สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 แห่งกลันตัน
สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 (พระนามเดิม เติงกู มูฮัมมัด ฟาริส เปตรา) (ยาวี: سلطان محمد کليما; พระราชสมภพ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2512) เป็นยังดีเปอร์ตวนอากงองค์ที่ 15 และสุลต่านแห่งรัฐกลันตัน องค์ที่ 29 ซึ่งเป็นองค์ปัจจุบัน พระองค์ได้รับการราชาภิเษกเป็นสุลต่านแห่งกลันตันเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553 ก่อนหน้านี้ทรงเป็นมกุฎราชกุมารแห่งรัฐกลันตัน ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ ของ สุลต่านอิสมาอิล เปตราแห่งกลันตัน กับเติงกูอานิส พระราชมารดา พระองค์มีพระอนุชาและพระขนิษฐาคือ
สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 | |
---|---|
ยังดีเปอร์ตวนอากง สุลต่านแห่งรัฐกลันตัน | |
สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 ในปี พ.ศ. 2556 | |
ยังดีเปอร์ตวนอากง พระองค์ที่ 15 | |
ครองราชย์ | 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – 6 มกราคม พ.ศ. 2562 |
ราชาภิเษก | 24 เมษายน พ.ศ. 2560 |
ก่อนหน้า | อับดุล ฮาลิมแห่งเกอดะฮ์ |
ถัดไป | อัลดุลละฮ์แห่งปะหัง |
สุลต่านแห่งรัฐกลันตัน | |
ครองราชย์ | 13 กันยายน พ.ศ. 2553 – ปัจจุบัน |
ก่อนหน้า | สุลต่านอิสมาอิล เปตรา |
พระราชสมภพ | 6 ตุลาคม พ.ศ. 2512 โกตาบารู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย |
คู่อภิเษก |
|
ราชวงศ์ | กลันตัน |
พระราชบิดา | สุลต่านอิสมาอิล เปตรา |
พระราชมารดา | เติงกูอานิซ |
ศาสนา | อิสลาม |
ลายพระอภิไธย |
อย่างไรก็ตามทนายความที่ทำหน้าที่แทนสุลต่านอิสมาอิล เปตรา ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐบาลกลางเพื่อให้การแต่งตั้งมกุฎราชกุมารของสุลต่านแห่งกลันตันเป็นโมฆะโดยอ้างว่าเป็นผลมาจากการยกเลิกรัฐธรรมนูญ[1]
พระชนม์ชีพในวัยเด็กและการสำเร็จราชการ
แก้เติงกูมูฮัมมัด ฟาริส เปตราเป็นพระโอรสของสุลต่านอิสมาอิล เปตรา พระราชสมภพที่โกตาบารู รัฐกลันตันเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2512 พระองค์เข้ารับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนอนุบาลฟาติมะห์คอนแวนต์ (Fatima Convent) โรงเรียนสุลต่านอิสมาอิลแห่งชาติ (Sultan Ismail National School) เมืองโกตาบารู และโรงเรียนอลิซสมิทธ์ (Alice Smith School) กรุงกัวลาลัมเปอร์ หลังจากนั้นทรงเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษเพื่อทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนโอ๊คแฮม รูทแลนด์ (Oakham School Ruthland) จนถึงปี พ.ศ.2532 พระองค์ศึกษาต่อที่วิทยาลัยเซนต์ครอสส์ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (St Cross College, Oxford) และศูนย์อิสลามศึกษาออกซฟอร์ด (Oxford Centre for Islamic) ศึกษาทางการทูต และจบการศึกษาในปี พ.ศ.2534
บทบาทและหน้าที่
พระองค์ยังทรงมีส่วนร่วมในองค์กรสวัสดิการและกีฬาต่างๆ และยังทรงมีบทบาทอย่างแข็งขันในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงและการทหารอีกด้วย ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารรักษาดินแดน จำนวน 506 นาย โดยมียศเป็น พลจัตวา (กิตติมศักดิ์)
เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 พระองค์ทรงได้รับการประกาศให้เป็นอธิการบดีของ Universiti Malaysia Kelantan (UMK) ที่ UMK Chancellor, Pro-Chancellor
รัชทายาท
เต็งกูมูฮัมหมัด ฟาริส เปตรา เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นมกุฎราชกุมารแห่งกลันตัน(Tengku Makkota) เมื่อพระชนมพรรษา 16 พรรษา คือวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2528
ความขัดแย้งในราชวงศ์
แก้ในเดือนพฤษภาคมปี พ.ศ.2552 พระราชบิดาของพระองค์ สุลต่านอิสมาอิล เปตราได้รับบาดเจ็บสาหัส สุลต่านอิสมาอิล เปตราทรงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเมาท์ เอลิซาเบธในสิงคโปร์และพระองค์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม[2] เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2552 เติงกู มูฮัมมัด ฟาริสทรงปลดพระอนุชา เติงกูมูฮัมมัด ฟาหร์กี เปตรา (Tengku Temenggong) แห่งกลันตันออกจากสภาสันตติวงศ์ซึ่งมีอำนาจที่จะกำหนดให้บัลลังก์สุลต่านไร้เสถียรภาพอย่างถาวร[2]
เติงกูมูฮัมมัด ฟาหร์กียื่นคำร้องต่อศาลสูงแห่งมาลายาเพื่อประท้วงการไล่พระองค์ออกในเดือนธันวาคม[3] และได้ส่งจดหมายไปยังเลขาธิการรัฐโดยอ้างว่าสุลต่านได้ยกเลิกการกระทำทั้งหมด และการตัดสินใจของผู้สำเร็จราชการเติงกูฟาริส[2] ในเดือนมกราคมพ.ศ. 2553 ศาลสูงปฏิเสธคำร้องของเติงกูมูฮัมมัด ฟาหร์กี[4]
ในอีกแง่หนึ่งเลขานุการส่วนพระองค์ของสุลต่านอิสมาอิล เปตราได้ประกาศว่าประธานสภาสันตติวงศ์ เติงกู อับดุล อาซิซ เติงกู โมห์ด ฮัมซา เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ การแต่งตั้งนั้นถูกคัดค้านโดย เติงกูมูฮัมมัด ฟาริสในศาล[5]
สุลต่านแห่งรัฐกลันตัน
แก้เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553[6] เติงกูมูฮัมมัด ฟาริส เปตราได้สืบราชบัลลังค์เป็นสุลต่านแห่งรัฐกลันตันพระองค์ที่ 29 ตามมาตราที่ 29A ของรัฐธรรมนูญของรัฐ ระบุว่าสุลต่านจะไม่สามารถเป็นกษัตริย์ได้ถ้าพระองค์ยังไม่ครองบัลลังก์ได้เกินกว่าหนึ่งปี[7] พระองค์ใช้พระนามว่า มูฮัมมัดที่ 5[8] อย่างไรก็ตามพระราชบิดาของพระองค์สุลต่านอิสมาอิล เปตราได้ทรงยื่นคำร้องต่อศาลรัฐบาลกลางว่าการดำรงตำแหน่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ[9] สุลต่านอิสมาอิล เปตรายังคงฟื้นตัวจากพระโรคหลอดเลือดสมองที่พระองค์ประสบในปีพ.ศ. 2552[10]
สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 ทรงเข้าร่วมการประชุมครั้งที่ 222 ในการประชุมเจ้าผู้ปกครอง เป็นครั้งแรกในฐานะสมาชิกเต็มรูปแบบในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นเครื่องหมายของการเข้าเป็นภาคีของสุลต่านโดยผู้ปกครองพระองค์อื่น ๆ[11]
ติมบาลันยังดีเปอร์ตวนอากง
แก้เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554 พระองค์ทรงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองยังดีเปอร์ตวนอากง แห่งมาเลเซีย ในขณะเดียวกันเติงกูอับดุล ฮาลิม มูอัดซัม ชาห์ สุลต่านแห่งเกดะห์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นยัง ดีเปอร์ตวนอากงองค์ที่ 14 แห่งมาเลเซีย พิธีสาบานตนจัดขึ้นในกรุงกัวลาลัมเปอร์ จนกระทั่งเลือกตั้งยังดีเปอร์ตวนอากงเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559[12]
ยังดีเปอร์ตวนอากง
แก้สุลต่านมูฮัมมัดที่ 5 ได้รับการเลือกตั้งจากการประชุมเจ้าผู้ปกครองเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เพื่อจะเป็นยังดีเปอร์ตวนอากง ผู้เป็นประมุขแห่งรัฐมาเลเซียพระองค์ต่อไป รัชกาลของพระองค์เริ่มเมื่อ 13 ธันวาคม 2559 ต่อจากสมเด็จพระราชาธิบดี ตวนกู อับดุล ฮาลิม สุลต่านแห่งรัฐเกอดะฮ์พระองค์ที่ 47[13]
เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560 พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาเป็นยัง ยังดีเปอร์ตวนอากงองค์ที่ 15 แห่งมาเลเซีย ในพระราชพิธีซึ่งจัดขึ้นที่อิสตานา เนการา จาลัน ดูตา กรุงกัวลาลัมเปอร์ ขณะมีพระชนมายุ 47 พรรษา สุลต่านมูฮัมมัดที่ 5 ทรงเป็นยังดีเปอร์ตวนอากงที่มีพระชนมายุน้อยที่สุดถัดจาก สมเด็จพระราชาธิบดีตวนกู ซัยยิด ปุตราแห่งปะลิส สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านมีซัน ไซนัล อาบีดินแห่งตรังกานู และสมเด็จพระราชาธิบดี ตวนกู อับดุล ฮาลิมแห่งเกอดะฮ์[14]
พระองค์เป็นยังดีเปอร์ตวนอากงพระองค์แรกในประวัติศาสตร์ที่จะปกครองโดยไม่มีสมเด็จพระราชินีหรือรายา ประไหมสุหรี อากง[15]
พระอนุชาของพระองค์ เติงกู มูฮัมมัด ฟาอิส เปตรา เติงกู มาห์โกตา จะทรงทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแห่งกลันตัน ตลอดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของสุลต่านมูฮัมมัดที่ 5 ขณะที่ทรงเป็นยังดีเปอร์ตวนอากง[16]
ในฐานะที่เป็นยังดีเปอร์ตวนอากง พระองค์มีพระราชอำนาจเต็มที่ในฐานะผู้บัญชาการกองทัพมาเลเซีย[17] นอกจากนี้พระองค์ยังมีหน้าที่ในฐานะ พันเอก - หัวหน้ากองปืนใหญ่กองทัพมาเลเซีย และทรงเข้าร่วมกิจกรรมและพิธีการทุกครั้ง[18]
เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2561 สุลต่านมูฮัมมัดที่ 5 แจ้งว่าพระองค์จะทรงพักรักษาตัวจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 ดังนั้น รองยังดีเปอร์ตวนอากง คือ สุลต่านนัซริน มูอิซซัดดิน ชาห์ จึงเข้ารับหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามมาตรา 33 ของรัฐธรรมนูญมาเลเซียในระหว่างที่พระองค์ไม่อยู่
เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2562 พระองค์ทรงสละราชบัลลังก์ของรัฐบาลกลางในฐานะยังดีเปอร์ตวนอากงพระองค์ที่ 15 แห่งมาเลเซีย และนั่นทำให้พระองค์สละราชบัลลังก์ของรัฐบาลกลางเป็นพระองค์แรกในประวัติศาสตร์ของมาเลเซีย
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของสมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 แห่งกลันตัน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ Proclamation Of Tuanku Muhammad Faris Petra As Sultan Unconstitutional, Says Former Sultan
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "Younger prince downplays talk of discord in Kelantan palace". The Star. 4 January 2010. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
- ↑ "Kelantan royal 'tussle': Prince to know Friday". The Star. 27 January 2010. สืบค้นเมื่อ 13 May 2011.
- ↑ "Tengku Fakhry loses case against Regent". The Star. 30 January 2010. สืบค้นเมื่อ 13 May 2011.
- ↑ "Tengku Faris files to declare Regent's appointment invalid". The Star. 31 March 2010. สืบค้นเมื่อ 13 May 2011.
- ↑ "Genealogy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-03. สืบค้นเมื่อ 2017-04-14.
- ↑ "Tuanku Muhammad Faris Petra is new Sultan of Kelantan". Sin Chew Daily. 13 September 2010. สืบค้นเมื่อ 22 September 2010.
- ↑ "Sultan Muhammad V Official Name of New Kelantan Sultan". Bernama. 22 September 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-21. สืบค้นเมื่อ 23 September 2010.
- ↑ "Proclamation of Tuanku Muhammad Faris Petra As Sultan Unconstitutional, Says Former Sultan". Bernama. 20 September 2010. สืบค้นเมื่อ 22 September 2010.
- ↑ A. Letchumanan (21 September 2010). "Kelantan's Tuanku Ismail wants court to declare him rightful Sultan". The Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-23. สืบค้นเมื่อ 22 September 2010.
- ↑ "Conference of Rulers welcomes Sultan Muhammad V". New Straits Times. Bernama. 14 October 2010. สืบค้นเมื่อ 13 April 2011.
- ↑ User, Super. "Pejabat Penyimpan Mohor Besar Raja-Raja – Senarai Timbalan Yang di-Pertuan Agong". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-10. สืบค้นเมื่อ 2017-04-14.
{{cite web}}
:|last=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ "Kelantan Sultan will be new King". The Star. 14 October 2016. สืบค้นเมื่อ 14 October 2016.
- ↑ "Youngest Ruler selected". The Star Online. 15 October 2016. สืบค้นเมื่อ 15 October 2016.
- ↑ Aina Nasa (16 October 2016). "Having a consort not compulsory to become Yang di-Pertuan Agong, says expert". New Straits Times. สืบค้นเมื่อ 3 April 2017.
- ↑ "Tengku Dr Muhammad Faiz Petra appointed as Regent of Kelantan". 8 December 2016.
- ↑ The Federal Constitution of Malaysia เก็บถาวร 2016-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Article 41
- ↑ "Kelantan's Sultan Muhammad V begins his reign as Agong". Free Malaysia Today. 13 December 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-20.
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 แห่งกลันตัน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระราชาธิบดี ตวนกู อับดุล ฮาลิม | ยังดีเปอร์ตวนอากง (13 ธันวาคม 2559 – 6 มกราคม 2562) |
สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ ชาห์ | ||
สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่าน ตวนกู อิสมาอีล อิบนี อัลมาร์ฮูม สุลต่าน ยะห์ยา เปตรา | สุลต่านแห่งรัฐกลันตัน (13 กันยายน พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน) |
ยังอยู่ในราชสมบัติ |