การใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรีย

สหประชาชาติยืนยันการใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรีย[1] ซึ่งมีการโจมตีจนมีผู้เสียชีวิตได้แก่ การโจมตีที่กูตาในชานกรุงดามัสกัสในเดือนสิงหาคม 2556 และการโจมตีคันอัลอะซัล (Khan al-Assal) ในชานนครอะเลปโปในเดือนมีนาคม 2556 แม้ไม่มีฝ่ายใดอ้างความรับผิดชอบของการโจมตีเคมีดังกล่าว แต่กองทัพบะอัธซีเรียเป็นผู้ต้องสงสัยหลักเนื่องจากมีคลังอาวุธเคมีขนาดใหญ่ คณะผู้แทนหาข้อเท็จจริงของยูเอ็นและคณะกรรมการสืบสวนของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNHRC) สืบสวนการโจมตีดังกล่าวพร้อมกัน คณะผู้แทนของยูเอ็นพบว่าน่าจะมีการใช้สารออกฤทธิ์ต่อประสาทซารินในกรณีของคันอัลอะซัล (19 มีนาคม 2556), ซะเราะกิบ (29 เมษายน 2556), กูตา (21 สิงหาคม 2556), โญบัร (24 สิงหาคม 2556) และอัชชะเราะฟิยัตซะฮ์นะยะ (25 สิงหาคม 2556) ต่อมา คณะกรรมการ UNHRC ยืนยันการใช้ซารินในการโจมตีที่คันอัลอะซัล, ซะเราะกิบและกูตา แต่ไม่กล่าวถึงโญบัรและอัชชะเราะฟิยัตซะฮ์นะยะ คณะกรรมาร UNHRC ยังพบว่าซารินที่ใช้ในการโจมตีที่คันอัลอะซัลมี "เครื่องหมายเอกลักษณ์เดียวกัน" กับซารินที่ใช้ในการโจมตีที่กูตาและบ้งชี้ว่าผู้ลงมือน่าจะเข้าถึงสารเคมีจากคลังของกองทัพซีเรีย การโจมตีดังกล่าวทำให้ประชาคมนานาชาติกดดันการปลดอาวุธเคมีของกองทัพซีเรียซึ่งมีการปฏิบัติในปี 2557 แม้มีกระบวนการปลดอาวุธ แต่ยังมีเหตุการณ์หลายสิบครั้งที่สงสัยการใช้อาวุธเคมีทั่วประเทศซีเรีย ซึ่งส่วนใหญ่กล่าวโทษต่อกำลังบะอัธซีเรีย ตลอดจนรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ แลแม้แต่กำลังฝ่ายค้านซีเรียและกองทัพตุรกี[2]

ในเดือนสิงหาคม 2559 รายงานของสหประชาชาติและองค์การห้ามอาวุธเคมีกล่าวโทษกองทัพซีเรียของประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัดอย่างเปิดเผยว่าหย่อนอาวุธเคมี (ระเบิดคลอรีน) ใส่เมืองทัลมะนัสในเดือนเมษายน 2557 และซาร์มินในเดือนมีนาคม 2558 และ ISIS ว่าใช้ซัลเฟอร์มัสตาร์ดใส่เมืองมะเรีย (Marea)[3] ในเดือนสิงหาคม 2558 มีการกล่าวหา รายงานและสอบสวน หรืออย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งการโจมตีอีกหลายครั้ง

ในเดือนธันวาคม 2559 มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 53 คนในการโจมตีที่ดูเหมือนใช้แก๊สออกฤทธิ์ต่อประสาทในหมู่บ้านที่ IS ถือครองใกล้อุเกาะริเราะบัต นับเป็นการโจมตีด้วยแก๊สออกฤทธิ์ต่อประสาทใหญ่ครั้งแรกนับแต่ข้อตกลงปี 2556[4][5] ในเดือนเมษายน 2560 การโจมตีเคมีที่คอนชัยคูนเรียกการประณามจากนานาประเทศและกระตุ้นปฏิบัติการทางทหารครั้งแรกของสหรัฐต่อฐานทัพซีเรียที่ชะอิรัต

แผนที่ แก้

แผนที่ทำเครื่องหมายตำแนห่งท่ี่มีรายงานการโจมตีด้วยอาวุธเคมีในสงคามกลางเมืองซีเรีย เครื่องหมายสีเหลืองหมายถึงการโจมตีด้วยคลอรีน สีแดงระบุการโจมตีด้วยสารเคมีที่รุนแรงกว่านั้น

อ้างอิง แก้

  1. Russell, George (6 March 2017). "Ignoring UN, Russia and Assad continue Syrian chemical weapons and bombing attacks labeled war crimes".
  2. "Turkish army hit village in Syria's Afrin with suspected gas: Kurdish YPG, Observatory". Reuters. 16 February 2018.
  3. "Third report of the Organization for the Prohibition of Chemical Weapons United Nations Joint Investigative Mechanism". 24 August 2016.
  4. Martin Chulov and Kareem Shaheen (13 December 2016). "International concern over claims of chemical weapon attack in Syria". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 7 April 2017.
  5. "Syrian Observatory reports suspected gas attack in Islamic State area near Palmyra". Reuters. 12 December 2016. สืบค้นเมื่อ 7 April 2017.