ริงกิต
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
ริงกิตมาเลเซีย (มลายู: Ringgit Malaysia; สัญลักษณ์: RM; รหัส: MYR; อดีตมีชื่อว่า ดอลลาร์มาเลเซีย) เป็นสกุลเงินตราของประเทศมาเลเซีย ซึ่งแบ่งเป็น 100 เซ็น
ริงกิต | |
---|---|
Ringgit Malaysia (มลายู) ريڠݢيت مليسيا (อักษรยาวี) | |
ISO 4217 | |
รหัส | MYR |
การตั้งชื่อ | |
หน่วยย่อย | |
1100 | เซ็น |
พหูพจน์ | ภาษาของสกุลเงินนี้ไม่มีโครงสร้างพหูพจน์ที่แตกต่างกัน |
สัญลักษณ์ | RM |
ธนบัตร | 1, 5, 10, 20, 50, 100 ริงกิต |
ไม่ค่อยใช้ | 2 (หยุดผลิต แต่ชำระหนี้ตามกฎหมายได้); 60, 600 ริงกิต |
เหรียญ | 5, 10, 20, 50 เซ็น |
ไม่ค่อยใช้ | 1 เซ็น (หยุดผลิต แต่ชำระหนี้ตามกฎหมายได้) |
ข้อมูลการใช้ | |
ผู้ใช้อย่างเป็นทางการ | มาเลเซีย |
ผู้ใช้ที่ไม่เป็นทางการ | อินโดนีเซีย [1][2][3] ฟิลิปปินส์ [4][5] ไทย [6][7] เวียดนาม [8] |
การตีพิมพ์ | |
ธนาคารกลาง | ธนาคารกลางมาเลเซีย |
เว็บไซต์ | www |
การประเมินค่า | |
อัตราเงินเฟ้อ | 2.1% (2016)[9] |
ที่มา | สำนักงานสถิติแห่งชาติมาเลเซีย |
ศัพทมูลวิทยา
แก้คำว่า ringgit ในภาษามลายูแปลว่า "เป็นหยัก ๆ" เดิมใช้อ้างถึงขอบหยัก ๆ ในเหรียญเงินของดอลลาร์สเปนที่ใช้แพร่หลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 17 เพราะสเปนควบคุมฟิลิปปินส์ในฐานะส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอาณานิคมสเปน ส่วนโปรตุเกสมีอิทธิพลในบริเวณมะละกา และสหภาพไอบีเรีย[10] ปัจจุบัน คำว่า ริงกิต มีความหมายเฉพาะสกุลเงินเท่านั้น เนื่องจากมรดกร่วมกันของสกุลเงินสมัยใหม่ทั้งสาม ทำให้ดอลลาร์สิงคโปร์และดอลลาร์บรูไนถูกเรียกเป็น ริงกิต ในภาษามลายู (สกุลเงินอย่างดอลลาร์สหรัฐและดอลลาร์ออสเตรเลียถูกเรียกเป็น โดลาร์) ถึงแม้ว่าในปัจจุบันดอลลาร์สิงคโปร์มักถูกเรียกเป็น โดลาร์ ในภาษามลายูก็ตาม[11]
ประวัติ
แก้ใน พ.ศ. 2380 รูปีได้กลายเป็นเงินตราราชการชนิดเดียวในอาณานิคมช่องแคบ (Straits Settlements) แต่ใน พ.ศ. 2410 เหรียญเงินได้เป็นเงินตราที่ถูกต้องตามกฎหมายอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2446 ได้มีการนำดอลลาร์ช่องแคบ (Straits dollar) ออกมาใช้โดย Board of Commissioners of Currency โดยที่ตั้งราคาไว้ที่ 2 ชิลลิง และ 4 เพนซ์ และได้มีการห้ามไม่ให้ธนาคารเอกชนออกธนบัตรเอง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ได้เกิดความไม่ต่อเนื่องของเงินตรา 2 ครั้ง คือ การยึดครองของประเทศญี่ปุ่น (พ.ศ. 2485-2487) และการลดค่าเงินของปอนด์สเตอร์ลิงใน พ.ศ. 2510 เป็นเหตุให้ธนบัตรของ Board of Commissioners of Currency of Malaya and British Borneo ลดค่าไป 15% ในขณะที่ดอลลาร์ของ Bank Negara Malaysia และ Commissioners of Currency ของสิงคโปร์และบรูไนไม่มีการลดค่า
ชื่อภาษามลายู คือ ริงกิต และ เซ็น ได้กลายเป็นชื่ออย่างเป็นทางการในสิงหาคม พ.ศ. 2518 ก่อนหน้านี้ เงินตราได้เรียกเป็น ดอลลาร์ และ เซนต์ ในภาษาอังกฤษ และ ริงกิต และ เซ็น ในภาษามลายู อย่างไรก็ดี การใช้สัญลักษณ์ดอลลาร์ "$" (หรือ "M$") ไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็น "RM" (Ringgit Malaysia) จนถึงช่วง พ.ศ. 2533
อ้างอิง
แก้- ↑ "Warga Perbatasan Transaksi Pakai Ringgit" (ภาษาอินโดนีเซีย). Republika Online. 17 October 2011. สืบค้นเมื่อ 22 November 2014.
- ↑ Warga Perbatasan Gunakan Mata Uang Ringgit (video) (ภาษาอินโดนีเซีย). Viva News. 24 February 2013. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 2:07. สืบค้นเมื่อ 22 November 2014.
- ↑ "Miris, "Garuda di Dadaku, Ringgit di Kantongku"" (ภาษาอินโดนีเซีย). Kompas.com. 15 March 2014. สืบค้นเมื่อ 22 November 2014.
- ↑ Ron Gagalac (5 March 2013). "Food prices up 100% in Tawi-Tawi due to Sabah standoff". ABS-CBN News. สืบค้นเมื่อ 22 November 2014.
- ↑ "UN's call should be heeded to end violence in Sabah, says Hajiri". Zamboanga Today. 9 มีนาคม 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2014.
- ↑ "Relaxation in the carrying of Ringgit Malaysia for border traders". Bank Negara Malaysia. 5 กุมภาพันธ์ 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2014.
- ↑ "Warning over fake ringgit in South". Bangkok Post. 6 September 2013. สืบค้นเมื่อ 22 November 2014.
- ↑ Muhammad Nizar Bin Jamaludin; Nur Hafizah Shaarani (30 April 2012). Panduan Memborong di Vietnam (ภาษามาเลย์). PTS Professional. pp. 156–. ISBN 978-967-369-196-8.
- ↑ Approximately 30% of goods are price-controlled (2016 est.) (The World Factbook) เก็บถาวร 16 มีนาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Eong, Sim Ewe (1974). "RINGGIT". Journal of the Malaysian Branch of the Royal Asiatic Society. 47 (1 (225)): 58–65. ISSN 0126-7353. JSTOR 41511014.
- ↑ Dolar Singapura berkemungkinan bertambah lemah, Berita Harian, October 9, 2019
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Current Banknote Series – page listing current banknotes on the Central Bank of Malaysia website
- Historical banknotes of Malaysia