อำเภอพย็องชัง

อำเภอในจังหวัดคังว็อน ประเทศเกาหลีใต้
(เปลี่ยนทางจาก พย็องชัง)

พย็องชัง (เกาหลี평창군; ฮันจา平昌郡; อังกฤษ: Pyeongchang) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดคังว็อน ประเทศเกาหลีใต้ ตั้งอยู่ในเขตภูเขาแทแบ็ก เป็นที่ตั้งของวัดพุทธหลายแห่ง รวมถึง Woljeongsa ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้จากโซลประมาณ 180 กิโลเมตร (110 ไมล์) และเชื่อมต่อด้วยทางด่วนและรถไฟโดยสารความเร็วสูง

พย็องชัง

평창군
การถอดเสียงเกาหลี
 • ฮันกึล평창
 • ฮันจา平昌
 • อักษรโรมันปรับปรุงPyeongchang-gun
 • แมกคูน-ไรซ์ชาวเออร์P'yŏngch'ang-gun[1]
อัลเพนเซียรีสอร์ตและฟาร์มกังหันลมในพย็องชัง
ธงของพย็องชัง
ธง
โลโกอย่างเป็นทางการของพย็องชัง
ตรา
ที่มาของชื่อ: "สงบสุข" หรือ "ที่ราบ", "ความเจริญรุ่งเรือง"
ที่ตั้งในจังหวัดคังว็อน
ประเทศเกาหลีใต้
จังหวัดคังว็อน
เขตการปกครอง1 อึบ, 7 มย็อน
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,463.65 ตร.กม. (565.12 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2013)
 • ทั้งหมด43,666 คน
 • ความหนาแน่น30 คน/ตร.กม. (80 คน/ตร.ไมล์)
 • ภาษาถิ่นคังว็อน
เขตเวลาUTC+9

พย็องชังได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 และพาราลิมปิกฤดูหนาว 2018[2] โดยได้รับการเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการเป็น "PyeongChang" (อักษร 'C' พิมพ์ใหญ่) ด้วยจุดประสงค์ในการแข่งขันเมื่อ ค.ศ. 2018 เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนกับเปียงยางในประเทศเกาหลีเหนือ[3][4]

ประวัติ

แก้

ภูมิภาคพย็องชังเคยอยู่ใภายใต้การปกครองของราชวงศ์โคกูรยอในสมัยสามราชอาณาจักร และในขณะนั้นมรชื่อว่า Uk-o-hyeon (욱오현)[5] หบะราชวงศ์ชิลลาเข้าพิชิตราชวงศ์โคกูรยอและแพ็กเจ พื้นที่นี้จึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Baek-o-hyeon (백오현)[6]

หลังสถาปนาราชวงศ์โคกูรยอ พื้นที่นี้จึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Pyeongchang-hyeon ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมของว็อนจู[7]

เมื่อสถานปนาราชวงศ์โชซ็อนใน ค.ศ. 1392 ภูมิภาคนี้ได้รับการเลื่อนสถานะจาก hyeon ไปเป็นเทศมณฑล (gun)[8] หลังดินแดนนี้ถูกแบ่งไปเป็น 8 แคว้นในรัชสมัยพระเจ้าแทจง พื้นที่นี้อยู่ใน Gangwon-do[9]

ภูมิศาสตร์

แก้

กีฬา

แก้

พย็องชังเป็นเมืองเจ้าภาพในเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว 1999 และโอลิมปิกฤดูหนาว 2018

เอเชียนเกมส์ฤดูหนาว 1999

แก้

เอเชียนเกมส์ฤดูหนาวจัดขึ้นใน ค.ศ. 1999 ที่จังหวัดคังว็อน ซึ่งรวมถึงพย็องชัง ในตอนแรกคาดว่าจังหวัดนี้จะเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ฤดูหนาวครั้งที่สาม 3 ที่เกาหลีเหนือสละสิทธิ์ อย่างไรก็ตาม มีการประกาศให้ฮาร์บินเป็นเมืองเจ้าภาพ ทำให้จังหวัดคังว็อนกลายเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ฤดูหนาวครั้งที่ 4 ในเวลาเดียวกัน[10]

มีนักกีฬาเข้าแข่งขันทั้งหมด 799 คน โดยจัดการแข่งขันประเภทสกีลงเขา, สกีครอสคันทรี, ทวิกีฬาฤดูหนาว, สเกตความเร็วระยะสั้น และสเกตลีลาที่พย็องชัง[11]

โอลิมปิกฤดูหนาว 2018

แก้
 
หนึ่งในสนามแข่งที่ใช้ในโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 (ภาพถ่ายใน ค.ศ. 2013)

ณ วันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 มีการประกาศให้พย็องชังเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 และพาราลิมปิกฤดูหนาว 2018 โดยสามารถเอาชนะคู่แข่งจากอีก 2 เมืองคือ มิวนิกและอานซี ถือเป็นการแข่งขันฤดูหนาวที่สามในเอเชีย หลังโอลิมปิกฤดูหนาว 1972 ที่ซัปโปโระ ประเทศญี่ปุ่น และโอลิมปิกฤดูหนาว 1998 ที่นางาโนะ ประเทศญี่ปุ่น และยังเป็นการแข่งขันฤดูหนาวเอเชียครั้งแรกที่จัดนอกประเทศญี่ปุ่น พย็องชังประสบความสำเร็จในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 หลังจากการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว 2 ครั้งก่อนหน้า ทั้งในปี 2010 และ 2014 ไม่ประสบผลสำเร็จ โดยพ่ายแพ้ให้กับแวนคูเวอร์ ประเทแคนาดา และโซชี ประเทศรัสเซีย ตามลำดับ[12]

อ้างอิง

แก้
  1. "P'yŏngch'ang-gun: South Korea - name, geographic coordinates, administrative division, and map". Geographical Names. สืบค้นเมื่อ 8 July 2011.
  2. "S. Korean city to host 2018 Winter Olympics". CNN. 6 July 2011. สืบค้นเมื่อ 6 November 2011.
  3. Swalec, Andrea (28 November 2017). "Pyeongchang? Pyongyang? Olympic Host City Location Is Easily Mistaken". NBC4 Washington. Washington. สืบค้นเมื่อ 15 February 2018.
  4. Keating, Josh. "Pyongchang vs. PyeongChang vs. Pyeongchang". Slate. สืบค้นเมื่อ 23 February 2018.
  5. 관동대학교영동문화연구소(평창군지편찬위원회), 평창군지 상, Pyoengchang County, 2003, pp. 48–49
  6. 관동대학교영동문화연구소(평창군지편찬위원회), 평창군지 상, Pyoengchang County, 2003, p. 61
  7. Goryeosa. 1455.
  8. "연혁". happy700.or.kr. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-09. สืบค้นเมื่อ 2024-07-03.
  9. "강원도 역사와 문화". www.provin.gangwon.kr.
  10. 관동대학교영동문화연구소(평창군지편찬위원회), 평창군지 상, Pyoengchang County, 2003, p. 777
  11. 관동대학교영동문화연구소(평창군지편찬위원회), 평창군지 상, Pyoengchang County, 2003, p. 778
  12. "Pyeongchang named as host city for 2018 Winter Olympics". Daily Telegraph. 6 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2011. สืบค้นเมื่อ 7 July 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

37°22′N 128°24′E / 37.367°N 128.400°E / 37.367; 128.400