วังแก้ว หรือ วังกระจก (อังกฤษ: The Crystal Palace, เดอะ คริสตัล พาเลซ) เป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างด้วยเหล็กหล่อ (Cast iron) และกระจกที่เดิมสร้างขึ้นที่ไฮด์พาร์คในกรุงลอนดอนในอังกฤษเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับการแสดงนิทรรศการครั้งยิ่งใหญ่ (The Great Exhibition) ของปี ค.ศ. 1851 ภายในมีผู้ร่วมเข้าแสดงจากทั่วโลกถึง 14,000 องค์การในเนื้อที่ทั้งหมด 92,000 ตารางเมตร ที่เป็นการแสดงสิ่งต่าง ๆ ที่แสดงถึงความก้าวหน้าล่าสุดทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิวัติอุตสาหกรรม วังแก้วออกแบบโดยสถาปนิกโจเซฟ แพกซ์ตัน ตัวสิ่งก่อสร้างยาว 564 เมตร และสูง 33 เมตร[1] ถือเป็นสิ่งก่อสร้างมุงแก้วที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์

วังแก้ว
วังแก้ว ค.ศ. 1851
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
สถานะถูกทำลาย
ประเภทสิ่งก่อสร้างสำหรับนิทรรศการ
สถาปัตยกรรมวิกตอเรีย
เมืองลอนดอน
ประเทศสหราชอาณาจักร
พิกัด51°25′21″N 0°04′32″W / 51.4226°N 0.0756°W / 51.4226; -0.0756
แล้วเสร็จค.ศ. 1851
ถูกทำลาย30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1936
ค่าก่อสร้าง2 ล้านปอนด์ (ค.ศ. 1851)
(280 ล้านปอนด์ใน ค.ศ. 2019)
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกโจเซฟ แพกซ์ตัน

หลังจากงานนิทรรศการแล้ววังแก้วก็ถูกย้ายไปสร้างในสวนสาธารณใหม่ในย่านผู้มีฐานะดีของกรุงลอนดอนที่เรียกว่าไซเด็นแนมฮิลล์ (Sydenham Hill) ที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปเท่าใดนักตั้งแต่สมัยวิคตอเรีย วังแก้วได้รับการขยายและตั้งอยู่ที่นั่นระหว่างปี ค.ศ. 1854 จนถึงปี ค.ศ. 1936 เมื่อถูกทำลายลงในเพลิงไหม้ คำว่า “Crystal Palace” เป็นคำที่คิดขึ้นอย่างเยาะ ๆ โดยนิตยสารเสียดสี “พันช์”[2] ที่ต่อมาใช้เรียกบริเวณทางใต้ของลอนดอน (คริสตัลพาเลซ) และอุทยานรอบบริเวณนั้น

วังแก้วขณะถูกไฟไหม้

วันที่ 30 พฤศจิกายน 1936 ภายในไม่กี่ชั่วโมง วังแก้วถูกไฟไหม้เสียหายจนย่อยยับ แสงไฟที่เผาวังแก้วนั้นสามารถมองเห็นได้ถึงจากแปดมณฑล [3] ขณะนั้น เซอร์ เฮนรี บัคแลนด์ ผู้จัดการทั่วไปของวังแก้วกำลังเดินตรวจตรากับสุนัขและลูกสาวของเขา ต่อมาพวกเขาสังเกตเห็นเปลวไฟสีแดงเรืองแสงอยู่ภายใน ภายในนั้นเองเขาพบสองพนักงานดับเพลิงกำลังดับเพลิงย่อม ๆ บริเวณส่วนสำนักงาน[4] การระเบิดเกิดขึ้นในห้องรับฝากของสุภาพสตรี [5] ซึ่งไฟนั้นลุกโชนอย่างรุนแรงมาก โทรศัพท์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ลงบันทึกครั้งแรกเวลา 19:59 น. ประมาณการว่าหน่วยดับเพลิงมาถึงที่เกิดเหตุหลังจากนั้น 4 นาที แต่ก็สายเกินไป[6] ต่อมาแม้ว่าจะมีเครื่องดับเพลิงกว่า 89 ตัว และพนักงานดับเพลิงร่วม 400 ชีวิต มาถึงสถานที่เกิดเหตุแต่ก็ไม่สามารถที่จะดับไฟลงได้ บัคแลนด์กล่าวว่า "ในไม่กี่ชั่วโมงเราได้เห็นจุดจบของเดอะคริสตัลพาเลซ มันจะยังอยู่ในความทรงจำไม่เพียงแต่คนอังกฤษ แต่จากโลกทั้งโลก" ในขณะนั้นเอง มีประชาชนนับแสนคนเดินทางมาที่ไซเด็นแนมฮิลล์เพื่อชมแสงไฟที่กำลังแผดเผาวังแก้ว ในหมู่คนเหล่านั้น เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิลล์ อดีตสมาชิกรัฐสภาอังกฤษกล่าวว่า "นี่คือจุดจบของยุค"[7]

อ้างอิง

แก้
  1. "The Crystal Palace of Hyde Park". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-12. สืบค้นเมื่อ 2008-04-04.
  2. The 1850-11-02 Punch issue is credited with bestowing the "Crystal Palace" name on the design by Strieter, Terry (1999). Nineteenth-Century European Art: A Topical Dictionary. Westport, Conn.: Greenwood Press. p. 50. ISBN 031329898X. (And "Crystal Palace". BBC. สืบค้นเมื่อ 2007-11-21. The term 'Crystal Palace' was first applied to Paxton's building by Punch in its issue of 2nd November 1850.) Punch had originally sided with The Times against the Exhibition committee's own proposal of a fixed brick structure, but featured the Crystal Palace heavily throughout 1851 (for example in "Punch Issue 502". included the article "Travels into the Interior of the Crystal Palace" of February 1851). Any earlier name has been lost, according to "Everything2 Crystal Palace Exhibition Building Design #251". 2003..
  3. London (21 December 1936). "London's Biggest Fire..." Life. Life magazine (1936): 34. The Crystal Palace will never be rebuilt
  4. Harrison, M. (2010). "Disaster strikes". The Crystal Palace Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-18. สืบค้นเมื่อ 2012-05-09. The first fire brigade call was received by Penge fire station at 7:59 pm, the first fire engine arriving at 8:03. By the morning of Tuesday 1 December the building was no more
  5. December 1st – On this day in history in 1936, the Crystal Palace burned down
  6. "History of the Crystal Palace. Fire of 1936". The Crystal Palace Foundation. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-30. สืบค้นเมื่อ 2021-08-29.
  7. White, R.; Yorath, J. (2004). "The Crystal Palace – Demise". The White Files – Architecture. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-28. สืบค้นเมื่อ 15 June 2010. (Quotations from Yorath's original Radio Times article.)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้