ยานสำรวจอวกาศ ดอว์น (อังกฤษ: Dawn) เป็นยานสำรวจอวกาศขององค์การนาซาแบบใช้หุ่นยนต์ควบคุม ถูกส่งไปในภารกิจสำรวจดาวเคราะห์น้อยดวงที่ใหญ่ที่สุด 2 ดวงในแถบดาวเคราะห์น้อย คือ ดาวเคราะห์น้อยเวสตา และดาวเคราะห์แคระ เซเรส ดอว์นขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2550 ถึงดาวเคราะห์น้อยเวสต้าเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งมีกำหนดจะสำรวจต่อไปจนถึงปี พ.ศ. 2555 และมีกำหนดจะไปถึงดาวเคราะห์น้อยเซเรสในปี พ.ศ. 2558 นับเป็นยานอวกาศดวงแรกที่จะไปเยือนวัตถุในระบบสุริยะทั้งสองนี้ ดอว์นเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อให้ยานอวกาศสามารถเข้าไปอยู่ในวงโคจรรอบวัตถุทางดาราศาสตร์ ศึกษาวัตถุนั้น แล้วผละออกมาเพื่อมุ่งหน้าไปสำรวจเป้าหมายอื่น ขณะที่ยานสำรวจอวกาศอื่น ๆ ในโครงการก่อนหน้านี้ เช่นโครงการวอยเอจเจอร์ ได้ทำการสำรวจวัตถุดาราศาสตร์ต่าง ๆ โดยการเคลื่อนที่ผ่านเท่านั้น[5]

ดอว์น
ภาพวาดจำลองของศิลปิน แสดงยานอวกาศดอว์น
ประเภทภารกิจยานอวกาศหลายเป้าหมาย
ผู้ดำเนินการนาซา / เจพีแอล
COSPAR ID2007-043A
SATCAT no.32249
เว็บไซต์http://dawn.jpl.nasa.gov/
ระยะภารกิจ11 ปี 1 เดือน 4 วัน[1][2]
ข้อมูลยานอวกาศ
ผู้ผลิต
มวลขณะส่งยาน1,217.7 กิโลกรัม (2,684.6 ปอนด์)[4]
มวลแห้ง747.1 กิโลกรัม (1,647.1 ปอนด์)[4]
ขนาด1.64 × 19.7 × 1.77 เมตร (5.4 × 65 × 5.8 ฟุต)[4]
กำลังไฟฟ้า10 kW at 1 AU[4]
1.3 kW at 3 AU[5]
เริ่มต้นภารกิจ
วันที่ส่งขึ้น27 กันยายน ค.ศ. 2007, 11:34 UTC[6]
จรวดนำส่งDelta II 7925H
ฐานส่งแหลมคะแนเวอรัล SLC-17B
ผู้ดำเนินงานUnited Launch Alliance
สิ้นสุดภารกิจ
การกำจัดวงโคจรเสถียรที่ไม่สามารถควบคุมได้
ติดต่อครั้งสุดท้าย30 ตุลาคม 2018[7]
ลักษณะวงโคจร
ระบบอ้างอิงซีรีส
ระบบวงโคจรHighly elliptical
กึ่งแกนเอก2,475.1356 กิโลเมตร (1,537.9780 ไมล์)[8]
ความเยื้อง0.7952 [8]
ระยะใกล้สุด37.004 กิโลเมตร (22.993 ไมล์)
ระยะไกลสุด3,973.866 กิโลเมตร (2,469.246 ไมล์)
ความเอียง76.1042 องศา[8]
คาบการโคจร1,628.68 นาที[8]
ลองจิจูดของจุดโหนดขึ้น-79.4891 องศา[8]
มุมของจุดใกล้ที่สุด164.1014 องศา[8]
วันที่ใช้อ้างอิง30 ตุลาคม 2018, 00:00:00 UTC[8]
บินผ่านดาวอังคาร
เข้าใกล้สุด18 กุมภาพันธ์ 2009, 00:27:58 UTC[6]
ระยะทาง542 กิโลเมตร (337 ไมล์)[6]
ยานอวกาศโคจรรอบ 4 เวสต้า
แทรกวงโคจร16 กรกฎาคม 2011, 04:47 UTC[9]
ออกวงโคจร5 กันยายน 2012, 06:26 UTC[6]
ยานอวกาศโคจรรอบ 1 ซีรีส
แทรกวงโคจร6 มีนาคม 2015, 12:29 UTC[6]

Dawn mission patch  

สถานะ

แก้

วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ดอว์นได้จับภาพเป้าหมายเป็นครั้งแรกที่ระยะห่าง 1.2 ล้านกิโลเมตรจากเวสต้า และเริ่มเข้าสู่ช่วงบินเข้าหาดาวเคราะห์น้อยดังกล่าว[10] วันที่ 12 มิถุนายน ความเร็วของดอว์นเทียบกับเวสต้าลดลงเพื่อเตรียมการเข้าสู่วงโคจรในอีก 34 วันให้หลัง[11]

ดอว์นมีกำหนดจะเข้าสู่วงโคจรเมื่อเวลา 05:00 UTC วันที่ 16 กรกฎาคม หลังช่วงผลักดันด้วยเครื่องยนต์ไอออน เนื่องจากสายอากาศของดอว์นชี้ออกจากโลกในระหว่างการผลักดัน ทำให้นักวิทยาศาสตร์ไม่อาจยืนยันได้ในทันทีทันใดว่าดอว์นสามารถเข้าสู่วงโคจรได้สำเร็จหรือไม่ ยานอวกาศดังกล่าวกำหนดทิศทางใหม่และมีกำหนดจะเข้าทำงานเมื่อเวลา 06:30 UTC ของวันที่ 17 กรกฎาคม[12] ภายหลัง องค์การนาซาได้ยืนยันว่าองค์การได้รับข้อมูลทางไกลจากดอว์นซึ่งบ่งชี้ว่ายานอวกาศดังกล่าวเข้าสู่วงโคจรรอบเวสต้าได้สำเร็จ[13] ยังไม่มีการยืนยันเวลาที่แน่นอนของการเข้าสู่วงโคจร เพราะขึ้นอยู่กับการกระจายมวลของเวสต้า ซึ่งยังทำได้แค่ประมาณการเท่านั้น[14]

ภารกิจ

แก้

เป้าหมายของภารกิจ เพื่อบรรยายลักษณะและกระบวนการของมหายุคแรกสุดของระบบสุริยะ โดยการสำรวจรายละเอียดดาวเคราะห์ก่อนเกิดสองดวงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ยังคงไม่ได้รับความเสียหายนับแต่ระบบสุริยะก่อตัวขึ้น เซเรสและเวสต้ามีลักษณะเฉพาะที่ขัดกันเป็นอย่างมากซึ่งคาดกันว่าเป็นผลมาจากการที่พวกมันก่อตัวขึ้นในสองบริเวณที่แตกต่างกันในระบบสุริยะยุคแรกเริ่ม มีตัวอย่างจากเซเรสจำนวนมากที่นักวิทยาศาสตร์สามารถเข้าถึงได้ ในรูปของอุกกาบาต HED มากกว่า 200 ลูก ซึ่งให้ความกระจ่างแก่ประวัติศาสตร์และโครงสร้างธรณีวิทยาของเวสต้า เชื่อกันว่าเวสต้าประกอบด้วยแก่นโลหะเหล็ก-นิกเกิล ชั้นแมนเทิลที่มีโอลิวีนเหมือนหินที่อยู่ด้านบน และผิวเปลือก[15][16][17]

อ้างอิง

แก้
  1. McCartney, Gretchen; Brown, Dwayne; Wendel, JoAnna (September 7, 2018). "Legacy of NASA's Dawn, Near the End of its Mission". NASA. สืบค้นเมื่อ September 8, 2018.
  2. "GSpace Topics: Dawn". Planetary Society. สืบค้นเมื่อ November 9, 2013.
  3. "Dawn".
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "Dawn at Ceres" (PDF) (Press kit). NASA / Jet Propulsion Laboratory. March 2015.
  5. 5.0 5.1 Rayman, Marc; Fraschetti, Thomas C.; Raymond, Carol A.; Russell, Christopher T. (April 5, 2006). "Dawn: A mission in development for exploration of main belt asteroids Vesta and Ceres" (PDF). Acta Astronautica. 58 (11): 605–616. Bibcode:2006AcAau..58..605R. doi:10.1016/j.actaastro.2006.01.014. สืบค้นเมื่อ April 14, 2011.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 "Dawn". National Space Science Data Center. NASA. สืบค้นเมื่อ November 20, 2016.
  7. Chang, Kenneth (November 1, 2018). "NASA's Dawn Mission to the Asteroid Belt Says Good Night - Launched in 2007, the spacecraft discovered bright spots on Ceres and forbidding terrain on Vesta". The New York Times. สืบค้นเมื่อ November 2, 2018.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 8.6 "Nasa Horizons Ephemeris – Target body name: Dawn (spacecraft) (-203)". NASA JPL. 6 January 2022.
  9. Brown, Dwayne C.; Vega, Priscilla (August 1, 2011). "NASA's Dawn Spacecraft Begins Science Orbits of Vesta". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-02. สืบค้นเมื่อ August 6, 2011.
  10. http://www.nasa.gov/mission_pages/dawn/news/dawn20110511.html เก็บถาวร 2012-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน NASA
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-22. สืบค้นเมื่อ 2011-07-19.
  12. Wall, Mike (July 16, 2011). "NASA Spacecraft Now Orbiting Huge Asteroid Vesta ... Hopefully". Space.com. สืบค้นเมื่อ July 17, 2011.
  13. Jonathan Amos (17 July 2011). "Dawn probe orbits asteroid Vesta". BBC News.
  14. Vega, Priscilla; Brown, Dwayne (July 16, 2011). "NASA's Dawn Spacecraft Enters Orbit Around Asteroid Vesta". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-19. สืบค้นเมื่อ July 17, 2011.
  15. Ghosh, A; McSween, Harry Y. (1998). "A Thermal Model for the Differentiation of Asteroid 4 Vesta, Based on Radiogenic Heating". Icarus. 134 (2): 187–206. Bibcode:1998Icar..134..187G. doi:10.1006/icar.1998.5956.
  16. Sahijpal, S.; Soni, P.; Gagan, G. (2007). "Numerical simulations of the differentiation of accreting planetesimals with 26Al and 60Fe as the heat sources". Meteoritics & Planetary Science. 42 (9): 1529–1548. Bibcode:2007M&PS...42.1529S. doi:10.1111/j.1945-5100.2007.tb00589.x.
  17. Gupta, G.; Sahijpal, S. (2010). "Differentiation of Vesta and the parent bodies of other achondrites". J. Geophys. Res. Planets. 115 (E8): E08001. Bibcode:2010JGRE..115.8001G. doi:10.1029/2009JE003525.

0