สุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์

สุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์ (ยาวี: سلطان جوهر) เป็นตำแหน่งผู้ปกครองของรัฐยะโฮร์ ประเทศมาเลเซีย ในอดีต สุลต่านมีอำนาจเด็ดขาดเหนือรัฐและได้รับการถวายคำแนะนำจากเบนดาฮารา แต่ในปัจจุบันบทบาทของเบนดาฮาราถูกแทนที่โดยเมินเตอรีเบอซาร์ หรือมนตรีข้าหลวง (Menteri Besar) ด้วยระบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญผ่านรัฐธรรมนูญแห่งรัฐยะโฮร์ สุลต่านเป็นประมุขแห่งรัฐยะโฮร์ตามรัฐธรรมนูญ สุลต่านมีกองกำลังทหารอิสระของพระองค์เอง คือ กองกำลังทหารหลวงยะโฮร์ (อัสการ์ ทิมบาลัน เซเตีย เนเกรี ยะโฮร์) สุลต่านยังเป็นประมุขของศาสนาอิสลามในรัฐยะโฮร์ด้วย[1]

สุลต่านรัฐยะโฮร์
รัฐ
ตราประจำรัฐ
อยู่ในราชสมบัติ
สุลต่านอิบราฮิม อิสมาอิล
ตั้งแต่ 23 มกราคม ค.ศ. 2010
รายละเอียด
พระราชอิสริยยศฮิสมาเจสตี สุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์
กษัตริย์องค์แรกสุลต่านมะห์มุด ชาห์
สถาปนาเมื่อค.ศ. 1511

รายพระนามสุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์

แก้
สุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์
ลำดับ พระนาม ครองราชย์
1 สุลต่านมะห์มุด ชาห์ 1511 – 1528
2 สุลต่านอัลอุดดิน เรียยาด ชาห์ที่ 2 1528 – 1564
3 สุลต่านมูซาฟาร์ ชาห์ที่ 2 1564 – 1579
4 สุลต่านอับดุล จาลิล ชาห์ที่ 1 1579 – 1580
5 สุลต่านอลี จาลลา อับดุล จาลิล ชาห์ที่ 2 1581 – 1597
6 สุลต่านอัลอุดดิน เรียยาด ชาห์ที่ 3 1597 – 1615
7 สุลต่านอับดุลเลาะห์ มายาด ชาห์ 1615 – 1623
8 สุลต่านอับดุล จาลิล ชาห์ที่ 3 1623 – 1677
9 สุลต่านอิบราฮิม ชาห์ แห่งยะโฮร์ 1677 – 1685
10 สุลต่านมะห์มุด ชาห์ที่ 2แห่งยะโฮร์ 1685 – 1699
11 สุลต่านอับดุล จาลิลที่ 4 1699 – 1720
12 สุลต่านอับดุล จาลิล ราห์มาด ชาห์ 1718 – 1722
13 สุลต่านสุไลยมาน บาดรุน อลัม ชาห์ 1722 – 1760
14 สุลต่านอับดุล จาลิล มุดซัม ชาห์ 1760 – 1761
15 สุลต่านฮะมัด เรียยาด ชาห์ 1761 – 1761
16 สุลต่านมะห์มุด ชาห์ที่ 3 1761 – 1812
17 สุลต่านอับดุล ราห์มาน มุดซัม ชาห์ 1812 – 1819
18 สุลต่านฮุสเซียน ชาห์ 1819 – 1835
19 สุลต่านอลี 1835 – 1877
20 รายาเตเมงกุง ตุน เดียง อิบราฮิม 1855 – 1862
21 สุลต่านอบู บาคาร์ 1862 – 1895
22 สุลต่านอิบราฮิม 1895 – 1959
23 สุลต่านอิสมาอิล 1959 – 1981
24 สมเด็จพระราชาธิบดีอิสกันดาร์ 1981 – 2010
25 สมเด็จพระราชาธิบดีอิบราฮิม อิซมาอิล 2010 – ปัจจุบัน

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Wong Chun Wai (27 September 2017). "Dressing down for launderette". The Star. สืบค้นเมื่อ 28 June 2018.