เจ้าหญิงมาร์กาเรตแห่งคอนน็อต

เจ้าหญิงมาร์กาเรตแห่งคอนน็อต (Princess Margaret of Connaught; มาร์กาเร็ต วิกตอเรีย ชาร์ล็อต ออกัสตา นอร่าห์ ภายหลังคือ มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน; 15 มกราคม ค.ศ. 1882 - 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1920) เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในเจ้าชายอาร์เธอร์ ดยุกแห่งคอนน็อตและสแตรธเอิร์น พระราชโอรสพระองค์ที่สามในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรและ เจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามี กับ เจ้าหญิงหลุยส์ มาร์กาเรเทแห่งปรัสเซีย พระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเจ้าหญิงแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ และมีพระนามลำลองในหมู่พระญาติสนิทและพระสหายว่า "เดซี่"

เจ้าหญิงมาร์กาเรต
มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน
ดัชเชสแห่งสกาเนีย
ประสูติ15 มกราคม ค.ศ. 1882(1882-01-15)
เซอร์รีย์ สหราชอาณาจักร
สิ้นพระชนม์1 พฤษภาคม ค.ศ. 1920(1920-05-01) (38 ปี)
สต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน
ฝังพระศพสุสานหลวงโซลนา สต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน
พระสวามีสมเด็จพระเจ้ากุสตาฟที่ 6 อดอล์ฟแห่งสวีเดน
พระนามเต็ม
มาร์กาเรต วิกตอเรีย ชาร์ล็อต ออกัสตา นอราห์
พระบุตร5 พระองค์
ราชวงศ์
พระบิดาเจ้าชายอาร์เธอร์ ดยุกแห่งคอนน็อตและสแตรธเอิร์น
พระมารดาเจ้าหญิงลูอีส มาร์กาเร็ตแห่งปรัสเซีย

พระชนม์ชีพในวัยเยาว์

แก้

เจ้าหญิงทรงเข้ารับบัปติสมาที่หอสวดมนต์ของราชวงศ์ในปราสาทวินด์เซอร์วันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1882 โดยอาร์ชิบัลด์ เท็ต อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี โดยมีพระบิดาและพระมารดาทูนหัว คือ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย จักรพรรดิและจักรพรรดินีแห่งเยอรมนี มกุฎราชกุมารีแห่งเยอรมนี เจ้าชายและเจ้าหญิงคาร์ลแห่งปรัสเซีย และเจ้าชายแห่งเวลส์ ต่อมาพระองค์ก็ได้ทรงเข้าพิธีมหาสนิทในสถานที่แห่งเดียวกันนี้เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1888 ซึ่งแสดงว่าทรงเจริญพระชนม์สู่วัยที่จะอภิเษกสมรสได้แล้ว ก่อนที่จะอภิเษกสมรส เจ้าหญิงทรงดำรงพระอิสริยยศ เจ้าหญิงมาร์กาเรตแห่งคอนน็อต

อภิเษกสมรส

แก้

เมื่อเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตแห่งคอนน็อตมีพระชันษา 23 ปี และ เจ้าหญิงแพทริเซียแห่งคอนน็อต พระขนิษฐาองค์เล็กมีพระชันษา 18 ปี ทั้งสองพระองค์ทรงเป็นหนึ่งในเจ้าหญิงที่ทรงพระสิริโฉมงดงามและน่าพึงประสงค์ที่สุดในยุโรป สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 พระปิตุลาของเจ้าหญิงทั้งสองได้มีพระประสงค์ให้พระราชนัดดาอภิเษกสมรสกับกษัตริย์หรือมกุฎราชกุมารในประเทศหนึ่งของยุโรป เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1905 ดยุกและดัชเชสแห่งคอนน็อตเสด็จเยือนประเทศโปรตุเกส ซึ่งทรงได้รับการถวายการต้อนรับจากสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลอสแห่งโปรตุเกสและสมเด็จพระราชินีอาเมเลีย โดยมีพระราชโอรสทั้งสองพระองค์คือ เจ้าชายหลุยส์ ฟิลิเป ดยุกแห่งบรากันซา และ เจ้าชายมานูเอล ทรงรับรองเจ้าหญิงอังกฤษทั้งสองที่โดยเสด็จมาด้วย ชาวโปรตุเกสคาดหวังว่าหนึ่งในเจ้าหญิงแห่งคอนน็อตจะทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกสในอนาคต จากนั้นครอบครัวคอนน็อตก็ได้เสด็จเยือนประเทศสเปน ที่ได้คาดการณ์กันไว้ว่าเจ้าหญิงแพทริเซียจะเป็นพระมเหสีในอนาคตของสมเด็จพระราชาธิบดีอัลฟองโซที่ 13 แต่ความหวังเหล่านั้นก็ไม่ได้กลายเป็นความจริงขึ้นมาเลย ทั้งเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตและเจ้าหญิงแพทรเซียทรงมีโชคชะตาอย่างอื่นรอคอยอยู่ข้างหน้า

ครอบครัวคอนน็อตเสด็จต่อไปยังประเทศอียิปต์และซูดาน ที่กรุงไคโรทุกพระองค์ได้ทรงพบกับเจ้าชายกุสตาฟ อดอล์ฟแห่งสวีเดน ซึ่งในเวลาต่อมาเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีกุสตาฟที่ 6 อดอล์ฟแห่งสวีเดน พระราชนัดดาในสมเด็จพระราชาธิบดีออสการ์ที่ 2 แห่งสวีเดน ทั้งเจ้าชายกุสตาฟและเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตทรงตกหลุมรักกันตั้งแต่แรกเห็น เจ้าชายทรงขออภิเษกกับเจ้าหญิงได้งานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำที่จัดโดยลอร์ดโครเมอร์ที่สถานกงสุลอังกฤษ ณ กรุงไคโร และทรงได้รับการตอบตกลง ส่วนเจ้าหญิงทรงรักเจ้าชายอย่างหมดพระทัย ดังนั้นพระชนกและพระชนนีจึงทรงปลื้มปีติแม้ว่าเจ้าชายมีพระชนมายุอ่อนกว่าเจ้าหญิงสิบเดือน เจ้าชายกุสตาฟทรงมีสายพระเนตรสั้นและทรงสวมแว่นตา พระองค์ทรง"มีรูปร่างสูงโปร่ง พระฉวีสีเข้ม ทรงมีการศึกษาดี รักเสียงดนตรี ทรงเป็นนักแม่นปืน และนักเต้นที่เก่งกาจมาก" เจ้าชายกุสตาฟและเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตทรงอภิเษกสมรสกันเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1905 ณ โบสถ์เซนต์จอร์จ ปราสาทวินด์เซอร์

พระองค์เป็นพระชายาพระองค์แรกในเจ้าชายกุสตาฟ อดอล์ฟแห่งสวีเดน ที่ต่อมาทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีกุสตาฟที่ 6 อดอล์ฟแห่งสวีเดน ในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1905 เมื่อสมเด็จพระราชาธิบดีกุสตาฟที่ 5 เสวยราชสมบัติในปี ค.ศ. 1907 สองพระองค์ก็ทรงเป็นมกุฎราชกุมารและมกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน พระนามของเจ้าหญิงเป็นที่รู้จักในภาษาสวีเดนว่า มาร์กาเรทา (โดยทรงดำรงพระอิสริยยศ มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน)

เจ้าหญิงมาร์กาเรตจึงเป็นพระอัยยิกาในสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 และเจ้าหญิงอันเนอ-มารีแห่งเดนมาร์ก อดีตสมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ

สงครามโลกครั้งที่ 1

แก้

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เจ้าหญิงได้ทรงก่อตั้งสมาคมเย็บปักขึ้นในประเทศสวีเดนเพื่อสนับสนุนกาชาด เมื่อจำนวนพาราฟินที่มีอยู่เหลือน้อยลง ก็ทรงจัดการรวบรวมเทียนมาจากที่ต่างๆ มากมาย และในปี ค.ศ. 1917 พระองค์ทรงได้สร้างแบบแผนในการฝึกงานให้กับสตรีเพื่อทำงานให้กับประเทศชาติ นอกจากนี้ก็ยังทรงเป็นผู้สร้างความสมานฉันท์ในหมู่พระญาติที่แบ่งเป็นฝ่ายช่วงระหว่างสงคราม ด้วยพระกรุณาของเจ้าหญิง จดหมายส่วนตัวต่างๆ ก็ส่งออกไปได้และการสืบร่องรอยทหารผู้สูญหายในการปฏิบัติหน้าที่ก็เป็นไปอย่างราบรื่น พระองค์ทรงงานหนักในพระราชกรณียกิจที่เกี่ยวข้องกับเชลยศึกต่างๆ มากมายด้วยเช่นกัน

ปลายพระชนม์ชีพ

แก้

ในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1920 เจ้าหญิงได้สิ้นพระชนม์อย่างกะทันหันเมื่อเกิดการติดเชื้อหลังจากการผ่าต้ดปุ่มกกหูออกจากกระดูกขมับ โดยขณะนั้นก็กำลังทรงพระครรภ์ที่ 6ได้แปดเดือน ณ พระราชวังหลวง กรุงสต็อกโฮล์ม

พระอิสริยยศ และ เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พระอิสริยยศ

แก้
 
ตราอาร์มพระองค์ในสวีเดน
 
ตราอาร์มพระองค์ขณะดำรงพระอิสริยยศเจ้าหญิงแห่งคอนน็อต สหราชอาณาจักร
  • 15 มกราคม 1882 - 15 มิถุนายน 1905: เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตแห่งคอนน็อต (Her Royal Highness Princess Margaret of Connaught)
  • 15 มิถุนายน 1905 - 8 ธันวาคม 1907: เจ้าหญิงมาร์กาเรทาแห่งสวีเดน ดัชเชสแห่งสกาเนีย (Her Royal Highness Princess Margareta of Sweden, Duchess of Scania)
  • 8 ธันวาคม 1907 - 1 พฤษภาคม 1920: มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน (Her Royal Highness The Crown Princess of Sweden)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์วิกตอเรียและอัลเบิร์ต ชั้นที่ 1 (Lady of the Royal Order of Victoria and Albert)
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาราแห่งอินเดีย ชั้นที่ 3 (Companion of the Order of the Star of India)
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญจอห์นแห่งเยรูซาเล็ม ชั้นที่ 2 (Dame of Justice of the Order of St. John of Jerusalem)

พระโอรสและธิดา

แก้

อ้างอิง

แก้
  • Eilers, Marlene A., Queen Victoria’s Descendants, Rosvall Royal Books, Falköping, 1997, 2nd Edition.
  • Eilers, Marlene A., Queen Victoria’s Descendants: Companion Volume, Rosvall Royal Books, Falköping, 2004.