รัฐปะหัง
ปะหัง[6] หรือ ปาฮัง[6] (มลายู: Pahang, ڤهڠ) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธรัฐมาเลเซีย และเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซียตะวันตก ครอบคลุมบริเวณแอ่งแม่น้ำปะหัง มีอาณาเขตติดต่อกับรัฐกลันตันทางทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐเประ รัฐเซอลาโงร์ และรัฐเนอเกอรีเซิมบีลันทางทิศตะวันตก ติดต่อกับรัฐยะโฮร์ทางทิศใต้ ส่วนติดต่อกับรัฐตรังกานูและทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันออก
รัฐปะหัง Negeri Pahang | |
---|---|
เนอเกอรีปาฮังดารุลมักมูร์ Negeri Pahang Darul Makmur | |
การถอดเสียงต่าง ๆ | |
• มลายู | Pahang (รูมี) ڤهڠ (ยาวี) |
• จีน | 彭亨 |
• ทมิฬ | பகாங் |
คำขวัญ: | |
เพลง: อัลละฮ์เซอลามัตกันซุลตันกามี | |
พิกัด: 3°45′N 102°30′E / 3.750°N 102.500°E | |
เมืองหลวง | กวนตัน |
เมืองเจ้าผู้ครอง | เปอกัน |
การปกครอง | |
• ประเภท | ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา |
• สุลต่าน | สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลละฮ์ ชะฮ์ |
• มุขมนตรี | วัน รซดี วัน อิซมาอิล (BN-UMNO) |
พื้นที่[2] | |
• ทั้งหมด | 35,965 ตร.กม. (13,886 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2015)[3] | |
• ทั้งหมด | 1,623,200 คน |
• ความหนาแน่น | 45 คน/ตร.กม. (120 คน/ตร.ไมล์) |
ประชากรศาสตร์ (2010)[4] | |
• กลุ่มชาติพันธุ์ | |
• ภาษาย่อย | มลายูปะหัง • กวางตุ้ง • ทมิฬ ภาษาชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ |
ดัชนีรัฐ | |
• ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (2017) | 0.796 (สูง) ((อันดับที่ 9)[5] |
• อัตราเจริญพันธุ์รวม (2017) | 2.2[2] |
• ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (2016) | 50,875 ล้านริงกิต[2] |
เขตเวลา | UTC+8 (เวลามาตรฐานมาเลเซีย) |
รหัสไปรษณีย์ | 25xxx ถึง 28xxx, 39xxx, 49000, 69000 |
รหัสโทรศัพท์ | 09 (ยกเว้นที่ระบุเป็นอย่างอื่น) 05 (Cameron Highlands) 03 (Genting Highlands) |
รหัส ISO 3166 | MY-06 |
ทะเบียนพาหนะ | C |
รัฐสุลต่านสมัยใหม่ | ค.ศ. 1884 |
เข้าร่วมสหพันธรัฐมลายู | ค.ศ. 1895 |
ญี่ปุ่นยึดครอง | ค.ศ. 1942 |
เข้าร่วมสหพันธรัฐมาลายา | ค.ศ. 1948 |
รับเอกราชเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมาลายา | 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 |
ก่อตั้งสหพันธรัฐมาเลเซีย | 16 กันยายน ค.ศ. 1963 |
เว็บไซต์ | www |
เมืองหลวงของรัฐคือกวนตัน ส่วนเมืองของเจ้าผู้ครองตั้งอยู่ที่เปอกัน เมืองสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ กัวลาลีปิซ เตเมร์โละฮ์ และรีสอร์ตเชิงเขาที่ที่สูงเกินติง ที่สูงคาเมรอน และเฟรเซอส์ฮิลล์
ชื่อเฉลิมเมืองของรัฐปะหังคือ ดารุลมักมูร์ ("ถิ่นที่อยู่แห่งความเงียบสงบ")
องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ของผู้คนในรัฐนี้ประมาณอย่างหยาบ ๆ ได้แก่ ชาวมลายู + ภูมิบุตร 1 ล้านคน ชาวจีน 233,000 คน ชาวอินเดีย 68,500 คน อื่น ๆ 13,700 คน และไร้สัญชาติ 68,000 คน
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้รัฐปะหังแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 เขต ได้แก่
ประชากร
แก้ศาสนา
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Constitution of Pahang" (PDF). www.dirajapahang.my. Portal Diraja Pahang. 2016. p. 30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-04-17. สืบค้นเมื่อ 29 October 2017.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "Pahang @ a Glance". Department of Statistics, Malaysia. สืบค้นเมื่อ 29 October 2017.
- ↑ "Population by States and Ethnic Group". Department of Information, Ministry of Communications and Multimedia, Malaysia. 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2016. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.
- ↑ "2010 Population and Housing Census of Malaysia" (PDF). Department of Statistics, Malaysia. p. 33. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 February 2013.
- ↑ "Subnational Human Development Index (2.1) [Pahang – Malaysia]". Global Data Lab of Institute for Management Research, Radboud University. สืบค้นเมื่อ 31 October 2019.
- ↑ 6.0 6.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
- ↑ "2010 Population and Housing Census of Malaysia" (PDF). Department of Statistics, Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-22. สืบค้นเมื่อ 17 June 2012. p. 13