มะละกา[13] หรือ เมอลากา[13] (มลายู: Melaka, ملاک) เป็นรัฐทางตอนใต้ในประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่บริเวณช่องแคบมะละกา ตรงข้ามกับเกาะสุมาตรา รัฐมะละกาเป็นหนึ่งในสองรัฐของมาเลเซียที่ไม่มีเจ้าผู้ครองรัฐเป็นประมุขแต่มีผู้ว่าราชการรัฐแทน

รัฐมะละกา

Negeri Melaka
การถอดเสียงภาษาอื่น ๆ
 • มลายูMelaka (รูมี)
ملاک (ยาวี)
 • จีน马六甲 (ตัวย่อ)
馬六甲 (ตัวเต็ม)
 • ทมิฬமலாக்கா
Malākkā (ทับศัพท์)
ธงของรัฐมะละกา
ธง
ตราราชการของรัฐมะละกา
ตราอาร์ม
สมญา: 
Negeri Bersejarah
รัฐประวัติศาสตร์
คำขวัญ: 
เบอร์ซาตูเตอกุฮ์
รวมเป็นหนึ่งอย่างเหนียวแน่น
เพลง: "เมอลากามาจูจายา"
Map showing the location of the state of Malacca within Malaysia
   รัฐมะละกา ใน    ประเทศมาเลเซีย
OpenStreetMap
แผนที่
พิกัด: 2°12′N 102°15′E / 2.200°N 102.250°E / 2.200; 102.250
ประเทศมาเลเซีย
เมืองหลัก
(และเมืองใหญ่สุด)
มะละกา[a]
การปกครอง
 • ประเภทรัฐสภา
 • ยังดีเปอร์ตูวาเนอเกอรีอาลี รุซตัม
 • มุขมนตรีซูไลมัน มัด อาลี (BN-UMNO)
 • ผู้นำฝ่ายค้านMohd Yadzil Yaakub (PN-BERSATU)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด1,664 ตร.กม. (642 ตร.ไมล์)
ความสูงจุดสูงสุด (บูกิตเบิมบัน)503 เมตร (1,650 ฟุต)
ประชากร
 (2020)[2]
 • ทั้งหมด932,700 คน
ดัชนีการพัฒนามนุษย์
 • HDI (2019)0.835 (สูงมาก) (ที่ 4)
รหัสไปรษณีย์75xxx ถึง 78xxx
รหัสโทรศัพท์06
รหัส ISO 3166MY-04
ทะเบียนพาหนะM
รัฐสุลต่านมะละกาคริสต์ศตวรรษที่ 15
โปรตุเกสควบคุม[3]24 สิงหาคม 1511
ดัตช์ควบคุม[4][5]14 มกราคม 1641
อังกฤษควบคุม[4][5][6][7]17 มีนาคม 1824
ญี่ปุ่นครอบครอง[8][9]11 มกราคม 1942
เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพมาลายา[10]1 เมษายน 1946
เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมาลายา[11]1 กุมภาพันธ์ 1948
เป็นเอกราชในฐานะส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมาลายา[12]31 สิงหาคม 1957
เว็บไซต์www.melaka.gov.my
^[a] อาเยอร์เกอโระฮ์, ฮังตัวะฮ์จายาเป็นศูนย์บริหารของรัฐและที่ตั้งของรัฐบาลมะละกา (ฝ่ายบริหารและนิติบัญญํติ อย่างไรก็ตาม มะละกายังคงเป็นเมืองหลักของรัฐอย่างเป็นทางการ

ในอดีต มะละกาเป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าระหว่างตะวันออกและตะวันตกบนช่องแคบมะละกามากว่า 500 ปี มีลักษณะของสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างศิลปกรรมโปรตุเกส ดัตช์ และมลายู ได้รับการยกย่องให้เป็นนครประวัติศาสตร์บนช่องแคบมะละกาจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)[14]

ประวัติศาสตร์ แก้

เมื่อราว พ.ศ. 1800 เจ้าชายปรเมศวรได้ทรงอพยพออกจากปาเล็มบัง เหตุเนื่องด้วยการรุกรานจากอาณาจักรมัชปาหิต ซึ่งก่อนที่จะมาถึงมะละกานั้น เจ้าชายปรเมศวรได้เข้าไปตั้งเมืองอยู่ที่ตูมาซิก (Tumasik) หรือเตมาเซ็ก หรือสิงคโปร์ในปัจจุบัน แต่เนื่องด้วยในตอนนั้นตูมาซิกตกอยู่ใต้อำนาจของสยาม ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งกับสยามและเจ้าชายองค์นี้จึงต้องออกเดินทางออกมา จนมาถึงที่มะละกา มาสร้างเมืองใหม่ที่นี่และกลายเป็นจักรวรรดิการค้าที่ยิ่งใหญ่ในอีก 200 ปีต่อมา และเป็นแหล่งแรกที่ศาสนาอิสลามเข้าสู่มาเลเซียผ่านทางพ่อค้ามุสลิมอินเดียที่มาจากปาไซ และเปลี่ยนการปกครองมาเป็นระบอบสุลต่าน

ต่อมา พ.ศ. 2052 โปรตุเกสเดินทางมาถึงมะละกาเพื่อขอตั้งสถานีการค้าแต่ถูกปฏิเสธ จนนำไปสู่สงครามระหว่างโปรตุเกส-มะละกา ซึ่งโปรตุเกสเป็นฝ่ายชนะเมื่อ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2054 มะละกาถูกเนเธอร์แลนด์ยึดครองเมื่อ พ.ศ. 2184 หลังจากเนเธอร์แลนด์ขับไล่โปรตุเกสออกไป ต่อมามะละกากลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษตามสนธิสัญญาอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ พ.ศ. 2367

ภายใต้การปกครองของอังกฤษ มะละการวมกับปีนังและสิงคโปร์ในชื่อนิคมช่องแคบซึ่งแยกต่างหากจากสหพันธรัฐมลายู หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มะละกาเข้ารวมอยู่ในสหภาพมาลายา และกลายเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซียเมื่อมาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษ

ประชากร แก้

มะละกามีประวัติศาสตร์ที่เกื่ยวกับกลุ่มคนหลากหลายเชื้อชาติและศาสนา ทำให้ปัจจุบันมะละกาเป็นรัฐที่มีวัฒนธรรมผสมผสาน โดยมีประชากรประมาณ 759,000 คน (พ.ศ. 2550) ซึ่งประกอบด้วย

  • ชาวมลายูประมาณร้อยละ 57
  • ชาวจีนประมาณร้อยละ 32
  • ชาวอินเดีย
  • ชาวคริสตัง ซึ่งเป็นลูกหลานชาวโปรตุเกสในสมัยอาณานิคม
สถิติจำนวนผู้นับถือศาสนาต่าง ๆ ของรัฐมะละกาใน ค.ศ. 2010
ศาสนา อัตราส่วน
อิสลาม
  
66.1%
พุทธ
  
24.2%
ฮินดู
  
5.7%
คริสต์
  
3.0%
ศาสนาพื้นบ้านของจีน
  
0.2%
อื่น ๆ
  
0.6%
ไม่มีศาสนา
  
0.2%

จุดชมทิวทัศน์ แก้

อุทยานธรรมชาติ แก้

  • แม่น้ำมะละกา
  • ภูเขาเลอดัง
  • Klebang Beach
  • หาด Pengkalan Balak
  • อุทยานมรดกโลก Jonker Walk

จุดที่น่าสนใจและสถานที่ท่องเที่ยว แก้

  • Huskitory
  • แม่น้ำวอล์ก
  • หมู่บ้าน Morten
  • โบสถ์เซนต์ปอลฮิลล์
  • Jonker Street
  • Melaka Chinatown
  • จัตุรัสแดง (จัตุรัสเนเธอร์แลนด์)
  • สถานี Woof
  • Encore มะละกา
  • Skydeck Hatten เมืองมะละกา
  • หมู่บ้าน Chetti
  • แกลเลอรี่ Casababa
  • โบสถ์ Our Lady of Guadalupe
  • 8 Heeren Street Heritage Center
  • Stadthuys
  • Menara Taming Sari
  • พระราชวังของสุลต่านรัฐมะละกา
  • น้ำพุสมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย
  • ไชนาฮิลล์
  • ฟาร์มผลไม้เขตร้อนของมะละกา

พิพิธภัณฑ์ แก้

  • พิพิธภัณฑ์มรดก Baba & Nyonya
  • พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์วิทยาในมะละกา
  • Perbadanan Muzium Malacca
  • ช่องแคบจีนพิพิธภัณฑ์เครื่องประดับมะละกา
  • Sentosa Villa
  • พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรม Cheng Ho
  • พิพิธภัณฑ์บ้านมะละกา
  • อิสรภาพฮอลล์
  • พิพิธภัณฑ์เรือดำน้ำ
  • พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมมาเลเซีย
  • พิพิธภัณฑ์ศุลกากรรอยัลมาเลเซีย
  • Illusion 3D Art Gallery
  • พิพิธภัณฑ์ผู้ว่าการรัฐ
  • พิพิธภัณฑ์เรือนจำมาเลเซีย
  • พิพิธภัณฑ์รัฐบาลประชาธิปไตย
  • Muzium Kecantikan
  • พิพิธภัณฑ์สวนสนุก
  • พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมจิก

สถานที่ทางศาสนา แก้

  • มัสยิดช่องแคบมะละกา
  • วัด Cheng Hoon Teng
  • โบสถ์เซนต์ปีเตอร์
  • โบสถ์คริสเตียน
  • มัสยิดกัมปุงกลิง
  • โบสถ์เซนต์ฟรานซิสเซเวียร์
  • ศรีลังกาวัด Sri Poyyatha Vinayagar Moorthy
  • มัสยิดกัมปุงฮูลู
  • วัด Xiang Lin Si
  • มัสยิดจีนในมะละกา

อ้างอิง แก้

  1. "Laporan Kiraan Permulaan 2010". Jabatan Perangkaan Malaysia. p. 27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2011. สืบค้นเมื่อ 24 January 2011.
  2. https://www.dosm.gov.my/v1/uploads/files/6_Newsletter/Newsletter%202020/DOSM_DOSM_MELAKA_1_2020_Siri-81.pdf [bare URL PDF]
  3. Headrick (2010), pp. 63
  4. 4.0 4.1 "Melaka Jatuh Ke Tangan Belanda -". hids.arkib.gov.my. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2018. สืบค้นเมื่อ 15 August 2018.
  5. 5.0 5.1 Mat Rofa Ismail (2015). Kerdipan Bintang Melayu Dilangit Turki. Alaf 21. ISBN 9789678604864 – โดยทาง Google Books.
  6. Wong, John; Zou, Keyuan; Zeng, Huaqun, บ.ก. (2006). China-ASEAN Relations: Economic and Legal Dimensions. Singapore: World Scientific. ISBN 9789814478618.
  7. "Signing of the Anglo-Dutch Treaty (Treaty of London) of 1824 - Singapore History". eresources.nlb.gov.sg.
  8. Singapore, National Library Board. "Malayan Campaign - Infopedia". eresources.nlb.gov.sg.
  9. "Info" (PDF). studentsrepo.um.edu.my.
  10. "Penubuhan Malayan Union". hids.arkib.gov.my. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2018. สืบค้นเมื่อ 15 August 2018.
  11. "Federation of Malaya is inaugurated - Singapore History". eresources.nlb.gov.sg.
  12. "Official Portal of Malaysia National Archives". Arkib.gov.my. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 August 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-08-18.
  13. 13.0 13.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  14. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-16. สืบค้นเมื่อ 2018-08-12.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้