พลเรือเอก สมุทร์ สหนาวิน (8 กรกฎาคม พ.ศ. 2464 - 28 ตุลาคม พ.ศ. 2547) อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม

สมุทร์ สหนาวิน
ผู้บัญชาการทหารเรือ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2523 – 30 กันยายน พ.ศ. 2524
ก่อนหน้าพลเรือเอก กวี สิงหะ
ถัดไปพลเรือเอก สมบูรณ์ เชื้อพิบูลย์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2524 – 19 ธันวาคม พ.ศ. 2524
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
19 ธันวาคม พ.ศ. 2524 – 22 เมษายน พ.ศ. 2526
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 กรกฎาคม พ.ศ. 2464
เสียชีวิต28 ตุลาคม พ.ศ. 2547 (83 ปี)
คู่สมรสคุณหญิง สมบูรณ์ สหนาวิน (รังสิพราหมณกุล)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัด กองทัพเรือไทย
กองอาสารักษาดินแดน
ยศ พลเรือเอก
นายกองเอก[1]

ประวัติ

แก้

พล.ร.อ. สมุทร์ สหนาวิน เป็นบุตรชายของนายนาวาตรี หลวงเจนจบสมุทร์ (เจือ สหนาวิน) ต้นตระกูลสหนาวิน กับนางแพ เจนจบสมุทร์ มีพี่สาวต่างมารดา 1 คนซึ่งเกิดกับนางแช่ม สหนาวิน น้องสาวของนางแพ และน้องชายร่วมมารดาอีก 1 คนคือ วีระ สหนาวิน ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ กับคุณหญิง สมบูรณ์ สหนาวิน (รังสิพราหมณกุล) บุตรีพระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณวิบูลเวทย์บรมหงส์พรหมพงศ์พฤฒาจารย์ (สวาสดิ์ รังสิพราหมณกุล) ประธานพราหมณ์ราชสำนัก และนาง วามเทพมุนี (เล็ก รังสิพราหมณกุล) มีบุตรธิดา 2 คน คือ

  • พลเรือโท สุริยะ สหนาวิน ร.น.
  • นาง ดวงกมล นภสินธุวงศ์

ตำแหน่งสำคัญในราชการ

แก้

พล.ร.อ. สมุทร์ สหนาวิน ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2523 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2524 และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2524[2] จากนั้นจึงพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม[3] เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2524 จนถึงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2526 และดำรงตำแหน่ง สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2526

ถึงแก่อนิจกรรม

แก้

พล.ร.อ. สมุทร์ สหนาวิน ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2547 มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2548 ณ ฌาปนสถานกองทัพเรือ วัดเครือวัลย์วรวิหาร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องอิสริยาภรณ์สากล

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. พระราชทานยศ
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (ปรับปรุงคณะรัฐมนตรีในสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จำนวน ๒๖ ราย)
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและตั้งรัฐมนตรี (ลาออกจากตำแหน่ง จำนวน ๘ ราย และแต่งตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๑๓ ราย)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง หน้า ๙๑๓, ๘ ก.ย. ๒๕๐๕
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๖๔ ง หน้า ๓๖๗๑, ๒๑ ตุลาคม ๒๔๙๕
  6. SENARAI PENUH PENERIMA DARJAH KEBESARAN, BINTANG DAN PINGAT PERSEKUTUAN TAHUN 1981
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 103 ตอนที่ 103 ฉบับพิเศษ หน้า 5, 19 มิถุนายน 2529

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้