มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม

(เปลี่ยนทางจาก มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม)

มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม (University of Nottingham) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเน้นวิจัยขนาดใหญ่มากในสหราชอาณาจักร มีชื่อเสียงด้านแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ตั้งที่เมืองนอตทิงแฮม แคว้นนอตทิงแฮมเชอร์ นอกจากที่ตั้งในเมืองนอตทิงแฮมแล้ว มหาวิทยาลัยยังขยายการสอนไปยังประเทศมาเลเซียและประเทศจีนอีกด้วย

มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม
The University of Nottingham
ตราอาร์มประจำมหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม
คติพจน์ลาติน: Sapientia urbs conditur
อังกฤษ: A city is built on wisdom
ไทย: รากฐานของเมืองคือปัญญา
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาล
สถาปนาพ.ศ. 2491 - ได้รับพระบรมราชโองการให้เป็นมหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2424 - วิทยาลัยอุดมศึกษานอตทิงแฮม
ที่ตั้ง, ,
52°56′20″N 1°11′49″W / 52.939°N 1.197°W / 52.939; -1.197
สีเขียวแก่ เหลืองทอง คราม ขาว        
เครือข่ายสมาคมมหาวิทยาลัยเครือจักรภพ
สมาคมบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
EQUIS
สมาคมมหาวิทยาลัยยุโรป
กลุ่มรัสเซล
กลุ่มเวอร์โก
ยูนิเวอร์ซิตัส 21
ซัตตันทรัสต์
กลุ่มเอ็มห้า
เว็บไซต์www.nottingham.ac.uk

มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮมก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2424 ในฐานะวิทยาลัยอุดมศึกษานอตทิงแฮม และได้รับพระบรมราชโองการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2491 มหาวิทยาลัยเป็นสมาชิกก่อตั้งกลุ่มรัสเซล ซึ่งเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัยขนาดใหญ่ในสหราชอาณาจักร ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเป็นสถาบันการศึกษาที่มีนักศึกษาทุกระดับมากที่สุดเป็นอันดับที่สอง รองจากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ โดยไม่นับมหาวิทยาลัยเปิด (Open University)[1]

ประวัติ

แก้

มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮมเริ่มต้นจากโรงเรียนผู้ใหญ่ประจำอำเภอนอตทิงแฮมซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2341 ครั้นโรงเรียนผู้ใหญ่ดำเนินการไปได้ระยะหนึ่ง มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้ขยายหลักสูตรมาสอนที่โรงเรียนเมื่อ พ.ศ. 2416[2] การดำเนินการสอนเป็นไปได้ด้วยดี ต่อมาในปี พ.ศ. 2420 วิลเลียม แกลดสตัน นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์วิทยาลัยอุดมศึกษา (university college) ซึ่งเปิดดำเนินการในห้วงเวลาสี่ปีต่อมา เพื่อรองรับจำนวนสาขาวิชาที่มีมากขึ้นและวุฒิการศึกษาที่สูงขึ้นตาม[3] หลังจากการสร้างอาคารต่าง ๆ เสร็จแล้ว เจ้าชายลีโอโพลด์ พระราชโอรสของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ทรงประกอบพิธีเปิดอาคารเรียนถนนเชคสเปียร์[3] การเรียนการสอนในขณะนั้นมีอาจารย์เพียงสี่คนในสาขาวิชาวรรณคดี เคมี ฟิสิกส์ และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ผู้สอบได้ตามหลักสูตรในขณะนั้นจะได้รับปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยลอนดอน เนื่องจากวิทยาลัยฯ เป็นส่วนงานของมหาวิทยาลัยลอนดอน

หลังจากที่วิทยาลัยเปิดดำเนินการไปสักระยะ มีการเพิ่มสาขาวิชาต่าง ๆ ดังนี้

  • พ.ศ. 2427 จัดตั้งสาขาวิชาวิศวกรรม
  • พ.ศ. 2436 จัดตั้งสาขาวิชาปรัชญา
  • พ.ศ. 2440 จัดตั้งสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
  • พ.ศ. 2448 จัดตั้งสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ และแยกสาขาวิชาฟิสิกส์กับเคมีออกจากกัน
  • พ.ศ. 2454 จัดตั้งสาขาวิชาภาษาอังกฤษ และสาขาวิชาเหมืองแร่
  • พ.ศ. 2455 จัดตั้งสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ และสาขาวิชาธรณีวิทยา
  • พ.ศ. 2457 จัดตั้งสาขาวิชาประวัติศาสตร์
  • พ.ศ. 2466 จัดตั้งสาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่
  • พ.ศ. 2468 จัดตั้งสาขาวิชาเภสัชศาสตร์[2]
  • ได้มีการเพิ่มคณะวิชาวิศวกรรมเมื่อ พ.ศ. 2427 คณะวิชาปรัชญาเมื่อ พ.ศ. 2436 คณะวิชาภาษาฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2440 และคณะวิชาศึกษาศาสตร์เมื่อ พ.ศ. 2448 โดยลำดับ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2491 สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สอง ทรงตราพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยนอตทิงแฮมขึ้น โดยแปรสภาพวิทยาลัยอุดมศึกษานอตทิงแฮมที่มีอยู่เดิม

ส่วนงาน

แก้

มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮมมีคณะวิชาทั้งสิ้น 5 คณะ แต่ละคณะมีภาควิชาต่าง ๆ ปฏิบัติการสอนและวิจัยในสาขาวิชาของตน ดังนี้[4]

  • คณะศิลปศาสตร์
    • ภาควิชาอเมริกันและแคนาดาศึกษา
    • ภาควิชาโบราณคดี
    • ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
    • ภาควิชาศิลปะโบราณ
    • ภาควิชาวัฒนธรรม ภาพยนตร์ และสื่อ
    • ภาควิชาวัฒนธรรม ภาษา และท้องถิ่นศึกษา
    • ภาควิชาภาษาอังกฤษ
    • ภาควิชาภาษาฝรั่งเศสและฝรั่งเศสศึกษา
    • ภาควิชาเยอรมันศึกษา
    • ภาควิชาประวัติศาสตร์
    • ภาควิชามนุษยศาสตร์
    • ศูนย์ภาษา
    • ภาควิชาดุริยศาสตร์
    • ภาควิชาปรัชญา
    • ภาควิชารัสเซียและสลาฟศึกษา
    • ภาควิชาสเปน โปรตุเกส และลาตินอเมริกันศึกษา
    • ภาควิชาเทววิทยาและศาสนศาสตร์
  • คณะแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ภาควิชาชีววิทยาศาสตร์ (life science)
    • ภาควิชาแพทยศาสตร์
    • ภาควิชาสัตวแพทยศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์
    • ภาควิชาชีววิทยาและชีวประยุกต์ (biosciences)
    • ภาควิชาเคมี
    • ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
    • ภาควิชาคณิตศาสตร์
    • ภาควิชาเภสัชศาสตร์
    • ภาควิชาฟิสิกส์และดาราศาสตร์
    • ภาควิชาจิตวิทยา
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
    • ภาควิชาสถาปัตยกรรมและการก่อสร้าง
    • ภาควิชาวิศวกรรมเคมีและสิ่งแวดล้อม
    • ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
    • ภาควิชาวิศวกรรมพื้นฐานและวิทยาศาสตร์กายภาพ
    • ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
    • ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล วัสดุ และการผลิต
  • คณะสังคมศาสตร์
    • ภาควิชาจีนศึกษาร่วมสมัย
    • ภาควิชาเศรษฐศาสตร์
    • ภาควิชาศึกษาศาสตร์
    • ภาควิชาภูมิศาสตร์
    • ภาควิชานิติศาสตร์
    • ภาควิชาบริหารธุรกิจ
    • ภาควิชารัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
    • ภาควิชาสังคมวิทยาและนโยบายสังคม

ที่ตั้ง

แก้

มหาวิทยาลัยทำการสอนเป็นหลักภายในเขตจังหวัดนอตทิงแฮมเชอร์ และมีวิทยาเขตต่างประเทศสองแห่ง แห่งหนึ่งที่ประเทศจีน อีกแห่งหนึ่งที่ประเทศมาเลเซีย

วิทยาเขตยูนิเวอร์ซิตีพาร์ก

แก้
 
วิทยาเขตยูนิเวอร์ซิตีพาร์ก มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม
 
สวนมิลเลนเนียมพาร์ก มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮมได้ถูกจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยเขียวที่สุดในโลกประจำปี พ.ศ. 2554 (52°56′19″N 1°11′59″W / 52.9387°N 1.1998°W / 52.9387; -1.1998)

มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮมมีที่ตั้งหลักที่ด้านตะวันตกของเมืองนอตทิงแฮม มีพื้นที่ 834 ไร่เศษ ลักษณะเป็นมหาวิทยาลัยในสวนออกแบบสวยงาม[5][6]จนได้รับรางวัลธงเขียวติดกันหลายปีซ้อน[7]

วิทยาเขตเฉลิมภาญจนาภิเษก

แก้

นอกจากวิทยาเขตยูนิเวอร์ซิตีพาร์กแล้ว มหาวิทยาลัยยังได้จัดสร้างวิทยาเขตจูบิลี หรือวิทยาเขตเฉลิมกาญจนาภิเษกขึ้น ออกแบบโดยไมเคิล ฮอปกินส์ (Michael Hopkins) สถาปนิกชาวอังกฤษ สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2542 ใช้เป็นที่ตั้งของภาควิชาศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยผู้นำโรงเรียนแห่งชาติ (National College for School Leadership) ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และภาควิชาบริหารธุรกิจ วิทยาเขตจูบิลีได้รับรางวัลอนุรักษ์พลังงานเมื่อ พ.ศ. 2548[8] จุดเด่นในวิทยาเขตประกอบด้วยเสาแดงแอสไปร์ (Aspire) ซึ่งเป็นประติมากรรมทำด้วยเหล็กทาสีแดงสูง 60 เมตร วิทยาเขตจูบิลีได้รับการต่อเติมอาคาร โดยล่าสุดเป็นอาคารที่ออกแบบโดยเคน ชัทเทิลเวิร์ท (Ken Shuttleworth) ซึ่งเป็นผู้ออกแบบอาคารเกอร์คิน (Gherkin) ในกรุงลอนดอน ด้วยหมายจะทำให้วิทยาเขตแห่งนี้ได้รับความสนใจ แต่ประชาชนกลับลงคะแนนให้เป็นอาคารที่ออกแบบได้แย่อันดับสองของประเทศ[9]

ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2557 อาคารแกล็กโซสมิทไคลน์ ขณะกำลังก่อสร้างได้ถูกไฟไหม้เสียหาย[10][11]

 
อาคารพอร์ตแลนด์ ใช้เป็นที่ตั้งสโมสรนักศึกษาและศูนย์บริการนักศึกษา

วิทยาเขตขนาดเล็ก

แก้

มหาวิทยาลัยทำการเรียนการสอนสาขาแพทย์เฉพาะทาง อาทิ เวชศาสตร์ทางเดินหายใจ เวชศาสตร์โรคหัวใจล้มเหลว วิทยาเนื้องอก กายภาพบำบัด และสาธารณสุข ที่โรงพยาบาลนอตทิงแฮมเบสต์วูด ทางตอนเหนือของตัวเมือง ส่วนสาขาชีวศาสตร์ สาขาสัตวแพทยศาสตร์ ทำการสอนที่วิทยาเขตซัตตันโบนิงตัน (Sutton Bonington Campus) ในท้องที่อำเภอรัชคลิฟฟ์ (Rushcliffe) ติดกับจังหวัดเลสเตอร์เชอร์ ห่างจากใจกลางเมืองไปทางใต้ 19 กิโลเมตร

วิทยาเขตคิงส์มีโดว์ (King's Meadow Campus) ตั้งไม่ห่างจากวิทยาเขตยูนิเวอร์ซิตีพาร์กมากนัก เดิมทีเป็นสถานีส่งวิทยุโทรทัศน์เซนทรัลอินดีเพนเดนซ์ ปัจจุบันใช้เป็นสถานฝึกสอนด้านการถ่ายภาพยนตร์และข่าวโทรทัศน์

วิทยาเขตต่างประเทศ

แก้

นอกเหนือจากที่ตั้งในอำเภอนอตทิงแฮมแล้ว มหาวิทยาลัยยังได้จัดตั้งวิทยาเขตต่างประเทศที่รัฐสลังงอ ประเทศมาเลเซีย (พ.ศ. 2542) และจังหวัดหนิงโป มณฑลเจ้อเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน (พ.ศ. 2548)

วิทยาเขตมาเลเซียของมหาวิทยาลัยได้รับรางวัลพระราชทานสำหรับวิสาหกิจดีเด่น (Queen's Award for Enterprise) เมื่อ พ.ศ. 2544 และรางวัลพระราชทานสำหรับอุตสาหกรรม (ด้านการค้าต่างประเทศ) เมื่อ พ.ศ. 2549[12] ต่อมาได้ย้ายที่ตั้งจากรัฐสลังงอเข้ามายังตอนใต้ของกัวลาลัมเปอร์

วิทยาเขตจีน เปิดดำเนินการเมื่อ พ.ศ. 2548 โดยได้สร้างอาคารปลอดมลพิษแห่งแรกของจีน ต่อมาได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีนตะวันออก จัดตั้งสถานศึกษาชั้นสูงซั่งไห่-นอตทิงแฮม (Shanghai Nottingham Advanced Academy (SNAA)) เพื่อให้การเรียนการสอนร่วมกันในทุกระดับ โดยกำหนดให้นักศึกษาต้องไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮมระยะหนึ่งด้วย[13]

วิชาการ

แก้
 
อาคารมนุษยศาสตร์ที่วิทยาเขตยูนิเวอร์ซิตีพาร์ก
 
อาคารเทรนต์

มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮมเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย และมีอาจารย์ได้รับรางวัลโนเบลแล้วสองท่าน[14] หนึ่งในนั้นคือปีเตอร์ แมนสฟีลด์ (Peter Mansfield) ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาแพทยศาสตร์ประจำปี พ.ศ. 2546 งานวิจัยหลักที่เขาทำเป็นด้านการถ่ายภาพด้วยการสั่นพ้องแม่เหล็ก (Magnetic Resonance Imaging; MRI) นอกจากนี้ เฟรเดอริก คิปปิง (Frederick Kipping) ศาสตราจารย์สาขาเคมี (พ.ศ. 2440 - 2479) ได้ค้นพบโพลิเมอร์ซิลิโคน[15] ไม่เพียงเท่านั้น มหาวิทยาลัยยังได้คิดค้นการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมะเขือเทศ การฝังเครื่องช่วยฟัง (Cochlear Implant) และการจัดการเหตุฉุกเฉินบนอากาศยาน ด้วยเหตุนี้เอง มหาวิทยาลัยได้จัดหาคอมพิวเตอร์กำลังสูงเทราฟลอป 16 เครื่องมาใช้งาน[16]

ภาควิชา 26 ภาคของมหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับ 5 หรือ 5* (ยอดเยี่ยมระดับนานาชาติ) ในการประเมินกำลังวิจัยประจำปี พ.ศ. 2544 (Research Assessment Exercise) โดยสภาทุนวิจัยแห่งสหราชอาณาจักร[17] การประเมินครั้งถัดมาเมื่อ พ.ศ. 2551 มหาวิทยาลัยยังคงได้รับอันดับที่ดีตามเคย คือ ได้กำลังวิจัยอันดับ 7 ของสหราชอาณาจักร[18] ในปีการศึกษา 2552/2553 มหาวิทยาลัยได้รับเงินทุนวิจัยนับ 150 ล้านปอนด์[19] และนับเป็นมหาวิทยาลัยที่ประสบความสำเร็จในการสมัครขอรับทุนวิจัยเป็นอันดับสอง นำหน้ามหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด วิทยาลัยอิมพีเรียลลอนดอน และวิทยาลัยอุดมศึกษาลอนดอน[20]

มหาวิทยาลัยมีความร่วมมือกันกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผลิตบัณฑิตหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต โดยใน 3 ปีแรก (ระดับพรีคลินิก) นิสิตจะศึกษาที่คณะแพทยศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม ส่วน 3 ปีหลัง จะฝึกปฏิบัติระดับคลินิกที่ศูนย์การแพทย์ มศว องครักษ์ ทั้งนี้นิสิตต้องเสียค่าเล่าเรียนให้แก่สถาบันทั้งสองเอง และจะได้รับปริญญาบัตรของสถาบันทั้งสองเมื่อสำเร็จการศึกษา[21][22] นอกจากนี้ มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ยังได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[23] และมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต โดยกำหนดให้นักศึกษาเรียนสองปีแรกที่ มธ. และสองปีหลังที่ UoN หลังสำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาบัตรของทั้งสองสถาบันเช่นกัน

การรับเข้าศึกษา

แก้

จากข้อมูลของสำนักสถิติอุดมศึกษา (Higher Education Statistics Agency; HESA) มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮมมีขนาดใหญ่เป็นอันดับห้าหากนับตามการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษา[24] โดยมีนักศึกษามากถึง 30,000 คน จาก 130 ประเทศทั่วโลก[25]

ในปี พ.ศ. 2543 มหาวิทยาลัยได้รับใบสมัครถึง 49,000 ใบ แต่สามารถรับเข้าศึกษาได้เพียง 5,500 คนเท่านั้น จึงทำให้เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีนักเรียนนิยมเลือกมากที่สุดในสหราชอาณาจักร ในจำนวนนี้ 40% เป็นนักเรียนโรงเรียนเอกชน[26] แนวโน้มเดียวกันนี้พบได้ในมหาวิทยาลัยหลายแห่งได้แก่ มหาวิทยาลัยบริสตอล มหาวิทยาลัยเดอแรม และมหาวิทยาลัยเอดินบะระ ซึ่งมีนักศึกษาฐานะดีจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้มหาวิทยาลัยจึงต้องเปิดสอนภาคฤดูร้อน (ซัมเมอร์สคูล) เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกและนักศึกษาสถาบันอื่นเข้ามาเรียนได้โดยไม่ยึดฐานะ[27]

มหาวิทยาลัยเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีจำนวนนักศึกษามาก โดยมีนักศึกษาทุกระดับมากเป็นอันดับสองรองจากมหาวิทยาลัยเปิดและมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ และมีนักศึกษาต่างชาตินอกสหภาพยุโรปมากที่สุดเป็นอันดับสาม รองจากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์และมหาวิทยาลัยลอนดอน[1]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Table 1 - UK/EU/non-EU students by HE provider". hesa.ac.uk. Higher Education Statistics Agency. 21 January 2014. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.
  2. 2.0 2.1 The University of Nottingham Calendar  . "The University of Nottingham Calendar 2010–11". Nottingham.ac.uk. สืบค้นเมื่อ 2 January 2011.{{cite web}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 "A Brief History of the University". University of Nottingham. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-04. สืบค้นเมื่อ 5 October 2008.
  4. [1]
  5. "360° tour — The University of Nottingham — University Park campus". BBC. สืบค้นเมื่อ 12 May 2007.
  6. "University profiles: University of Nottingham". The Guardian. London. 1 May 2007. สืบค้นเมื่อ 12 May 2007.
  7. "University Park is England's greenest campus". Su.nottingham.ac.uk. 20 July 2009. สืบค้นเมื่อ 2 January 2011.
  8. "Jubilee Campus – The University of Nottingham". Ukcorr.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-28. สืบค้นเมื่อ 2 January 2011.
  9. By dmonk. "The Amenities Building by Make Architects at the University of Nottingham came second in the Carbuncle Award". Thisisnottingham.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-17. สืบค้นเมื่อ 2 January 2011.
  10. "University of Nottingham blaze: Sixty firefighters at scene". BBC News. สืบค้นเมื่อ 13 September 2014.
  11. "Nottingham university fire destroys new multimillion-pound chemistry building". Guardian.
  12. "Malaysia Campus – The University of Nottingham". Nottingham.ac.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-22. สืบค้นเมื่อ 2 January 2011.
  13. "A new joint venture in China for The University of Nottingham". Nottingham.ac.uk. สืบค้นเมื่อ 15 March 2013.
  14. "The University of Nottingham – Undergraduate Study – Nobel winners". Nottingham.ac.uk. สืบค้นเมื่อ 2 January 2011.
  15. "Kipping Silicone Polymers". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-01. สืบค้นเมื่อ 2 September 2012.
  16. "Minerva is "Notts most powerful computer"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-05. สืบค้นเมื่อ 5 June 2013.
  17. "UK Education | Oxbridge research is tops". BBC News. 2001-12-14. สืบค้นเมื่อ 2012-06-04.
  18. "The University of Nottingham – Undergraduate Study – Why Nottingham". Nottingham.ac.uk. สืบค้นเมื่อ 2 January 2011.
  19. "Research funding hits £150m at The University of Nottingham – The University of Nottingham". Nottingham.ac.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-24. สืบค้นเมื่อ 2 January 2011.
  20. "News ArticleUniversity hits record high in research funding". Communications.nottingham.ac.uk. 10 September 2009. สืบค้นเมื่อ 2 January 2011.
  21. "The Joint Medical Programme University of Nottingham, UK and Srinakharinwirot University, Thailand". swu.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-28. สืบค้นเมื่อ 10 February 2015.
  22. "ประกาศ มศว. เรื่อง คัดเลือกหลักสูตร พ.บ. มศว. - นอตติงแฮม" (PDF). 1 สิงหาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  23. "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: โครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสองสถาบัน (TEP)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-24. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  24. "Table 0a — All students by institution, mode of study, level of study, gender and domicile 2006/07" (Microsoft Excel spreadsheet). Higher Education Statistics Agency. สืบค้นเมื่อ 11 April 2008.
  25. University of Nottingham: International Students เก็บถาวร 2008-09-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 23 June 2008.
  26. ในอังกฤษเรียก Public School
  27. "Most Middle Class" (PDF). The Times. London. สืบค้นเมื่อ 27 May 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้