มหาวิทยาลัยเปิด (สหราชอาณาจักร)

มหาวิทยาลัยเปิดแห่งสหราชอาณาจักร หรือ มหาวิทยาลัยเปิด (Open University) เป็นสถาบันอุดมศึกษาขนาดใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2512 ณ ห้องส่งเดิม สถานีโทรทัศน์บีบีซี ที่เนินอะเล็กซานดราพาเลส ทางตอนเหนือของกรุงลอนดอน รับนักศึกษาครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2514[2] ปัจจุบันตั้งที่เมืองมิลตันคีนส์ แคว้นบักกิงแฮมเชอร์

มหาวิทยาลัยเปิดแห่งสหราชอาณาจักร
ชื่ออื่นOUK
คติพจน์อังกฤษ: Learn and Live
ไทย: เรียนรู้เพื่อชีวิต
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาล
สถาปนาพ.ศ. 2512
ผู้สถาปนาแฮโรลด์ วิลสัน[1]
เจนนี ลี[1]
Walter Perry[1]
Peter Venables[1]
ที่ตั้ง,
สหราชอาณาจักร
วิทยาเขตชนบท
สี
              
เว็บไซต์www.open.ac.uk
www.open.edu

มหาวิทยาลัยเปิดเป็นสถาบันอุดมศึกษาประเภทไม่จำกัดรับ นักศึกษาส่วนใหญ่ศึกษาระดับปริญญาตรีผ่านระบบการศึกษาทางไกล นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาจำนวนหนึ่งศึกษาในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก[3] รวมไปถึงนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาซึ่งศึกษาเต็มเวลาในบริเวณของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเปิดได้รับรางวัลการสอนดีเด่นและนวัตกรรมดิจิทัลจากหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน เมื่อปี พ.ศ. 2561[4] มหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้สร้างนักบริหารมากกว่ามหาวิทยาลัยอื่นในสหราชอาณาจักร รวมถึง มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ วิทยาลัยอุดมศึกษาลอนดอน และ วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ลอนดอน[5] อดีตนายกรัฐมนตรี นายกอร์ดอน บราวน์ นักดาราฟิสิกส์ โจเซลิน เบลล์ เบอร์เนลล์ (Jocelyn Bell Burnell) พิธีกรข่าว แอนนา ฟอร์ด และนักแสดงหญิง เกลนดา แจ็กสัน ต่างได้รับการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเปิดทั้งสิ้น[6][7]

ประวัติ แก้

 
พระบรมราชโองการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเปิดแห่งสหราชอาณาจักร

มหาวิทยาลัยเปิด จัดตั้งโดยรัฐบาลพรรคแรงงาน ซึ่งนำโดยนายแฮโรลด์ วิลสัน นายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2508 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นางเจนนี ลี (Jennie Lee) ได้ริเริ่มให้มีการวางแผนจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างมีคุณภาพ และได้จัดตั้งคณะกรรมการวางแผนจัดตั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบด้วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ นักการศึกษา นักสื่อสารมวลชน โดยมีนายปีเตอร์ เวนาเบิลส์ (Peter Venables) เป็นประธานคณะกรรมการ นอกจากนี้ยังมีความช่วยเหลื่อจากฝ่ายวิศวกรรมของสถานีโทรทัศน์บีบีซี โดยนายเจมส์ เรดมอนด์ (James Redmond) รองผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมในสมัยนั้น เป็นผลทำให้การถ่ายทอดรายการสอนผ่านทางโทรทัศน์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้น นายแฮโรลด์ วิลสัน มีวิสัยทัศน์ว่ามหาวิทยาลัยเปิดแห่งนี้จักเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำให้สังคมอังกฤษทันสมัยยิ่งขึ้น ทำให้เกิดการสร้างโอกาส ความเท่าเทียม และการขยับเคลื่อนของสังคม อันนำไปสู่สังคมที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น การจัดตั้งมหาวิทยาลัยเปิดในระยะแรกเต็มไปด้วยการตั้งข้อสงสัยและการคัดค้าน ทั้งภายในและภายนอกพรรคแรงงาน เจ้าหน้าที่ระดับสูงในกระทรวงศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์ กระทรวงการคลัง รัฐมนตรีคนอื่น รวมไปถึงนักสื่อสารมวลชน อย่างไรก็ดี นางเจนนี ลี กลับไม่สนใจในข้อคัดค้าน อาศัยแรงสนับสนุนของนายกรัฐมนตรี จนกระทั่งสามารถจัดตั้งมหาวิทยาลัยเปิดได้สำเร็จ มีการกล่าวว่า มหาวิทยาลัยแม้จะใช้ค่าจัดตั้งสูงกว่าที่คิด แต่ก็ไม่สามารถยกเลิกการจัดตั้งมหาวิทยาลัยได้เลย[8] มหาวิทยาลัยเปิดได้รับพระราชทานตราตั้งผ่านทางคณะองคมนตรี เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2512[9]

หลักสูตร แก้

มหาวิทยาลัยเปิด เปิดสอนหลักสูตรต่าง ๆ ในด้านวิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ นิติศาสตร์ และ วิศวกรรมศาสตร์ ในอดีตเปิดสอนเฉพาะหลักสูตรศิลปศาสตร์เท่านั้น นักศึกษาปริญญาตรีต้องลงทะเบีบนให้ได้หน่วยกิตจำนวน 300 หน่วยกิตอังกฤษ (เทียบเท่า 3000 ชั่วโมงเรียน) หรือ 360 หน่วยกิตอังกฤษ หากต้องการปริญญาเกียรตินิยม โดยนักศึกษาจะสามารถลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 60 หน่วยกิตต่อปี ในขณะที่นักศึกษาปริญญาตรีเต็มเวลาในมหาวิทยาลัยแห่งอื่นอาจลงทะเบียนได้ 120 หน่วยกิตต่อปี นักศึกษามหาวิทยาลัยเปิดคนใดต้องการลงทะเบียนเกิน 120 หน่วยกิตต้องขออนุญาตเสียก่อน[10] นักศึกษาที่มีความสนใจหลากหลาย จะเลือกเรียนหลักสูตรผสมผสานด้วยตนเองก็ย่อมทำได้ ต่างจากมหาวิทยาลัยอื่นที่ทำไม่ได้[11] หลักสูตรเปิดผสมผสานถือเป็นหลักสูตรที่เป็นที่นิยมที่สุดของมหาวิทยาลัยเปิด[12]

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยเปิด ยังเปิดสอนหลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ในลักษณะเรียนทางไกลบางเวลา (สาขาศิลปะ) หรือเรียนเต็มเวลา (เฉพาะสาขาวิทยาศาสตร์และสาขาสังคมศาสตร์บางสาย) รวมถึงยังมีหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต

ดูเพิ่ม แก้

มหาวิทยาลัยไม่จำกัดรับในประเทศไทย

  • มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช - เป็นมหาวิทยาลัยเปิด
  • มหาวิทยาลัยรามคำแหง - ไม่ใช่มหาวิทยาลัยเปิด แต่เป็นมหาวิทยาลัยกึ่งเปิดหรือตลาดวิชา มีการเรียนการสอนบางสาขาวิชาในห้องเรียนตามปกติ และมีการเรียนการสอนทางไกลซึ่งนักศึกษาเข้าฟังบรรยายในห้องเรียนได้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "History of The Open University". The Open University. 2018-06-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-13. สืบค้นเมื่อ 2018-06-13.
  2. "Brief history of the OU". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-17. สืบค้นเมื่อ 2006-10-08.
  3. "Study at the OU: What you can study if you're resident outside the UK". สืบค้นเมื่อ 22 September 2010.
  4. Hall, Rachel (2018-04-24). "Guardian University Awards 2018: the winners". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-06-14.
  5. "OU produces more CEOs than any other UK university". School of Computing and Communications (ภาษาอังกฤษ). 2019-11-28. สืบค้นเมื่อ 2020-11-20.
  6. "Facts and figures". About The Open University (ภาษาอังกฤษ). 2017-11-22. สืบค้นเมื่อ 2020-11-19.
  7. "Dame Jocelyn Bell Burnell wins physics prize". OU News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-09-06. สืบค้นเมื่อ 2021-01-30.
  8. Pete Dorey, "‘Well, Harold Insists on Having It!’—The Political Struggle to Establish The Open University, 1965–67." Contemporary British History 29#2 (2015): 241–272.
  9. Hollis, Patricia (2014). Jennie Lee: a life. 2nd edition. Oxford: Oxford University Press. ISBN 9780571320912.
  10. "OU regulations 8.5.2 stipulating limit on maximum concurrent modules" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 ธันวาคม 2006. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2006.
  11. "Open by Degrees: A Case of Flexibility or Personalization?" (PDF).{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. Phillips, Tricia; University, Open (2013-01-22). "Celebrity students: The Open University Hall of Fame". mirror (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-01-26.
  • Dorey, Pete. "‘Well, Harold Insists on Having It!’—The Political Struggle to Establish The Open University, 1965–67." Contemporary British History 29#2 (2015): 241–272.
  • Perry, Walter. "The Open University" Proceedings of the Royal Institution of Great Britain. (1971), Vol. 44 Issue 203, pp 95–112.
  • Purvis, June. "Some problems of teaching and learning within the Open University." Educational Research 21#3 (1979): 163–177.
  • Tunstall, Jeremy. The Open University Opens (1974).
  • Dalgleish, Tim. Lifting It Off The Page: An Oral Portrait of OU People 1995, The Open University.

52°01′30″N 0°42′20″W / 52.02500°N 0.70556°W / 52.02500; -0.70556