สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี อาห์หมัด ชาห์

สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัจญี อาห์หมัด ชาห์ (24 ตุลาคม พ.ศ. 2473 - 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562) ทรงเป็นสุลต่านแห่งรัฐปะหัง เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2473 จนกระทั้งทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2562 หลังจากนั้นจึงได้เปลี่ยนพระราชอิสริยศเป็นสมเด็จพระราชบิดา

อาฮ์มัด ชะฮ์
أحمد شاه
อัลมุสตะอิน บิลละฮ์ (ผู้เสาะหาพระกรุณา)
ยังดีเปอร์ตวนอากงองค์ที่ 7
สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัจญี อาห์หมัด ชาห์ ในปี พ.ศ. 2537
ยังดีเปอร์ตวนอากง
ครองราชย์26 เมษายน พ.ศ. 2522 – 25 เมษายน พ.ศ. 2527
ราชาภิเษก10 กรกฎาคม พ.ศ. 2523
ก่อนหน้ายะห์ยา เปตราแห่งกลันตัน
ถัดไปอิสกันดาร์แห่งยะโฮร์
นายกรัฐมนตรีฮุซเซน อนน์
มาฮาดีร์ บิน โมฮามัด
สุลต่านแห่งรัฐปะหัง
ครองราชย์7 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 – 11 มกราคม พ.ศ. 2562
แต่งตั้ง8 พฤษภาคม พ.ศ. 2518
ก่อนหน้าอาบู บาการ์
ถัดไปอับดุลละฮ์
หัวหน้าคณะรัฐมนตรี
ดูรายชื่อ
พระราชสมภพ24 ตุลาคม พ.ศ. 2473
อิซตานามังกาตุงกัล เปอกัน รัฐปะหัง สหพันธรัฐมลายู บริติชมาลายา
สวรรคต22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (88 พรรษา)
สถาบันหัวใจแห่งชาติ กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย[1]
ฝังพระศพ23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
มัสยิดอับดุลละฮ์ เปอกัน รัฐปะหัง
คู่อภิเษก
พระราชบุตร
  • เติงกู เมอเรียม
  • เติงกู มูไฮนี
  • เติงกู Aishah Marcella
  • อับดุลละฮ์
  • เติงกู อับดุล ระฮ์มัน
  • เติงกู นง ฟาตีมะฮ์
  • เติงกู Shahariah
  • เติงกู อับดุล ฟะฮด์ มูอัดซัม ชะฮ์
พระนามเต็ม
Tengku Ahmad Shah ibni Tengku Abu Bakar (พระราชสมภพ)

Tuanku Sultan Haji Ahmad Shah Al-Musta’in Billah ibni Almarhum Sultan Abu Bakar Ri’ayatuddin Al-Mu’azzam Shah (ยังดีเปอร์ตวนอากง)

Sultan Haji Ahmad Shah Al-Musta’in Billah ibni Almarhum Sultan Abu Bakar Ri’ayatuddin Al-Mu’azzam Shah (สุลต่านแห่งรัฐปะหัง)

Paduka Ayahanda Sultan Haji Ahmad Shah Al-Musta’in Billah ibni Almarhum Sultan Abu Bakar Ri’ayatuddin Al-Mu’azzam Shah (อดีตสุลต่านแห่งรัฐปะหัง)
ราชวงศ์เบินดาฮารา
พระราชบิดาสุลต่าน อาบู บาการ์ รีอายาตุดดิน มูอัซซัม ชะฮ์ อิบนี อัลมัรฮุม ซุลตัน อับดุลละฮ์ อัลมุอ์ตัซซิม บิลละฮ์ ชะฮ์
พระราชมารดาเติงกู อัมปวน เบอซาร์ ราจา ฟาตีมะฮ์ บินตี อัลมัรฮุม ซุลตัน อิซกันดาร์ ชะฮ์ กัดดาซุลละฮ์
ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี
ลายพระอภิไธย


พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 3 และเป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวใน สุลต่านอะบู บาการ์แห่งปะหัง กับ พระราชินีเติงกู อัมปวน เบซาร์ ราจา ฟาฏิมะฮ์

พระองค์ทรงเป็นยังดีเปอร์ตวนอากงองค์ที่ 7 ซึ่งปกครองมาเลเซียตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2522 จนถึง 25 เมษายน พ.ศ. 2527

ชีวประวัติ

แก้

สุลต่านฮัจญี อาห์หมัด ชาห์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2473 เวลา 12.00 น. ณ พระราชวังอิสตานา อาบู บาร์กา เมืองเปอกัน รัฐปะหัง ในรัชสมัยสุลต่าน Abdullah al-Mu’tassim Billah Shah สุลต่านแห่งรัฐปะหังองค์ที่ 3 พระองค์ได้รับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนภาษามลายูในเมืองเปอกัน และวิทยาลัยกัวลากังซาร์มาเลย์ พระองค์ยังทรงศึกษาพื้นฐานของศาสนาอิสลามที่อัล-ลักฮะห์ วัดดิน อัล-สุลต่าน อาบู บาการ์ เลคเชอร์ สนามโปโล เมืองเปอกัน อย่างไรก็ตามการเรียนของพระองค์ถูกขัดจังหวะเนื่องจากเกิดเหตุสงครามโลกครั้งที่สอง สุลต่านฮัจญี อาห์หมัด ชาห์ยังได้เรียนภาษาญี่ปุ่นในช่วงที่ญี่ญี่ปุ่นยึดครองสหพันธรัฐมาลายา


ในปี พ.ศ. 2487 เมื่อมีพระชนมายุได้ 14 พรรษา สุลต่านฮัจญี อาห์หมัด ชาห์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นมกุฎราชกุมาร (เติงกู มะโกตา) แห่งปะหัง เมื่อสงครามสิ้นสุดลง พระองค์ทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนคลิฟฟอร์ด กัวลาลิปิส และอาศัยในหอพักของโรงเรียน จากนั้นทรงศึกษาต่อที่วิทยาลัยมลายู

ในปี พ.ศ. 2491 สุลต่านฮัจญี อาห์หมัด ชาห์ ทรงศึกษาต่อในสาขารัฐประศาสนศาสตร์ที่ วิทยาลัยวูสเตอร์ใน มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด นอกจากนี้พระองค์ยังทรงศึกษาต่อที่ มหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์ เมืองเอ็กซิเตอร์ มณฑลเดวอน หลักสูตรการบริหารท้องถิ่น ในขณะที่เรียนหลักสูตรนี้พระองค์ทรงฝึกงานที่สภาเขตเทศบาลในเมือง Sidmouth เป็นเวลาสามปี

สุลต่านฮัจญี อาหมัด ชาห์ เมื่อทรงมีพระชนมายุ 35 พรรษา ทรงดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองพันทหารราบกองทัพสหพันธรัฐที่ค่ายบาตู 5 เมืองเมนตากับทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่ทหารและประชาชนทั่วไป ทำให้พระองค์เป็นที่ชื่นชมของพสกนิกรว่าพระองค์เป็นเจ้าชายที่ห่วงใยพสกนิกรมาก

งานอดิเรก

แก้

สุลต่านฮัจญี อาห์หมัด ชาห์ ยังชอบกิจกรรมกลางแจ้งโดยเฉพาะกีฬาและเชี่ยวชาญในด้านนั้นมาก พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักในฐานะนักโปโลทั้งในและต่างประเทศ

ในปี พ.ศ. 2525 สุลต่าน ฮัจญี อาห์หมัด ชาห์ ได้รับรางวัล International Olympic Football Award พระองค์เป็นชาวมาเลเซียคนเดียวที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ สุลต่าน ฮัจญี อาห์หมัด ชาห์ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมฟุตบอลมาเลเซีย(FAM) ในปี พ.ศ. 2527 สุลต่าน ฮัจญี อาห์หมัด ชาห์ ยังชื่นชอบกีฬาโปโล ฮอกกี้ แบดมินตัน และกอล์ฟอีกด้วย สุลต่านฮาจิ อาหมัด ชาห์ยังเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ลอสแองเจลิส โซล บาร์เซโลนา และแอตแลนตา

มกุฎราชกุมาร

แก้

ในรัชสมัยของพระองค์ สุลต่าน อาห์หมัด ชาห์อยู่ในลำดับที่สองในการสืบราชสันตติวงศ์แห่งปะหัง ต่อจากพระราชบิดาของพระองค์ เมื่อพระอัยกาสวรรคตในปี พ.ศ. 2475 และได้รับการสืบทอดจากพระราชบิดา จึงได้เป็นรัชทายาทในการสืบราชสันตติวงศ์ ในปี พ.ศ. 2487 เมื่อมีพระชนมายุได้ 14 พรรษา สุลต่านฮัจญี อาห์หมัด ชาห์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นมกุฎราชกุมาร (เติงกู มะโกตา) แห่งปะหัง การศึกษาของพระองค์ถูกขัดจังหวะเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่สอง แต่พระองค์ยังทรงใช้โอกาสนี้ในการเรียนภาษาญี่ปุ่นในช่วงที่ญี่ปุ่นยึดครองมาลายา

ในปีพ.ศ. 2508 พระองค์ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เมื่อพระราชบิดาเสด็จไปต่างประเทศเป็นเวลาสองเดือน

การขึ้นครองราชสมบัติ

แก้

สุลต่านแห่งปะหัง

แก้

สุลต่าน อาห์หมัด ชาห์ได้รับการสถาปนาเป็นสุลต่านแห่งรัฐปะหัง องค์ที่ 5 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 หลังจากการสวรรคตของพระราชบิดา สุลต่านอะบู บาการ์แห่งปะหัง และได้รับสถาปนาเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2518

ยังดีเปอร์ตวนอากง

แก้

สุลต่าน อาห์หมัด ชาห์ได้รับการแต่งตั้งจากสภาผู้ปกครองมาเลย์ให้เป็นยังดีเปอร์ตวนอากงองค์ที่ 7 แห่งมาเลเซีย แทนสมเด็จพระราชาธิบดียะห์ยา เปตรา ซึ่งสวรรคตเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2522

ชีวิตส่วนพระองค์

แก้

สุลต่าน ฮัจญี อาห์หมัด ชาห์ อภิเษกสมรสกับ เติงกู ฮัจจะฮ์ อัฟซัน เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2497 มีพระราชบุตร 7 พระองค์ แบ่งเป็น พระราชโอรส 2 พระองค์และพระราชธิดา 5 พระองค์ หลังจากการสวรรคตของเติงกู ฮัจจะฮ์ อัฟซัน เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2531 สุลต่าน Haji Ahmad Shah ได้อภิเษกสมรสกับ ซุลตานะฮ์ กัลซม เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2534 มีพระราชโอรส 1 พระองค์

สุลต่าน ฮัจญี อาห์หมัด ชาห์ ทรงดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการขอ มหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติมาเลเซีย (International Islamic University of Malaysia) ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526

สละราชสมบัติ

แก้

เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2019 พระองค์ทรงสละราชสมบัติให้ มกุฎราชกุมารแห่งรัฐปะหัง (ต่อมาคือสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลละฮ์ ชะฮ์ ) พระราชโอรสได้รับการแต่งตั้งเป็นสุลต่านองค์ที่ 6 แห่งรัฐปะหัง แล้วทรงได้รับการถวายพระนามว่าสมเด็จพระราชบิดา

พระองค์ได้ทรงมอบราชบัลลังก์แก่ สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลละฮ์ ชะฮ์ หลังจากทรงปกครองรัฐมาเกือบ 45 ปี เพื่อให้พระองค์มีสิทธิ์ขึ้นเป็นยังดีเปอร์ตวนอากง หลังจากการสละราชสมบัติของสมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 แห่งกลันตัน

การสวรรคต

แก้

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 พระราชวังอิสตานา รัฐปะหัง มีแถลงการว่า สุลต่านเสด็จสวรรคตในเวลา 08.50 น. ที่ สถาบันหัวใจแห่งชาติ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย หลังจากทรงพระประชวรมาเป็นระยะเวลานาน สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี อาห์หมัด ชาห์ ถูกฝังไว้ข้างหลุมฝังพระบรมศพของสมเด็จพระอัครมเหสี เติงกู ฮัจจะฮ์ อัฟซัน ที่สุสานหลวงปะหัง มัสยิดอับดุลละฮ์ ในเมืองเปอกัน รัฐปะหัง

พระราชโอรสและพระราชธิดา

แก้
  1. เติงกูเมอรียัม ประสูติ 1 เมษายน พ.ศ. 2498 (พระชนมายุ 67 ปี) ณ พระราชวังอิสตานา อาบูบาการ์ เมืองเปอกัน รัฐปะหัง เสกสมรสมาแล้ว 2 ครั้ง • เสกสมรสกับเติงกู ดาโต๊ะศรี คามิล อิสมาอิล บิน เต็งกู อิดริส ชาห์ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2519 ภายหลังทรงหย่าร้าง มีพระบุตร-พระธิดา 3 พระองค์คือ เติงกูไอดี้ อาหมัด ชาห์, เติงกูนูรุล คามาเลีย, เติงกูมาดินา คามิเลีย ทรงมีพระนัดดาคือ เต็งกู อับดุลลาห์ อาเมียร์ อาหมัด ชาห์ • สมรสกับดาโต๊ะเสรี โมฮัมหมัด ตูฟิก อัล-โอซีร์ มีธิดา 2 คนคือ ปูเตรีนาตาชากับปูเตรีนูร์ อัฟซาน มีหลานคือ ปูเตรีนาดรา รานิยาและปูเตรี ชากิรา นูร์เจนน่า
  2. เติงกูมูไฮนี่ ประสูติ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2499 (พระชนมายุ 66 ปี) ณ พระราชวังมังคลาตุงกัล เมืองเปอกัน รัฐปะหัง เสกสมรสมาแล้ว 2 ครั้ง • เสกสมรสกับเติงกู ดาโต๊ะอิบราฮิม เปตรา บิน เต็งกู อินทรา เปตรา เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2524 ภายหลังทรงหย่าร้าง ไม่มีพระบุตร • สมรสกับ ตุน ดาโต๊ะศรี ฮัจจี อัฟเฟนดิ บิน ฮัจจี บัวร์ (ผู้บัญชาการกองกำลังรักษาดินแดน) มีบุตร-ธิดา คือ มุนวราห์ สยามมิยาห์ กับตุนอับดุล มูบิน ชาห์
  3. เติงกูไอชาห์ มาร์เชลลา ประสูติ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 (พระชนมายุ 65 ปี) ณ พระราชวังมังคลาตุงกัล เมืองเปอกัน รัฐปะหัง เสกสมรสมาแล้ว 3 ครั้ง • เสกสมรสกับตุนกูคามิล อิคราม บิน ตุนกู อับดุลลาห์ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2523 ภายหลังทรงหย่าร้าง มีพระบุตร-พระธิดาคือ ตุนกูชาซวาน ไคยีชากับ ตุนปุตรา อาหมัด ไอซุดดิน ชาห์ และมีพระนัดดาคือ ตุนชาคิล อับดุลลาห์ ชาห์ กับตุนไครี อาหมัด ชาห์ • สมรสครั้งที่สองกับดาโต๊ะโมฮาเหม็ด โยฮัน บีน มีธิดาคือปูเตรีอัฟซาน มีหลานคือปูเตรีไคร่า ไลน่า • สมรสกับดาโต๊ะมูฮาเมด ยูโซ๊ะ มีธิดาคือชากีล่า นาบีลา มีหลานคือ ปูเตรีโซเฟีย คาดิจา ไอชาห์
  4. สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลละฮ์ พระราชสมภพ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2502 (พระชนมายุ 63 พรรษา) ณ อิซตานา มังกา ตุงกัล เปอกัน รัฐปะหัง มีพระมเหสีและพระชายาคือ สมเด็จพระราชินีอาซีซะฮ์ อามีนะฮ์ ราจาเปอร์ไมซูรีอากง และพระชายาจูเลีย ราอิซ มีพระราชโอรสและพระราชธิดา ดังนี้ • เติงกูอามีร์ นัสเซอร์ อิบราฮิม (พระโอรสบุญธรรม) มีพระราชนัดดาคือ เติงกูอดัม อิบราฮิม ชะห์, เติงกูสุไลมาน อับดุลลาห์ ชะห์ และเติงกูนูห์ มูฮัมหมัด ชะห์ • เติงกูอะหมัด อิสกันดาร์ ชะห์ (สิ้นพระชนม์ตั้งแต่แรกประสูติ)เติงกูฮัสซานัล อิบราฮิม อาลัม ชะห์ (มกุฏราชกุมารและผู้สำเร็จราชการแห่งรัฐปะหังเติงกูมูฮัมหมัด อิสกันดาร์ เรยาดิน ชะห์เติงกูอะหมัด อิสมาอิล มูอัดซัม ชะห์ (แฝดพี่)เติงกูปูเตรี อัฟซาน อามีนาห์ ฮาฟิดซาตุลเลาะห์ (แฝดน้อง)เติงกูญิฮาน อะซีซะฮ์ อะติยาตุลลอฮ์ • เติงกูปูเตรี อิมาน อัฟซาน มีพระนัดดาคือ เติงกูเซน เอดิน ชะห์ และเติงกูอาเลยา นอร์ลิน • เติงกูอิลิชา อาเมร่าเติงกูอิลยาน่า
  5. เติงกู อับดุล รามัน ประสูติ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2503 (พระชมมายุ 62 ปี) ณ อิซตานา มังกา ตุงกัล เมืองเปอกัน รัฐปะหัง มีพระชายาคือ คุณหญิง จูลิตา ไอชาห์ บินตี อับดุลลาตีฟ และคุณหญิง นูร์บาฮียะห์ บินติ โมห์ด อากิป มีพระบุตรคือ เติงกูเอ็ดดี้ อากาสยา, เติงกูอาหมัด เฟอร์ฮาน ชะห์, เติงกูอาเมร่า อัสยา และเติงกูอาร์มาน อาลัม ชาห์
  6. เติงกู นูร์ ฟาฏิมะฮ์ ประสูติ 4 กันยายน พ.ศ. 2505 (พระชนม์มายุ 60 ปี) เสกสมรสกับ ดาโต๊ะฮัจญี มูฮัมหมัด โมอิซ
  7. เติงกู ชาฮารียาห์ ประสูติ 12 กันยายน พ.ศ. 2507 (พระชนมายุ 58 ปี)
  8. เติงกู อับดุล ฟาฮัด มูอัดซัม ชาห์ ประสูติ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 (พระชนมายุ 29 ปี)

อ้างอิง

แก้
  1. "Agong's father, former Pahang Sultan, dies at age 88". The Star Online. สืบค้นเมื่อ 22 May 2019.

ข้อมูล

แก้
  • Coercion and Governance: The Declining Political Role of the Military in Asia, Muthiah Alagappa, Stanford University Press, 2001, ISBN 0-8047-4227-8
  • Information Malaysia, Published by Berita Publ. Sdn. Bhd., 1989
  • The Europa Year Book, Europa Publications Limited, 1984, ISBN 0-905118-96-0

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้