โจโฮร์บะฮ์รู

นครและเมืองหลวงของรัฐยะโฮร์ ประเทศมาเลเซีย

โจโฮร์บะฮ์รู[4] หรือ ยะโฮร์บาฮ์รู[4] (มลายู: Johor Bahru) เป็นที่รู้จักในชื่อย่อว่า เจบี (มลายู: JB) เป็นเมืองหลวงของรัฐยะโฮร์ ตั้งอยู่ทางใต้สุดของคาบสมุทรมลายู ซึ่งอยู่ทางเหนือของช่องแคบยะโฮร์ และอยู่ตรงข้ามกับนครรัฐสิงคโปร์ นครนี้มีประชากร 1,306,099 คนในพื้นที่ 391.25 ตารางกิโลเมตร นครโจโฮร์บะฮ์รูตั้งติดกับอิซกันดาร์ปูเตอรีกับปาซีร์กูดัง เมื่อรวมพื้นที่ทั้งสองเมืองทำให้เป็นเมืองใหญ่อันดับที่สองของประเทศมาเลเซียที่มีประชากร 2,246,712 คน[5][6][7]

โจโฮร์บะฮ์รู

Johor Bahru
นครโจโฮร์บะฮ์รู
Bandaraya Johor Bahru
การถอดเสียงอักษรอื่น ๆ
 • ยาวีجوهر بهرو
 • จีน新山
 • ทมิฬஜொகூர் பாரு
Jokūr Pāru (ทับศัพท์)
จากบน ซ้ายไปขวา:
ตึกระฟ้าใจกลางเมืองในเวลากลางคืน, ทางหลวงยะโฮร์-สิงคโปร์และโจโฮร์บะฮ์รูเซ็นตรัล ศูนย์กลางการขนส่งใน Southern Integrated Gateway, ตึกระฟ้าของใจกลางนคร, แหล่งนันทนาการฮูตันบันดาร์, แหล่งนันทนาการอ่าวดางา, อาคารสุลต่านอีบราฮิม, มัสยิดสุลต่าน อาบู บาการ์ และ Figure Museum
ธงของโจโฮร์บะฮ์รู
ธง
โลโกอย่างเป็นทางการของโจโฮร์บะฮ์รู
ตรา
สมญา: 
เจบี,
บันดาร์รายาเซอลาตัน (นครทางใต้)
คำขวัญ: 
Johor Bahru Bandar Raya Bertaraf Antarabangsa, Berbudaya dan Lestari
(โจโฮร์บะฮ์รู นครระดับนานาชาติ มีวัฒนธรรม และความยั่งยืน)
แผนที่
แผนที่แบบโต้ตอบแสดงที่ตั้งของโจโฮร์บะฮ์รู
โจโฮร์บะฮ์รูตั้งอยู่ในรัฐยะโฮร์
โจโฮร์บะฮ์รู
โจโฮร์บะฮ์รู
ที่ตั้งของโจโฮร์บะฮ์รูในรัฐยะโฮร์
โจโฮร์บะฮ์รูตั้งอยู่ในประเทศมาเลเซีย
โจโฮร์บะฮ์รู
โจโฮร์บะฮ์รู
ที่ตั้งของโจโฮร์บะฮ์รูในประเทศมาเลเซีย
พิกัด: 01°27′20″N 103°45′40″E / 1.45556°N 103.76111°E / 1.45556; 103.76111
ประเทศ มาเลเซีย
รัฐ รัฐยะโฮร์
อำเภอโจโฮร์บะฮ์รู
เขตบริหาร
รายการ
ก่อตั้ง10 มีนาคม ค.ศ. 1855
(ในชื่อ "ตันจุงปูเตอรี")
สถานะเทศบาล1 เมษายน ค.ศ. 1977
สถานะนคร1 มกราคม ค.ศ. 1994
การปกครอง
 • องค์กรสภานครโจโฮร์บะฮ์รู
 • นายกเทศมนตรีNoorazam Osman
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด391.25 ตร.กม. (151.06 ตร.ไมล์)
ความสูง[2]32 เมตร (105 ฟุต)
ประชากร
 (2020)[3]
 • ทั้งหมด858,118 คน
 • ความหนาแน่น2,192 คน/ตร.กม. (5,680 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานมาเลเซีย)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+8 (ไม่ได้สำรวจ)
รหัสไปรษณีย์80xxx ถึง 81xxx
รหัสพื้นที่07
ทะเบียนรถยนต์J
เว็บไซต์www.mbjb.gov.my

โจโฮร์บะฮ์รูได้รับการจัดตั้งใน ค.ศ. 1855 ภายใต้ชื่อ ตันจุงปูเตอรี (Tanjung Puteri) เมื่อรัฐสุลต่านยะโฮร์อยู่ภายใต้อิทธิพลของเตอเมิงกง ดาเอ็ง อีบราฮิม จากนั้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็น "Johore Bahru" ใน ค.ศ. 1862 และกลายเป็นเมืองหลวงของรัฐสุลต่าน หลังย้ายศูนย์กลางบริหารของรัฐสุลต่านจากเตอลกบลางะฮ์ (Telok Blangah) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในสิงคโปร์ตอนใต้[8] ทั้งนี้โจโฮร์บะฮ์รูเองก็เป็นเมืองสำคัญทางอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดทางใต้ของมาเลเซีย

ศัพทมูลวิทยา

แก้

บริเวณที่เป็นโจโฮร์บะฮ์รูในปัจจุบันเคยมีชื่อว่า ตันจุงปูเตอรี (Tanjung Puteri) และเคยเป็นหมู่บ้านชาวประมงที่มีเชื้อสายมลายู ต่อมา เตอเมิงกง ดาเอ็ง อีบราฮิมเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านนี้เป็น อิซกันดาร์ปูเตอรี (Iskandar Puteri) เมื่อเดินทางไปยังพื้นที่นี้ใน ค.ศ. 1858 หลังซื้อดินแดนจากสุลต่านอาลี[9] ก่อนที่สุลต่านอาบู บาการ์เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นโจโฮร์บะฮ์รู (Johor Bahru) หลังเตอเมิงกงเสียชีวิต[8] ฝั่งอังกฤษสะกดชื่อเมืองเป็น Johore Bahru หรือ Johore Bharu[10] แต่รูปสะกดปัจจุบันที่เป็นที่ยอมรับคือ Johor Bahru เนื่องจาก Johore ในภาษามลายูสะกดเป็น Johor (ไม่มีอักษร "e" ท้ายคำ)[11][12] บางครั้งก็มีการสะกดเป็น Johor Baru หรือ Johor Baharu[13][14]

ชุมชนชาวจีนในโจโฮร์บะฮ์รูเคยเรียกนครนี้ว่า "Little Swatow" เนื่องจากพลเมืองชาวจีนส่วนใหญ่เป็นชาวแต้จิ๋วที่มีบรรพบุรุษจากซัวเถา ประเทศจีน พวกเขาเดินทางเข้ามาในบริเวณนี้เมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในสมัยเตอเมิงกง ดาเอ็ง อีบราฮิม[15] อย่างไรก็ตาม นครนี้เป็นที่รู้จักในภาษาจีนว่า ซินชาน หมายถึง "ภูเขาใหม่" (จีน: 新山; พินอิน: Xīnshān) เนื่องจากคำว่า "ภูเขา" อาจเคยหมายถึง "ดินแดน" หรือ "ที่ดิน" และชื่อ "ภูเขาใหม่" ใช้แยกจาก "ภูเขาเก่า" (Jiushan) ที่เคยใช้เรียกพื้นที่กรันจีและเซิมบาวังในประเทศสิงคโปร์ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามช่องแคบยะโฮร์ ซึ่งชาวจีนเคยเพาะปลูกพริกไทยและกะเมียในบริเวณนี้ ก่อนจะย้ายไปโจโฮร์บะฮ์รูเพื่อทำที่ดินปลูกพืชใหม่ใน ค.ศ. 1855[16][17]

ภูมิศาสตร์

แก้
ที่ตั้งของโจโฮร์บะฮ์รูและชานเมือง

โจโฮร์บะฮ์รูตั้งอยู่ริมช่องแคบยะโฮร์ในบริเวณตอนใต้สุดของมาเลเซียตะวันตก[18] นครนี้เคยมีพื้นที่ 12.12 ตารางกิโลเมตร (4.68 ตารางไมล์) ใน ค.ศ. 1933 ก่อนที่จะขยายไปเป็นมากกว่า 220 ตารางกิโลเมตร (85 ตารางไมล์) ใน ค.ศ. 2000[1]

ภูมิอากาศ

แก้
ข้อมูลภูมิอากาศของโจโฮร์บะฮ์รู (ค.ศ. 1974–2000)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 31.0
(87.8)
32.0
(89.6)
32.5
(90.5)
32.8
(91)
32.5
(90.5)
32.1
(89.8)
31.5
(88.7)
31.5
(88.7)
31.5
(88.7)
31.8
(89.2)
31.3
(88.3)
30.6
(87.1)
31.8
(89.2)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 21.9
(71.4)
22.0
(71.6)
22.4
(72.3)
22.9
(73.2)
23.1
(73.6)
22.9
(73.2)
22.4
(72.3)
22.4
(72.3)
22.4
(72.3)
22.6
(72.7)
22.7
(72.9)
22.4
(72.3)
22.5
(72.5)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 162.6
(6.402)
139.8
(5.504)
203.4
(8.008)
232.8
(9.165)
215.3
(8.476)
148.1
(5.831)
177.0
(6.969)
185.9
(7.319)
190.8
(7.512)
217.7
(8.571)
237.6
(9.354)
244.5
(9.626)
2,355.5
(92.736)
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 11 9 13 15 15 12 13 13 13 16 17 15 162
แหล่งที่มา: องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก[19]

การเมืองการปกครอง

แก้

ในฐานะเมืองหลวงของรัฐยะโฮร์ เมืองนี้มีบทบาทสำคัญในด้านสวัสดิการทางเศรษฐกิจของประชากรทั้งหมดของรัฐ ในการเมืองระดับรัฐ พื้นที่ของโจโฮร์บะฮ์รูประกอบด้วย 2 เขตเลือกตั้ง ได้แก่ Larkin และ Stulang ซึ่งจะให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐยะโฮร์จำนวนเขตละ 1 ที่นั่ง ส่วนการเมืองระดับสหพันธ์ พื้นที่ของโจโฮร์บะฮ์รูทั้งหมดจะเป็นเขตเลือกตั้งเดียว (เขต P.160) ที่ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 1 ที่นั่ง[20]

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้
 
สภานครโจโฮร์บะฮ์รู

โจโฮร์บะฮ์รูบริหารงานโดยสภานครโจโฮร์บะฮ์รู นายกเทศมนตรีคนปัจจุบันคือ Dato' Haji Mohd Noorazam bin Dato' Haji Osman ซึ่งเข้ารับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 2021[21][22] โจโฮร์บะฮ์รูได้รับสถานะนครเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1994[23] ครอบคลุมพื้นที่ 220 ตารางกิโลเมตร (85 ตารางไมล์)[1] ปัจจุบันมีสมาชิกสภาจำนวน 11 คนในสภานคร ซึ่งมาจากพรรคอามานะห์ 3 คน, พรรคเบอร์ซาตู 3 คน, พรรคกิจประชาธิปไตย 3 คน, และพรรคยุติธรรมประชาชน 2 คน[24] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2021 อดีตนายกเทศมนตรี Adib Azhari Daud ถูกจับกุมและควบคุมตัวในข้อหารับสินบนจากผู้รับเหมาในขณะที่ดูแลโครงการพัฒนาโจโฮร์บะฮ์รู[25]

ความสัมพันธ์กับนานาชาติ

แก้

มีหลายประเทศที่จัดตั้งสถานกงสุลในโจโฮร์บะฮ์รู เช่น อินโดนีเซีย[26] และสิงคโปร์ ส่วนประเทศญี่ปุ่นปิดสถานกงสุลของตนเองไปตั้งแต่ ค.ศ. 2014[27]

เมืองพี่น้อง

แก้

ปัจจุบัน นครโจโฮร์บะฮ์รูมีเมืองพี่น้อง 7 เมือง:

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 "Background (Total Area)". Johor Bahru City Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2015. สืบค้นเมื่อ 22 August 2015.
  2. "Malaysia Elevation Map (Elevation of Johor Bahru)". Flood Map : Water Level Elevation Map. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2015. สืบค้นเมื่อ 22 August 2015.
  3. "Total population by ethnic group, Local Authority area and state, Malaysia" (PDF). Statistics Department, Malaysia. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 November 2013. สืบค้นเมื่อ 12 March 2012.
  4. 4.0 4.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  5. "Biggest Cities In Malaysia". World Atlas. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 November 2017. สืบค้นเมื่อ 28 November 2016.
  6. "JB can be Malaysia's second-biggest city: Johor Sultan". The Star/Asia News Network. The Straits Times. 24 March 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 November 2017. สืบค้นเมื่อ 29 November 2016.
  7. "Johor Bahru Population 2023". worldpopulationreview.com. สืบค้นเมื่อ 2023-02-08.
  8. 8.0 8.1 "Background of Johor Bahru City Council and History of Johor Bahru" (PDF). Malaysian Digital Repository. 12 March 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 June 2015. สืบค้นเมื่อ 27 June 2015.
  9. Zainol Abidin Idid (Syed.). Pemeliharaan warisan rupa bandar: panduan mengenali warisan rupa bandar berasaskan inventori bangunan warisan Malaysia (ภาษามาเลย์). Badan Warisan Malaysia. ISBN 978-983-99554-1-5.
  10. Margaret W. Young; Susan L. Stetler; United States. Department of State (October 1985). Cities of the world: a compilation of current information on cultural, geograph. and polit. conditions in the countries and cities of 6 continents, based on the Dep. of State's "Post Reports". Gale. ISBN 978-0-8103-2059-8.
  11. Gordon D. Feir (10 September 2014). Translating the Devil: Captain Llewellyn C Fletcher Canadian Army Intelligence Corps In Post War Malaysia and Singapore. Lulu Publishing Services. pp. 378–. ISBN 978-1-4834-1507-9.[ลิงก์เสีย]
  12. Cheah Boon Kheng (1 January 2012). Red Star Over Malaya: Resistance and Social Conflict During and After the Japanese Occupation, 1941–1946. NUS Press. pp. 13–. ISBN 978-9971-69-508-8.
  13. Carl Parkes (1994). Southeast Asia Handbook. Moon Publications. ISBN 9781566910026.
  14. Library of Congress (2009). Library of Congress Subject Headings. Library of Congress. pp. 4017–.
  15. "Keeping the art of Teochew opera alive". New Straits Times. AsiaOne. 24 July 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 July 2015. สืบค้นเมื่อ 24 July 2015.
  16. Heng, Jason (2021). Decoding Sejarah Melayu: The Hidden History of Ancient Singapore. ISBN 9798201638450.
  17. Patricia Pui Huen Lim (2002). Wong Ah Fook: Immigrant, Builder, and Entrepreneur. p. 35. ISBN 9789812323699.
  18. Eric Wolanski (18 January 2006). The Environment in Asia Pacific Harbours. Springer Science & Business Media. pp. 349–. ISBN 978-1-4020-3654-5.
  19. "World Weather Information Service – Johor Bahru". World Meteorological Organisation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2013. สืบค้นเมื่อ 25 March 2015.
  20. "List of Parliamentary Elections Parts and State Legislative Assemblies on Every States". Ministry of Information Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2014. สืบค้นเมื่อ 7 July 2015.
  21. "Sesi 'Clock In' Datuk Bandar MBJB Ke 11 Tuan Haji Amran bin A.Rahman". Johor Bahru City Council (ภาษามาเลย์). 23 July 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-28. สืบค้นเมื่อ 23 July 2018.
  22. "Mayor's Profile". Johor Bahru City Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 September 2015. สืบค้นเมื่อ 3 September 2015.
  23. "Background" (ภาษาอังกฤษ และ มาเลย์). Johor Bahru City Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2015. สืบค้นเมื่อ 4 July 2015.
  24. "MBJB laksana kaedah pentadbiran baharu" (ภาษามาเลย์). Sinar Online. 17 July 2018. สืบค้นเมื่อ 23 July 2018.
  25. "Johor Baru mayor arrested over alleged kickbacks from building projects," The Straits Times, 11 August 2021, retrieved 26 August 2021
  26. "Consulate General of the Republic of Indonesia, Johor Bahru". Consulate General of Indonesia, Johor Bahru, Johor, Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-24. สืบค้นเมื่อ 2 July 2015.
  27. "Consular Office of Japan (Johor Bahru)". Embassy of Japan in Malaysia. สืบค้นเมื่อ 5 May 2017.
  28. Amanda (10 November 2016). "Changzhou, Johor Bahru of Malaysia become sister-cities". JSChina.com.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 May 2017. สืบค้นเมื่อ 5 May 2017.
  29. Liuxi (16 February 2012). "First Cultural Exchange after Shantou and Johor Bahru becomes Sister Cities". Shantou Daily. Shantou Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2015. สืบค้นเมื่อ 1 July 2015.
  30. "International Connections". Shantou Foreign and Oversea Chinese Affairs Bureau. Shantou Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2015. สืบค้นเมื่อ 1 July 2015.
  31. Zazali Musa (10 March 2014). "Johor to strengthen trade and tourism activities with Guandong Province". The Star. สืบค้นเมื่อ 1 July 2015.
  32. 32.0 32.1 Yu Ji (27 August 2011). "Kuching bags one of only two coveted 'Tourist City Award' in Asia". The Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 July 2015. สืบค้นเมื่อ 1 July 2015.
  33. "Malaysian investors in Cotabato City". CotabatoCity.net.ph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 May 2017. สืบค้นเมื่อ 5 May 2017.
  34. Helmut K Anheier; Yudhishthir Raj Isar (31 March 2012). Cultures and Globalization: Cities, Cultural Policy and Governance. SAGE Publications. pp. 376–. ISBN 978-1-4462-5850-7.
  35. "Relations between Turkey and Malaysia". Ministry of Foreign Affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2015. สืบค้นเมื่อ 1 July 2015.

อ่านเพิ่ม

แก้


แหล่งข้อมูลอื่น

แก้