สุลต่านอาบูบาการ์แห่งยะโฮร์
สุลต่านอาบูบาการ์แห่งยะโฮร์ (อังกฤษ: Abu Bakar, Sultan of Johor; มลายู: Sultan Sir Abu Bakar Al-Khalil ibni Al-Marhum Tun Temenggung Raja Daeng Ibrahim, المرحوم سلطان سير ابو بكر ابن المرحوم تماڠڬوڠ دايڠ إبراهيم سري مهاراج جوهر) พระองค์เป็นผู้สถาปนาราชวงศ์สุลต่านแห่งยะโฮร์ใน พ.ศ. 2428 ซึ่งเป็นต้นราชวงศ์ที่ปกครองยะโฮร์มาจนถึงปัจจุบัน โดยแยกตัวออกมาจากอาณาจักรยะโฮร์-เรียว พระองค์เป็นชาวมลายูหัวสมัยใหม่และสามารถต้านทานการขยายอำนาจของอังกฤษไว้ได้ระยะหนึ่ง พระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2438 ด้วยโรคปอดบวมที่ประเทศอังกฤษ[1]
สุลต่านอาบูบาการ์แห่งยะโฮร์ | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อัล-คะลีล (ผู้เป็นที่รัก) สุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์ | |||||||||
สุลต่านอาบูบาการ์ | |||||||||
สุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์ | |||||||||
ครองราชย์ | 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1886 – 4 มิถุนายน ค.ศ. 1895 | ||||||||
ราชาภิเษก | 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1886 | ||||||||
ก่อนหน้า | สุลต่านอาลีแห่งยะโฮร์ | ||||||||
ถัดไป | สุลต่านอิบราฮิมแห่งรัฐยะโฮร์ | ||||||||
มหาราชาแห่งรัฐยะโฮร์ | |||||||||
ครองราชย์ | 30 มิถุนายน ค.ศ. 1868 – 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1886 | ||||||||
ก่อนหน้า | เตอเมิงกง แดง อิบราฮีม มหาราชาแห่งรัฐยะโฮร์ (โดยพฤตินัย) | ||||||||
ถัดไป | (หลังล้มเลิก) สุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์ | ||||||||
เตอเมิงกงแห่งรัฐยะโฮร์ | |||||||||
ครองราชย์ | 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1862 – 29 มิถุนายน ค.ศ.1868 | ||||||||
ก่อนหน้า | เตอเมิงกง แดง อิบราฮีม | ||||||||
ถัดไป | (หลังล้มเลิก) มหาราชาแห่งรัฐยะโฮร์ | ||||||||
ประสูติ | 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1833 อิสตานาลามา, เตอลุกเบอลางา, สิงคโปร์, นิคมช่องแคบ | ||||||||
สวรรคต | 4 มิถุนายน ค.ศ. 1895 เดอะไบเลย์สโฮเทล, เคนซิงตันใต้, ลอนดอน, สหราชอาณาจักร | (62 ปี)||||||||
ฝังพระศพ | 7 กันยายน ค.ศ. 1895[1] มากัมมะฮ์มูดียะฮ์, โจโฮร์บารู, รัฐยะโฮร์ | ||||||||
คู่อภิเษก | วันจิก บินตี มูฮัมมัด ตาฮิร ซูบัยดะฮ์ บินตี อับดุลเลาะฮ์ ฟาติมะฮ์ บินตี อับดุลเลาะฮ์ คอดีจะฮ์ คานุม | ||||||||
พระราชบุตร | 1. อิบราฮีมแห่งรัฐยะโฮร์ (ตุนกู มะฮ์โกตา แห่งรัฐยะโฮร์) 2. ตุนกู มาเรียม 3. ตุนกู เบอซัร ปูตรี 4. ตุนกู อาซีซะฮ์ 5. ตุนกู ฟาตีมะฮ์[2][fn 1] | ||||||||
| |||||||||
ราชวงศ์ | เตอเมิงกง | ||||||||
พระราชบิดา | เตอเมิงกง แดง อิบราฮีม | ||||||||
พระราชมารดา | จิก งะฮ์[3] | ||||||||
ศาสนา | ซุนนี |
ประวัติ
แก้พระองค์ประสูติในตระกูลขุนนางตำแหน่งเตเมิงกุงแห่งอาณาจักรยะโฮร์-เรียวเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2375 ปู่ของพระองค์คือเตเมิงกุงอับดุลระห์มานซึ่งเป็นผู้ยินยอมให้อังกฤษเข้ามาตั้งศูนย์การค้าที่สิงคโปร์เมื่อ พ.ศ. 2361 และสนับสนุนให้เจ้าชายฮุสเซนขึ้นเป็นสุลต่านแห่งยะโฮร์-เรียว พระองค์ได้ตำแหน่งเตเมิงกุงแห่งยะโฮร์ใน พ.ศ. 2405 ซึ่งเป็นช่วงที่อังกฤษขยายอำนาจเข้ามาในคาบสมุทรมลายูอย่างจริงจัง พระองค์เปิดกว้างให้กับการค้ากับต่างชาติ และเดินทางไปต่างประเทศหลายครั้ง และได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียใน พ.ศ. 2409 พระองค์ได้พยายามที่จะปฏิรูประบบการปกครองและพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจ โดยจัดตั้งสภาที่ปรึกษา แบ่งหน่วยงานเป็นกระทรวง ทบวง กรม สนับสนุนการลงทุนของพ่อค้าชาวจีนและสามารถควบคุมไม่ให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวมลายูกับชาวจีนที่จะเป็นข้ออ้างให้อังกฤษเข้ามาแทรกแซงได้ ต่อมา พระองค์ได้เป็นมหาราชาแห่งยะโฮร์และได้เป็นที่ปรึกษาของกลุ่มผู้ครองแคว้นชาวมลายูเชื้อสายมีนังกาเบาใน พ.ศ. 2421 แต่บทบาทของพระองค์ก็ถูกลดทอนลงหลังพ.ศ. 2423 เพราะอังกฤษตั้งเป็นรัฐเนอเกอรีเซิมบีลันขึ้นแทน
ใน พ.ศ. 2428 พระองค์ได้สถาปนาราชวงศ์สุลต่านแห่งยะโฮร์ขึ้นหลังจากที่สุลต่านอาลีแห่งอาณาจักรยะโฮร์-เรียวสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. 2420 โดยสถาปนาเมืองท่าในแคว้นยะโฮร์ขึ้นเป็นเมืองหลวงชื่อโจโฮร์บะฮ์รูแปลว่ายะโฮร์ใหม่ ต่อมา ใน พ.ศ. 2433 อังกฤษสามารถเข้ามาปกครองรัฐเปรัก เซอลาโงร์ เนอเกอรีเซิมบีลัน และปะหังได้ และพยายามบีบให้ยะโฮร์เข้ามาเป็นรัฐในอารักขาเช่นเดียวกับรัฐอื่น ๆ พระองค์ได้พยายามที่จะรักษาสถานภาพของยะโฮร์ และได้เดินทางไปยังลอนดอนใน พ.ศ. 2428 เพื่อทำสนธิสัญญารับประกันความเป็นอิสระของยะโฮร์และยอมรับว่าพระองค์เป็นสุลต่าน ทำให้การขยายตัวของอาณานิคมช่องแคบหยุดชะงักตลอดรัชสมัยของพระองค์
ในช่วงท้ายของพระชนม์ชีพ พระองค์พยายามวางรากฐานให้ยะโฮร์เป็นรัฐอิสระต่อไป โดยตั้งสภาที่ปรึกษาแห่งยะโฮร์ในกรุงลอนดอนโดยมีสมาชิกเป็นชาวอังกฤษที่สนับสนุนยะโฮร์ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2438 ทรงประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งยะโฮร์ ซึ่งกำหนดให้ยะโฮร์เป็นรัฐเอกราช มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ห้ามยกดินแดนของรัฐให้ชาติตะวันตก แต่พระองค์ก็เสด็จสวรรคตหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญได้เพียง 2 เดือน แต่ก็สามารถวางรากฐานให้ยะโฮร์รักษาอำนาจการบริหารภายในไว้ได้จนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
อ้างอิง
แก้- ชุลีพร พงศ์สุพัฒน์. สุลต่านอาบูบาการ์แห่งยะโฮร์ ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: เอเชีย เล่ม 1 อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กทม.ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. หน้า 33-36
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "fn" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="fn"/>
ที่สอดคล้องกัน