ปราสาทวินด์เซอร์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ปราสาทวินด์เซอร์ (อังกฤษ: Windsor Castle) เป็นพระราชฐานในนครวินด์เซอร์ มลฑลบาร์คเชอร์ สหราชอาณาจักร สร้างโดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ผู้พิชิต ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์นอร์มัน เมื่อปี ค.ศ. 1070 สถาปัตยกรรมเป็นแบบโรมาเนสก์ ปราสาทวินด์เซอร์เป็นพระราชฐานที่ยังมีผู้อยู่อาศัยที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นพระราชฐานที่เก่าที่สุดที่มีผู้อยู่อาศัยที่ต่อเนื่องกันมาตั้งแต่เริ่มสร้าง เนื้อที่การใช้สอยมีทั้งหมดด้วยกัน 484,000 ตารางฟุต หรือ 45,000 ตารางเมตร[1]
ปราสาทวินด์เซอร์ | |
---|---|
Windsor Castle | |
ทิวทัศน์จากอากาศเหนือปราสาทวินด์เซอร์ | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ประเภท | พระราชฐาน |
สถาปัตยกรรม | โรมาเนสก์ |
เมือง | วินด์เซอร์, มลฑลบาร์คเชอร์ |
ประเทศ | ประเทศอังกฤษ |
พิกัด | 51°29′02″N 0°36′16″W / 51.48389°N 0.60444°W |
เริ่มสร้าง | ค.ศ. 1070 |
ปรับปรุง | ค.ศ. 1350–1374 (สร้างแทนของเดิม) |
ผู้สร้าง | พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ |
การออกแบบและการก่อสร้าง | |
สถาปนิก | บาทหลวงวิลเลียมแห่งวิคแฮม |
เว็บไซต์ | |
ปราสาทวินด์เซอร์ |
ปราสาทวินด์เซอร์ พระราชวังบักกิงแฮมที่กรุงลอนดอน และพระราชวังโฮลีรูดที่เอดินบะระ เป็นพระราชฐานหลักสามแห่ง ของกษัตริย์สหราชอาณาจักร โดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 มักทรงใช้เวลาวันสุดสัปดาห์หลายวันที่ปราสาทวินด์เซอร์เป็นทั้งที่จัดงานเลี้ยงอย่างเป็นทางการและเป็นการส่วนพระองค์ พระตำหนักซานดริงแฮมและ พระราชวังบาลมอรัลเป็นพระราชวังส่วนพระองค์
กษัตรีย์อังกฤษเกือบทุกพระองค์มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการสร้างและการวิวัฒนาการของปราสาทวินด์เซอร์โดยตลอด ทั้งยังเป็นที่ประทับฤดูร้อนของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 7 พระเจ้าเฮนรี่ 8 สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 สมเด็จพระราชินีนาถแมรี่ที่ 2 และ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระราชวังเคยใช้เป็นป้อมปราการ ที่อยู่อาศัย ที่ประทับอย่างเป็นทางการ และบางครั้งเรือนจำ ประวัติของพระราชวังจึงเกี่ยวพันกับประวัติของพระมหากษัตริย์และกษัตรีย์ของอังกฤษอย่างใกล้ชิด การศึกษาประวัติก็ทำได้โดยการศึกษาจากประวัติของรัชสมัยต่างๆ ของพระมหากษัตริย์ที่มาประทับ ในยามสงบจากศึกสงครามพระราชวังก็ได้รับการขยายเพิ่มเติมด้วยห้องชุดสำหรับเป็นที่อยู่อาศัย ยามสงครามพระราชวังก็ใช้เป็นป้อมปราการด้วยการสร้างเสริมอย่างแน่นหนา ระบบนี้ก็ยังใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
อาณาบริเวณ
แก้แผนผัง
แก้ปราสาทวินด์เซอร์เปลื่ยนแปลงรูปทรงมากว่า 1,000 ปีตามกาลเวลา รสนิยม ความจำเป็น และสถานะภาพทางการเงินของพระมหากษัตริย์และกษัตรีย์ที่ประทับ แต่กระนั้นที่ตั้งของโครงสร้างหลัก ๆ ก็ยังตั้งอยู่ที่เดิมที่แรกสร้าง แผนผังใหม่ข้างล่างชี้ให้เห็นถึงจุดต่าง ๆ ตัวอย่างเช่นตัวพระราชวังปัจจุบันตั้งอยู่กลางเนินปราสาท ตัวอักษร “A” บนแผนที่ ที่เป็นที่ตั้งของปราสาทไม้หลังแรกที่สร้างโดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 1
คำอธิบายสัญลักษณ์
|
|
สิ่งที่เห็นเด่นชัดที่สุดของปราสาทวินด์เซอร์คือ “หอกลม” (“A”) ซึ่งความจริงแล้วเป็นหอกลวงที่มีรูปร่างที่ไม่กลมแต่ดูเผินๆ กลมบนเนินที่ถมขึ้นไป ตัวปราสาทตั้งอยู่บนป้อมปราการที่สร้างมาตั้งแต่ยุคกลาง หอกลมแบ่งพระราชวังออกเป็นสองส่วนที่เรียกว่าวอร์ด (ward) “ลานล่าง” (“F”) เป็นที่ตั้งของโบสถ์น้อยเซนต์จอร์จ (“G”) “ลานบน” (“B”) ล้อมรอบด้วยห้องชุดที่ประทับส่วนพระองค์ (“D”) และ “ห้องรับรอง” (“C”) รวมทั้งท้องพระโรงเซนต์จอร์จ (St George's Hall) ซึ่งเป็นห้องใหญ่ตกแต่งด้วยตราประจำตัวทั้งอดีตและปัจจุบันของผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เตอร์
อุทยาน
แก้เนื้อที่รอบปราสาทวินด์เซอร์เรืยกว่า “Home Park” เป็นอุทยานที่ประกอบด้วยฟาร์มสองฟาร์มและบ้านที่อยู่อาศัยของผู้ที่ทำงานในพระราชวัง นอกจากนั้นภายในอุทยานยังเป็นที่ตั้งของ คฤหาสน์ฟรอกมอร์ (Frogmore House) และอุทยานฟรอกมอร์ ซึ่งเปิดให้ประชาชนเข้าชมเป็นบางครั้งแต่บริเวณส่วนใหญ่ของ “Home Park” เป็นบริเวณส่วนพระองค์ ทางด้านเหนือเป็นอุทยานใหญ่ “Windsor Great Park”
บริเวณอื่น
แก้ใน “Home Park” ทางเหนือของพระราชวังเป็นโรงเรียนเซนต์จอร์จปราสาทวินด์เซอร์ ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชน ใช้เป็นที่ฝึกนักร้องเพลงสวดสำหรับโบสถ์เซนต์จอร์จ[2] วิทยาลัยอีตัน ตั้งอยู่ห่างจากพระราชวังประมาณหนึ่งไมล์ไปทางเหนือ
ประวัติการก่อสร้าง
แก้ค.ศ. 1070–1350
แก้ปราสาทวินด์เซอร์เดิมสร้างโดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ผู้ปกครองอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1066 จนสวรรคตเมื่อปี ค.ศ. 1087 ปราสาทที่ทรงสร้างด้วยไม้สร้างบนเนินปราสาทที่เป็นที่ตั้งของ “หอกลม” (“A”) ปัจจุบัน เมื่อต้นรัชสมัยของพระเจ้าวิลเลียมทรงยึดคฤหาสน์ที่ปัจจุบันคือหมู่บ้านโอลด์วินด์เซอร์ซึ่งแต่เดิมอาจจะเป็นวังของเจ้านายแองโกล-แซ็กซอน ไม่นานหลังจากนั้นระหว่างปี ค.ศ. 1070 ถึงปี ค.ศ. 1086 ทรงเช่าที่ที่เป็นที่ตั้งของพระราชวังปัจจุบันจากคฤหาสน์คลิวเอร์และทรงสร้างปราสาทบนเนินถมปราสาทแรก เนินที่ถมสูงประมาณ 50 ฟุตหรือ 15 เมตร ถมด้วยดินชอล์คที่ขุดจากบริเวณรอบ ๆ ที่ทำให้กลายเป็นคู
ในช่วงเวลานั้นปราสาทล้อมรอบด้วยกำแพงไม้[2] (palisade) แทนที่จะเป็นกำแพงหินเช่นที่เห็นกันทุกวันนี้ แผนผังเดิมและโครงสร้างของปราสาทจากสมัยพระเจ้าวิลเลียมสูญหายไปหมด แต่จุดประสงค์ของสิ่งก่อสร้างเพื่อใช้ในทางทหาร จากนั้นเป็นต้นมาปราสาทก็ใช้งานต่อเนื่องกันมาตลอดและได้รับการขยายเพิ่มเติมและบูรณปฏิสังขรณ์เป็นระยะ ๆ ตลอดมา เชื่อกันว่าพระเจ้าวิลเลียมที่ 2 ผู้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 เป็นผู้ปรับปรุงและขยายโครงสร้างแต่พระเจ้าเฮนรีที่ 1 พระโอรสองค์เล็กของพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 เป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์แรกที่ประทับในปราสาท เพราะทรงเป็นกังวลถึงความไม่มั่นคงในราชบัลลังก์ และทรงฉลองเทศกาลสมโภชพระจิตเจ้า ที่นั่นเมื่อปี ค.ศ. 1110[3] และในปี ค.ศ. 1121 ทรงเสกสมรสกับอเดลิเซีย แห่งลูแวงพระธิดาของกอดฟรีที่ 1 แห่งลูแวง ดยุคแห่งโลธารินเจียที่นี่เช่นกัน
หลักฐานแรกที่สุดของปราสาทวินด์เซอร์ลงวันที่ในรัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ผู้ทรงขึ้นครองราชย์เมื่อปี ค.ศ. 1154 ทรงก่อกำแพงหินแทนกำแพงไม้เดิมโดยมีหอคอยสี่เหลี่ยมเป็นระยะ ๆ โครงสร้างที่เปลี่ยนไปจากเดิมมากยังคงพบได้ที่เนินตะวันออก พระเจ้าเฮนรีที่ 2 ทรงสร้างตัวปราสาท (Keep) ภายในปราสาทด้วยหินบนเนินที่ไม่สม่ำเสมอกลางปราสาท
ในปี ค.ศ. 1189 ปราสาทถูกล้อมในระหว่างสงครามขุนนางครั้งที่หนึ่งในสมัยของเจ้าชายจอห์น กองกำลังทหารของจอห์นต่อสู้กับพวกปฏิวัติแต่ตัวพระองค์หนีไปฝรั่งเศส ต่อมาในปี ค.ศ. 1215 เจ้าชายจอห์นผู้กลายเป็นพระเจ้าจอห์น แห่งอังกฤษถูกบังคับให้ทรงลงพระนามในมหากฎบัตรที่รันนีมีดไม่ไกลจากปราสาทเท่าใดนัก ในปี ค.ศ. 1216 ปราสาทก็ถูกล้อมอีกครั้งแต่ครั้งนี้บริเวณลานล่าง (“F”) ได้รับความเสียหายแต่ก็ได้รับการซ่อมทันที่โดยพระเจ้าเฮนรีที่ 3 ผู้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระเจ้าจอห์น และทรงสร้างเสริมความแข็งแกร่งของปราสาทโดยการสร้างกำแพงเชิงเทินทางตะวันตกซึ่งยังอยู่เกือบทั้งหมดในปัจจุบัน (“T”) ในปี ค.ศ. 1227 ภายในหอประกอบด้วยอดีตคุก และบางส่วนของประตูลับแซลลี (Sally port) ซึ่งเป็นทางลับออกจากปราสาทเมื่อถูกล้อม ชั้นบนมีระฆัง (ค.ศ. 1478) และนาฬิกา (ค.ศ. 1689) หลังคาแบบโคนแบบฝรั่งเศสมาต่อเติมในคริสต์ศตวรรษที่ 19 พระเจ้าเฮนรีที่ 3 สวรรคตเมื่อปี ค.ศ. 1272 หลังจากนั้นก็ไม่มีการต่อเติมอะไรมากจนมาถึงรัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3ระหว่างปี ค.ศ. 1327 ถึงปี ค.ศ. 1377
ค.ศ. 1350–1500
แก้พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ทรงพระราชสมภพที่ปราสาทเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1312 มักจะเรียกกันว่า “เอ็ดเวิร์ดแห่งวินด์เซอร์” เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1350 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงรื้อปราสาทเก่าทิ้งและสร้างปราสาทใหม่ยกเว้นหอเคอร์ฟิว (“T”) และสิ่งก่อสร้างเล็ก ๆ อื่น ๆ โปรดให้บาทหลวงวิลเลียมแห่งวิคแฮมเป็นผู้ออกแบบและดูแลการก่อสร้าง หอพระเจ้าเฮนรีที่ 2 หรือ หอกลมถูกสร้างแทนที่ด้วยสิ่งก่อสร้างปัจจุบันแต่มิได้ยกระดับสูงเท่าปัจจุบันจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 นอกจากนั้นก็ยังทรงสั่งให้เสริมสร้างความแข็งแกร่งเพื่อเพิ่มการป้องกันข้าศึกด้วย โบสถ์น้อยของปราสาทได้รับการขยายให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมมากแต่มิได้สร้างวัดใหม่ตามแผนที่วางไว้ ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากปัญหาเรื่องความปลอดภัย และกำลังทรัพย์หลังจากเกิดกาฬโรคระบาดในยุโรป อีกสิ่งหนึ่งที่สร้างในสมัยนี้คือประตูนอร์มัน (“M”) ซึ่งเป็นประตูใหญ่ที่ฐานหอกลมที่เป็นจุดสุดท้ายของการป้องกันข้าศึกก่อนที่จะเข้าสู่ลานบน (“B”) ซึ่งเป็นบริเวณพระราชฐานชั้นใน
ในปี ค.ศ. 1348 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ทรงก่อตั้งเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เตอร์ (Order of the Garter) ซึ่งพิธีการมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ยังกระทำกันเป็นประจำทุกปีที่โบสถ์เซนต์จอร์จซึ่งเป็นโบสถ์น้อยหลักของพระราชวัง ระหว่างปี ค.ศ. 1353 ถึงปี ค.ศ. 1354 ทรงสร้าง Aerary Porch ภายในโบสถ์เซนต์จอร์จ
ในปี ค.ศ. 1390 ในรัชสมัยของพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 โบสถ์เซนต์จอร์จอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรมมากจนเกือบจะพังทลายลงมาจึงได้เริ่มการบูรณปฏิสังขรณ์ โดยมีเจฟฟรี ชอเซอร์ (Geoffrey Chaucer) ข้าราชสำนักคนโปรดเป็นผู้ควบคุมงาน ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองเป็นไปตลอดรัชสมัย ราวสิบปีก่อนชอเซอร์จะเสียชีวิตพระเจ้าริชาร์ดพระราชทานของขวัญและสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งเงินประจำปีจำนวน 20 ปอนด์สเตอร์ลิงตลอดชีพตั้งแต่ปี ค.ศ. 1394 และไวน์อีก 252 แกลลอนต่อปีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1397 ชอเซอร์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1400 ไม่ว่าความชำนาญหรือประสบการณ์ในการก่อสร้างของชอเซอร์จะเป็นเช่นใดโบสถ์เซนต์จอร์จก็กลับมาอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรมอีกภายในระยะเวลาเพียง 50 หลังจากการบูรณปฏิสังขรณ์
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 (ค.ศ. 1461–ค.ศ. 1483) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์ยอร์กองค์แรก เป็นผู้สร้างโบสถ์เซนต์จอร์จที่เห็นกันในปัจจุบัน โบสถ์น้อยอันที่จริงแล้วมิใช่โบสถ์น้อยซึ่งหมายถึงวัดเล็ก ๆ ตามความหมายดั้งเดิมแต่เป็นมหาวิหารขนาดย่อและที่เก็บพระบรมศพ และที่เก็บพระศพ สถาปัตยกรรมเป็นแบบเพอร์เพ็นดิคิวลาร์กอธิค (Perpendicular Gothic) ระหว่างรัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 7 ก็ได้มีการรื้อบางส่วนของโบสถ์น้อยที่สร้างมาแต่เดิมออกเพื่อสร้างโบสถ์น้อยพระแม่มารีแต่ก็ทรงละทิ้ง โบสถ์น้อยเป็นสิ่งก่อสร้างที่สำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งในทางสถาปัตยกรรมของพระราชวัง
การก่อสร้างโบสถ์น้อยเป็นจุดสำคัญในการเปลื่ยนแปลงลักษณะของการก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมของปราสาทวินด์เซอร์ หลังจากสงครามดอกกุหลาบบ้านเมืองก็มีความสงบขึ้นซึ่งทำให้สิ่งก่อสร้างในสมัยต่อมาจะคำนึงถึงความสะดวกสบายและแบบลักษณะทางสถาปัตยกรรมมากขึ้นกว่าที่จะคำนึงถึงความแข็งแรงในการป้องกันข้าศึกแต่เพียงอย่างเดียวเช่นที่เป็นมา หน้าที่ของปราสาทจึงเปลี่ยนจากการเป็นปราสาทมาเป็นพระราชวัง ที่เห็นได้จากการสร้าง “ระเบียงเกือกม้า” (“H”) ในปี ค.ศ. 1480 ที่สร้างใกล้โบสถ์น้อยเพื่อให้เป็นที่พำนักของนักบวช ตัวสิ่งก่อสร้างโค้งเป็นเกือกม้าซึ่งเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 พระราชวังถูกบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่เมื่อปี ค.ศ. 1871 จนสิ่งก่อสร้างเดิมเกือบจะไม่หลงเหลือ
อ้างอิง
แก้- ↑ Calculated based on report of area destroyed in 1992 Windsor Castle fire as being 9,000 metres squared, which was reported to be about one-fifth of the total area of the castle. See * [1]
- ↑ The location can be seen from this aerial photograph เก็บถาวร 2009-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ South, Raymond (1977). The Book of Windsor. Barracuda Books. p. 35. ISBN 0-86023-038-4.
Eodem anno [1110] rex curiam suam tenuit ad Pentecosam apud novam Windlesores
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ปราสาทวินด์เซอร์
- เว็ปไซท์ของพระราชฐาน: ปราสาทวินด์เซอร์ (อังกฤษ)
- ปราสาทวินด์เซอร์ ที่ English Monarchs (อังกฤษ)
- ปราสาทวินด์เซอร์และอีตัน (อังกฤษ)
- Channel4.com - Big Royal Dig (อังกฤษ)
- British Tours Ltd - ปราสาทวินด์เซอร์ (Quicktime VR) (อังกฤษ)
สมุดภาพ
แก้-
หอกลมด้านสวน
-
ประตูพระเจ้าเฮนรีที่ 8
-
ทางลองวอล์ค
-
โบสถ์เซนต์จอร์จ
-
ภายในโบสถ์เซนต์จอร์จ