มาฮาดีร์ บิน โมฮามัด

ตุน มาฮาดีร์ บิน โมฮามัด (มลายู: Tun Mahathir bin Mohamad, ยาวี: محاضير بن محمد) เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีสองสมัย​ของ​ประเทศมาเลเซีย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการหลายกระทรวง ได้แก่ กระทรวงการคลัง, มหาดไทย, กลาโหม, การค้าและอุตสาหกรรม และศึกษาธิการ เขาชนะการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศมาเลเซีย พ.ศ. 2561

มาฮาดีร์ โมฮามัด
محاضير محمد
นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย คนที่ 4 และ 7
ได้รับเกียรติเป็น
บิดาแห่งการปรับปรุงให้ทันสมัย
Bapa Pemodenan
باڤ ڤمودنن
ดำรงตำแหน่ง
16 กรกฎาคม 2524 – 31 ตุลาคม 2546
กษัตริย์ สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัจญี อาห์หมัด ชาห์
สมเด็จพระราชาธิบดีอิสกันดาร์
สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านอัซลัน มูฮิบบุดดิน ชาห์
สมเด็จพระราชาธิบดีตวนกู จาฟาร์
สมเด็จพระราชาธิบดีซาลาฮุดดีน อับดุล อาซิซ
สมเด็จพระราชาธิบดีตวนกู ไซอิด ซิรอญุดดีน
ก่อนหน้า ฮุซเซน อนน์
ถัดไป อับดุลละฮ์ อะฮ์มัด บาดาวี
ดำรงตำแหน่ง
10 พฤษภาคม 2561 – 1 มีนาคม 2563
กษัตริย์ สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5
สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลละฮ์ ชะฮ์
ก่อนหน้า นาจิบ ราซัก
ถัดไป มุฮ์ยิดดิน ยัซซิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
5 มิถุนายน 2544 – 31 ตุลาคม 2546
ก่อนหน้า เดมส์ เซนนับดินส์
ถัดไป อับดุลละฮ์ อะฮ์มัด บาดาวี
ดำรงตำแหน่ง
7 กันยายน 2541 – 8 มกราคม 2542
ก่อนหน้า อันวาร์ อิบราฮิม
ถัดไป เดมส์ เซนนับดินส์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
7 พฤษภาคม 2529 – 8 มกราคม 2542
ก่อนหน้า มุซา หิตัมซ์
ถัดไป อับดุลละฮ์ อะฮ์มัด บาดาวี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
18 กรกฎาคม 2524 – 6 พฤษภาคม 2529
ก่อนหน้า อับดุล เทรบ มัลบัด
ถัดไป อับดุลละฮ์ อะฮ์มัด บาดาวี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
1 กรกฎาคม 2521 – 16 กรกฎาคม 2524
นายกรัฐมนตรี ฮุซเซน อนน์
ก่อนหน้า ฮัมซา อะบูล ซามาฮ์
ถัดไป อัลฮ์หมัด ริดฮุดเดน ดุลกูซ์ อิสมาล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
5 กันยายน 2517 – 31 ธันวาคม 2520
นายกรัฐมนตรี ฮุซเซน อนน์
ก่อนหน้า โมฮัมเม็ด ยาคอบ
ถัดไป มูซา ฮิดทัม
สมาชิกสภารัฐ
ดำรงตำแหน่ง
30 ธันวาคม 2515 – 23 สิงหาคม 2517
เขตเลือกตั้ง สมาชิกสภานิติบัญญัติรัฐเกอดะฮ์
สมาชิกสภารัฐ
ดำรงตำแหน่ง
25 เมษายน 2507 – 10 พฤษภาคม 2512
เขตเลือกตั้ง กูบังปาซู
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1925-07-10) 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1925 (97 ปี)
อาโลร์เซอตาร์ บริติชมาลายา
พรรค อัมโน (1946–2016)
เบอร์ซาตู (2016–2020)
PEJUANG (2020–)
คู่สมรส สิติ อัสซ์มะ
บุตร มารีนา มาฮาดีร์
มิล์ซาน มาฮาดีร์
เมลินด้า มาฮาดีร์
โมฮานิซ์ มาฮาดีร์
มูคลิกซ์ มาฮาดีร์
ไมซูร่า มาฮาดีร์
มาซ่าส์ มาฮาดีร์
ศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมาลายา
วิชาชีพ แพทย์
ศาสนา ซุนนีย์
ลายมือชื่อ Mahathir Mohamad signature.svg

ประวัติแก้ไข

มาฮาดีร์ บิน โมฮามัด เกิดที่รัฐเกอดะฮ์ (ไทรบุรี) วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2468 เป็นนายกรัฐมนตรีที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของมาเลเซีย ภายใต้พรรครัฐบาลที่เขาจัดตั้งขึ้นรวมระยะเวลาทั้งสิ้น 22 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 จนถึง พ.ศ. 2546 ทำให้เขาเป็นนายกรัฐมนตรีที่อยู่ในวาระที่นานที่สุดของมาเลเซีย เขาจบคณะแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมาลายา ประเทศมาเลเซีย เมื่อ พ.ศ. 2498 ทำงานเป็นแพทย์ได้ 2 ปี ก่อนลาออกจากราชการ สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่รัฐบ้านเกิด เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ 14 ปี ก่อนที่จะเข้าสู่รัฐสภาในปี พ.ศ. 2507 เขาทำหน้าที่อยู่ระยะนึงก่อนที่จะสูญเสียตำแหน่ง ส.ส ที่บ้านเกิดของเขาเอง หลังจากนั้น มาฮาดีร์ก็ถูกไล่ออกจากพรรคพันธมิตรอัมโนเมื่อ พ.ศ. 2512 เมื่ออับดุล ราซัก ฮุซเซน เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แล้วกลับมาในพรรคอัมโนอีกครั้งหลังจากที่อับดุล ราซัก ฮุซเซน ลาออก และหลังจากนั้นก็ได้รับเลื่อนตำแหน่งให้เป็นรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2519 และต่อมาก็ได้รับเลือกให้เป็นรองนายกรัฐมนตรี และต่อมาในปี พ.ศ. 2524 มาฮาดีร์ก็ได้เข้าพิธีสาบานตนเป็นนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย หลังจากการลาออกของฮุซเซน อนน์ ถือเป็นการเปิดฉากเริ่มต้นการเป็นนายกรัฐมนตรีที่อยู่ในตำแหน่งที่นานที่สุดของมาเลเซีย โดยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยแรก

ตลอดระยะการทำงานเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรกของมาฮาดีร์ มาเลเซียเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงเป็นที่น่าจับตาของโลก

ในวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เขารับมอบ ปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์

ในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เขารับมอบ ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง จากมหาวิทยาลัยรังสิต[1]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

เครื่องราชอิสริยาภรณ์มาเลเซียแก้ไข

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศแก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-18. สืบค้นเมื่อ 2018-12-17.

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข