รัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน

เนอเกอรีเซิมบีลัน[3] หรือ เนกรีเซมบีลัน[3] (มลายู: Negeri Sembilan, نݢري سمبيلن) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลตะวันตกของมาเลเซียตะวันตก มีพื้นที่ประมาณ 6,650 ตารางกิโลเมตร คำว่า เนอเกอรีเซิมบีลัน แปลว่า "เก้ารัฐ" สืบเนื่องจากในสมัยก่อนแบ่งการปกครองเป็นเก้าอำเภอ มีเมืองหลวงชื่อ เซอเริมบัน เป็นเมืองท่าที่มีชายฝั่งทะเลสวยงาม เหมาะแก่การพักผ่อน

เนอเกอรีเซิมบีลัน

Negeri Sembilan
เนอเกอรีเซิมบีลันดารุลคูซุซ
Negeri Sembilan Darul Khusus
การถอดเสียงต่าง ๆ
 • มลายูNegeri Sembilan (รูมี)
نݢري سمبيلن(ยาวี)
ธงของเนอเกอรีเซิมบีลัน
ธง
ตราราชการของเนอเกอรีเซิมบีลัน
ตราอาร์ม
เพลง: เบอร์กัตละฮ์ยังดีเปอร์ตวนเบอซาร์เนอเกอรีเซิมบีลัน
   รัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน ใน    ประเทศมาเลเซีย
   รัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน ใน    ประเทศมาเลเซีย
พิกัด: 2°45′N 102°15′E / 2.750°N 102.250°E / 2.750; 102.250พิกัดภูมิศาสตร์: 2°45′N 102°15′E / 2.750°N 102.250°E / 2.750; 102.250
เมืองหลวงเซอเริมบัน
เมืองเจ้าผู้ครองเซอรีเมอนันตี
การปกครอง
 • ประเภทราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา
 • ยังดีเปอร์ตวนเบอซาร์ยังดีเปอร์ตวน เบซาร์ ตวนกู มูห์ริซ
 • มุขมนตรีอามีนุดดิน ฮารุน (PH-PKR)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด6,686 ตร.กม. (2,581 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2015)[2]
 • ทั้งหมด1,098,500 คน
 • ความหนาแน่น160 คน/ตร.กม. (430 คน/ตร.ไมล์)
ดัชนีรัฐ
 • ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (2010)0.795 (สูง) (อันดับที่ 6)
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานมาเลเซีย)
รหัสไปรษณีย์70xxx to 73xxx
รหัสโทรศัพท์06
ทะเบียนพาหนะN
เข้าร่วมสหพันธรัฐมลายูค.ศ. 1895
ญี่ปุ่นยึดครองค.ศ. 1942
เข้าร่วมสหพันธรัฐมาลายาค.ศ. 1948
รับเอกราชเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมาลายา31 สิงหาคม ค.ศ. 1957
เว็บไซต์www.ns.gov.my

องค์ประกอบของกลุ่มชาติพันธุ์ในปี ค.ศ. 2005 ประกอบด้วยชาวมลายู (497,896 คนหรือร้อยละ 54.96), ชาวจีน (220,141 คนหรือร้อยละ 24.3), ชาวอินเดีย (137,588 คนหรือร้อยละ 15.18) และอื่น ๆ (50,267 คนหรือร้อยละ 5.54)

ประวัติ แก้

ประวัติศาสตร์ช่วงต้นของเนอเกอรีเซิมบีลัน ได้มีชาวมีนังกาเบา (Minangkabau) จากเกาะสุมาตรา มาตั้งถิ่นฐานในหุบเขาอันเงียบสงบในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และอยู่ภายใต้การคุ้มครองของรัฐสุลต่านมะละกา จนกระทั่งการล่มสลายของรัฐสุลต่านมะละกาใน ค.ศ. 1511 เมื่อชาวโปรตุเกสเดินทางมาถึง

จากนั้นเนอเกอรีเซิมบีลันได้ตกอยู่ภายใต้การคุ้มครองของรัฐสุลต่านยะโฮร์ จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 18 การโจมตีโดยชาวบูกิส (Bugis) บังคับให้ชาวมีนังกาเบาในเนอเกอรีเซิมบีลันขอความคุ้มครองจากบ้านเกิดของพวกเขา (เกาะสุมาตรา) กษัตริย์สุมาตราได้ส่งสุลต่าน Melewar มาปกครอง

ในปี ค.ศ. 1873 อังกฤษเข้าแทรกแซงทางทหารในสงครามกลางเมืองในซูไงอูจงเพื่อรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของอังกฤษ และกำหนดให้เนอเกอรีเซิมบีลันอยู่ภายใต้การควบคุมของอังกฤษ

ลักษณะภูมิประเทศ แก้

ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่าไม้ ภูเขาสลับซับซ้อนเป็นแนวยาว ประมาณร้อยละ 70 ของพื้นที่ บริเวณชายฝั่งตะวันตกที่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย และช่องแคบมะละกา เป็นพื้นที่ราบลุ่ม

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

รัฐเนอเกอรีเซิมบีลันประกอบด้วย 7 เขต ได้แก่

  1. เจอเลอบู
  2. เจิมปล
  3. กัวลาปีละฮ์
  4. พอร์ตดิกสัน
  5. เริมเบา
  6. เซอเริมบัน
  7. ตัมปิน

อดีตรัฐเนอเกอรีเซิมบีลันมีเขตการปกครองทั้งหมด 9 เขต ได้แก่ เจอไล (อีนัซ) - เจอเลอบู - โจฮล (ปัจจุบันขึ้นกับรัฐเซอลาโงร์), นานิง (ปัจจุบันขึ้นกับรัฐมะละกา), เริมเบา - เซอกามัต (ปัจจุบันขึ้นกับรัฐยะโฮร์)/ปาซีร์เบอซาร์ (ปัจจุบันอยู่ในเขตตัมปิน) - ซูไงอูจง - อาลูปานะฮ์ (ปัจจุบันขึ้นกับเขตเจอเลอบูและบางส่วนของรัฐปะหัง)

อ้างอิง แก้

  1. "Laporan Kiraan Permulaan 2010". Jabatan Perangkaan Malaysia. p. 27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2010. สืบค้นเมื่อ 24 January 2011.
  2. "Population by States and Ethnic Group". Department of Information, Ministry of Communications and Multimedia, Malaysia. 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2016. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.
  3. 3.0 3.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.