อับดุลละฮ์ อะฮ์มัด บาดาวี
ตุน ดาโตะก์ ซรี ฮาจี อับดุลละฮ์ บิน ฮาจี อะฮ์มัด บาดาวี (มลายู: Tun Dato' Sri Haji Abdullah bin Haji Ahmad Badawi, ยาวี: عبد الله بن احمد بداوي; 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 - ) เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีประเทศมาเลเซีย รับตำแหน่งต่อจากมาฮาดีร์ บิน โมฮามัด เมื่อ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เป็นผู้นำพรรคอัมโนคนที่ 6 และกลุ่มพรรคแนวร่วมแห่งชาติ Barison Nasional (BN) และชนะการเลือกตั้งเมื่อ 21 มีนาคม พ.ศ. 2547
อับดุลละฮ์ อะฮ์มัด บาดาวี | |
---|---|
عبد الله احمد بدوي | |
นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย คนที่ 5 | |
ได้รับเกียรติเป็น บิดาแห่งการพัฒนาทุนมนุษย์ Bapa Pembangunan Modal Insan باڤ ڤمباڠونن مودل انسان | |
ดำรงตำแหน่ง 31 ตุลาคม พ.ศ. 2546 – 3 เมษายน พ.ศ. 2552 | |
กษัตริย์ | สมเด็จพระราชาธิบดีตวนกู ซัยยิด ซีรอญุดดีน สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่าน มีซาน ไซนัล อาบิดีน |
ก่อนหน้า | มาฮาดีร์ โมฮามัด |
ถัดไป | นาจิบ ราซัก |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 บายันเลอปัซ ปีนัง นิคมช่องแคบ |
ศาสนา | ศาสนาอิสลาม |
พรรคการเมือง | พรรคอัมโน |
คู่สมรส | เอนดน มะห์มูด อัมบะก์ (เสียชีวิต) จีน ดันเกอร์ |
บุตร | กามาลุดดิน อับดุลละฮ์ โนรี อับดุลละฮ์ |
ประวัติ
แก้อับดุลละฮ์ อะฮ์มัด บาดาวี เกิดในเมืองบายันเลอปัซ รัฐปีนัง ในครอบครัวเคร่งครัดในศาสนา บิดาของนายบาดาวีเป็นคนที่เคร่งครัดในศาสนามาก และเป็นสมาชิกพรรคอัมโน ส่วนปู่ของเขาคือชีคอับดุลละฮ์ บาดาวี ฟาฮิม ซึ่งมีเชื้อสายอาหรับ[1] ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งฮิสบูลมุสลิมีน (Hizbul Muslimin) หรือที่รู้จักในปัจจุบันในนามพรรคพาส (PAS) ปู่ของเขามีชื่อเสียงในการต่อสู้เพื่อเอกราช และเป็นผู้นำศาสนาคนแรกของปีนังก่อนได้รับเอกราช ส่วนตาของเขามีนามว่า ฮา ซูเฉียง (Ha Su-chiang) หรือรู้จักกันว่า ฮัสซัน (Hassan) เป็นชาวจีนมุสลิมที่อพยพมาจากเมืองซานย่า ในมณฑลไหหลำ[2]
อับดุลละฮ์ อะฮ์มัด บาดาวี ได้ศึกษาจากโรงเรียนมัธยมบูกิต เมอร์ตายัม (Bukit Mertajam High School) หลังจากที่ล้มเหลวในการสมัครเข้าในเส้นทางที่เขาเลือกคือเศรษฐศาสตร์ บาดาวีได้ปริญญาตรีจากสาขาศิลปะ ในอิสลามศึกษา จากมหาวิทยาลัยมาลายา ใน ค.ศ. 1964
ชีวิตส่วนตัว
แก้ภรรยาคนแรกของนายอับดุลละฮ์ คือ นางเอนดน มะห์มุด อัมบะก์ (Endon Mahmood Ambak) ซึ่งเป็นชาวมลายูเชื้อสายญี่ปุ่น ทั้งสองมีบุตรธิดาด้วยกันสองคน คนแรกเป็นชายชื่อ กามาลุดดิน อับดุลละฮ์ คนที่สองเป็นหญิงชื่อโนรี อับดุลละฮ์ ซึ่งภายหลังนางเอนดน มะห์มุด อัมบะก์ได้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งทรวงอกในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548
และต่อมาอับดุลละฮ์ อะฮ์มัด บาดาวีได้แต่งงานใหม่กับนางจีน ดันเกอร์ อดีตน้องสะใภ้ของภรรยาเขา ซึ่งเป็นชาวมลายูเชื้อสายโปรตุเกส เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2550[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ Noor, Elina, Noor, Ismail, Pak Lah: A Sense of Accountability–An Insight Into Effective Stewardship, Utusan Publications & Distributors, 2003, ISBN 9676114928
- ↑ Asia Future Shock: Business Crisis and Opportunity in the Coming Years, Michael Backman, Palgrave Macmillan, 2008, ISBN 0230006779, pg 133
- ↑ นายกฯมาเลย์สละโสดแต่งงานใหม่