมาร์ อัล-กัดดาฟี 
ลิเบีย คามิส กัดดาฟี 

ลิเบีย มุตัสซิม กัดดาฟี 
กำลัง

อาสาสมัครน้อยกว่า 35,000–40,000 คน 31 มี.ค.[17] (ได้รับการฝึก 1,000 คน 23 มี.ค.)[18]


กองกำลังต่างประเทศ: ยุทโธปกรณ์ทางอากาศและทางน้ำจำนวนมาก
ทหารและกำลังอาสาระหว่าง 20,000[19]–40,000[20] คน
ความสูญเสีย

นักสู้และผู้สนับสนุนฝ่ายต่อต้านเสียชีวิต 3,075–3,827 คน, สูญหาย 1,618–3,144 คน, ได้รับบาดเจ็บ 1,000+ คน (เฉพาะทางตะวันออก)[21]


กองกำลังต่างประเทศ:
สหรัฐ: MQ8 ทร. ถูกยิงตก 1 ลำ[22][23], F-15E ทอ. ชน 1 ลำ[24]

เนเธอร์แลนด์: Lynx ทร. ชน 1 ลำ, นาวิกโยธินถูกจับกุม 3 นาย ปล่อยตัวภายหลัง[25]
ทหารเสียชีวิต 1,776–2,030 นาย, ถูกจับกุม 812+ นาย[26]
ประเมินผู้เสียชีวิตทั้งสองฝ่ายรวมพลเรือน: 50,000[27]
สูญหาย: 40,000[28]

หลายประเทศประณามรัฐบาลลิเบียภายใต้การนำของกัดดาฟีอย่างรุนแรง ซึ่งใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มผู้ประท้วงจนทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคน[33] ศาลอาญาระหว่างประเทศเตือนกัดดาฟีและสมาชิกรัฐบาลลิเบียว่าอาจได้ก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ[34] คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติผ่านข้อมติซึ่งอายัดทรัพย์ของกัดดาฟีและบุคคลใกล้ชิดจำนวน 10 คน มติดังกล่าวยังสั่งห้ามการเดินทางและยื่นเรื่องลิเบียต่อศาลอาญาระหว่างประเทศเพื่อดำเนินการสืบสวนสอบสวน[35]

ต้นเดือนมีนาคม กองกำลังฝ่ายกัดดาฟีรุกคืบไปทางตะวันออกจนถึงเบงกาซี ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพิ่มเติมได้อนุมัติให้รัฐสมาชิกกำหนดเขตห้ามบินเหนือลิเบีย[36] และเขตห้ามบินดังกล่าวได้เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม โดยเริ่มทำลายการป้องกันทางอากาศของลิเบีย[37] รัฐบาลกัดดาฟีประกาศหยุดยิงหลังจากนั้น แต่ไม่สามารถปฏิบัติจริงได้[38]

ในเดือนสิงหาคม กำลังกบฏยึดดินแดนที่สูญเสียไปส่วนใหญ่กลับคืนมาได้ และยึดพื้นที่ส่วนใหญ่ของกรุงตริโปลี นำไปสู่การจับกุมบุตรชายและทายาทผู้สืบทอดอำนาจของกัดดาฟี ซาอิฟ อัล-อิสลาม[39] ขณะที่กัดดาฟีหลบหนีการถูกจับกุมและทหารฝ่ายภักดีเป็นเสมือนทหารกองหลัง[40] จนถึงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554 สหประชาชาติรู้จักลิเบียภายใต้กัดดาฟีอย่างเป็นทางการว่า ลิเบียอาหรับจามาฮิริยา[41] แต่หลังจากนั้น สหประชาชาติยอมรับสภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติเป็นตัวแทนตามกฎหมายของประเทศ[42] วันที่ 20 กันยายน สหภาพแอฟริกายอมรับสภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติว่าเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของลิเบีย[43]

เบื้องหลัง แก้

ความเป็นผู้นำ แก้

มูอัมมาร์ กัดดาฟีได้เป็นผู้ปกครองโดยพฤตินัยเหนือลิเบียนับตั้งแต่รัฐประหารซึ่งโค่นล้มพระเจ้าไอดริสที่ 1 แห่งลิเบีย ในปี พ.ศ. 2512[44]

ภายใต้การปกครองของกัดดาฟี ลิเบียเป็นรัฐบริหารแบบประชาธิปไตยและกระจายอำนาจ ตามปรัชญากรีนบุ๊ก (Green Book) ของกัดดาฟี โดยเขายังดำรงตำแหน่งทางพิธีการ ตามข้อมูลทางการ ลิเบียบริหารโดยระบบของคณะกรรมการประชาชนซึ่งทำหน้าที่เป็นรัฐบาลท้องถิ่นในเขตการปกครองแต่ละเขตของประเทศ มีสภานิติบัญญัติเป็น สภาประชาชน (General People's Congress) ที่ได้รับเลือกตั้งโดยอ้อม ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ และมีคณะรัฐมนตรี (General People's Committee) นำโดยเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำหน้าที่บริหาร อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ โครงสร้างเหล่านี้ดำเนินการเพื่อประกันการปกครองของกัดดาฟี ผู้ซึ่งยังคงครอบงำทุกภาคส่วนของรัฐบาล และระบบการเมืองของประเทศซึ่งมักถูกมองว่าเป็นตรายาง (rubber-stamp)[45]

ขณะที่เขาได้วางตัวคนในครอบครัวและสมาชิกที่จงรักภักดีจากเผ่าเดียวกับเขาในตำแหน่งทางทหารและการเมืองอันเป็นศูนย์กลาง เขาได้ลดความสำคัญของกลุ่มผู้สนับสนุนและคู่แข่งอย่างชาญฉลาด รวมทั้งรักษาสมดุลแห่งอำนาจ เสถียรภาพและการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยุ่งยาก การกระทำนี้ยังมีต่อลูก ๆ ของเขาเองด้วย เนื่องจากเขาเปลี่ยนใจมอบความรักให้เพื่อหลีกเลี่ยงการปรากฏผู้สืบทอดตำแหน่งและคู่แข่งที่ชัดเจน[46]

กัดดาฟี ซึ่งกลัวการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลของเขา เจตนาทำให้กองทัพลิเบียค่อนข้างอ่อนแอ กองทัพลิเบียมีกำลังพลราว 50,000 นาย หน่วยที่ทรงพลังที่สุดคือ กองพลน้อยชั้นยอด 4 กองพลน้อย ซึ่งติดอาวุธอย่างสูงและทหารได้รับการฝึกฝน ประกอบด้วยสมาชิกเผ่าของกัดดาฟีหรือสมาชิกของเผ่าอื่นที่ภักดีต่อเขา กองพลน้อยหนึ่ง ที่ชื่อว่า กองพลน้อยคามิส (Khamis Brigade) บังคับบัญชาโดยบุตรชายของเขาเอง กำลังอาสาและคณะกรรมการปฏิวัติท้องถิ่นทั่วประเทศยังติดอาวุธอย่างดี ตรงข้ามกับหน่วยทหารปกติซึ่งมีอาวุธและการได้รับฝึกฝนอย่างเลว ส่วนใหญ่ยุทโธปกรณ์นั้นก็ล้าสมัยเป็นส่วนใหญ่[47][48][49]

การพัฒนา : ความสำเร็จและการคอร์รัปชั่น แก้

 
น้ำมันเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของลิเบีย ซึ่งประเมินว่าลิเบียมีปริมาณน้ำมันสำรองถึง 43,600 ล้านบาร์เรล[50]

รายได้ส่วนใหญ่ของรัฐมาจากการผลิตน้ำมัน ซึ่งทะยานขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1970 และถูกใช้จ่ายเพื่อจัดซื้ออาวุธและสนับสนุนความเข้มแข็งทางทหารทั่วโลก[51][52] รายได้จากปิโตรเลียมคิดเป็น 58% ของจีดีพีของลิเบีย[53] ซึ่งรายได้ดังกล่าวทำให้ความจำเป็นรายได้ในรูปของภาษีจากอุตสาหกรรมอื่นลดลง และดังนั้น จึงรู้สึกแรงกดดันเพียงเล็กน้อยในการพัฒนาชนชั้นกลาง เพื่อลดเสียงคัดค้าน รัฐบาลได้ใช้รายได้จากทรัพยากรธรรมชาติในการเสนอบริการให้แก่ประชากร หรือกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นการเฉพาะ[54] ความมั่งคั่งจากน้ำมันได้กระจายลงไปสู่ประชากรที่มีค่อนข้างน้อย ทำให้มาตรฐานชีวิตของประชากรลิเบียค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรัฐเพื่อนบ้าน[55] กัดดาฟีได้สร้างความมั่งคั่งส่วนตนอย่างมหาศาลระหว่างการปกครองที่ยาวนานถึง 42 ปี[56]

จีดีพีความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อต่อหัวของลิเบียในปี พ.ศ. 2553 อยู่ที่ 14,878 ดอลลาร์สหรัฐ ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของประเทศในปี พ.ศ. 2553 อยู่ที่ 0.755 และอัตราการรู้หนังสือในปี พ.ศ. 2552 อยู่ที่ 87% ซึ่งตัวเลขดังกล่าวล้วนดีกว่าในอียิปต์และตูนิเซีย ซึ่งเกิดการปฏิวัติขึ้นก่อนหน้าที่จะเกิดการประท้วงในลิเบีย[57] แท้จริงแล้ว พลเมืองลิเบียถูกมองว่ามีการศึกษาดีและมีมาตรฐานชีวิตสูง[58] รายได้เฉลี่ยของประชากรลิเบียอยู่ที่ 12,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี[59] สถานการณ์พิเศษนี้ได้สร้างความขัดแย้งกว้างขึ้นระหว่างการศึกษาดี ความต้องการประชาธิปไตยที่มีสูง และการปฏิบัติของรัฐบาล (การรับรู้คอร์รัปชั่น ระบบการเมือง และการจัดหาประชาธิปไตย)[57]

ดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันของลิเบียในปี พ.ศ. 2553 อยู่ที่ 2.2 ซึ่งแย่กว่าดัชนีของอียิปต์และตูนิเซีย[60]

ตามข้อมูลของดิอีโคโนมิสต์ ทางตะวันออกของลิเบีย ซึ่งเคยเป็นดินแดนส่วนที่ผลิตอาหารหล่อเลี้ยงที่สำคัญในยุคโบราณ กลับให้ผลเลวร้ายภายใต้ทฤษฎีเศรษฐกิจของกัดดาฟี[61][62]

ประเมินว่าพลเมืองลิเบีย 20.74% ว่างงาน และเกือบหนึ่งในสามอาศัยอยู่ใต้เส้นความยากจนแห่งชาติ ครอบครัวมากกว่า 16% ไม่มีสมาชิกคนใดมีรายได้มั่นคง ขณะที่ 43.3% มีเพียงหนึ่งคน แม้ว่าจะมีอัตราการว่างงานสูงที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาค แต่ก็มีความขาดแคลนแรงงานอย่างต่อเนื่อง โดยมีแรงงานอพยพมากกว่าล้านคนอยู่ในตลาด[63] แรงงานอพยพเหล่านี้เป็นผู้ลี้ภัยขนาดใหญ่ที่ออกจากลิเบียในช่วงต้นของความขัดแย้ง

สงครามกลางเมืองดังกล่าวถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประท้วงในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง พ.ศ. 2553-2554 ซึ่งได้ส่งผลให้ประธานาธิบดีที่ครองตำแหน่งมาอย่างยาวนานในตูนิเซียและอียิปต์พ้นจากตำแหน่ง โดยการประท้วงในช่วงแรกทั้งหมดได้ใช้สโลแกนคล้ายกัน[31] สื่อสังคมได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการจัดการประท้วง[64]

สิทธิมนุษยชน แก้

รัฐบาลได้ประหารชีวิตนักเคลื่อนไหวต่อต้านอย่างเปิดเผยและได้ถ่ายทอดการประหารชีวิตทางช่องโทรทัศน์ของรัฐ[65][66] ระหว่างปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 ภาษาตะวันตกถูกนำออกจากหลักสูตรโรงเรียน[67][68] ประเทศลิเบียเผชิญปัญหาขาดแคลนครูที่มีคุณวุฒิ หญิงที่ได้รับการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือสูงกว่ามีต่ำมาก และความพยายามในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 เพื่อปิดโรงเรียนเอกชนและผสานรวมคำสอนทางศาสนาและทางโลกเข้าด้วยกันนำไปสู่ความสับสน[69]

จนถึงกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 หน่วยข่าวกรองของลิเบียได้จัดการลอบสังหารผู้คัดค้านทางการลิเบียทั่วโลก และรัฐบาลได้ตั้งค่าหัวสำหรับการสังหารผู้วิพากษณ์วิจารณ์ด้วย[65][70] ในปี พ.ศ. 2547 ลิเบียยังคงให้ค่าหัวสำหรับผู้วิพากษ์วิจารณ์ โดยบางคนมีค่าหัวสูงถึง 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[71] ตามข้อมูลของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ชาวลิเบีย 10–20% เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการตรวจตราภายในประเทศ (domestic surveillance committee) ซึ่งมีสัดส่วนผู้แจ้งข้อมูลแก่รัฐบาลระดับเดียวกับซัดดัม ฮุสเซนแห่งอิรัก หรือคิม จอง อิลแห่งเกาหลีเหนือ[65] ความไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลนั้นผิดกฎหมายภายใต้กฎหมาย 75 แห่งปี พ.ศ. 2516 และกัดดาฟีได้จัดว่าทุกคนที่กระทำความผิดในการจัดตั้งพรรคการเมืองนั้นจะถูกประหารชีวิต[65]

ตามดัชนีเสรีภาพสื่อ พ.ศ. 2552 ลิเบียเป็นประเทศที่มีการตรวจพิจารณาสูงที่สุดในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ[72]

การเคลื่อนไหวต่อต้านกัดดาฟี แก้

แบบธงของฝ่ายต่อต้านที่ดัดแปลงโดยเอารูปจันทร์เสี้ยวและดาวออก
ธงสองแบบซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่พบทั่วไป[73]

จุดเริ่มต้น แก้

ระหว่างวันที่ 13 และ 16 มกราคม จากความเดือดร้อนจากปัญหาการก่อสร้างหน่วยที่อยู่อาศัยหยุดชะงักและการฉ้อราษฎร์บังหลวง ผู้ประท้วงในดาร์นาห์ เบงกาซี บานี วาลิด และเมืองอื่นได้ขัดจังหวะและเข้าไปอาศัยอยู่ในที่อยู่อาศัยซึ่งรัฐบาลกำลังก่อสร้าง[74][75] เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554 ลิเบียบล็อกการเข้าถึงเว็บไซต์ยูทูบหลังจากมีวิดีโอที่เป็นภาพการเดินขบวนประท้วงในเมืองเบงกาซี ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากฮิวแมนไรท์สวอตช์[76] เมื่อวันที่ 27 มกราคม รัฐบาลตอบสนองต่อความไม่สงบโดยกองทุนลงทุน 24,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อจัดหาที่อยู่อาศัยและการพัฒนา[77]

การก่อการกำเริบและสงครามกลางเมือง แก้

การประท้วงและการเผชิญหน้าเริ่มต้นขึ้นอย่างจริงจังเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ซึ่งในเย็นวันนั้น ผู้ประท้วงระหว่าง 500 ถึง 600 คนได้เปล่งสโลแกนต่อหน้ากองบัญชาการตำรวจในเบงกาซี ตำรวจได้สลายการชุมนุมอย่างรุนแรง ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 38 คน[78][79] ในอัลเบดาและอัซซินตัน กลุ่มผู้ประท้วงหลายร้อยคนได้เรียกร้องให้กัดดาฟีลงจากอำนาจและวางเพลิงอาคารตำรวจและความมั่นคงหลายแห่ง[78] ในอัซซินตัน ผู้ประท้วงได้จัดตั้งเต็นท์ในใจกลางเมือง[78] การประท้วงยังคงดำเนินต่อไปในวันรุ่งขึ้นในเบงกาซี ดาร์นาห์ และอัลเบย์ดา ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 4 คน และได้รับบาดเจ็บอีก 3 คน[80]

"วันแห่งความเดือดดาล" (Day of Rage) ในลิเบียและชาวลิเบียพลัดถิ่นกำหนดไว้วันที่ 17 กุมภาพันธ์[81][82][83] ที่ประชุมฝ่ายค้านลิเบียแห่งชาติได้ร้องขอให้ทุกกลุ่มซึ่งต่อต้านกัดดาฟีประท้วงในวันดังกล่าว เพื่อระลึกถึงการเดินขบวนประท้วงในเบงกาซีเมื่อสองปีที่แล้ว[81] แผนการประท้วงได้รับแรงบันดาลใจจากการก่อการกำเริบในตูนิเซียและอียิปต์[81] การประท้วงเกิดขึ้นในหลายเมือง และเจ้าหน้าที่ความมั่นคงลิเบียยิงกระสุนจริงใส่การประท้วงที่ติดอาวุธเช่นกัน ผู้ประท้วงได้เผาอาคารรัฐการหลายแห่ง รวมทั้งสถานีตำรวจหนึ่งแห่ง[84][85]

การจัดตั้ง แก้

ผู้เข้าร่วมกับฝ่ายต่อต้านจำนวนมากเรียกร้องให้นำรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2495 กลับมาใช้ และเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ประชาธิปไตยแบบหลายพรรคการเมือง เจ้าหน้าที่ทหารผู้ซึ่งเข้าร่วมกับฝ่ายกบฏและอาสาสมัครจำนวนมากได้ก่อตั้งกองทัพเพื่อป้องกันการโจมตีของรัฐบาล และจะทำงานร่วมกันเพื่อทำให้กรุงตริโปลีอยู่ภายใต้อิทธิพลของจาลิล[86] ในเมืองโทบรุค อาสาสมัครได้เปลี่ยนอดีตกองบัญชาการของรัฐบาลเป็นศูนย์ในการช่วยเหลือผู้ประท้วง มีรายงานว่าอาสาสมัครตรวจตราท่าเรือ ธนาคารท้องถิ่น และคลังน้ำมัน เพื่อให้น้ำมันยังไหลอยู่อย่างต่อเนื่อง ครูและวิศวกรได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อรวบรวมอาวุธ[62]

สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติได้ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ในความพยายามที่จะสร้างความเป็นเอกภาพสำหรับการเปลี่ยนแปลงการปกครองของลิเบีย[87] จุดประสงค์หลักของกลุ่มมิได้ร่วมไปถึงการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล แต่จะเป็นการร่วมมือความพยายามต่อต้านระหว่างเมืองที่อยู่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายกบฏ และที่จะใช้เป็น “โฉมหน้า” ทางการเมืองแก่กลุ่มต่อต้านให้โลกได้รับทราบ[88] รัฐบาลฝ่ายต่อต้านซึ่งมีฐานอยู่ในเบงกาซีได้เรียกร้องให้มีการกำหนดเขตห้ามบินและการโจมตีทางอากาศต่อรัฐบาลลิเบีย[89] สภาได้กล่าวถึงรัฐลิเบียว่าสาธารณรัฐลิเบีย และมีการสร้างเว็บไซต์ขึ้นแล้ว[90] อดีตรัฐมนตรียุติธรรมลิเบีย มุสตาฟา อับเดล จาลิล กล่าวในเดือนกุมภาพันธ์ว่า รัฐบาลใหม่จะเตรียมการจัดการเลือกตั้งซึ่งอาจมีขึ้นภายในอีกสามเดือน[91] เมื่อวันที่ 29 มีนาคม คณะกรรมการกิจการการเมืองและระหว่างประเทศของสภาได้นำเสนอแผนการแปดข้อสำหรับลิเบียในหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน โดยกล่าวว่าพวกเขาจะจัดการเลือกตั้งที่เสรีและยุติธรรม และร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติขึ้น[29][30]

หนังสือพิมพ์อิสระชื่อว่า “ลิเบีย” เริ่มวางขายในเบงกาซี เช่นเดียวกับสถานีวิทยุซึ่งควบคุมโดยฝ่ายกบฏ[92] ชาวลิเบียกล่าวว่าพวกเขาค้นพบห้องทรมานและเครื่องมือซึ่งได้เคยใช้ในอดีตด้วย[93]

องค์ประกอบของกลุ่มต่อต้าน แก้

ฝ่ายกบฏส่วนใหญ่ประกอบขึ้นจากพลเรือน อย่างเช่น ครู นักเรียนนักศึกษา ทนายความ และพนักงานน้ำมัน ตลอดจนทหารอาชีพที่แปรพักตร์จากกองทัพลิเบียอย่างไม่ได้คาดหมายและเข้าร่วมกับฝ่ายกบฏ[94][95] รัฐบาลกัดดาฟีได้ยืนยันหลายครั้งว่าในกลุ่มกบฏนั้นประกอบด้วยนักรบอัลกออิดะฮ์ด้วย[96] ผู้บัญชาการหารนาโต พลเรือเอกสตัฟริดิส กล่าวว่า รายงานข่าวกรองได้รายงานว่า กิจกรรมอัลกออิดะฮ์ "แวบหนึ่ง" ปรากฏในกลุ่มกบฏ แต่ก็ได้กล่าวเสริมว่ายังไม่มีข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะยืนยันว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับอัลกออิดะฮ์หรือกลุ่มก่อการร้ายอย่างสำคัญ[97][98] ฝ่ายกบฏปฏิเสธว่าพวกตนไม่ได้เป็นสมาชิกของอัลกออิดะฮ์[99]

การสู้รบ แก้

ชัยชนะของฝ่ายต่อต้าน แก้

การต่อต้านรัฐบาลอย่างแข็งขันเริ่มขึ้นในเบงกาซีเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ หลังจากการประท้วงนานสามวัน กำลังความมั่นคงสังหารผู้ประท้วงไปสิบสี่คนวันก่อนหน้า และมีการจัดขบวนแห่ศพของหนึ่งในผู้เสียชีวิตผ่านบริเวณคาทิบา (Katiba) และเกิดเหตุปะทะกันขึ้น กลุ่มผู้ประท้วงขว้างปาก้อนหินใส่กำลังความมั่นคง ซึ่งใช้กระสุนจริง และสังหารผู้ประท้วงไปยี่สิบสี่คน ตำรวจสองคนที่มีส่วนในการปะทะถูกผู้กระท้วงจับและแขวนคอ[100] ผู้ประท้วงรอบนครและในเมืองอัลเบย์ดา (Al Bayda) และดาร์นาห์ (Darnah) ที่อยู่ใกล้เคียง โจมตีและเอาชนะกำลังฝ่ายรัฐบาลที่มีน้อยกว่า มีหน่วยตำรวจและทหารจำนวนหนึ่งแปรพักตร์และเข้ากับผู้ประท้วง กำลังความมั่นคงพ่ายแพ้และถูกบีบให้ถอยทัพ เมื่อสิ้นสุดวัน เบงกาซีเกือบอยู่ในมือของฝ่ายต่อต้านทั้งหมดแล้ว โดยสถานที่แห่งเดียวที่ยังเป็นที่พำนักของฝ่ายภักดีต่อกัดดาฟีจำนวนมากพอสมควร คือ อาคารคาติบา ในเบงกาซี วันที่ 19 กุมภาพันธ์ มีขบวนแห่ศพเคลื่อนผ่านอาคารอีกครั้ง และถูกยิงใส่เช่นเดิม จนถึงขณะนี้ รัฐบาลลิเบียขนทหารรับจ้างแอฟริกา 325 คนไปยังเบงกาซีและหัวเมืองตะวันออกอื่น ๆ แต่เผชิญกับการโจมตีตอบโต้ของกำลังฝ่ายต่อต้าน ทหารรับจ้างห้าสิบคนถูกผู้ประท้วงสังหารในอัล เบย์ดา บางส่วนถูกขังไว้ในสถานีตำรวจที่ถูกเผาต่อมา และอีกสิบห้าคนถูกแขวนคอหน้าอาคารศาลอัลเบย์ดา[101] ทหารรับจ้างอย่างน้อย 236 คนถูกจับขณะยังมีชีวิตอยู่ ทหารรับจ้างคนหนึ่งว่า มีผู้ประท้วงถูกฆ่าไปด้วยมากกว่าหนึ่งร้อยคน[102]

ขณะเดียวกัน กำลังฝ่ายต่อต้านควบคุมรถเกลี่ยดิน และพยายามเจาะกำแพงของอาคารคาติบา แต่เผชิญกับการยิงต่อสู้อย่างตั้งใจทำลาย ผู้ประท้วงยังได้ใช้หินและระเบิดหยาบ ๆ ที่ทำจากกระป๋องดีบุกที่อัดดินปืน เมื่อการสู้รบดำเนินไป ฝูงชนได้โจมตีฐานทัพที่ตั้งอยู่ชานนครเบงกาซีและปลดอาวุธทหาร ในบรรดายุทโธปกรณ์ที่ยึดได้นั้น ฝ่ายต่อต้านได้รถถังขนาดเล็กจำนวนสามคัน และใช้กระทุ้งเข้าไปในอาคาร การสู้รบยุติลงในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ และอีกสามสิบคนถูกสังหารระหว่างการสู้รบยี่สิบสี่ชั่วโมงหลังสุด จนถึงขณะนี้ การปะทะกันอย่างรุนแรงยังเกิดขึ้นในมิสราตา (Misrata) ระหว่างกำลังฝ่ายรัฐบาลและผู้ประท้วง มีชายคนหนึ่งสละชีวิตตนเองโดยการระเบิดรถยนต์ ซึ่งทำลายประตูของอาคารลง นักรบฝ่ายต่อต้านดำเนินการโจมตีต่อไป โดยได้รับกำลังเสริมจากอัลเบย์ดาและเดอร์นา (Derna) ระหว่างการโจมตีครั้งสุดท้าย มีผู้เสียชีวิตสี่สิบสองคน รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย อับดุล ฟาตา ยูนิส (Abdul Fatah Younis) ปรากฏตัวพร้อมหน่วยกองกำลังพิเศษเพื่อปลดปล่อยอาคารดังกล่าว แต่ยูนิสแปรพักตร์เข้ากับฝ่ายต่อต้านและประกาศเส้นทางปลอดภัยให้แก่ฝ่ายภักดีออกจากนคร กำลังกัดดาฟีล่าถอยหลังประหารชีวิตทหาร 130 นายที่ปฏิเสธจะยิงกบฏ[103] วันที่ 23 กุมภาพันธ์ หลังสู้รบเป็นเวลาห้าวัน กบฏยังได้ขับกำลังรัฐบาลออกจากมิสราตา วันรุ่งขึ้น ฝ่ายภักดีต่อกัดดาฟีพยายามยึดท่าอากาศยานมิสราตาคืน แต่ถูกขับกลับมา นายทหารจากสถาบันกองทัพอากาศที่อยู่ใกล้เคียงยังช่วยฝ่ายต่อต้านโจมตีฐานทัพอากาศที่อยู่ติดกัน และทำให้เครื่องบินขับไล่เจ็ตที่ฐานใช้การไม่ได้

 
ผู้ชุมนุมบนรถถังที่ถูกทิ้งระหว่างการเดินขบวนในเบงกาซี

เมื่อถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พาดหัวข่าวบนบริการข่าวออนไลน์ได้รายงานเหตุการณ์หลายอย่างที่เน้นถึงสถานะอันไม่มั่นคงของลิเบีย ตั้งแต่อดีตรัฐมนตรียุติธรรม มุสตาฟา โมฮัมเหม็ด อบัด อัล จาลิล (Mustafa Mohamed Abud Al Jeleil) กล่าวหาว่ากัดดาฟีเป็นผู้สั่งการเหตุระเบิดล็อกเกอร์บี ค.ศ. 1988 ด้วยตัวเอง[104] การลาออกและการแปรพักตร์ของพันธมิตรผู้ใกล้ชิด[105] การสูญเสียนครเบงกาซีให้แก่ฝ่ายต่อต้าน นครใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในลิเบีย ซึ่งได้รับรายงานว่า "เต็มไปด้วยการเฉลิมฉลอง"[106] และนครอื่น ๆ รวมทั้งโทรบรุคและมิสราตาได้รับรายงานเช่นเดียวกัน[107] ขณะที่บางรายงานระบุว่าฝ่ายรัฐบาลยังคงควบคุมอยู่ในพื้นที่ในวงล้อมเล็ก ๆ,[105] เผชิญกับการถูกโดดเดี่ยวและแรงกดดันจากนานาประเทศ[105][108] และสื่อตะวันออกกลางเห็นว่าการสิ้นสุดของรัฐบาลกัดดาฟีนั้นเกือบที่จะหลีกเลี่ยงไม่ได้[109] เมื่อถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ กัดดาฟีสูญเสียการควบคุมเหนือดินแดนส่วนใหญ่ของลิเบีย รวมทั้งหัวเมืองหลักมิสราตาและเบงกาซี ตลอดจนเมืองท่าสำคัญราสลานุฟและเบรกา[110][111]

ในกรุงตริโปลี การปะทะระหว่างผู้ประท้วงและกำลังความมั่นคงเกิดขึ้นในใจกลางเมือง ตามข้อมูลของอัลญาซีรา หมอคนหนึ่งอ้างว่ากำลังรัฐบาลยิงผู้ประท้วงในนคร ฝูงผู้ชุมนุมขว้างปาก้อนหินใส่ป้ายที่เป็นรูปกัดดาฟี และทหารโจมตีผู้ประท้วงด้วยแก๊สน้ำตาและกระสุนจริง ผู้อยู่อาศัยอ้างว่า กองกำลังความมั่นคงติดอาวุธประจำอยู่บนยอดอาคารรอบจัตุรัสเขียว และมีทนายความและผู้พิพากษาราว 200 คน ประท้วงอยู่ภายในอาคารศาลตริโปลี ซึ่งถูกล้อมโดยกำลังความมั่นคง[112]

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ กำลังฝ่ายภักดีต่อกัดดาฟีในเมืองอัซซาวิยาห์ (Az Zawiyah) ยิงเข้าใส่มัสยิดที่ซึ่งผู้ประท้วงจัดการชุมนุมประท้วง และยิงใส่ด้วยอาวุธอัตโนมัติและปืนต่อต้านอากาศยาน หลังจากนั้น มีหลายพันคนชุมนุมกันในจัตุรัสมรณสักขี (Martyr's Square) วันเดียวกัน กำลังฝ่ายรัฐบาล รวมทั้งรถถัง เริ่มการการตีตอบโต้ต่อฐานทัพอากาศมิสราตา โดยเข้าทำการสู้รบกับผู้อยู่อาศัยท้องถิ่นและหน่วยทหารแปรพักตร์ และสามารถยึดบางส่วนคืนได้สำเร็จ[113] วันที่ 26 กุมภาพันธ์ กำลังฝ่ายรัฐบาลยิงใส่กบฏและแรงงานอพยพอียิปต์ เมื่อถึงจุดนี้ กำลังความมั่นคงยังควบคุมแถบชานเมืองไว้ ขณะที่กบฏควบคุมตัวนคร กบฏ 24 คนถูกสังหารระหว่างการสู้รบวันก่อน วันที่ 28 กุมภาพันธ์ กำลังกัดดาฟีโจมตีชานนคร แต่ถูกขับออกมา โดยทหารเสียชีวิตไป 10 คน และถูกจับกุมตัวไป 12–14 คน ในจำนวนนี้แปดคนเข้ากับกบฏ

ส่วนเมืองนาลุต (Nalut) ใกล้กับชายแดนตูนิเซีย ตกอยู่ใต้การควบคุมของฝ่ายต่อต้านเช่นกัน วันที่ 2 มีนาคม กำลังฝ่ายรัฐบาลพยายามจะยึดเมืองท่าส่งออกน้ำมันเบรกาคืน แต่การโจมตีล้มเหลวและต้องล่าถอยไปยังราสลานุฟ (Ra's Lanuf) คืนวันที่ 2 มีนาคม ฝ่ายกบฏโจมตีแนวรัฐบาลนอกอัลซาวิยาห์ สังหารทหารไปสองนาย กำลังกบฏรุกหลังจากได้รับชัยชนะ และเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ฝ่ายต่อต้านสามารถยึดเมืองราสลานุฟคืนได้สำเร็จ วันเดียวกัน ทหารฝ่ายรัฐบาลเริ่มต้นการโจมตีเต็มรูปแบบต่อซาวิยาห์ด้วยการโจมตีทางอากาศ และการระดมยิงปืนครก ปืนใหญ่ จรวด อาวุธต่อต้านอากาศยาน และปืนกลหนักอย่างดุเดือด และโจมตีนครเป็นสองด้าน และสามารถผลักดันเข้าไปโดยมุ่งสู่ใจกลางนคร ฝ่ายกบฏเสียชีวิต 50 คน และได้รับบาดเจ็บราว 300 คน ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลเสียชีวิต 2 นาย วันที่ 5 มีนาคม กำลังฝ่ายรัฐบาลถูกตีกลับขณะพยายามยึดใจกลางนครคืน ฝ่ายรัฐบาลเริ่มการโจมตีครั้งใหม่โดยระดมยิงปืนครก และโจมตีนครด้วยทหารราบและรถถัง 20 คัน ทหารบุกอาคารหลายหลังและสังหารประชาชนที่อยู่ข้างในเพื่อให้ดาดฟ้าปลอดภัยสำหรับพลซุ่มยิง[114] ฝ่ายภักดีต่อรัฐบาลเดิมพยายามยึดจัตุรัสกลางนครคืน แต่ถูกบีบให้ล่าถอยโดยการตีตอบโต้ของฝ่ายกบฏอีกหลายชั่วโมงให้หลัง ระหว่างการสู้รบ ฝ่ายกบฏเสียชีวิตยี่สิบห้าคนและฝ่ายรัฐบาลเสียชีวิตแปดนาย ในช่วงบ่ายคล้อย การโจมตีอีกครั้งหนึ่งของฝ่ายรัฐบาลที่ได้รับการสนับสนุนด้วยการระดมยิงปืนใหญ่ถูกหยุดยั้ง แต่ฝ่ายรัฐบาลสามารถยึดโรงพยาบาลได้สำเร็จ ทหารรัฐบาล 10 นายถูกจับกุมาระหว่างการสู้รบและถูกประหารชีวิตภายหลัง[115]

วันที่ 6 มีนาคม การรุกคืบของฝ่ายกบฏตามแนวชายฝั่งถูกหยุดยั้งโดยกำลังฝ่ายรัฐบาลในบิน จาวาด (Bin Jawad) กำลังฝ่ายรัฐบาลซุ่มโจมตีแนวขบวนฝ่ายกบฏ ซึ่งทำให้มีฝ่ายกบฏหลายสิบคนเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บ ฝ่ายกบฏถูกบีบให้ล่าถอยอย่างโกลาหล และทิ้งกำลังบางส่วนไว้เบื้องหลัง และกำลังช่วยเหลือถูกขับไล่โดยการยิงปืนใหญ่ และระหว่างที่ฝ่ายกบฏล่าถอยไปนั้น ก็ถูกโจมตีทางอากาศ เมื่อกบฏรวมตัวกันติด ก็เอาเครื่องยิงจรวดหลายเครื่องจากราสลานุฟและเข้าประจัญบานในการดวลปืนใหญ่ ทหารรัฐบาลอย่างน้อยหนึ่งนายเสียชีวิตระหว่างการสู้รบ และเฮลิคอปเตอร์ถูกยิงตกหนึ่งลำ[116] ขณะเดียวกัน การโจมตีทางอากาศของฝ่ายรัฐบาลถูกฐานทัพอากาศที่เป็นของกบฏในราสลานุฟ ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยสองคน และได้รับบาดเจ็บอีกสี่สิบคน ฝ่ายกบฏสามารถสถาปนาแนวรบขึ้นสามกิโลเมตรจากบินจาวาด ขณะเดียวกัน กำลังกัดดาฟีโหมโจมตีมิสราตาและบุกเข้าไปถึงใจกลางนครก่อนที่ฝ่ายกบฏจะหยุดการโจมตีได้ และบีบให้ทหารรัฐบาลล่าถอยไปจากชานนคร[117] ฝ่ายรัฐบาลโจมตีใจกลางเมืองอัซซาเวยาห์เป็นครั้งที่สี่ แต่ก็ถูกขับกลับมาอีกครั้ง ฝ่ายกบฏเสียชีวิตสามคน ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลเสียชีวิตยี่สิบหกคน และถูกจับกุมไปสิบเอ็ดคน วันที่ 9 มีนาคม กบฏพยายามยึดบินจาวาดคืน แต่ถูกขับกลับมาโดยปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ

การรุกตอบโต้ของกัดดาฟี แก้

วันที่ 6 มีนาคม ทางการกัดดาฟีเริ่มการรุกตอบโต้ โดยยึดราสลานุฟ เช่นเดียวกับเบรกา คืนได้สำเร็จ และผลักดันสู่อัจดาบิยาห์ (Ajdabiya) และอีกครั้งในเบงกาซี กำลังรัฐบาลยังพยายามยึดมิสราตา โดยส่งทหารราบและยานเกราะเข้าไปในนคร กำลังรัฐบาลถูกกบฏซุ่มโจมตีหลังไปถึงใจกลางนคร ในการสู้รบต่อมา กบฏและพลเรือนยี่สิบเอ็ดคน และทหารรัฐบาลยี่สิบสองนายเสียชีวิต[118] การโจมตีกบฏในอัซซาวิเยห์ครั้งที่ห้าประสบผลสำเร็จ และจนถึงวันที่ 8 มีนาคม พื้นที่ส่วนใหญ่ของนครก็ถูกทำลาย ช่วงกลางคืน กบฏสามารถยึดจัตุรัสคืนได้ แต่ก็เจอกับการตีตอบโต้ครั้งที่ห้าในวันรุ่งขึ้น ช่วงเย็นวันที่ 9 มีนาคม กบฏ 60 คนเล็ดรอดออกจากนครไปโจมตีฐานของทางการ แต่ไม่มีผู้ใดรอดกลับมา กัดดาฟียังคงควบคุมตริโปลี ซีระเตะห์ (Sirte) และซาบา (Sabha) เช่นเดียวกับอีกหลายนคร

วันที่ 9 มีนาคม อัซซาเวยาห์เกือบอยู่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายรัฐบาลทั้งหมด แต่กบฏสามารถขับไล่ฝ่ายรัฐบาลออกจากจัตุรัสได้ระหว่างการสู้รบ ซึ่งส่งผลให้กบฏเสียชีวิต 40 คน และทหารรัฐบาลเสียชีวิตหลายนาย วันที่ 10 มีนาคม กำลังรัฐบาลยึดอัซซาเวยาห์และราสลานุฟคืน โดยได้รับการสนับสนุนจากรถถัง ปืนใหญ่ เครื่องบินรบ และเรือรบ พยานอ้างว่า กบฏหลายสิบคนเสียชีวิต[119][120][121] ผู้อยู่อาศัยหลายพันคนถูกสอบสวน โดยมีรายงานว่ากำลังกัดดาฟีจับกุมทุกคนที่ต้องสงสัยว่าเข้าข้างฝ่ายกบฏ อย่างไรก็ตาม กลุ่มกบฏขนาดเล็กยังปฏิบัติการต่อไปในอัซซาเวยาห์ โดยโจมตีแบบตีแล้วหนี (hit-and-run) ต่อฝ่ายรัฐบาล ซึ่งมีรายงานว่าสามารถสังหารทหารไปได้หลายสิบนาย[122] วันที่ 12 มีนาคม กำลังฝ่ายภักดีโจมตีมิสราตาอีกครั้ง นำโดยกองพลน้อยคามิสที่เป็นหัวกะทิ มีรายงานว่า กำลังดังกล่าวสู้รบกันภายในระยะ 10–15 กิโลเมตรจากใจกลางนคร อย่างไรก็ตาม การโจมตีหยุดลง หลังทหารสามสิบสองนาย ซึ่งในจำนวนนี้มีพลเอกหนึ่งนาย แปรพักตร์และเข้ากับกบฏ[123]

วันรุ่งขึ้น กำลังฝ่ายภักดียังต่อสู้กับกบฏในเขตชานนคร ขณะที่กระสุนรถถังยิงใส่นคร วันที่ 13 มีนาคม กำลังรัฐบาลโจมตีเบรกาและสามารถยึดส่วนใหญ่ของนครกลับคืนได้ จนถึงวันที่ 4 มีนาคม ฝ่ายรัฐบาลยึดอุตสาหกรรมน้ำมันและกบฏยึดเขตอยู่อาศัย จนถึงวันที่ 15 มีนาคม กำลังกบฏถูกผลักดันออกและล่าถอยไปยังอัจดาบิยาห์ กบฏเสียชีวิตเจ็ดคนระหว่างการสู้รบ และอ้างว่าฝ่ายรัฐบาลเสียชีวิตยี่สิบห้านาย และถูกจับเป็นเชลยเจ็ดสิบเอ็ดนาย จนถึงวันที่ 14 มีนาคม กำลังรัฐบาลยึดซุวะระห์ (Zuwarah) คืน กบฏเสียชีวิตสี่คนระหว่างการสู้รบ[124]

อัจดาบิยาห์ นครที่ฝ่ายกบฏยึดเป็นแห่งสุดท้ายก่อนเบงกาซี ถูกฝ่ายรัฐบาลโจมตีทางอากาศต่อเนื่องสามวัน วันที่ 15 มีนาคม กำลังฝ่ายรัฐบาลระดมยิงปืนใหญ่อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับโจมตีทางอากาศและระดมยิงจากเรือรบ หลังจากนั้น ฝ่ายรัฐบาลโจมตีและเจาะผ่านการป้องกันของกบฏได้โดยอุบายตีโอบ กบฏส่วนใหญ่ล่าถอยออกจากนคร หลังล้อมนครดังกล่าว รถถังถูกส่งเข้าไปยังในกลางเมือง และต่อสู้กับกำลังกบฏที่เป็นซาก ขณะเดียวกัน เครื่องบินเจ็ตของกองทัพอากาศลิเบียเสรีสองลำโจมตีเรือรบฝ่ายรัฐบาล ตามแหล่งข่าวอิสระ มีเรือถูกยิงหนึ่งลำ แต่ฝ่ายกบฏอ้างว่าเรือถูกยิงสามลำ ในจำนวนนี้สองลำถูกจม หลังเวลาผ่านไปไม่กี่ชั่วโมง นครก็ตกอยู่ใต้การควบคุมของรัฐบาล แต่กำลังยานเกราะถูกดึงกลับมายังชานนครเพื่อหลีกเลี่ยงการโจมตีเหนือความคาดหมาย แม้ว่าการระดมยิงจะยังดำเนินต่อไป[125][126]

วันที่ 16 มีนาคม การสู้รบดำเนินต่อไป และกำลังรัฐบาลที่กลับมาจากแนวหน้าระบุว่าการต้านทานของกบฏนั้นเป็นไปอย่างดุเดือด กำลังเสริมฝ่ายกบฏจากเบงกาซีทำให้เกิดเป็นเขตฉนวนขนาดเล็กผ่านการปิดล้อมของรัฐบาล แม้การต้านทานของฝ่ายรัฐบาล ขณะที่กบฏสามารถยึดทางเข้าสู่นครทางทิศใต้ได้ เฮลิคอปเตอร์โจมตีสามลำของกองทัพอากาศลิเบียเสรี โจมตีกำลังเสริมฝ่ายรัฐบาลจากเซิร์ท (Sirt) บนทางด่วนที่ทางเข้าด้านตะวันตก วันเดียวกัน การโจมตีด้วยปืนใหญ่และการสู้รบรอบใหม่เกิดขึ้นในมิสราตา ซึ่งกบฏอ้างว่าสามารถยึดรถถังได้สิบหกคัน และจับกุมทหารอีกยี่สิบนาย ระหว่างการสู้รบ กบฏเสียชีวิตสิบแปดคนและยี่สิบคนได้รับบาดเจ็บ และทหารรัฐบาลระหว่างหกสิบถึงแปดสิบนายเสียชีวิต[127] อย่างไรก็ตาม วันที่ 17 มีนาคม ฝ่ายรัฐบาลสามารถยึดทางเข้านครด้านใต้คืน และปิดฉนวนทางด้านตะวันออกของนคร และนครถูกปิดล้อมอย่างแน่นหนาอีกครั้ง

ขณะเดียวกัน กำลังรัฐบาลดำเนินปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบกต่ออัซซุวัยตินะห์ (Az Zuwaytinah) ตามถนนอัจดาบิยา-เบงกาซี กำลังรัฐบาลขึ้นบกบนชายฝั่งของเมือง และสามารถยึดได้อย่างรวดเร็ว ตามข้อมูลของฝ่ายกบฏ กำลังรัฐบาลถูกล้อมโดยกบฏหลังจากนั้น และวันรุ่งขึ้น กบฏอ้างว่านักสู้หลายคนและพลเรือนจำนวนหนึ่งเสียชีวิต และทหารรัฐบาลถูกจับกุมยี่สิบนาย คืนวันที่ 17 มีนาคม กำลังรัฐบาลโจมตีด้วยปืนใหญ่และรถถังต่อมิสราตา และการโจมตียืดเยื้อไปจนถึงวันรุ่งขึ้น

การแทรกแซงของสหประชาชาติ แก้

วันที่ 17 มีนาคม คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติผ่านข้อมติอนุมัติเขตห้ามบินเหนือน่านฟ้าลิเบีย[128] ตามผลของข้อมติสหประชาชาติ รัฐบาลกัดดาฟีประกาศหยุดยิงทันทีในวันที่ 18 มีนาคม แต่ในอีกไม่กี่ชั่วโมงให้หลัง อัลญาซีรารายงานว่า กำลังรัฐบาลยังคงสู้รบกับฝ่ายกบฏ[129] แม้หลังการประกาศหยุดยิงที่รัฐบาลประกาศ การโจมตีด้วยปืนใหญ่และพลซุ่มยิงยังคงดำเนินต่อไปในมิสราตาและอัจดาบิยาห์ และกำลังรัฐบาลยังคงรุกคืบสู่เบงกาซีต่อไป[130]

กำลังรัฐบาลเข้าสู่เบงกาซีพร้อมกับรถถังในวันที่ 19 มีนาคม จากทางตะวันตกและใต้ ขณะทีมีชาวบ้านหลายร้อยคนหนีภัยการสู้รบ[131] มีการยิงปืนใหญ่และปืนครกเข้าไปในนครเช่นกัน[132] กำลังฝ่ายต่อต้านจัดการขับการโจมตีออกไปหลังการสู้รบนานหลายชั่วโมง โดยอ้างว่าทำความเสียหายได้ รวมทั้งยานเกราะหนักคันหนึ่ง แต่ยืนยันว่า ฝ่ายตนเสียชีวิต 27 คน วันเดียวกัน เครื่องบินรบ Mig-23BN ของกองทัพอากาศลิเบียเสรีถูกยิงตกเหนือเบงกาซี หลังจากถูกยิงโดยกำลังภาคพื้นดินของฝ่ายกบฏด้วยความผิดพลาด[133] จากนั้นรัฐบาลลิเบียโต้แย้งว่า ฝ่ายกบฏได้ละเมิดข้อมติเขตห้ามบินโดยใช้เฮลิคอปเตอร์และเครื่องบินขับไล่เจ็ตทิ้งระเบิดกองทัพลิเบีย[134] ขณะเดียวกัน กำลังฝ่ายรัฐบาลถล่มอัซซินตัน (Az Zintan) และรถถังยังคงรุกคืบสู่นครดังกล่าว[135]

มีรายงานอย่างกว้างขวางว่า รัฐบาลลิเบียตัดน้ำ ไฟฟ้าและการสื่อสารในนครมิสราตาที่ถือครองโดยฝ่ายกบฏ บีบให้ประชาชนผู้อยู่อาศัยต้องพึ่งพาน้ำบ่อและโรงผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล (desalination plant) รัฐบาลปฏิเสธข้อกล่าวอ้างดังกล่าว โดยระบุว่า สาธารณูปโภคถูกขัดขวางเนื่องจากการสู้รบ[136]

นาโตเริ่มปฏิบัติการ แก้

 
ฮาวทไวเซอร์พัลมาเรียถูกทำลายโดยกองทัพอากาศฝรั่งเศสใกล้กับเบงกาซี เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554
 
เรือพิฆาตสหรัฐ ยูเอสเอส แบร์รี ปล่อยขีปนาวุธร่อนโทมาฮอว์ก โจมตีการป้องกันของลิเบีย เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554

วันที่ 19 มีนาคม อากาศยานกองทัพอากาศฝรั่งเศสสิบเก้าเครื่องเข้าสู่น่านฟ้าลิเบียเพื่อเริ่มปฏิบัติการสอดแนม และบินเหนือเบงกาซีเพื่อป้องกันการโจมตีใด ๆ ต่อนครที่ฝ่ายกบฏยึดไว้นี้[137] เครื่องบินกองทัพอากาศอิตาลีได้รับรายงานว่าเริ่มปฏิบัติการดูแลตรวจตราเหนือลิเบียเช่นกัน เย็นวันนั้น เครื่องบินเจ็ตฝรั่งเศสทำลายพาหนะคันหนังของรัฐบาล ไม่นานหลังจากนั้น การโจมตีทางอากาศของฝรั่งเศสทำลายรถถังสี่คันทางตะวันตกเฉียงใต้ของเบงกาซี[138] เรือและเรือดำน้ำสหรัฐและอังกฤษยิงขีปนาวุธร่อน โทมาฮอว์ก อย่างน้อย 114 ลูก ถล่มระบบป้องกันภัยทางอากาศและพื้นลิเบียยี่สิบแห่ง[139] เครื่องบินทิ้งระเบิดล่องหนสหรัฐ ยู-2 สปิริต สามลำบนไม่หยุดจากสหรัฐอเมริกาเพื่อทิ้งระเบิดสี่สิบลูกถล่มสนามบินหลักของลิเบีย ขณะที่อากาศยานสหรัฐอื่นค้นหากำลังภาคพื้นดินของลิเบียเพื่อโจมตี[140][141] เรือรบยี่สิบห้าลำของกำลังผสม ซึ่งมีเรือดำน้ำสหรัฐรวมอยู่ด้วยสามลำ เริ่มปฏิบัติการในพื้นที่[142] เรือและอากาศยานนาโตเริ่มบังคับใช้การปิดล้อมลิเบีย โดยลาดตระเวนน่านน้ำอาณาเขตของลิเบีย ซึ่งโทรทัศน์ของรัฐลิเบียรายงานว่า กำลังรัฐบาลยิงเครื่องบินรบฝรั่งเศสหนึ่งลำเหนือตริโปลี เมื่อวันที่ 19 มีนาคม แต่ฝรั่งเศสปฏิเสธคำกล่าวอ้างดังกล่าว[143]

วันที่ 20 มีนาคม เครื่องบินเจ็ตอังกฤษยิงขีปนาวุธสตอร์มชาโดว์หลายลูกถล่มเป้าหมายในลิเบีย[144] เครื่องบินเจ็ตสหรัฐสิบเก้าลำยังได้โจมตีกำลังรัฐบาลลิเบีย ขบวนรถฝ่ายรัฐบาลทางใต้ของเบงกาซีถูกกำหนดเป็นเป้าหมาย ยานพาหนะอย่างน้อยเจ็ดสิบคันถูกทำลาย และกำลังภาคพื้นของฝ่ายรัฐบาลได้รับความสูญเสียหลายนาย[145] การโจมตียังเกิดขึ้นที่เขตบับ อัล-อะซิเซีย (Bab al-Aziziya) ในกรุงตริโปลี ตั้งแต่ช่วงดึกของวันที่ 20 มีนาคม จนถึงช่วงเช้าของวันที่ 21 มีนาคม

จนถึงวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554 ระบบป้องกันภัยทางอากาศ เอสเอ-2, เอสเอ-3 และเอสเอ-5 ของรัฐบาลลิเบียถูกทำลายลงอย่างสมบูรณ์ ขณะที่ยังมีการโจมตีต่อไปต่อเป้าหมายในกรุงตริโปลี และตามข้อมูลของรัฐบาลลิเบีย รวมทั้งในซาบาและเซิร์ทด้วย[146]

วันที่ 22 มีนาคม การโจมตีของกำลังผสมดำเนินต่อไป และอากาศยานลิเบียที่บินมุ่งหน้าสู่เบงกาซีถูกโจมตี เครื่องบินขับไล่เจ็ต เอฟ-15อี สไตรค์อีเกิล ที่ปฏิบัติภารกิจทิ้งระเบิดลำหนึ่ง ประสบอุบัติเหตุชนหลังยุทโธปกรณ์ประสบความล้มเหลว นักบินและนายทหารการอาวุธดีดตัวออกจากเครื่องและได้รับการช่วยเหลือโดยทีมกู้ภัยสหรัฐที่ถูกส่งเข้าไปโดยเฮลิคอปเตอร์ พลเรือนหกคนถูกยิงระหว่างการอพยพขณะที่พวกเขาวิ่งมาทักทายทหาร[147][148]

จนถึงวันที่ 23 มีนาคม กองทัพอากาศลิเบียส่วนใหญ่ถูกทำลาย ขณะที่อากาศยานส่วนมากถูกทำลายหรือไม่ก็ถูกทำให้ปฏิบัติการไม่ได้ ระบบป้องกันภัยทางอากาศของรัฐบาลลิเบียยังได้ถูกลดระดับลงจนถึงจุดที่อากาศยานกำลังผสมสามารถปฏิบัติการเหนือลิเบียได้โดยเกือบจะไม่ได้รับอันตรายใด ๆ อย่างสมบูรณ์[149] วันเดียวกันนั้น อากาศยานกำลังผสมบินปฏิบัติการอย่างน้อยสองรอบต่อกำลังรัฐบาลในมิสราตา วันเดียวกัน มีประกาศว่า กำลังรัฐบาลและยุทโธปกรณ์ทั้งหมด ยกเว้นพลซุ่มยิงบางนาย ได้ล่าถอยออกจากนครหรือถูกทำลาย ในช่วงเช้ามืด เครื่องบินเจ็ตแคนาดา ซีเอฟ-18 ได้รับการสันบสนุนจากเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงในอากาศ (tanker) ซีซี-150 โพลาริส ทิ้งระเบิดคลังเครื่องกระสุนฝ่ายรัฐบาลในมิสราตา นับเป็นครั้งแรกที่เครื่องบินเจ็ตแคนาดาทิ้งระเบิดลิเบียนับแต่การทัพเริ่มขึ้น[150]

วันที่ 24 มีนาคม เครื่องบิน Soko G-2 Galeb ฝ่ายรัฐบาลลำหนึ่งที่ละเมิดเขตห้ามบิน ถูกยิงตกโดยเครื่องบินดัซโซลท์ ราฟฟาล (Dassualt Rafale) ของฝรั่งเศส ขณะที่เครื่องบินดังกล่าวพยายามลงจอดใกล้กับมิสราตา เครื่อง Galeb อีกห้าเครื่องในพื้นที่ถูกทำลายบนพื้นดินโดยการโจมตีทางอากาศของฝรั่งเศสในวันรุ่งขึ้น วันเดียวกัน เรือดำน้ำอังกฤษยิงจรวดร่อนโจมตีภาคพื้นดินโทมาฮอว์กหลายลูกถล่มการป้องกันทางอากาศของลิเบีย[151]

วันที่ 25 มีนาคม นาโตประกาศว่า จะเข้าบังคับบัญชาปฏิบัติการเขตห้ามบิน หลังมีการโต้เถียงดุเดือดหลายวันว่าใครควรจะควบคุมปฏิบัติการในลิเบีย สหรัฐย้ำตลอดว่า ตนปรารถนาจะส่งมอบการบัญชาการแก่องค์การระหว่างประเทศ[152] การโจมตีทางอากาศดำเนินต่อไประหว่างวัน เครื่องบินเอฟ-16 ของกองทัพอากาศนอร์เวย์สองลำทำลายรถถังรัฐบาลลิเบียหลายคัน เครื่องบินเจ็ตฝรั่งเศสทำลายกลุ่มปืนใหญ่ (battery) นอกอัจดาบิยาห์ และเครื่องบินเจ็ตอังกฤษและฝรั่งเศสดำเนินภารกิจร่วมนอกอัจดาบิยาห์ ซึ่งทำลายรถถังฝ่ายรัฐบาลได้เจ็ดคัน[153] วันเดียวกัน กระทรวงสาธารณสุขลิเบียรายงานว่า มีผู้เสียชีวิต 114 คน และได้รับบาดเจ็บ 445 คน นับแต่การทัพทิ้งระเบิดเริ่มขึ้น[154] อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ทางการวาติกันในกรุงตริโปลี รายงานเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ว่า การโจมตีทางอากาศของกำลังผสมสังหารพลเรือนไปอย่างน้อย 40 คน ในกรุงตริโปลี[155]

วันที่ 26 มีนาคม เครื่องบินรบเอฟ-16 ของนอร์เวย์ ทิ้งระเบิดสนามบินในลิเบียช่วงกลางคืน เครื่องบินซีเอฟ-18 ของแคนาดาทำลายแหล่งสงครามอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐบาลใกล้กับมิสราตา[156] อากาศยานฝรั่งเศสทำลายอากาศยานฝ่ายรัฐบาลไปอย่างน้อยเจ็ดลำ รวมทั้งเฮลิคอปเตอร์ทหารสองลำ เครื่องบินเจ็ตอังกฤษทำลายยานยนต์หุ้มเกราะห้าคันด้วยขีปนาวุธบริมสโตน และเครื่องบินเอฟ-16 ของกองทัพอากาศเดนมาร์กทำลายเครื่องยิงจรวดอัตตาจรและรถถังฝ่ายรัฐบาลไปได้หลายคัน

วันที่ 27 มีนาคม อากาศยานเดนมาร์กทำลายปืนใหญ่ของรัฐบาลทางใต้ของกรุงตริโปลี ขณะที่เครื่องบินเจ็ตแคนาดาทำลายบังเกอร์กระสุนทางใต้ของมิสราตา เครื่องบินเจ็ตฝรั่งเศสทำลายศูนย์บัญชาการทางใต้ของกรุงตริโปลี และปฏิบัติการลาดตระเวนร่วมกับอากาศยานกาตาร์[157]

วันที่ 28 มีนาคม กำลังผสมสู้รบในยุทธนาการทางนาวิกครั้งแรกเมื่อยูเอสเอส แบร์รี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากอากาศยานลาดตระเวน พี-3 โอไรออน และอากาศยานโจมตี เอ-10 ธันเดอร์โบลท์ สู้รบกับเรือของยามฝั่งลิเบีย วิตโตเรีย และเรือลำที่เล็กกว่าอีกสองลำ หลังเรือลำดังกล่าวเริ่มเปิดฉากยิงไม่เลือกใส่เรือพาณิชย์ในท่ามิสราตา วิตโตเรียถูกทำให้หมดสมรรถภาพและถูกบีบให้เข้าจอดที่หาด ขณะที่เรืออีกลำหนึ่งถูกจม และลำที่สามถูกทิ้ง[158] วันเดียวกัน เครื่องบินเจ็ตอังกฤษทำลายรถถังสองคันและยานยนต์หุ้มเกราะสองลำใกล้กับมิสราตา และบังเกอร์กระสุนในพื้นที่ซาบา

วันที่ 29 มีนาคม อากาศยานสหรัฐยิงใส่เรือยามฝั่งลิเบียอีกลำหนึ่ง หลังเปิดฉากยิงใส่เรือพาณิชย์ในท่ามิสราตา บีบให้เรือลำดังกล่าวกลับเข้าฝั่งอย่างหมดสภาพ การโจมตีทางอากาศของกำลังผสมยังคงทำลายเป้าหมายภาคพื้นดินของฝ่ายรัฐบาลและเป้าหมายทางทหารทั่วลิเบีย โดยอากาศยานสหรัฐมีการใช้ขีปนาวุธทำลายรถถัง[159] วันรุ่งขึ้น เครื่องบินเจ็ตฝรั่งเศสและอังกฤษดำเนินการโจมตีต่อยานเกราะและการป้องกันทางอากาศของฝ่ายรัฐบาล[160]

วันที่ 31 มีนาคม นาโตรับช่วงบัญชาการปฏิบัติการทางอากาศของกำลังผสมในลิเบีย ปฏิบัติการหลังจากนั้นดำเนินโดยเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการร่วมปกป้อง (Operation Unified Protector) การโจมตีรายวันของกำลังผสมดำเนินไปต่อเป้าหมายภาคพื้นดินของรัฐบาลลิเบีย การป้องกันทางอากาศ ปืนใหญ่ เครื่องยิงจรวด ศูนย์บัญชาการและควบคุม เรดาร์ ฐานทัพทางทหาร บังเกอร์ แหล่งเก็บเครื่องกระสุน เป้าหมายด้านการส่งกำลังบำรุง และแหล่งเก็บขีปนาวุธ การโจมตีเหล่านี้เกิดขึ้นทั่วประเทศ มีมากในกรุงตริโปลี ขณะที่เขตบับ อัล-อะซิเซีย (Bab al-Aziziya) ตกเป็นเป้าหมายด้วยเช่นกัน การโจมตีดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียด้านปัจจัยและชีวิตในกองทัพฝ่ายรัฐบาล[161]

วันที่ 6 เมษายน การโจมตีต่อบ่อน้ำมันซาร์รี (Sarir) ทำให้ยามเสียชีวิตไปสามคน และลูกจ้างอีกหลายคนได้รับบาดเจ็บ และสร้างความเสียหายแก่ท่อส่งน้ำมันซึ่งเชื่อมระหว่างบ่อน้ำมันกับท่าเมดิเตอร์เรเนียน รัฐบาลลิเบียอ้างว่า อากาศยานนาโตดำเนินการโจมตีดังกล่าว[162] ทั้งฝ่ายกบฏและผู้จัดการข้อมูลของบริษัทน้ำมันอ่าวอาหรับปฏิเสธการอ้างของรัฐบาลลิเบีย และคาดว่าเหตุโจมตีดังกล่าวเป็นฝีมือของฝ่ายรัฐบาล[163]

วันที่ 23 เมษายน สหรัฐดำเนินการโจมตีด้วยอากาศยานไร้คนขับเป็นครั้งแรก เมื่อเครื่องบินไร้คนขับ (drone) อาร์คิว-1 พรีเดเตอร์ ทำลายเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องใกล้กับมิสราตา[164]

วันที่ 4 พฤษภาคม เลขาธิการนาโต พลเอกแแอนเดิร์ซ ฟอกห์ ราสมุซเซน อ้างว่าขีดความสามารถทางทหารของรัฐบาลลิเบียถูกลดระดับลงอย่างมากตั้งแต่ปฏิบัติการเริ่มขึ้น แม้จะแสดงความไม่มั่นใจว่าขีดความสามารถนั้นลดไปเท่าใด[165] วันที่ 5 เมษายน นาโตอ้างว่า ขีดความสามารถทางทหารเกือบหนึ่งในสามของรัฐบาลลิเบียถูกทำลายลงแล้ว[166]

นาโตอ้างว่า นาโตก็บังคับใช้เขตห้ามบินแก่ฝ่ายกบฏเช่นเดียวกับฝ่ายรัฐบาล อย่างไรก็ดี นักบินฝ่ายกบฏและผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศ อ้างว่า นาโตตกลงให้พวกเขาโจมตีเป้าหมายรัฐบาลหลังอนุมัติคำขอจากสภาทหารฝ่ายกบฏ วันที่ 8 พฤษภาคม นาโตอ้างว่าดำเนินการสกัดกั้นครั้งแรกเมื่อนำเครื่องบินมิก-23 ของกองทัพอากาศลิเบียเสรีกลับสู่ฐาน ขณะที่นักบินไม่ระบุนามอีกคนหนึ่งอ้างว่าเขาได้รับอนุญาตให้นำเครื่องขึ้นและทำลายรถบรรทุกน้ำมันและพาหนะอื่นอีกสองคัน[167][168]

ปฏิบัติการข่าวกรองในลิเบีย แก้

หน่วยสืบราชการลับกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (CIA) ส่งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการลับกลุ่มเล็กเข้าไปในลิเบียเพื่อเก็บข่าวด้านเป้าหมายทางทหารของฝ่ายรัฐบาลและที่ตั้งทหารสำหรับการโจมตีทางอากาศ เจ้าหน้าที่ยังพบปะกับฝ่ายกบฏเพื่อผสานช่องว่างความเข้าใจกับผู้นำและฝ่ายกบฏ อย่างไรก็ดี ทางการสหรัฐปฏิเสธว่าตนกำลังให้การสนับสนุนฝ่ายกบฏ ยิ่งไปกว่านี้ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการเอ็มไอ6 ของอังกฤษหลายสิบคน และทหารกองกำลังพิเศษถูกส่งเข้าไปในลิเบียเพื่อชี้เป้าหมายการโจมตีทางอากาศของกองทัพอากาศอังกฤษ และเก็บข่าวตำแหน่งที่ตั้งของแนวรถถังฝ่ายรัฐบาลลิเบีย ที่ตั้งปืนใหญ่ และฐานปล่อยขีปนาวุธ สแตรทฟอร์ (Startfor) อ้างว่า รัฐอื่นอาจส่งหน่วยข่าวกรองหรือเจ้าหน้าที่กองกำลังพิเศษเข้าไปในลิเบีย สแตรทฟอร์รายงานว่า เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการต่างชาติยังพบกับกบฏเพื่อเตรียมความพร้อมพวกเขาสำหรับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น สร้างช่องทางสื่อสารและการส่งกำลังบำรุง และสร้างกรอบทางการเมืองหลังสงคราม นอกเหนือจากนี้ กองทัพอาหาศสหรัฐยังใช้เครื่องบินสอดแนมยู-2, เจสตาร์ส, และเครื่องบินไร้คนขับความสูงสูง โกลบอลฮอว์ก เพื่อเฝ้าจับตากำลังฝ่ายรัฐบาล ดาวเทียมยังถูกใช้เพื่อปฏิบัติการเฝ้าตรวจต่อลิเบีย[169][170]

ความช่วยเหลือให้แก่ฝ่ายกบฏ แก้

วันที่ 19 เมษายน สหราชอาณาจักรประกาศว่า จะส่งที่ปรึกษาทางทหารไปยังลิเบียเพื่อช่วยให้กบฏพัฒนาการจัดการและการสื่อสาร แต่ไม่ได้เพื่อฝึกหรือติดอาวุธพวกเขา รัฐบาลอังกฤษยังได้ส่งอุปกรณ์โทรคมนาคมและชุดเกราะ[171]

วันที่ 20 เมษายน สหรัฐอเมริกาประกาศจะส่งเงินสนับสนุนให้แก่กบฏลิเบียเป็นมูลค่า 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยรถบรรทุกเชื้อเพลิง ภาชนะบรรจุเชื้อเพลิง รถพยาบาล อุปกรณ์ทางการแพทย์ ชุดเกราะป้องกัน กล้องส่องทางไกล อาหารและวิทยุ[172] การส่งของช่วยเหลือรอบแรกมาถึงเบงกาซีเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ยิ่งไปกว่านั้น อิตาลีและฝรั่งเศสยังมีรายงานส่งที่ปรึกษาทางทหารแก่กบฏลิเบียเช่นกัน[173]

กาตาร์จัดหาขีปนาวุธต่อสู้รถถังมิลาน รถบรรทุกปิกอัพ และเครื่องแบบให้แก่ฝ่ายกบฏ รัฐบาลลิเบียอ้างว่า การตาร์ยังส่งผู้ฝึกสอนทางทหาร 20 คนไปยังเบงกาซีเพื่อฝึกนักสู้ฝ่ายกบฏมากกว่า 700 คน นอกเหนือจากนั้น กาตาร์ยังให้การสนับสนุนปฏิบัติการโทรทัศน์ดาวเทียมของฝ่ายกบฏในการแพร่ภาพกระจายเสียงจากโดฮา วันที่ 27 มีนาคม กาตาร์และฝ่ายต่อต้านลิเบียลงนามในข้อตกลงส่งออกน้ำมัน ซึ่งเปิดโอกาสให้สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติส่งออกน้ำมันไปยังกาตาร์จากพื้นที่ที่ฝ่ายกบฏยึดครองเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินเพื่อเป็นเงินทุนแก่กิจกรรมของกบฏ กาตาร์ยังสนับสนุนผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมแก่กบฏ[174][175]

วันที่ 9 มิถุนายน ตุรกีบริจาคเงิน 100 ล้านเหรียญสหรัฐแก่สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม[176]

วันที่ 19 มิถุนายน หัวหน้าน้ำมันกบฏ อาลี ตาร์ฮูนี (Ali Tarhouni) กล่าวว่า กบฏกำลังขาดแคลนเงินและกล่าวโทษรัฐบาลตะวันตกที่ไม่รักษาสัญญาจะให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน[177]

วันที่ 29 มิถุนายน ฝรั่งเศสยอมรับว่าได้ทิ้งอาวุธยุทธภัณฑ์จากเครื่องบินให้แก่ฝ่ายกบฏในเทือกเขานาฟูซาเมื่อช่วงต้นเดือนมิถุนายน ทหารฝรั่งเศสอ้างว่า ได้สนับสนุนเฉพาะอาวุธเบาและเครื่องกระสุนเพื่อช่วยให้พลเรือนลิเบียป้องกันตนเองจากการโจมตีของกำลังรัฐบาล อย่างไรก็ตาม รายงานในเลอฟิกาโร อ้างว่า มีเครื่องยิงจรวดและขีปนาวุธต่อต้านรถถังรวมอยู่ในอาวุธที่ทิ้งลงไปด้วย ขณะเดียวกัน รัฐบาลอังกฤษยังได้เสนอให้ชุดเกราะ 5,000 ชุด, เครื่องแบบ 6,650 ชุด, high-visibility vest 5,000 ชุด และอุปกรณ์สื่อสารแก่กำลังตรวจของสภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติ[178][179][180]

การปิดล้อมทางทะเล แก้

วันที่ 23 มีนาคม นาโตเริ่มบังคับใช้การปิดล้อมทางทะเลต่อลิเบีย โดยมีเรือรบและอากาศยานลาดตระเวนทางเข้าสู่น่านน้ำลิเบีย เรือและอากาศยานปฏิบัติการในเขตน่านน้ำสากล และไม่ได้เข้าไปในเขตน่านน้ำลิเบีย เรือใช้การเฝ้าตรวจเพื่อพิสูจน์พฤติการณ์การเดินเรือในพื้นที่ กองกำลังนาโตทำงานเพื่อห้ามเรือและอากาศยานบรรทุกอาวุธหรือทหารรับจ้าง[181] ขณะที่ทำงานกับองค์กรการเดินเรือทะเลสากล เพื่อรับประกันว่าการเดินเรือเอกชนและพาณิชย์ที่ถูกต้องตามกฎหมายไปยังลิเบียดำเนินต่อไป

การรุกของฝ่ายต่อต้านรอบสอง แก้

วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554 นักบินกองทัพอากาศเสรีลิเบียคนหนึ่ง ชื่อ โมฮัมเหม็ด มุคตาร ออสมัน ว่ากันว่าโจมตีฆ่าตัวตายโดยการชนเครื่องบินของเขาเข้าใส่ค่ายทหารบับ อัล-อะซิเซีย ในตริโปลี คามิส อัล-กัดดาฟีว่ากันว่าถูกฆ่าในการโจมตีดังกล่าว แม้รัฐบาลกัดดาฟีจะปฏิเสธรายงานดังกล่าว

วันเดียวกัน ขณะมีการโจมตีทางอากาศต่อแนวยานเกราะและแนวส่งกำลังรัฐบาล กำลังกบฏเริ่มการรุกรอบใหม่จากเบงกาซีมุ่งหน้าไปยังกรุงตริโปลี พวกเขารุกไปเป็นระยะทาง 240 กิโลเมตรตามชายฝั่งอ่าวซิดรา เป้าหมายแรกคือ อัจดาบิยา ซึ่งฝ่ายกบฏมาถึงเมื่อวันที่ 21 มีนาคม ปีเดียวกัน กำลังกบฏพยายามจะโจมตีอัจดาบิยาและปลดปล่อยกบฏในนคร แต่ถูกผลักดันกลับมาโดยกำลังรัฐบาลโดยใช้รถถังและเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง ทำให้ต้องล่าถอยไปยังด่านที่อยู่ห่างจากนครไปสิบสองไมล์ คืนนั้น การโจมตีทางอากาศของสหรัฐอเมริกาถล่มที่ตั้งของทหารฝ่ายรัฐบาลซึ่งมีรายงานว่าระดมยิงใส่นคร วันที่ 22 มีนาคม ปีเดียวกัน การยิงปืนใหญ่ถล่มที่ตั้งฝ่ายกบฏของรัฐบาลและการโจมตีทางอากาศของกำลังผสมดำเนินต่อไป แต่กบฏในอัจดาบิยาอ้างว่า รถถังฝ่ายรัฐบาลสามคันถูกทำลาย วันที่ 24 มีนาคม ปีเดียวกันนั้น กำลังรัฐบาลยังคงยึดพื้นที่ประตูเมืองหลักทางตะวันออกและตะวันตกและส่วนใหญ่ของนครได้อยู่ ยกเว้นใจกลางเมือง และสามารถหยุดยั้งการรุกคืบของฝ่ายกบฏได้ด้วยการช่วยเหลือจากปืนครกและปืนใหญ่ กำลังเสริมฝ่ายกบฏบางส่วนหลบฉากในนคร และสถานการณ์เริ่มเปลี่ยนแปลงไป โดยที่ส่วนใหญ่ของอัจดาบิยาเปลี่ยนฝ่าย ระหว่างคืนนั้น เครื่องบินเจ็ตอังกฤษโจมตียานเกราะของรัฐบาล จนถึงวันรุ่งขึ้น กำลังกัดดาฟียังควบคุมส่วนตะวันออกและส่วนกลางของนคร ขณะที่ฝ่ายกบฏควบคุมส่วนตะวันออก ในช่วงบ่าย เครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องสี่เครื่องของฝ่ายกบฏยิงถล่มที่ตั้งของฝ่ายรัฐบาลในการตีโต้ตอบ และปืนใหญ่ฝ่ายรัฐบาลยิงกระสุนแลก การโจมตีฝ่ายกบฏถูกยับยั้งหลังหน่วยยานเกราะฝ่ายรัฐบาลขับไล่หน่วยหน้าของฝ่ายกบฏ ระหว่างคืนนั้น กำลังเสริมฝ่ายกบฏบางส่วนแทรกซึมเข้าไปในอัจดาบิยา และสู้รบกับกำลังฝ่ายรัฐบาลที่อยู่ในสนามเพลาะตลอดคืน โดยโจมตีที่ตั้งด้วยอาร์พีจีและจรวด ขณะที่อากาศยานนาโตโจมตีรถถังและยานยนต์หุ้มเกราะ ปืนใหญ่ เครื่องยิงจรวดและค่ายทหารฝ่ายรัฐบาล วันที่ 26 มีนาคม ฝ่ายกบฏสามารถควบคุมเมืองได้อย่างสมบูรณ์ หลังกำลังฝ่ายรัฐบาลล่าถอยออกจากนคร ซึ่งช่วงที่ล่าถอยไปนั้น กำลังรัฐบาลได้ทิ้งอาวุธและเครื่องกระสุนไว้ปริมาณมาก รวมทั้งยานเกราะและปืนใหญ่ที่ไม่เสียหาย กำลังฝ่ายรัฐบาลยังทิ้งร่างเสียชีวิตไว้เบื้องหลังด้วย หลังจากนั้นฝ่ายกบฏได้ยึดยุทโธปกรณ์ที่ถูกทิ้งไว้นี้

หลังจากนั้นฝ่ายกบฏยึดได้เบรกา ราสลานุฟและบินจาวาดตามลำดับ โดยได้รับการสนับสนุนทางอากาศจากกำลังผสม ตามคำบอกเล่าของแพทย์ในราสลานุฟซึ่งให้การรักษาทหารฝ่ายรัฐบาลผู้ได้รับบาดเจ็บจากอัจดาบิยาและถนนจากเบงกาซี การโจมตีทางอากาศทำให้เกิดความสูญเสียชีวิตนับหลายร้อยชีวิตในหมู่กำลังฝ่ายรัฐบาล ทำให้ขวัญกำลังใจถดถอย และทหารแสร้งบาดเจ็บเพื่อหลบหนีการสู้รบ "ในวันแรก เรามีทหารได้รับบาดเจ็บสาหัส 56 นาย ที่ศีรษะ สมอง เสียมือและขา ทหารที่เศษกระสุนฝังอยู่มาก ซึ่งก็เป็นแบบนี้ทุกวัน" แพทย์คนดังกล่าวว่า เขาไม่ทราบจำนวนทหารที่เสียชีวิต แต่ทหารที่มาโรงพยาบาลว่า มีผู้เสียชีวิต 150 คนในการโจมตีทางอากาศวันแรก และมีจำนวนลดลงหลังจากนั้น เพราะทหารหลบซ่อนตัวกันหมด

การยึดครองเมืองเสิร์ซและการเสียชีวิตของกัดดาฟี แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Jordanian Fighters Protecting Aid Mission". The Jordan Times. 6 เมษายน 2011. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2011.
  2. Staff (21 มีนาคม 2011). "Gulf Bloc: Qatar, UAE in Coalition Striking Libya". Associated Press (via Google News). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 มีนาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2011.
  3. Staff (25 มีนาคม 2011). "UAE Updates Support to UN Resolution 1973". WAM (Emirates News Agency). สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2011.
  4. Staff (9 มิถุนายน 2011). "Imami: Shqipëria kontribut në Libi pas konfliktit" [Imam: Albania contribution to Libya after conflict]. balkanweb.com (ภาษาแอลเบเนีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2011.
  5. Staff (29 กรกฎาคม 2011). "Last Libyan Mission for Norway's F16S To Fly Tomorrow". Agenzia Giornalistica Italia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2012. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2011.
  6. Dagher, Sam (21 มิถุนายน 2011). "Libya City Torn by Tribal Feud". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2011.
  7. Von Rohr, Mathieu (26 กรกฎาคม 2011). "Tribal Rivalries Complicate Libyan War". Der Spiegel. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2011.
  8. "Libya's Tribal Politics Key to Gaddafi's Fate". Stabroek News. 23 กุมภาพันธ์ 2011. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2011.
  9. BBC News (23 กุมภาพันธ์ 2011). Libya: Who is propping up Gaddafi?
  10. "Libya: Belarus Suspected of Supplying Arms, Mercenaries - TIME". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2011.
  11. "Algeria May have Violated UN Resolution by Providing Weapons to Libya, US State Dept". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2011.
  12. Joost Oliemans; Stijn Mitzer (5 มกราคม 2015). "North Korea and Libya: friendship through artillery". NK News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2021.
  13. "Middle East Unrest – Live Blog" เก็บถาวร 2019-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Reuters.
  14. Staff (8 มีนาคม 2011). "Libya's Opposition Leadership Comes into Focus". Stratfor. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2011 – โดยทาง Business Insider.
  15. "Rebels Forced from Libyan Oil Port". BBC News. 10 มีนาคม 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มกราคม 2011. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2011.
  16. Staff (10 มีนาคม 2011). "The Battle for Libya: The Colonel Fights Back – Colonel Muammar Qaddafi Is Trying to Tighten His Grip on the West, While the Rebels' Inexperience Leaves Them Vulnerable in the East". The Economist. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2011.
  17. "In the Arena: Libyan opposition has less than 3,000 fighters". Cnnpressroom.blogs.cnn.com. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2011.
  18. Staff (23 มีนาคม 2011). "Libya Live Blog – 24 March". Al Jazeera. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 มีนาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2011.
  19. "Gadhafi Asks Obama To Call Off NATO Military Campaign". 6 เมษายน 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 มกราคม 2012. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2011 – โดยทาง CTV News.
  20. Staff (10 มีนาคม 2011). "Libya: How the Opposing Sides Are Armed". BBC News. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2011.
  21. Carrere, Jean (7 กรกฎาคม 2011). "Ajdabiya: A City Under Pressure". rudaw.net. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2011.
  22. Staff (21 มิถุนายน 2011). "Libya Conflict: Nato Loses Drone Helicopter". BBC News. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2011.
  23. Staff (6 สิงหาคม 2011). "U.S. Navy Drone Missing over Libya Was 'Shot Down' by Gaddafi's Forces". Daily Mail. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2011.
  24. "Libya: Live". The Daily Telegraph. 22 มีนาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มีนาคม 2011.
  25. Staff (3 มีนาคม 2011). "Three Dutch Marines Captured During Rescue in Libya". BBC News. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2011.
  26. 300 prisoners in Benghazi, MSNBC. 230 prisoners in Misrata, The New York Times. 52 prisoners in Nalut, Al-Jazeera. 13 prisoners in Yefren – โดยทางยูทูบ. 50 prisoners in al-Galaa,The Ottawa Citizen. 147 prisoners in Zintan, 147 captured in Zintan, The Guardian. minimum of 792 reported captured.
  27. Staff (30 สิงหาคม 2011). "Libya interim leaders give ultimatum to Gaddafi forces". BBC News. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2011.
  28. "Gaddafi's wife and three children in Algeria". Raidió Teilifís Éireann. 29 สิงหาคม 2011.
  29. 29.0 29.1 A vision of a democratic Libya. The interim national council. The Guardian. 29 มีนาคม 2011.
  30. 30.0 30.1 "Libyan rebels pledge free and fair election". Reuters. 29 มีนาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 ธันวาคม 2013.
  31. 31.0 31.1 Shadid, Anthony (18 กุมภาพันธ์ 2011). "Libya Protests Build, Showing Revolts' Limits". The New York Times. Cairo. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2011.
  32. Barker, Anne (24 กุมภาพันธ์ 2011). "Time Running Out for Cornered Gaddafi". ABC News. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2011.
  33. Nicholas Casey; José de Córdoba (26 กุมภาพันธ์ 2011). "Where Gadhafi's Name Is Still Gold". The Wall Street Journal.
  34. Kranjc, Svebor (28 กุมภาพันธ์ 2011). "Libyan Attacks Could Be Crime Vs Humanity: ICC". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 มกราคม 2012. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2011.
  35. Wyatt, Edward (26 กุมภาพันธ์ 2011). "Security Council Calls for War Crimes Inquiry in Libya". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2011.
  36. Staff (17 มีนาคม 2011). "Security Council authorizes 'all necessary measures' to protect civilians in Libya". UN News. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2022.
  37. Staff (19 มีนาคม 2011). "Missiles Strike Libya in First Wave of Allied Assault – Gadhafi Vows To Defend Against 'Colonial, Crusader' Aggression". MSNBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 สิงหาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2011.
  38. Staff (19 มีนาคม 2011). "Missiles Strike Libya in First Wave of Allied Assault – Gadhafi Vows To Defend Against 'Colonial, Crusader' Aggression". MSNBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 สิงหาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2011.
  39. Who is Saif al-Islam Gadhafi?. CNN.com. 21 สิงหาคม 2011.
  40. Chulov, Martin; Harding, Luke; Borger, Julian (25 สิงหาคม 2011). "Street fighting rages in Tripoli as Gaddafi loyalists fight rearguard action". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2011.
  41. The UN website still refers to Libya by this name; "United Nations Member States". Un.org. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2011.
  42. Lederer, Edith (16 กันยายน 2011). "UN approves Libya seat for former rebels". San Jose Mercury News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2011. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2011.
  43. "African Union officially recognises Libya's new leadership". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2011. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2011.
  44. Viscusi, Gregory (23 กุมภาพันธ์ 2011). "Qaddafi Is No Mubarak as Regime Overthrow May Trigger a 'Descent to Chaos'". Bloomberg. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2011. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2011.
  45. Staff. "Libya". Country Report. Freedom House. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 สิงหาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2011.
  46. Whitlock, Craig (22 กุมภาพันธ์ 2011). "Gaddafi Is Eccentric But the Firm Master of His Regime, Wikileaks Cables Say". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2011.
  47. "Qaddafi Survival Means Weak Army, Co-Opted Tribes". Associated Press. 23 กุมภาพันธ์ 2011. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2011 – โดยทาง KFMB-TV.
  48. "Gadhafi's Military Muscle Concentrated In Elite Units". NPR. 10 มีนาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2011.
  49. "Video Libyan Leader Muammar Gaddafi's Forces Facing Modern Firepower From RAF". Sky News. 18 มีนาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2011.
  50. Greenwald, Glenn (11 มิถุนายน 2011). "In a Pure Coincidence, Gaddafi Impeded U.S. Oil Interests Before the War". Salon.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2011.
  51. Staff (24 กุมภาพันธ์ 2011). "Endgame in Tripoli – The Bloodiest of the North African Rebellions So Far Leaves Hundreds Dead". The Economist. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2011.
  52. Simons, Geoffrey Leslie (1993). Libya – The Struggle for Survival. New York City: St. Martin's Press. p. 281. ISBN 978-0-312-08997-9.
  53. Silver, Nate (31 มกราคม 2011). "Egypt, Oil and Democracy". FiveThirtyEight: Nate Silver's Political Calculus (blog of The New York Times). สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2011.
  54. Ali Alayli, Mohammed (4 ธันวาคม 2005). "Resource Rich Countries and Weak Institutions: The Resource Curse Effect" (PDF). Berkeley University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2011.
  55. Solomon, Andrew (21 กุมภาพันธ์ 2011). "How Qaddafi Lost Libya". News Desk (blog of The New Yorker). สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2011.
  56. แม่แบบ:Registration required Risen, James; Lichtblau, Eric (9 มีนาคม 2011). "Hoard of Cash Lets Qaddafi Extend Fight Against Rebels]". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2011.
  57. 57.0 57.1 Maleki, Ammar (9 กุมภาพันธ์ 2011). "Uprisings in the Region and Ignored Indicators". Rooz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 เมษายน 2013. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2011 – โดยทาง Payvand.
  58. Kanbolat, Hasan (22 กุมภาพันธ์ 2011). "Educated and Rich Libyans Want Democracy". Today's Zaman. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2011. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2011.
  59. Ward, Olivia (28 กุมภาพันธ์ 2011). "Moammar Gadhafi's Hold on Libya Slipping". Toronto Star. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2011.
  60. Staff (n.d.). "Corruption Perceptions Index 2010 Results". Corruption Perceptions Index. Transparency International. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 ตุลาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2011.
  61. Staff (3 มีนาคม 2011). "A Civil War Beckons – As Muammar Qaddafi Fights Back, Fissures in the Opposition Start To Emerge". The Economist. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2011.
  62. 62.0 62.1 Staff (24 กุมภาพันธ์ 2011). "The Liberated East – Building a New Libya – Around Benghazi, Muammar Qaddafi's Enemies Have Triumphed". The Economist. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2011.
  63. Staff (2 มีนาคม 2009). "Libya's Jobless Rate at 20.7 Percent: Report". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2011.
  64. Timpane, John (28 กุมภาพันธ์ 2011). "Twitter and Other Services Create Cracks in Gadhafi's Media Fortress". The Philadelphia Inquirer. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2011.
  65. 65.0 65.1 65.2 65.3 Eljahmi, Mohamed (Winter 2006). "Libya and the U.S.: Qadhafi Unrepentant". Middle East Quarterly. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2011 – โดยทาง Middle East Forum.
  66. Davis, Brian Lee (1990). Qaddafi, Terrorism, and the Origins of the U.S. Attack on Libya. New York City: Praeger Publishing. ISBN 978-0-275-93302-9.
  67. Staff (24 กุมภาพันธ์ 2011). "Building a New Libya – Around Benghazi, Muammar Qaddafi's Enemies Have Triumphed". The Economist. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2011.
  68. Black, Ian (10 เมษายน 2007). "Great Grooves and Good Grammar – After Years When Foreign Language Teaching Was Banned, Libyans Are Now Queuing Up To Learn English". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2011.
  69. Metz, Helen Chapin, บ.ก. (1987). "Libya –A Country Study". Washington, D.C.: US Library of Congress. OCLC 19122696. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2011 – โดยทาง countrystudies.us.
  70. Staff (2002). The Middle East and North Africa, 2003. London: Europa Publications. p. 758. ISBN 978-1-85743-132-2.
  71. Bright, Martin (28 มีนาคม 2004). "Gadaffi Still Hunts 'Stray Dogs' in UK – Despite Blair Visit, Dissidents Say $1m Bounty Remains on Head of Dictator's Opponent". The Observer. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2011 – โดยทาง The Guardian.
  72. Table (n.d.). "Freedom of the Press 2009 – Table of Global Press Freedom Rankings" (PDF). Freedom House. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 สิงหาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2011.
  73. Landay, Janathan S.; Strobel, Warren P.; Ibrahim, Arwa (18 กุมภาพันธ์ 2011). "Violent Repression of Protests Rocks Libya, Bahrain, Yemen". McClatchy Newspapers. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2011.
  74. Staff (16 มกราคม 2011). "Libyans Protest over Delayed Subsidized Housing Units". Almasry Alyoum. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2011.
  75. Abdel-Baky, Mohamed (16 มกราคม 2011). "Libya Protest over Housing Enters Its Third Day – Frustrations over Corruption and Incompetence in Government Housing Schemes for Poor Families Spills over into Protests across the Country". Al-Ahram. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2011 – โดยทาง mesop.de.
  76. Staff (4 กุมภาพันธ์ 2011). "Watchdog Urges Libya To Stop Blocking Websites". Agence France-Presse. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2010. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2011 – โดยทาง Google News.
  77. Staff (27 มกราคม 2011). "Libya Sets Up $24 Bln Fund for Housing". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 มกราคม 2011. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2011.
  78. 78.0 78.1 78.2 "Libyan Police Stations Torched". Al Jazeera. 16 กุมภาพันธ์ 2011. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2011.
  79. Edwards, William (16 กุมภาพันธ์ 2011). "Violent Protests Rock Libyan City of Benghazi". France 24. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2011.
  80. أنباء عن ثلاثة قتلى بمظاهرات ليبيا [News of three people killed in the demonstrations in Libya] (ภาษาอาหรับ). Al Jazeera. 16 กุมภาพันธ์ 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 ธันวาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2011.
  81. 81.0 81.1 81.2 Mahmoud, Khaled (9 กุมภาพันธ์ 2011). "Gaddafi Ready for Libya's 'Day of Rage'". Asharq Al-Awsat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2011. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2011.
  82. Staff (4 กุมภาพันธ์ 2011). "Calls for Weekend Protests in Syria – Social Media Used in Bid To Mobilise Syrians for Rallies Demanding Freedom, Human Rights and the End to Emergency Law". Al Jazeera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2011. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2011.
  83. Debono, James. "Libyan Opposition Declares 'Day of Rage' Against Gaddafi". Malta Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2011. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2011.
  84. Staff (17 กุมภาพันธ์ 2011). "Anti-Government Protesters Killed in Libyan Clash". Associated Press. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2011 – โดยทาง USA Today.
  85. Raghavan, Sundarsan; Fadel, Leila (21 กุมภาพันธ์ 2011). "Military Helicopters Reportedly Fire on Protesters in Libya". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2011.
  86. Gillis, Clare Morgana (4 มีนาคม 2011). "In Eastern Libya, Defectors and Volunteers Build Rebel Army". The Atlantic. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2011.
  87. Golovnina, Maria (28 กุมภาพันธ์ 2011). "World Raises Pressure on Gaddafi". National Post. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2011.
  88. Staff (27 กุมภาพันธ์ 2011). "Libya Opposition Launches Council – Protesters in Benghazi Form a National Council 'To Give the Revolution a Face'". Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2011.
  89. Sengupta, Kim (11 มีนาคม 2011). "Why Won't You Help, Libyan Rebels Ask West". The New Zealand Herald. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2011.
  90. Staff (n.d.). "The Council's Statement". National Transitional Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 มีนาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2011.
  91. Staff (27 กุมภาพันธ์ 2011). "Libyan Ex-Minister Wants Election". Sky News Business Channel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2011. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2011.
  92. Staff (25 กุมภาพันธ์ 2011). "New Media Emerge in 'Liberated' Libya". BBC News. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2011.
  93. Staff (1 มีนาคม 2011). "Evidence of Libya Torture Emerges – As the Opposition Roots Through Prisons, Fresh Evidence Emerges of the Government's Use of Torture". Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2011.
  94. "Libya's ragtag rebels". สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2011.
  95. Garcia-Navarro, Lourdes. "As Tide Turns, Rebels' Dream Of 'Free Libya' Dims". NPR. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2011.
  96. Golovnina, Maria. "Upbeat Gaddafi fires trademark blast at West and Qaeda". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มีนาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2011.
  97. Winnett, Robert; Gardham, Duncan (29 มีนาคม 2011). "Libya: al-Qaeda Among Libya Rebels, Nato Chief Fears". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2010.
  98. John Simpson (29 มีนาคม 2011). "Halt To Rebel Advance Creates Libyan Divide". BBC News. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2010.
  99. Gillis, Clare Morgana (29 มีนาคม 2011). "Libyan Rebels: 'We're Not al-Qaeda'". USA Today. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2010.
  100. "Two Policemen Hanged in Libya Protests". Xinhua News Agency. 19 กุมภาพันธ์ 2011. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2011.
  101. Beech, Hannah. "Libya's Alleged Foreign Mercenaries: More Gaddafi Victims?". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 พฤษภาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2011.
  102. "Libya: Inside a Benghazi Court with Gaddafi's Mercenaries". Daily Mail.
  103. Schemm, Paul (25 กุมภาพันธ์ 2011). "Battle at Army Base Broke Gadhafi Hold in Benghazi". The Washington Post.
  104. Staff (24 กุมภาพันธ์ 2011). "Muammar Gaddafi Ordered Lockerbie Bombing, Says Libyan Minister". News Limited. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2011. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2011. – citing an original interview with Expressen in Sweden: Julander, Oscar; Hamadé, Kassem (23 กุมภาพันธ์ 2011). "Khadaffi gav order om Lockerbie-attentatet" [Gaddafi Ordered the Lockerbie Bombing]. Expressen (ภาษาสวีเดน). สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2011. English translation – โดยทาง Google Translate).
  105. 105.0 105.1 105.2 Staff (23 กุมภาพันธ์ 2011). "Pressure Mounts on Isolated Gaddafi". BBC News. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2011.
  106. Dziadosz, Alexander (23 กุมภาพันธ์ 2011). "Benghazi, Cradle of Revolt, Condemns Gaddafi". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2011 – โดยทาง The Star. The eastern city of Benghazi... was alive with celebration on Wednesday with thousands out on the streets, setting off fireworks
  107. Staff (24 กุมภาพันธ์ 2011). "Gaddafi Loses More Libyan Cities – Protesters Wrest Control of More Cities as Unrest Sweeps African Nation Despite Muammar Gaddafi's Threat of Crackdown". Al Jazeera English. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2011.
  108. Staff (23 กุมภาพันธ์ 2011). "Protesters Defy Gaddafi as International Pressure Mounts (1st Lead)". Deutsche Presse-Agentur. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 ธันวาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2011 – โดยทาง Monsters and Critics.
  109. Staff (23 กุมภาพันธ์ 2011). "Middle Eastern Media See End of Gaddafi". BBC News. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2011.
  110. Staff (23 กุมภาพันธ์ 2011). "Gaddafi Defiant as State Teeters – Libyan Leader Vows To 'Fight On' as His Government Loses Control of Key Parts in the Country and as Top Officials Quit". Al Jazeera English. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2011.
  111. "Middle East and North Africa Unrest". BBC News. 24 กุมภาพันธ์ 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มกราคม 2011. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2011.
  112. "Gadhafi To Fight to 'The Last Bullet'". MSNBC. 7 กุมภาพันธ์ 2011. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2011.
  113. Mroue, Bassem; Schemm, Paul (24 กุมภาพันธ์ 2011). "Protesters Hit by Hail of Gunfire in Libya March". Associated Press. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2011 – โดยทาง ABC News.
  114. Anthony Bell; David Witter (2011). Roots of Rebellion: part I (Report). Institute for the Study of War.
  115. "Libya: Gaddafi forces push rebels from Ras Lanuf". BBC News. 10 มีนาคม 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มีนาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2011.
  116. "Fierce Battles Erupt Across Libya". ABC News. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2011.
  117. Staff (16 มีนาคม 2011). "Civil War in Libya". CNN. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2011.
  118. Staff (7 มีนาคม 2011). "Libya: 21 Killed in Misrata Weekend Fighting – Twenty-One People, Including a Child, Were Killed and Dozens Wounded in Libya's rebel-Held City of Misrata During Fighting and Shelling by Muammar Gaddafi's Forces on Sunday, a Doctor Has Claimed". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2011.
  119. "Qaddafi Forces Bear Down on Strategic Town as Rebels Flee". The New York Times. 10 มีนาคม 2011.
  120. Staff (10 มีนาคม 2011). "Libya's Zawiyah Back under Kadhafi Control: Witness". Agence France-Presse. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 ธันวาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2011 – โดยทาง Google News.
  121. Staff (11 มีนาคม 2011). "Gaddafi Loyalists Launch Offensive – Rebel Fighters Hold Only Isolated Pockets of Oil Town after Forces Loyal to Libyan Leader Attack by Air, Land and Sea". Al Jazeera English. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2011.
  122. Dahl, Fredrik; Karam, Souhail (19 เมษายน 2011). "Misrata Shelled Again, Casualties Seen". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2011 – โดยทาง townhall.com.
  123. Staff (13 มีนาคม 2011). "Libyan Troops Defect Near Rebel-Held Misrata-Rebel". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2012. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2011 – โดยทาง AlertNet.
  124. "Breaking News and Conservative Opinion on Politics". townhall.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 สิงหาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2011.
  125. Hauslohner, Abigail (15 มีนาคม 2011). "Rumors from an Encircled Town: The Fate of Ajdabiyah". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2011.
  126. Staff (16 มีนาคม 2011). "Rebel Fighter Jets 'Sink Gaddafi Warships'". NewsCore. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2011 – โดยทาง Herald Sun.
  127. Hussein, Sara (18 มีนาคม 2011). "UN Backs Libya Air Strikes, Kadhafi Defiant". The Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2011.
  128. Staff (18 มีนาคม 2011). "Libya: UN Backs Action Against Colonel Gaddafi". BBC News. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2011.
  129. Staff (18 มีนาคม 2011). "Libya Declares Ceasefire But Fighting Goes On". Al Jazeera English. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2011.
  130. Amara, Tarek; Karouny, Mariam (18 มีนาคม 2011). "Gaddafi Forces Shell West Libya's Misrata, 25 Dead". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 ตุลาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2011.
  131. Staff (19 มีนาคม 2011). "Libya: Gaddafi Forces Attacking Rebel-Held Benghazi". BBC News. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2011.
  132. Staff (19 มีนาคม 2011). "Gaddafi Forces Encroaching on Benghazi – Libyan Leader's Army Assault Rebel Stronghold as French Warplanes Conduct Reconnaissance Overflights Across Country". Al Jazeera English. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2011.
  133. Rayment, Sean (19 มีนาคม 2011). "Libya: Moment a Rebel Jet Crashed to Earth in Flames – Plummeting to Earth in Flames, This Is the Dramatic Moment When a Rebel Libyan Fighter Jet Was Apparently Brought Down over Benghaz". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2011.
  134. Staff (19 มีนาคม 2011). "Fighter Plane Shot Down in Libya's Benghazi: Al-Jazeera". Xinhua News Agency. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2011.
  135. "Libya Live Blog – March 19". Al Jazeera. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 มีนาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2011.
  136. "Libya Denies Cutting Off Supplies to Misrata". Reuters. 24 มีนาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กันยายน 2012. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2011.
  137. Staff (27 มีนาคม 2011). "Gunfire, Explosions Heard in Tripoli". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 มีนาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2011.
  138. Freeman, Colin (19 มีนาคม 2011). "Libya: British Forces Fire Missiles at Gaddafi". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2011.
  139. Shrivastava, Sanskar (20 มีนาคม 2011). "US Launches Missile Strike in Libya". The World Reporter. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2011.
  140. Staff (19 มีนาคม 2011). "Crisis in Libya: U.S. Bombs Gaddafi's Airfields". CBS News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2013. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2011.
  141. Staff (20 มีนาคม 2011). "Libya: French Jets Resume Sorties as Coalition Builds". BBC News. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2011.
  142. Staff (20 มีนาคม 2011). "Explosions, Gunfire Heard in Tripoli as U.S. and Allies Continue Military Strikes". Fox News. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2011.
  143. Staff (19 มีนาคม 2011). "Libye/avion abattu: la France dément" [Libya / plane shot: France denies it] (ภาษาฝรั่งเศส). Agence France-Presse. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2011 – โดยทาง Le Figaro.
  144. Staff (20 มีนาคม 2011). "British Jets Fired on Libyan Targets". Deutsche Presse-Agentur. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 มีนาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2011 – โดยทาง Monsters and Critics.
  145. "Libya Live Blog: Coalition Confirms Strike on Gadhafi Compound". CNN.
  146. Transcript. "DOD News Briefing with Vice Adm. Gortney from the Pentagon on Libya Operation Odyssey Dawn". US Defense Department. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2011.
  147. Landler, Mark; Erlanger, Steven (23 มีนาคม 2011). "Obama Tries To Patch Rift on Libya Role". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2011.
  148. Hilsum, Lindsay (22 มีนาคม 2011). "Six Libyan Villagers Shot by US Team Rescuing Pilot – Exclusive: Six Villagers in a Field on the Outskirts of Benghazi Were Shot and Injured When a US Helicopter Landed To Rescue a Crew Member from the Crashed Jet, Reports Lindsey Hilsum". Channel 4 News. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2011.
  149. "Gaddafi's Air Force 'Destroyed' by Coalition". The Independent. 23 มีนาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2011.
  150. Staff (23 มีนาคม 2011). "Canadian Jets Bomb Libyan Target – Clashes Continue Between Rebels, Gadhafi Loyalists in Several Cities". CBC News. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2011.
  151. "British Submarine Launches Further Strikes on Libyan Air Defence Systems". UK Ministry of Defence. 20 กุมภาพันธ์ 2007. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2011.
  152. Staff (25 มีนาคม 2011). "Libya: Nato To Take Command of Libya No-Fly Zone". BBC News. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2011.
  153. "RAF Tornados Strike Libyan Tank Targets". BBC News. 25 มีนาคม 2011.
  154. "Mid-East Crisis As It Happened: 25 March". BBC News. 25 มีนาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2011.
  155. "Tripoli Air Strikes Killed 40 Civilians Claims Vatican Official". The Guardian. 30 มีนาคม 2011.
  156. "CF-18s bomb Libyan ammo dump for second time". The Canadian Press. 30 มีนาคม 2011 – โดยทาง CTV News.
  157. "Libyan Rebels Advance on Gadhafi's Hometown". CBC News. 28 มีนาคม 2011.
  158. Jamison, Jane. (29 มีนาคม 2011) "U.S.S. Barry Takes out Libyan Coast Guard Boat Near Misrata". Uncoverage.net. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2011.
  159. "US Gunships Blast Gaddafi's Troops". ABC News. 29 มีนาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2011.
  160. "Air Raids Force Gaddafi Retreat: Rebels Seize the East". The Huffington Post. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2011.
  161. "Air Raids Force Gaddafi Retreat: Rebels Seize the East". The Huffington Post. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2011.
  162. "Wrapup 2-Libya Says NATO Air Strike Hits Major Oil field". Reuters. 6 เมษายน 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กันยายน 2012. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2011.
  163. "Rebels Say Gaddafi, Not British, Attacked Oilfield". Reuters. 7 เมษายน 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กันยายน 2012. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2011.
  164. "Libya: US Confirms First Predator Strike". BBC News. 23 เมษายน 2011.
  165. Brunnstrom, David (4 พฤษภาคม 2011). "NATO Chief: Gaddafi's Forces Have Been Weakened". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 สิงหาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2011.
  166. Pawlak, Justyna. "Strikes Destroy 30 Percent of Libya Military Power: NATO". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2011.
  167. "NATO Grounding Qaddafi and Rebel Air Forces". CBS News. 10 เมษายน 2011.
  168. "Libya: Fierce Battle for Second Day in Ajdabiya". BBC News. 10 เมษายน 2011.
  169. "The Libyan War of 2011". Stratfor. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2011.
  170. Mazzetti, Mark; Schmitt, Eric (30 มีนาคม 2011). "Clandestine C.I.A. Operatives Gather Information in Libya". The New York Times.
  171. Adrian Croft (19 เมษายน 2011). "UK to send military advisers to Libyan rebels". Reuters.
  172. Abrams, Elliott. "A Formula for Libya Unworthy of Our Country". Weekly Standard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2011 – โดยทาง Council on Foreign Relations.
  173. "Libya War: 3 Western Powers Sending Military Advisors to Libya". Los Angeles Times. 20 เมษายน 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 เมษายน 2011. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2011.
  174. Black, Ian (14 เมษายน 2011). "Libyan Rebels Receiving Anti-Tank Weapons from Qatar – Officials in Doha Confirm Qatar Has Been Secretly Supplying French-Made Missiles to Libyan Rebel Stronghold of Benghazi". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2011.
  175. "Libyan Rebels 'Sign Oil Export Deal with Qatar'". BBC News. 27 มีนาคม 2011.
  176. "Turkey Sets Up $100 Mln Fund To Help Libya Rebels". Reuters. 9 กุมภาพันธ์ 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2011.
  177. Maria Golovnina (18 มิถุนายน 2011). "Libyan rebels blame West for lack of cash". Reuters. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2022.
  178. "France Gives Libya Rebels Arms but Britain Balks". Pakistan Observer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 มีนาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2011.
  179. Birnbaum, Michael (14 กันยายน 2010). "France Sent Arms to Libyan Rebels". The Denver Post. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2011.
  180. "Libya Conflict: France Air-Dropped Arms to Rebels". BBC News. 4 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2011.
  181. "NATO to police Libya no-fly zone". Al Jazeera. 24 มีนาคม 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้