มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์

มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ (อังกฤษ: University of Manchester) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเน้นวิจัยขนาดใหญ่มาก มีชื่อเสียงด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และแพทยศาสตร์ ตั้งอยู่ที่แมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร โดยเป็นการรวมกันระหว่างมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์วิกตอเรียและมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแมนเชสเตอร์ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีนักศึกษาจำนวนมากที่สุดในสหราชอาณาจักรรวมทุกระดับ ระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษาโดยไม่นับมหาวิทยาลัยเปิด (Open University) นอกจากนี้ยังเป็นที่นิยมอย่างมากในบรรดานักศึกษานอกสหภาพยุโรปอีกด้วย[6]

มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์
คติพจน์ละติน: Cognitio, sapientia, humanitas
อังกฤษ: Knowledge, Wisdom, Humanity
ไทย: เสริมสร้างความรู้ เชิดชูปัญญา พัฒนาการครองคน
สถาปนาพ.ศ. 2547 – มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์
สถาบันก่อนหน้า:
พ.ศ. 2499 – มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแมนเชสเตอร์
พ.ศ. 2447 – มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์วิกตอเรีย
พ.ศ. 2423 – มหาวิทยาลัยวิกตอเรีย
พ.ศ. 2394 – วิทยาลัยโอเวนส์
พ.ศ. 2367 – สถาบันกลศาสตร์แมนเชสเตอร์
ทุนทรัพย์£238.4 ล้าน (31 กรกฎาคม 2562)[1]
งบประมาณ£1095.4 ล้าน (2561–2562)[1]
อธิการบดีLemn Sissay MBE[2]
อธิการบดีDame Nancy Rothwell[3]
อาจารย์3,849 คน[4]
ผู้ศึกษา40,250 คน (2561-2562)[5]
ปริญญาตรี26,855 คน (2561-2562){[5]
บัณฑิตศึกษา13,395 คน (2561-2562)[5]
ที่ตั้ง
วิทยาเขตในเมืองและชานเมือง
สีผ้าพันคอ: ม่วงและทอง, องค์กร: ม่วง ทอง และฟ้า
                    

                   
เครือข่ายUniversities Research Association
Sutton 30
กลุ่มรัสเซล
EUA
กลุ่ม N8
NWUA
ACU
Universities UK
เว็บไซต์manchester.ac.uk

มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ และบูรพสถาบันทั้งสอง เป็นสถานที่ทำงานของนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลจำนวนหลายท่าน อาทิ เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด, โจเซฟ จอห์น ทอมสัน, นีลส์ บอร์, เจมส์ แชดวิก ฯลฯ

ประวัติ

แก้

ยุคเริ่มแรก

แก้

มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ถือกำเนิดจากการรวมกันระหว่างมหาวิทยาลัยวิกตอเรียแมนเชสเตอร์ (Victoria University of Manchester) และมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแมนเชสเตอร์ หรือยูมิสต์ (University of Manchester Institute of Science and Technology; UMIST) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 โดยมีการทำความตกลงที่จะรวมสถาบันกันในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2546 [7][8]

มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ฯ มีประวัติย้อนหลังตั้งแต่ พ.ศ. 2367 ซึ่งได้มีการก่อตั้งสถาบันช่างกล (Mechanics' Institute) เพื่อให้ทำการสอนแก่นายช่างฝีมือ ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2456 เพื่อรองรับการเป็นเมืองอุตสาหกรรมแห่งแรกของโลก[9] เมื่อวิทยาลัยเจริญมากขึ้น จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแมนเชสเตอร์ เมื่อ พ.ศ. 2498 [10]

ส่วนมหาวิทยาลัยวิกตอเรีย ก่อตั้งขึ้นโดยเงินที่จอห์น โอเวนส์ (John Owens) พ่อค้าชาวอังกฤษอุทิศให้จำนวนทั้งสิ้น 96,942 ปอนด์ทองคำ (หรือ 5 ล้าน 6 แสนปอนด์ในปัจจุบัน[11]) โดยก่อตั้งเป็นวิทยาลัยชื่อ วิทยาลัยโอเวนส์ ตามนามสกุลเจ้าของเงินทุน มีที่ตั้งอยู่ที่บ้านของริชาร์ด คอบเดน (Richard Cobden) ต่อมาเมื่อวิทยาลัยขยายตัว จึงได้ย้ายออกไปยังถนนออกซฟอร์ด และใช้บ้านดังกล่าวเป็นที่ตั้งของศาลจังหวัดแมนเชสเตอร์แทน ครั้นกิจการของวิทยาลัยเจริญมากขึ้น จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยวิกตอเรีย เมื่อ พ.ศ. 2423[12] ต่อมาได้มีการเติมชื่อเมืองที่ตั้งต่อท้ายเป็น มหาวิทยาลัยวิกตอเรีย ณ แมนเชสเตอร์ เมื่อ พ.ศ. 2446[13][14]

ยุคปัจจุบัน

แก้
 
อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ฯ

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สอง มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติควบรวมมหาวิทยาลัยวิกตอเรียและมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ฯเข้าด้วยกัน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547[15] มีอลัน กิลเบิร์ต (Alan Gilbert) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น เป็นอธิการบดีคนแรก ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2547 จนถึง พ.ศ. 2553[16] หลังจากนั้นมีแนนซี รอทเวลล์ (Nancy Rothwell) เป็นอธิการบดีสืบต่อ

เมื่อ พ.ศ. 2554 คณาจารย์สี่คนของมหาวิทยาลัยได้รับรางวัลโนเบล ได้แก่ แอนเดร เจม (Andre Geim)[17] คอนสแตนติน โนโวเซลอฟ (Konstantin Novoselov) [18] จอห์น ซัลสตัน (John Sulston) และโจเซฟ สติกลิตซ์ (Joseph Stiglitz)

ในปีต่อมา สภาวิจัยวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์กายศาสตร์กายภาพ (Engineering and Physical Sciences Research Council; EPSRC) ได้จัดตั้งสถาบันกราฟีนแห่งชาติที่มหาวิทยาลัย ใช้เงินทุนทั้งสิ้น 45 ล้านปอนด์ โดย 38 ล้านปอนด์มาจากรัฐบาลกลาง ส่วนที่เหลือเป็นของมหาวิทยาลัย[19] เมื่อการจัดตั้งศูนย์สำเร็จ จึงได้รับเงินอีก 23 ล้านปอนด์ จากกองทุนพัฒนาท้องถิ่นยุโรป[20] พร้อมกันนั้น มหาวิทยาลัยโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์กายภาพได้รับเลือกเป็นที่ตั้งศูนย์นานาชาติว่าด้วยวัสดุขั้นสูง ร่วมกับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ วิทยาลัยอิมพีเรียลลอนดอน และมหาวิทยาลัยอิลลินอย[21][22]

ส่วนงาน

แก้

มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์แบ่งออกเป็น 4 คณะวิชา แต่ละคณะมีภาควิชาสังกัด ดังนี้[23]

  • คณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์กายภาพ
    • ภาควิชาวิศวกรรมเคมีและวิทยาศาสตร์วิเคราะห์
    • ภาควิชาเคมี
    • ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
    • ภาควิชาโลกศาสตร์ บรรยากาศ และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
    • ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
    • ภาควิชาวัสดุศาสตร์
    • ภาควิชาคณิตศาสตร์
    • ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล อากาศยาน และโยธา
    • ภาควิชาฟิสิกส์และดาราศาสตร์
  • คณะมนุษยศาสตร์
    • ภาควิชาศิลปะ ภาษาและวัฒนธรรม
    • ภาควิชาสิ่งแวดล้อม ศึกษาศาสตร์ และพัฒนศาสตร์
      • สถาบันนโยบายและการจัดการการพัฒนา
    • ภาควิชานิติศาสตร์
    • ภาควิชาบริหารธุรกิจ
    • ภาควิชาสังคมศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
  • คณะแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์มนุษย์
    • ภาควิชาทันตแพทยศาสตร์
    • ภาควิชาแพทยศาสตร์
    • ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ การผดุงครรภ์ และสังคมสงเคราะห์
    • ภาควิชาเภสัชศาสตร์
    • ภาควิชาจิตวิทยา
    • สถาบันสมอง พฤติกรรม และสุขภาพจิต
    • สถาบันวิทยาศาสตร์มะเร็ง
    • สถาบันวิทยาศาสตร์หัวใจและหลอดเลือด
    • สถาบันการพัฒนามนุษย์
    • สถาบันการอักเสบและการซ่อมแซมร่างกาย
    • สถาบันสาธารณสุขศาสตร์

ที่ตั้ง

แก้

มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์มีวิทยาเขตหลักสามแห่งในใจกลางเมือง (ท้องที่อำเภอแมนเชสเตอร์) ได้แก่[24]

  • วิทยาเขตถนนแซควิลล์ (Sackville Street Campus) ตั้งที่ถนนแซควิลล์ วิทยาเขตนี้เป็นส่วนที่อยู่ใกล้ใจกลางเมืองที่สุด
  • วิทยาเขตถนนออกซฟอร์ด (Oxford Road Campus) ตั้งที่ถนนออกซฟอร์ด

ทั้งสองวิทยาเขตมีมหาวิทยาลัยนครแมนเชสเตอร์ (Manchester Metropolitan University) และอาคารที่มิใช่ส่วนงานของมหาวิทยาลัยคั่นกลาง นอกจากนี้ ยังมีวิทยาเขตฟอลโลว์ฟีลด์ (Fallowfield Campus) ตั้งห่างจากวิทยาเขตทั้งสองลงไป 3 กิโลเมตร ใช้เป็นที่ตั้งหอพักนักศึกษาและอาจารย์

นอกจากที่ตั้งทั้งสามแห่งในเขตจังหวัดแมนเชสเตอร์แล้ว มหาวิทยาลัยยังมีหอดูดาวจอร์เดรลล์ แบงก์ (Jordrell Bank Observatory) ที่จังหวัดเชชเชอร์ และศูนย์การประชุมที่ตำบลมอสตัน อำเภอแมนเชสเตอร์ จังหวัดแมนเชสเตอร์[25]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Financial statements for the year ended 31 July 2021". University of Manchester. สืบค้นเมื่อ 2 February 2022.
  2. "Lemn Sissay announced as next University of Manchester Chancellor". The University of Manchester. 22 June 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-16. สืบค้นเมื่อ 25 April 2017.
  3. ROTHWELL, Dame Nancy (Jane). ukwhoswho.com. Who's Who. Vol. 2015 (online Oxford University Press ed.). A & C Black, an imprint of Bloomsbury Publishing plc.   (ต้องรับบริการ)
  4. Facts and Figures, The University of Manchester, 2013, p24
  5. 5.0 5.1 5.2 แม่แบบ:HESA citation
  6. "Table 1 - UK/EU/non-EU students by HE provider". hesa.ac.uk. Higher Education Statistics Agency. 21 January 2014. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.
  7. "Manchester merger creates UK's largest university". London: The Guardian. 6 March 2003. สืบค้นเมื่อ 28 February 2012.
  8. Carter, Helen (7 March 2003). "Super university for Manchester". London: The Guardian. สืบค้นเมื่อ 28 February 2012.
  9. "Our History". The University of Manchester. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-07. สืบค้นเมื่อ 6 November 2014.
  10. "History and Origins". The University of Manchester. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-02. สืบค้นเมื่อ 17 August 2011.
  11. "National Archives Currency Converter ~ 1850". สืบค้นเมื่อ 29 April 2012.
  12. Charlton, H. B. (1951). Portrait of a university, 1851–1951. Manchester, England: Manchester University Press. pp. x, 185.
  13. Charlton, H. B. (1951). Portrait of a university, 1851–1951. Manchester, England: Manchester University Press. pp. x, 185.
  14. ขณะนั้น แมนเชสเตอร์มีฐานะเป็นอำเภอในจังหวัดแลงคาเชอร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 จึงได้แยกตัวมาตั้งเป็นจังหวัดอิสระ ชื่อ เกรตเตอร์แมนเชสเตอร์ (Greater Manchester) แบ่งย่อยออกเป็น 10 อำเภอ
  15. "University gets royal approval". BBC News. 22 October 2004. สืบค้นเมื่อ 28 February 2012.
  16. "President and Vice-Chancellor to retire". University of Manchester. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-29. สืบค้นเมื่อ 16 January 2010.
  17. GEIM, Sir Andre (Konstantin). ukwhoswho.com. Who's Who. Vol. 2015 (online edition via Oxford University Press ed.). A & C Black, an imprint of Bloomsbury Publishing plc.   (ต้องรับบริการ)
  18. NOVOSELOV, Sir Konstantin S. ukwhoswho.com. Who's Who. Vol. 2015 (online Oxford University Press ed.). A & C Black, an imprint of Bloomsbury Publishing plc.   (ต้องรับบริการ)
  19. "EPSRC Press Release". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-05. สืบค้นเมื่อ 3 February 2012.
  20. "Huge funding boost for graphene Institute". manchester.ac.uk. 13 March 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-29. สืบค้นเมื่อ 8 February 2015.
  21. Gosden, Emily (7 August 2012). "BP invests in UK research to help it drill deeper". London: The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 14 August 2012.
  22. "Research facility will explore materials use in energy sector". The Engineer. 7 August 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-17. สืบค้นเมื่อ 14 August 2012.
  23. "Faculties and Schools". manchester.ac.uk. สืบค้นเมื่อ 8 February 2015.
  24. "Campus Map".
  25. Manchester New Technology Institute. "Locations--One Central Park". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-21. สืบค้นเมื่อ 5 July 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้