สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลละฮ์แห่งปะหัง
สมเด็จพระราชาธิบดี สุลต่านอับดุลละฮ์ รีอายาตุดดิน อัลมุซตาฟา บิลละฮ์ ชะฮ์ (พระราชสมภพวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1959) ทรงดำรงตำแหน่งยังดีเปอร์ตวนอากง (กษัตริย์) องค์ที่ 15 แห่งประเทศมาเลเซีย และสุลต่านรัฐปะหังองค์ที่ 6 ตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 2019 พระองค์ดำรงตำแหน่งสุลต่านในวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 2019 ต่อจากพระราชบิดา สุลต่านอะฮ์มัด ชะฮ์ ผู้ที่ในการประชุมของกรมปรึกษาราชบัลลังก์ตัดสินใจให้สละราชสมบัติในวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 2019[3]
เหรียญรางวัล | ||
---|---|---|
โปโล | ||
ตัวแทนของ ![]() | ||
ซีเกมส์ | ||
![]() |
สิงคโปร์ 1983 | ทัวร์นาเมนต์ชาย[2] |
ในวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 2019 ไม่กี่วันหลังการสืบพระราชบัลลังก์ปะหัง พระองค์ได้รับเลือกเป็นยังดีเปอร์ตวนอากงองค์ที่ 16 ประมุขแห่งรัฐ ของประเทศมาเลเซีย[4] และสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2019 พระองค์ยังเคยเป็นสมาชิกสภาสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศใน ค.ศ. 2015 ถึง 2019[5]
พระราชประวัติแก้ไข
เติงกูอับดุลละฮ์ เสด็จพระราชสมภพในวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ.1959 ที่พระราชวังอิซตานา มังกา ตุงกัล เมืองเปอกัน รัฐปะหัง สหพันธรัฐมาลายา (ปัจจุบันคือประเทศมาเลเซีย) สองปีหลังจากที่มลายาได้รับเอกราช ภายใต้การปกครองของ สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุล ระห์มัน ยังดีเปอร์ตวนอากงองค์ที่ 1 ซึ่งเป็นรัชสมัยของสุลต่านอะบู บาการ์แห่งปะหัง สุลต่านแห่งรัฐปะหังองค์ที่ 4 พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์แรกของมกุฎราชกุมารแห่งปะหัง ในขณะนั้น (เติงกูอะฮ์มัด ชะฮ์ เป็นพระราชบุตรองค์ที่ 3 ของ สุลต่านอะบู บาการ์แห่งปะหัง) กับพระราชชนนีเติงกูอัมปวน อัฟซัน โดยเป็นพระราชบุตรองค์ที่ 4 จากจำนวนพี่น้อง 8 พระองค์ พระราชบิดา พระราชมารดารวมไปถึงพระญาติสนิท เรียกพระองค์แบบลำลองว่า "อลัม"[6][7]
พระองค์ทรงมีพระเชษฐภคินีคือเติงกูเมอรียัม พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์โตของสุลต่านอะฮ์มัด ชะฮ์ สุลต่านแห่งรัฐปะหัง พระราชอนุชาของพระองค์คือเติงกูอับดุล ระห์มานและเติงกูอับดุล ฟาฮัด มูอัดซัม ชะฮ์
การศึกษาแก้ไข
พระองค์ได้รับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนสุลต่านฮัมเหม็ด เมืองเปอกัน โรงเรียนเซนต์โทมัสฝ่ายประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่เมืองกวนตัน ก่อนเสด็จไปศึกษาต่อต่างประเทศ ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ทรงสนพระราชหฤทัยในกีฬา เช่น ฮอกกี้ ฟุตบอล และเซปักตะกร้อ ครั้งหนึ่งพระองค์ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนของโรงเรียน เขต และรัฐในเกมฟุตบอลระดับประเทศ
พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษาศาสนาอิสลามเป็นการส่วนพระองค์ทุกสัปดาห์ในห้องทำงานของพระองค์ในพระราชวัง และทรงศึกษาโดยกะดีเบซาร์แห่งปะหัง
พระองค์ศึกษาต่อในสหราชอาณาจักรโดยเข้าเรียนที่ โรงเรียนอัลเดนแฮม เมืองเอลส์ทรี มณฑลฮาร์ทฟอร์ดเชอร์ ตั้งแต่ปี 1975 ถึง 1977 จากนั้นพระองค์ศึกษาต่อที่วิทยาลัยเดวิส กรุงลอนดอน เป็นเวลาสองปี เช่นเดียวกับราชวงศ์อื่น ๆ ทั่วโลก พรองค์เข้าเรียนที่ โรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ ประเทศอังกฤษเป็นเวลาสองปีเช่นกัน พระองค์ได้รับยศร้อยตรีจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในปี 1981 พระองค์ทรงศึกษาที่ วิทยาลัยวูสเตอร์ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และราชวิทยาลัยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธ ทรงสำเร็จการศึกษาด้านกิจการต่างประเทศและการทูต
รัชทายาทแก้ไข
ภายหลังการประสูติของพระองค์ เติงกูอับดุลละห์อยู่ในตำแหน่งรัชทายาทอำดับที่ 2 ในสายการสืบราชสันตติวงศ์แห่งปะหัง ต่อจาก เติงกูอิบราฮิม พระอัยกา และตามด้วยมกุฎราชกุมารซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระองค์ เมื่อพระอัยกาเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2517 และพระราชบิดาขึ้นครองราชย์ เติงกู อับดุลละห์กลายเป็นรัชทายาทพระองค์แรกแห่งปะหัง
มกุฎราชกุมารแก้ไข
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 พระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็นมกุฎราชกุมารแห่งปะหัง และต่อมาได้ขึ้นรับตำแหน่งเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2520 ณ พระราชวัง อิสตานา อะบู บาการ์ เมืองเปอกัน ก่อนได้รับการแต่งตั้งเป็นสุลต่าน พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งมกุฎราชกุมารยาวนานที่สุดเป็นอันดับสองเป็นเวลาเกือบ 44 ปี ในบรรดารัชทายาทแห่งราชบัลลังก์ทั่วโลก รองจากเจ้าชายชาร์ลส์ มกุฎราชกุมารแห่งเวลส์
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 พระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็นมกุฎราชกุมาร และต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2520 ณ พระราชวังอิสตานาอาบูบาการ์ เมืองเปอกัน ก่อนขึ้นครองราชย์เป็นสุลต่าน พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งมกุฎราชกุมารยาวนานที่สุดเป็นอันดับสองเป็นเวลาเกือบ 44 ปีในบรรดารัชทายาททั่วโลก รองจากเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ (สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร)
ผู้สำเร็จราชการแก้ไข
เติงกูอับดุลละห์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแห่งรัฐปะหัง เมื่อพระราชบิดาได้รับการแต่งตั้งยังดีเปอร์ตวนอากง ในปี พ.ศ. 2522
หลังจากพระราชบิดาสวรรคต เติงกูอับดุลละห์ได้ขึ้นครองบัลลังก์อย่างเป็นทางการในฐานะเจ้าผู้ครองนครแห่งรัฐปะหังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 หลังจากนั้น พระองค์ได้เข้าร่วมพิธีอย่างเป็นทางการและพิธีการในสำนักพระราชวัง
เจ้าผู้ครองนครแก้ไข
สุลต่านองค์ที่ 6 แห่งปะหังแก้ไข
หลังจากการสละราชสมบัติของพระราชบิดาเนื่องจากพระอาการประชวร เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2562 พระองค์ได้รับการแต่งตั้งจากสภาแห่งรัฐปะหังให้ดำรงตำแหน่งสุลต่านแห่งรัฐปะหังองค์ที่ 6 แห่งรัฐปะหังแทนพระราชบิดาของพระองค์ พระองค์ทรงได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2562 มีพระนามเต็มว่า "อัลซุลตัน อับดุลละฮ์ รีอายาตุดดิน อัลมุซตาฟา บิลละฮ์ ชะฮ์ อิบนี อัลมัรฮุม ซุลตัน ฮาจี อะฮ์มัด อัลมุซตะอ์มิน บิลละฮ์ ชะฮ์" ณ พระราชวังอิซตานา อะบู บาการ์ เมืองเปอกัน รัฐปะหัง
ยังดีเปอร์ตวนอากงแก้ไข
พิธีราชาภิเษกแก้ไข
ในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2562 สภาผู้ปกครองในการประชุมสภาผู้ปกครองสมัยพิเศษครั้งที่ 251 ตกลงเลือกให้เป็นยังดีเปอร์ตวนอากงองค์ที่ 16 แทนสมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 แห่งกลันตัน ซึ่งสละราชสมบัติ พระองค์ทรงสาบานตนเข้ารับตำแหน่งเพื่อเริ่มขึ้นครองราชย์ ณ พระราชวังอิสตานา เนอการา กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2562 พิธีราชาภิเษกของยังดีเปอร์ตวนอากง จัดขึ้นที่พระราชวังอิสตานา เนอการา กรุงกัวลาลัมเปอร์เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2562 เจ็ดเดือนหลังจากพระองค์ขึ้นครองราชย์
ในขณะเดียวกัน การบริหารจัดการในปะหังทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการให้กับพระราชโอรสคือเติงกูฮัซซานัล อิบราฮิม อาลัม ชะฮ์ อย่างไรก็ตาม ณ วันที่ได้รับการแต่งตั้ง เติงกูฮัซซานัล ทรงกำลังศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ ด้วยเหตุนี้ เติงกูฮัซซานัลจึงได้รับความช่วยเหลือในการปฏิบัติหน้าที่โดยสภาแห่งรัฐปะหัง นำโดยพระราชอนุชาของสุลต่านอับดุลละห์ ซึ่งเป็นพระปิตุลา (อา) ของเติงกูฮัซซานัล คือเติงกูอับดุล ระห์มาน อิบนิ สุลต่าน ฮัจญี อะหมัด ชะฮ์ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562 จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2562
ในฐานะประมุขแห่งรัฐแก้ไข
สุลต่านอับดุลละห์ ในฐานะประมุขแห่งรัฐมักเสด็จเยือนต่างประเทศเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตลอดจนเข้าร่วมพระราชพิธีตามคำเชิญอย่างเป็นทางการ โดยปกติแล้วพระองค์จะเสด็จพร้อมด้วยสมเด็จพระราชินี และบางครั้งจะเสด็จพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีและรัฐบาล พระองค์มักจะพบปะกับประชาชนในระหว่างเสด็จ อย่างไรก็ตาม ภารกิจนี้ถูกระงับในปีพ.ศ.2563 และ พ.ศ.2564 เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งทำให้ต้องเลื่อนออกไป
พระมเหสีและพระชายาแก้ไข
เติงกูอับดุลละห์ อภิเษกสมรสกับพระราชธิดาองค์ที่ 3 สุลต่าน สมเด็จพระราชาธิบดีอิสกันดาร์ สุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์ คือ ตุนกู ฮาจะฮ์ อาซีซะฮ์ อามีนะฮ์ ไมมูนะฮ์ อิซกันดารียะฮ์ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2529 ที่มัสยิดสุลต่าน อาบู บาการ์ รัฐยะโฮร์ พระองค์มีพระราชบุตร 6 พระองค์ โดยเป็นพระราชโอรส 4 พระองค์ และพระราชธิดา 2 พระองค์
พระองค์ทรงอภิเษกสมรสเป็นครั้งที่สองกับจูเลีย ราอิซ ซึ่งเป็นอดีตนักแสดงชาวมาเลเซีย และมีพระราชธิดา 3 พระองค์
พระราชสันติวงศ์แก้ไข
พระราชโอรสและพระราชธิดาทุกพระองค์ได้รับการศึกษาในสหราชอาณาจักร ส่วนพระโอรสและเป็นพระโอรสองค์สุดท้องของเติงกู อาริฟ บันดาฮารา อิบราฮิม และพระชายาองค์ที่ 3 ซาร์รีนา บินตี อับดุลลาห์
- พระราชโอรสบุญธรรมซึ่งพระองค์ทรงรับมาอุปการะตั้งแต่สมัยพระองค์ยังเป็นมกุฎราชกุมาร
- เติงกูอามีร์ นัซเซอร์ อิบราฮิม ประสูติเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ.1986 (พระชันษา 36 ปี) ณ โรงพยาบาลกลางรัฐปะหัง ทรงเสกสมรสเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ.2013 กับ ซูไรยา อัฟซาน มีพระโอรสดังนี้
• เติงกูอดัม อิบราฮิม ชะห์
• เติงกูสุไลมาน อับดุลลาห์ ชะห์
• เติงกูนูห์ มูฮัมหมัด ชะห์
- พระราชโอรสและพระราชธิดาในสุลต่านกับเติงกู อัมปวนแห่งรัฐปะหัง
- เติงกู อะฮ์มัด อิซกันดาร์ ชะฮ์ ประสูติและสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ.1990
- เติงกูฮัซซานัล อิบราฮิม อาลัม ชะฮ์ (มกุฎราชกุมาร และผู้สำเร็จราชการแห่งรัฐปะหัง) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ.1995 (พระชนมายุ 27 พรรษา) ณ โรงพยาบาลเต็งกู อัมปวนอัฟซาน (Hospital Tengku Ampuan Afzan) เมืองกวนตัน สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากโรงเรียนการทูตและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแห่งเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ (Geneva School of Diplomacy and International Relations, Switzerland) โรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ ประเทศอังกฤษ(Royal Military Academy Sandhurst) และทรงกำลังศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่สำนักนโยบายสาธารณะ ลี กวน ยิว (Lee Kuan Yew School of Public Policy) มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore : NUS)
- เติงกู มูฮัมมัด อิซกันดาร์ รีอายาตุดดิน ชะฮ์ ประสูติเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ.1997 (พระชนมายุ 25 พรรษา) สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดบรูกส์ ประเทศอังกฤษ(Oxford Brookes University, England)
- เติงกู อะฮ์มัด อิซมาอิล มูอัดซัม ชะฮ์ ประสูติเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ.2000 (พระชนมายุ 22 พรรษา) สำเร็จการศึกษาปริญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาสังคมวิทยาและอาชญวิทยา วิทยาลัยรอยัลฮอลโลเวย์ มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ (Royal Holloway, University of London, England) และทรงกำลังศึกษาโรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ ประเทศอังกฤษ (Royal Military Academy Sandhurst)
- เติงกูปูเตอรี อัฟซัน อามีนะฮ์ ฮาฟิดซาตุลละฮ์ประสูติเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ.2000 (พระชนมายุ 22 พรรษา) สำเร็จการศึกษาปริญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาการจัดการและการบัญชี วิทยาลัยรอยัลฮอลโลเวย์ มหาวิทยาลัยลอนดอนประเทศอังกฤษ (Royal Holloway, University of London, England)
- เติงกูปูเตอรี จีฮัน อาซีซะฮ์ อาตียาตุลละฮ์ ประสูติเมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ.2002 (พระชนมายุ 20 พรรษา) ทรงกำลังศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปะเชิงสร้างสรรค์ เมืองฟาร์แนม ประเทศอังกฤษ (University for the Creative Arts, Farnham, England)
- พระราชธิดาในพระชายาจูเลีย ราอิซ
- เติงกูปูเตอรี อีมัน อัฟซัน ประสูติเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ.1992 (พระชันษา 30 ปี) ณ โรงพยาบาลกัวลาลัมเปอร์ สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ (Universiti Nottingham, England) ทรงเสกสมรสเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ.2018 กับเติงกูอาบู บาการ์ อาหมัด บิน อัลมาร์ฮุม มีพระโอรส-พระธิดาดังนี้
• เติงกูเซน เอดิน ชะห์
• เติงกูอาเลยา นอร์ลิน
2. เติงกูปูเตอรี อีลีชา อามีรา ประสูติเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ.1995 (พระชันษา 27 ปี) ณ โรงพยาบาลกัวลาลัมเปอร์ สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ (Universiti Nottingham, England)
3. เติงกูปูเตอรี อิลยานา ประสูติเมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ.1997 (พระชันษา 25 ปี) ณ โรงพยาบาล Gleneagles กัวลาลัมเปอร์ สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ (Universiti Nottingham, England)
หมายเหตุแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ Bernama (15 January 2019). "Sultan of Pahang officially addressed as Al-Sultan Abdullah Ri'ayatuddin Al-Mustafa Billah Shah". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-19. สืบค้นเมื่อ 17 July 2019.
- ↑ "Raja Permaisuri Agong bercerita tentang pingat emas YDP Agong" [Raja Permaisuri Agong bercerita tentang pingat emas YDP Agong]. kosmo,com (ภาษามาเลย์). 28 July 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-01. สืบค้นเมื่อ 28 July 2019.
- ↑ "Tengku Abdullah to be proclaimed Pahang sultan on Jan 15". MalaysiaKini. 12 January 2019. สืบค้นเมื่อ 5 July 2019.
- ↑ "Sultan Pahang, Agong Malaysia ke-16" [Sultan Pahang, 16th Malaysia Agong]. Bernama,com (ภาษามาเลย์). 24 January 2019. สืบค้นเมื่อ 11 July 2019.
- ↑ Bernama (20 February 2019). "We will miss you - Infantino thanks YDP Agong after FIFA Council exit". Stadium Astro. สืบค้นเมื่อ 5 July 2019.
- ↑ "Biodata Pemangku Raja Pahang Tengku Abdullah Sultan Ahmad Shah". Berita Harian. 12 January 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2019. สืบค้นเมื่อ 5 July 2019.
- ↑ "Former Pahang ruler Sultan Ahmad Shah dies at age 88". The Star (Malaysia). 23 May 2019. สืบค้นเมื่อ 5 July 2019.