สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลละฮ์แห่งปะหัง

สมเด็จพระราชาธิบดี สุลต่านอับดุลลาห์ ริอายาตุดดิน อัล-มุสตาฟา บิลลาห์ ชาห์ อิบนี อัลมัรฮูม สุลต่าน ฮัจญี อาห์มัด อัล-มุสตาอิน บิลลาห์ ชาห์ หรือ สุลต่านอับดุลลาห์ เสด็จพระราชสมภพวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 ในเมืองเปอกัน รัฐปะหัง สหพันธรัฐมาลายา ทรงดำรงตำแหน่งเป็นสุลต่านรัฐปะหัง เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2562 จากนั้นทรงได้รับการแต่งตั้งเป็น ยังดีเปอร์ตวนอากง องค์ที่ 16 แห่งมาเลเซียโดยสภาผู้ปกครอง เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2562 โดยทรงเข้าพระราชพิธีสาบานตนขึ้นเป็น ยังดีเปอร์ตวนอากงแห่งมาเลเซียที่ พระราชวังหลวง ณ พระราชวังอิสตานา เนอการา กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2562 – 31 มกราคม พ.ศ. 2567 พระองค์ทรงดำรงตำแหน่ง เตงกู มะห์โกตา (มกุฎราชกุมาร) รัฐปะหัง ยาวนานเกือบ 44 ปีและในปี พ.ศ. 2559 พระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งปะหังจากสุลต่านอัจญี อาห์มัด ชาห์ ผู้เป็นพระราชบิดา[3]

สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลละฮ์
عبد الله
อัล-มุสตาฟา บิลละฮ์ (ผู้ถูกเลือกจากพระเจ้า)
พระบรมฉายาลักษณ์ ปี ค.ศ. 2019
ยังดีเปอร์ตวนอากง พระองค์ที่ 16
ครองราชย์31 มกราคม พ.ศ. 2562 – 30 มกราคม พ.ศ. 2567
ราชาภิเษก30 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
ก่อนหน้ามูฮัมมัดที่ 5 แห่งกลันตัน
ถัดไปอิบราฮิม อิซมาอิลแห่งยะโฮร์
นายกรัฐมนตรีมาฮาดีร์ บิน โมฮามัด
มุฮ์ยิดดิน ยัซซิน
อิซมาอิล ซับรี ยักกบ
อันวาร์ อิบราฮิม
สุลต่านรัฐปะหัง
ครองราชย์11 มกราคม ค.ศ. 2019 – ปัจจุบัน
(5 ปี 277 วัน)
คำประกาศ15 มกราคม ค.ศ. 2019
ก่อนหน้าอะฮ์มัด ชะฮ์
ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงเติงกูฮัซซานัล อิบราฮิม อาลัม ชะฮ์
หัวหน้าคณะรัฐมนตรีวัน รซดี วัน อิซมาอิล
พระราชสมภพ (1959-07-30) 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1959 (65 ปี)
อิซตานา มังกา ตุงกัล, เปอกัน, รัฐปะหัง, สหพันธรัฐมาลายา (ปัจจุบันคือประเทศมาเลเซีย)
คู่อภิเษก
พระราชบุตร
พระนามเต็ม
เติงกูอับดุลละฮ์ อิบนี เติงกูอะฮ์มัด ชะฮ์
พระรัชกาลนาม
อัลซุลตัน อับดุลละฮ์ รีอายาตุดดิน อัลมุซตาฟา บิลละฮ์ ชะฮ์ อิบนี อัลมัรฮุม ซุลตัน ฮาจี อะฮ์มัด อัลมุซตะอ์มิน บิลละฮ์ ชะฮ์[fn 1]
ราชวงศ์เบินดาฮารา
พระราชบิดาสมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี อาห์หมัด ชาห์
พระราชมารดาเติงกูอัมปวน อัฟซัน
ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี
ลายพระอภิไธย
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ มาเลเซีย
แผนก/สังกัด กองทัพบกมาเลเซีย
ประจำการ1978–ปัจจุบัน
ชั้นยศ จอมพล
หน่วย
สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลละฮ์แห่งปะหัง
เหรียญรางวัล
โปโล
ตัวแทนของ ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย
ซีเกมส์
เหรียญทอง - ชนะเลิศ สิงคโปร์ 1983 ทัวร์นาเมนต์ชาย[2]

พระราชประวัติ

แก้

เตงกู อับดุลลาห์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 ที่พระราชวังอิซตานา มังกา ตุงกัล เมืองเปอกัน ซึ่งเป็นรัชสมัยของสุลต่านอะบู บาการ์แห่งปะหัง สุลต่านแห่งรัฐปะหังองค์ที่ 4 มีพระนามแต่แรกประสูติว่า เตงกู อับดุลลาห์ พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์แรกของมกุฎราชกุมารแห่งปะหัง ในขณะนั้น (เตงกู อะฮ์มัด ชะฮ์ ซึ่งเป็นเป็นพระราชโอสรองค์ที่ 3 ของสุลต่านอะบู บาการ์ กับสมเด็จพระราชชนนีเติงกูอัมปวน อัฟซัน สองปีหลังจากที่มลายาได้รับเอกราช ภายใต้การปกครองของ สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุล ระห์มัน ยังดีเปอร์ตวนอากงองค์ที่ 1 พระญาติสนิท เรียกพระองค์แบบลำลองว่า "อาลัม"[4][5]

โดยเป็นพระราชบุตรองค์ที่ 4 จากจำนวนพี่น้อง 8 พระองค์ พระองค์ทรงมีพระเชษฐภคินีคือเตงกู เมอรียัม พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์โตของสุลต่านอะฮ์มัด ชะฮ์ สุลต่านแห่งรัฐปะหัง พระราชอนุชาของพระองค์คือเตงกู อับดุล ราห์มาน และเตงกู อับดุล ฟาฮัด มูอัดซัม ชาห์

การศึกษา

แก้

พระองค์ได้รับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนสุลต่านฮัมเหม็ด เมืองเปอกัน โรงเรียนเซนต์โทมัสกวนตัน ก่อนเสด็จไปศึกษาต่อต่างประเทศ ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ทรงสนพระราชหฤทัยในด้านกีฬา เช่น ฮอกกี้ ฟุตบอล และเซปักตะกร้อ ครั้งหนึ่งพระองค์ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนของโรงเรียน เขต และรัฐในเกมฟุตบอลระดับประเทศ

พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษาศาสนาอิสลามเป็นการส่วนพระองค์ทุกสัปดาห์ในห้องทำงานของพระองค์ในพระราชวัง และทรงศึกษาโดยกะดีเบซาร์แห่งรัฐปะหัง

พระองค์ศึกษาต่อในสหราชอาณาจักรโดยเข้าเรียนที่ โรงเรียนอัลเดนแฮม เมืองเอลส์ทรีมณฑลฮาร์ทฟอร์ดเชอร์ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2518 ถึง 2520 จากนั้นพระองค์ศึกษาต่อที่วิทยาลัยเดวิส กรุงลอนดอน เป็นเวลาสองปี เช่นเดียวกับราชวงศ์อื่น ๆ ทั่วโลก พระองค์เข้าเรียนที่ โรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ เป็นเวลาสองปีเช่นกัน พระองค์ได้รับยศร้อยตรีจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในปีพ.ศ. 2524 หลังจากนั้นพระองค์ทรงศึกษาที่ วิทยาลัยวูสเตอร์ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และราชวิทยาลัยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธ ทรงสำเร็จการศึกษาด้านกิจการต่างประเทศและการทูต

รัชทายาท

แก้

ภายหลังการประสูติของพระองค์ เตงกู อับดุลลาห์อยู่ในตำแหน่งรัชทายาทอำดับที่ 2 ในสายการสืบราชสันตติวงศ์แห่งปะหัง ต่อจาก เตงกู อิบราฮิม พระอัยกา และตามด้วยเตงกู มะห์โกตา(มกุฎราชกุมาร) ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระองค์ เมื่อพระอัยกาเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2517 และพระราชบิดาขึ้นครองราชย์ เตงกู อับดุลลาห์กลายเป็นรัชทายาทพระองค์แรกแห่งปะหัง

มกุฎราชกุมาร

แก้

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 พระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็นเตงกู มะห์โกตา(มกุฎราชกุมาร)แห่งปะหัง และต่อมาได้ขึ้นรับตำแหน่งเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2520 ณ พระราชวัง อิสตานา อะบู บาการ์ เมืองเปอกัน ก่อนได้รับการแต่งตั้งเป็นสุลต่าน พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งมกุฎราชกุมารยาวนานที่สุดเป็นอันดับสองเป็นเวลาเกือบ 44 ปี ในบรรดารัชทายาทแห่งราชบัลลังก์ทั่วโลก รองจากเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ (สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร)

ผู้สำเร็จราชการ

แก้

เตงกู อับดุลลาห์ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งรัฐปะหัง เมื่อพระราชบิดาได้รับการแต่งตั้งยังดีเปอร์ตวนอากง ในปี พ.ศ. 2522

หลังจากพระราชบิดาสวรรคต เตงกู อับดุลลาห์ได้ขึ้นครองบัลลังก์อย่างเป็นทางการในฐานะเจ้าผู้สำเร็จราชการแห่งรัฐปะหังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 หลังจากนั้น พระองค์ได้เข้าร่วมพิธีอย่างเป็นทางการและพิธีการในสำนักพระราชวัง

เจ้าผู้ครองนคร

แก้

สุลต่านองค์ที่ 6 แห่งปะหัง

แก้

หลังจากการสละราชสมบัติของพระราชบิดาเนื่องจากพระอาการประชวร เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2562 พระองค์ได้รับการแต่งตั้งจากสภาแห่งรัฐปะหังให้ดำรงตำแหน่งสุลต่านองค์ที่ 6 แห่งรัฐปะหังแทนพระราชบิดา พระองค์ทรงได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2562 มีพระนามเต็มว่า "สุลต่านอับดุลลาห์ ริ‘อายาตุดดิน อัล-มุสตาฟา บิลลาห์ ชาห์ อิบนี อัลมัรฮูม สุลต่าน ฮัจญี อาห์มัด อัล-มุสตา‘อิน บิลลาห์ ชาห์" ณ พระราชวังอิซตานา อะบู บาการ์ เมืองเปอกัน รัฐปะหัง

ยังดีเปอร์ตวนอากง

แก้

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

แก้

หลังจากนั้นไม่นาน ในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2562 สภาผู้ปกครองในการประชุมสภาผู้ปกครองสมัยพิเศษครั้งที่ 251 ตกลงเลือกให้พระองค์เป็นยังดีเปอร์ตวนอากงองค์ที่ 16 แทนสมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 แห่งกลันตัน ที่สละราชสมบัติ พระองค์ทรงสาบานตนเข้ารับดำรงตำแหน่งเพื่อเริ่มขึ้นครองราชย์ ณ พระราชวังอิสตานา เนอการา กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2562 พิธีราชาภิเษกของยังดีเปอร์ตวนอากง จัดขึ้นที่พระราชวังอิสตานา เนอการา กรุงกัวลาลัมเปอร์เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เจ็ดเดือนหลังจากพระองค์ขึ้นครองราชย์ ในขณะเดียวกัน การบริหารจัดการในปะหัง พระองค์ทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการให้กับพระราชโอรสคือเติงกูฮัซซานัล อิบราฮิม อาลัม ชะฮ์ อย่างไรก็ตาม ณ วันที่ได้รับการแต่งตั้ง เตงกู ฮัสซานัล ยังทรงกำลังศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ ด้วยเหตุนี้ เตงกู ฮัสซานัลจึงทรงได้รับความช่วยเหลือในการปฏิบัติหน้าที่โดยสภาแห่งรัฐปะหัง นำโดยพระราชอนุชาของสุลต่านอับดุลละห์ ซึ่งเป็นพระปิตุลา (อา) ของเตงกู ฮัสซานัล คือเตงกูอับดุล ราห์มาน และเตงกู อับดุล ฟาฮัด มูอัดซัม ชาห์ ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 จนกระทั่งพระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ในฐานะประมุขแห่งรัฐ

แก้

สุลต่านอับดุลลาห์ ในฐานะประมุขแห่งรัฐมักเสด็จเยือนต่างประเทศเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของมาเลเซีย ตลอดจนเข้าร่วมพระราชพิธีตามคำเชิญอย่างเป็นทางการ โดยปกติแล้วพระองค์จะเสด็จพร้อมด้วยสมเด็จพระราชินี และบางครั้งจะเสด็จพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีและรัฐบาล พระองค์มักจะพบปะกับประชาชนในระหว่างเสด็จอย่างทรงเป็นกันเอง อย่างไรก็ตาม ภารกิจนี้ถูกระงับในปีพ.ศ. 2563 และ พ.ศ. 2564 เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งทำให้การเสด็จไปเยือนรัฐต่าง ๆ ต้องเลื่อนออกไป

พระมเหสีและพระชายา

แก้

เตงกู อับดุลลาห์ ทรงอภิเษกสมรสกับพระราชธิดาองค์ที่ 3 ของสมเด็จพระราชาธิบดีอิสกันดาร์ สุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์ คือ ตุนกู ฮาจะฮ์ อาซีซะฮ์ อามีนะฮ์ ไมมูนะฮ์ อิซกันดารียะฮ์ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2529 ที่มัสยิดสุลต่าน อาบู บาการ์ รัฐยะโฮร์ พระองค์มีพระราชบุตร 5 พระองค์ โดยเป็นพระราชโอรส 3 พระองค์ และพระราชธิดา 2 พระองค์

พระองค์ทรงอภิเษกสมรสเป็นครั้งที่สองกับจูเลีย ราอิซ ซึ่งเป็นอดีตนักแสดงชาวมาเลเซีย และมีพระราชธิดา 3 พระองค์

พระราชสันติวงศ์

แก้

พระราชโอรสและพระราชธิดาทุกพระองค์ได้รับการศึกษาในสหราชอาณาจักร พระราชโอรสบุญธรรมและเป็นพระโอรสองค์สุดท้องของเตงกู อาริฟ บันดาฮารา อิบราฮิม และพระชายาองค์ที่ 3 ซาร์รีนา บินตี อับดุลลาห์

- พระราชโอรสบุญธรรมซึ่งพระองค์ทรงรับมาอุปการะ

  1. เติงกูอามีร์ นัซเซอร์ อิบราฮิม (พระโอรสของเตงกู อาริฟ บันดาฮารา อิบราฮิม ผู้ล่วงลับ) ประสูติเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2529 (พระชันษา 36 ปี) ณ โรงพยาบาลเกาะปะหัง รัฐปะหัง ทรงเสกสมรสเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ.2013 กับ ซูไรยา อัฟซาน มีพระโอรสดังนี้

• เตงกู อดัม อิบราฮิม ชาห์

• เตงกู สุไลมาน อับดุลลาห์ ชาห์

• เตงกู นูห์ มูฮัมหมัด ชาห์

- พระราชโอรสและพระราชธิดาในสุลต่านอับดุลลาห์กับเติงกู อัมปวนแห่งรัฐปะหัง

  1. ติงกู อะฮ์มัด อิซกันดาร์ ชะฮ์ ประสูติและสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ.1990
  2. เติงกูฮัซซานัล อิบราฮิม อาลัม ชะฮ์ ประสูติเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2538 (พระชนมายุ 27 พรรษา) ณ โรงพยาบาลเต็งกู อัมปวนอัฟซาน (Hospital Tengku Ampuan Afzan) เมืองกวนตัน สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากโรงเรียนการทูตและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแห่งเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
  3. เติงกู มูฮัมมัด อิซกันดาร์ รีอายาตุดดิน ชะฮ์ ประสูติเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2540 (พระชนมายุ 26 พรรษา) สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดบรูกส์ ประเทศอังกฤษ
  4. เติงกู อะฮ์มัด อิซมาอิล มูอัดซัม ชะฮ์ ประสูติเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2543 (พระชนมายุ 22 พรรษา) สำเร็จการศึกษาจาก วิทยาลัยรอยัลฮอลโลเวย์ มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ
  5. เติงกูปูเตอรี อัฟซัน อามีนะฮ์ ฮาฟิดซาตุลละฮ์ประสูติเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2543 (พระชนมายุ 22 พรรษา) สำเร็จการศึกษาจาก วิทยาลัยรอยัลฮอลโลเวย์ มหาวิทยาลัยลอนดอนประเทศอังกฤษ
  6. เติงกูปูเตอรี จีฮัน อาซีซะฮ์ อาตียาตุลละฮ์ ประสูติเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2545 (พระชนมายุ 21 พรรษา) ทรงกำลังศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปะเชิงสร้างสรรค์ เมืองฟาร์แนม ประเทศอังกฤษ

- พระราชธิดาในพระชายาจูเลีย ราอิซ

  1. เติงกูปูเตอรี อีมัน อัฟซัน ประสูติเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 (พระชันษา 30 ปี) ณ โรงพยาบาลกัวลาลัมเปอร์ สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ ทรงเสกสมรสเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2561 กับเตงกู อาบู บาการ์ อาหมัด แห่งรัฐปะหัง (มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกัน) มีพระโอรส-พระธิดาดังนี้

• เติงกู เซน เอดิน ชาห์

• เตงกู อาเลยา นอร์ลิน

2. เติงกูปูเตอรี อีลีชา อามีรา ประสูติเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2538 (พระชันษา 27 ปี) ณ โรงพยาบาลกัวลาลัมเปอร์ สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ

3. เติงกูปูเตอรี อิลยานา ประสูติเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2540 (พระชันษา 26 ปี) ณ โรงพยาบาล Gleneagles กัวลาลัมเปอร์ สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ

หมายเหตุ

แก้
  1. มีความหมายว่า "สุลต่านอับดุลละฮ์ ในฐานะผู้ปกป้องอิสลาม ซึ่งถูกเลือกโดยอัลลอฮ์"[1]

อ้างอิง

แก้
  1. Bernama (15 January 2019). "Sultan of Pahang officially addressed as Al-Sultan Abdullah Ri'ayatuddin Al-Mustafa Billah Shah". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-19. สืบค้นเมื่อ 17 July 2019.
  2. "Raja Permaisuri Agong bercerita tentang pingat emas YDP Agong" [Raja Permaisuri Agong bercerita tentang pingat emas YDP Agong]. kosmo,com (ภาษามาเลย์). 28 July 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-01. สืบค้นเมื่อ 28 July 2019.
  3. "Tengku Abdullah to be proclaimed Pahang sultan on Jan 15". MalaysiaKini. 12 January 2019. สืบค้นเมื่อ 5 July 2019.
  4. "Biodata Pemangku Raja Pahang Tengku Abdullah Sultan Ahmad Shah". Berita Harian. 12 January 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2019. สืบค้นเมื่อ 5 July 2019.
  5. "Former Pahang ruler Sultan Ahmad Shah dies at age 88". The Star (Malaysia). 23 May 2019. สืบค้นเมื่อ 5 July 2019.