พ.ศ. 2556
ปี
(เปลี่ยนทางจาก ค.ศ. 2013)
พุทธศักราช 2556 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2013 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น
- ปีมะเส็ง เบญจศก จุลศักราช 1375 (วันที่ 16 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
- ปีสากลแห่งความร่วมมือทางน้ำ[1]
- ปีสากลแห่งคีนวา[1]
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2556 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 2013 MMXIII |
Ab urbe condita | 2766 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1462 ԹՎ ՌՆԿԲ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6763 |
ปฏิทินบาไฮ | 169–170 |
ปฏิทินเบงกอล | 1420 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2963 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 61 Eliz. 2 – 62 Eliz. 2 |
พุทธศักราช | 2557 |
ปฏิทินพม่า | 1375 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7521–7522 |
ปฏิทินจีน | 壬辰年 (มะโรงธาตุน้ำ) 4709 หรือ 4649 — ถึง — 癸巳年 (มะเส็งธาตุน้ำ) 4710 หรือ 4650 |
ปฏิทินคอปติก | 1729–1730 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3179 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 2005–2006 |
ปฏิทินฮีบรู | 5773–5774 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2069–2070 |
- ศกสมวัต | 1935–1936 |
- กลียุค | 5114–5115 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 12013 |
ปฏิทินอิกโบ | 1013–1014 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1391–1392 |
ปฏิทินอิสลาม | 1434–1435 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชเฮเซ 25 (平成25年) |
ปฏิทินจูเช | 102 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4346 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 102 民國102年 |
เวลายูนิกซ์ | 1356998400–1388534399 |
ผู้นำประเทศไทย
แก้- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
- นายกรัฐมนตรี:
สำหรับผู้นำประเทศอื่น ๆ ดู รายชื่อผู้นำประเทศ พ.ศ. 2556
เหตุการณ์
แก้มกราคม
แก้- 16–21 มกราคม – หลังการตีโฉบฉวยโดยกองกำลังแอลจีเรีย คนงานต่างชาติ 39 คน และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 1 คน เสียชีวิตในการบุกชิงตัวประกันที่โรงแยกก๊าซใกล้กับอิน อามีนาส ประเทศแอลจีเรีย[2][3]
กุมภาพันธ์
แก้- 15 กุมภาพันธ์ - อุกกาบาตระเบิดเหนือนครเชลยาบินสก์ในรัสเซียกลาง มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1,491 คน และทำให้อาคารกว่า 4,300 หลังได้รับความเสียหาย นับเป็นอุกกาบาตทรงพลังที่สุดที่เข้าสู่บรรยากาศโลกในรอบกว่าศตวรรษ[4][5] อุบัติการณ์ดังกล่าว ร่วมกับการโคจรเฉียดโลกของดาวเคราะห์น้อยที่เกิดไล่เลี่ยกัน ทำให้เกิดความกังวลระดับนานาชาติต่อความเสี่ยงที่โลกอาจถูกอุกกาบาตพุ่งชน[6][7][8]
- 28 กุมภาพันธ์ - สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงสละตำแหน่งสมเด็จพระสันตะปาปา นับเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาองค์แรกที่สละตำแหน่งนับแต่สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 12 เมื่อ ค.ศ. 1415[9]
มีนาคม
แก้- 13 มีนาคม - คอร์เค มาเรียว เบร์โกเกลียวได้รับเลือกตั้งเป็นพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่ ทรงพระนามว่า "ฟรานซิส"
- 14-15 มีนาคม - สภาประชาชนแห่งชาติจีนมีมติรับรองสี จิ้นผิงเป็นประธานาธิบดี และหลี่ เค่อเฉียงเป็นนายกรัฐมนตรี
- 24 มีนาคม - ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (2555–ปัจจุบัน): ประธานาธิบดีสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ฟร็องซัว บอซีเซ ถูกโค่นล้ม หลังเขาลี้ภัยไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ขณะที่ฝ่ายกบฏสามารถยึดเมืองหลวงของประเทศ[10][11][12]
- 25 มีนาคม - สหภาพยุโรปตกลงให้ไซปรัสกู้ยืมเงิน 10,000 ล้านยูโร ซึ่งเงินกู้ยืมดังกล่าวมาจากกลไกรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป กองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศอย่างละเท่า ๆ กัน ข้อตกลงดังกล่าวก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ธนาคารในประเทศ[13][14]
เมษายน
แก้- 3 เมษายน - สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีมติเห็นชอบสนธิสัญญาการค้าอาวุธเพื่อวางระเบียบการค้าอาวุธสามัญระหว่างประเทศ[15]
- 13 เมษายน - เกิดแผ่นดินไหวในเกาะอาวาจิ ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 35 ราย
- 15 เมษายน - เกิดระเบิดสองครั้งระหว่างการแข่งขันบอสตันมาราธอน ในบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา มีผู้เสียชีวิต 3 คน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 282 คน[16]
- 24 เมษายน - อาคารพาณิชย์แปดชั้นถล่มในซาวาร์ ใกล้กับกรุงธากา เมืองหลวงของประเทศบังกลาเทศ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 401 คน มีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกหนึ่งพันคน[17][18][19]
พฤษภาคม
แก้- 9 พฤษภาคม - เกิดเหตุการณ์โจมตีเรือประมงไต้หวันโดยยามชายฝั่งฟิลิปปินส์ ณ ช่องแคบปาลินตัง โดยเรือยามชายฝั่งฟิลิปปินส์ (รหัสเรือ MCS-3001) [20] ได้ยิงโจมตีเรือประมงสัญชาติไต้หวัน (เรือกวังต้าหมิงหมายเลขที่ 28) จนทำให้ชาวประมงคนหนึ่งเสียชีวิต[21][22]
มิถุนายน
แก้- 6 มิถุนายน - เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน ชาวอเมริกัน เปิดเผยปฏิบัติการโครงการสอดแนมหมู่ของรัฐบาลสหรัฐแก่สำนักข่าว และหลบหนีออกนอกประเทศ ภายหลังได้รับอนุญาตให้ลี้ภัยชั่วคราวในรัสเซีย[23][24][25]
กรกฎาคม
แก้- 1 กรกฎาคม - ประเทศโครเอเชียเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปประเทศที่ 28
- 23 กรกฎาคม - ท่ามกลางการประท้วงทั่วประเทศอียิปต์ ประธานาธิบดีมุฮัมมัด มุรซีถูกรัฐประหาร นำไปสู่ความรุนแรงเป็นวงกว้าง[26][27]
พฤศจิกายน
แก้- 7 พฤศจิกายน - พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน พายุไต้ฝุ่นที่ทำให้มียอดผู้เสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับสองจากบันทึกของพายุไต้ฝุ่นที่พัดเข้าโจมตีฟิลิปปินส์ ขึ้นฝั่งฟิลิปปินส์และเวียดนาม สร้างความเสียหายอย่างมหาศาลในฟิลิปปินส์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 4,009 ราย ผู้บาดเจ็บ 10,000 กว่าคน[28]
ธันวาคม
แก้- 14 ธันวาคม - ยานอวกาศ ฉางเอ๋อ 3 ของจีน ซึ่งบรรทุกยานสำรวจพื้นผิวยู่ตู้ กลายเป็นยานอวกาศลำแรกที่ลงจอดบนผิวดวงจันทร์อย่างนิ่มนวลหลังปี 2519 และเป็นยานสำรวจพื้นผิวยนต์ (robotic rover) ลำที่สามที่ทำได้สำเร็จ
วันเกิด
แก้- 16 มกราคม - สกายเลอร์ เดวิส อินฟลูเอนเซอร์ ลูกครึ่งไทย-อเมริกัน
- 22 กรกฎาคม - เจ้าชายจอร์จแห่งเคมบริดจ์ พระโอรสใน ดยุกแห่งเคมบริดจ์ และ ดัชเชสแห่งเคมบริดจ์
- 17 ตุลาคม - พันธ์ชนกชนม์ พันธ์สังข์ นักแสดงเด็กชายชาวไทย
- 24 ตุลาคม - พาขวัญ สหวงษ์ นักแสดงเด็กหญิงชาวไทย
วันถึงแก่กรรม
แก้มกราคม
แก้- 21 มกราคม - ชุมพล ศิลปอาชา นักการเมืองไทย (เกิด 6 มิถุนายน พ.ศ. 2483)
กุมภาพันธ์
แก้- 14 กุมภาพันธ์ - รีวา สทีนคัมพ์ นางแบบชาวแอฟริกาใต้ (เกิด 19 สิงหาคม ค.ศ. 1983)
- 27 กุมภาพันธ์ - ราม่อน แด็กเกอร์ นักมวยไทยชาวเนเธอร์แลนด์ (เกิด 4 กันยายน ค.ศ. 1969)
มีนาคม
แก้- 5 มีนาคม -
- อูโก ชาเบซ ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา (เกิด 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1954)
- พอล แบเรอร์ ผู้จัดการมวยปล้ำชาวอเมริกัน (เกิด 10 เมษายน ค.ศ. 1954)
- 10 มีนาคม - เจ้าหญิงลิเลียน ดัชเชสแห่งฮัลลันด์ (ประสูติ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2458)
- 14 มีนาคม - เอียง ซารี นักการเมืองกัมพูชา ยุคเขมรแดง (เกิด 24 ตุลาคม ค.ศ. 1931)
- 21 มีนาคม - ชินัว อาเชเบ นักเขียนและกวีชาวไนจีเรีย (เกิด 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473)
เมษายน
แก้- 8 เมษายน - มาร์กาเรต แทตเชอร์ อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร (เกิด 13 ตุลาคม พ.ศ. 2468)
พฤษภาคม
แก้มิถุนายน
แก้กรกฎาคม
แก้- 2 กรกฎาคม - เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์ (ประสูติ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464)
- 13 กรกฎาคม - โครี มอนทีท นักแสดงชาวอังกฤษ (เกิด 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2525)
สิงหาคม
แก้- 3 สิงหาคม - ศาตราจารย์ ดร.สุธี สิงห์เสน่ห์ นักการเมืองไทย (เกิด 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2471)
- 10 สิงหาคม - สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) พระสงฆ์ชาวไทย (เกิด 3 มีนาคม พ.ศ. 2471)
- 12 สิงหาคม - เจ้าชายฟริโซแห่งออเรนจ์-นัสเซา (ประสูติ 25 กันยายน พ.ศ. 2511)
กันยายน
แก้- 11 กันยายน - สายัณห์ สัญญา นักร้องชาวไทย (เกิด 31 มกราคม พ.ศ. 2496)
ตุลาคม
แก้- 1 ตุลาคม - ทอม แคลนซี นักเขียนชาวอเมริกัน (เกิด 12 เมษายน พ.ศ. 2490)
พฤศจิกายน
แก้- 17 พฤศจิกายน - ดอริส เลสซิง นักเขียนชาวอังกฤษ (เกิด 22 ตุลาคม พ.ศ. 2462)
- 30 พฤศจิกายน - พอล วอล์กเกอร์ นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 12 กันยายน พ.ศ. 2516)
ธันวาคม
แก้- 5 ธันวาคม - เนลสัน แมนเดลา ประธานาธิบดีสาธารณรัฐแอฟริกาใต้คนที่ 1 (เกิด 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2461)
- 23 ธันวาคม - มีฮาอิล คาลัชนิคอฟ นักประดิษฐ์ชาวรัสเซีย (เกิด 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462)
รางวัลโนเบล
แก้- สาขาเคมี – มาร์ติน คาร์พลุส, ไมเคิล เลวิตต์ และ อารีห์ วอร์เชล
- สาขาเศรษฐศาสตร์ – ยูจีน เอฟ. ฟามา, ลาร์ส ปีเตอร์ แฮนเซ่น และ โรเบิร์ต เจ. ชิลเลอร์
- สาขาวรรณกรรม – อลิซ มันโร
- สาขาสันติภาพ – องค์การห้ามอาวุธเคมี
- สาขาฟิสิกส์ – ฟร็องซัว อ็องเกลร์ และ ปีเตอร์ ฮิกส์
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – เจมส์ อี. รอธแมน, แรนดี ดับเบิลยู. เชกแมน, และ ทอมัส ซี. ซุดฮอฟ
วันสำคัญทางศาสนาและพิธีกรรม
แก้บันเทิงคดีที่อ้างอิงถึงปีนี้
แก้ภาพยนตร์
แก้- คัมภีร์พลิกชะตาโลก (พ.ศ. 2553) มหันตภัยนิวเคลียร์เกิดขึ้นในปีนี้ ขณะที่เนื้อเรื่องที่เหลือในภาพยนตร์เกิดขึ้นสามสิบปีถัดมา
- ดิ อะเมซิ่ง สไปเดอร์แมน (พ.ศ. 2555) ข้อมูลจากเดลีบิวเกิล เว็บไซต์การตลาดของทัมเบลอร์ (Tumblr) ที่ทำการตลาดให้ภาคต่อของภาพยนตร์ กล่าวว่า เหตุการณ์หลักในภาพยนตร์ภาคแรกเกิดในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556
ละคร การ์ตูน ซีรีส์
แก้- เดธโน้ต ช่วงท้าย ดำเนินเรื่องในเดือนมกราคม ปีนี้
วิดีโอเกม
แก้- คอลออฟดิวตี: แบล็กออฟส์ (พ.ศ. 2553) เหตุการณ์ Call of the Dead เกิดขึ้นในปีนี้
- เมโทร 2033 (พ.ศ. 2553) สงครามนิวเคลียร์เกิดขึ้นในปีนี้
- เรซิเดนต์ อีวิล 6 (พ.ศ. 2555) การระบาดของไวรัสครั้งต่อไปในจีนและอเมริกาเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน ปีนี้
- แกรนด์เธฟต์ออโต 5 (พ.ศ. 2556) เหตุการณ์ของเกมเกิดขึ้นในฤดูร้อนปีนี้
อ้างอิง
แก้- หว่า แซ่อึ้ง, เลี๊ยกไฮ้ แซ่โอ้ว, ปฏิทิน 100 ปี เทียบ 3 ภาษา, (ไม่ทราบปีที่พิมพ์).
- ↑ 1.0 1.1 "United Nations Observances: International Years". United Nations. สืบค้นเมื่อ April 14, 2015.
- ↑ Lamine Chikhi (20 January 2013). "Algeria hostage crisis death toll hits 80, could rise further". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 20 January 2013.
- ↑ "Algeria hostage crisis: Japan confirms two more deaths". BBC. 23 January 2013. สืบค้นเมื่อ 25 January 2013.
- ↑ http://www.bbc.co.uk/news/world-europe-21471942
- ↑ http://www.newscientist.com/article/dn23178-russian-meteor-will-teach-us-about-future-bigger-hits.html
- ↑ http://www.guardian.co.uk/science/2013/feb/16/scientists-earth-asteroid
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-19. สืบค้นเมื่อ 2021-09-25.
- ↑ http://www.nytimes.com/2013/02/17/science/space/dismissed-as-doomsayers-advocates-for-meteor-detection-feel-vindicated.html?_r=0
- ↑ Pullella, Philip (2013-02-28). "Benedict's reign ends with a promise to obey next pope". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-05. สืบค้นเมื่อ 2013-02-28.
- ↑ "Centrafrique: Michel Djotodia déclare être le nouveau président de la république centrafricaine" (ภาษาฝรั่งเศส). Radio France International. 2013-03-24. สืบค้นเมื่อ 2013-03-24.
- ↑ "Central African Republic: Rebels 'take palace as Bozize flees'". BBC News. 24 March 2013. สืบค้นเมื่อ 24 March 2013.
- ↑ Al Jazeera (2013-03-24). "CAR rebels 'seize' presidential palace". Al Jazeera English. สืบค้นเมื่อ 2013-03-24.
- ↑ "Eurozone and IMF agree 10bn-euro Cyprus bailout deal". BBC Business News. bbc.co.uk. BBC. 17 March 2013. สืบค้นเมื่อ 17 March 2013.
- ↑ "Eurogroup Statement on Cyprus" (PDF). Eurogroup. 25 March 2013. สืบค้นเมื่อ 25 March 2013.
- ↑ Charbonneau, Louis (2013-04-02). "U.N. overwhelmingly approves global arms trade treaty". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-08. สืบค้นเมื่อ 2013-04-08.
- ↑ Josh Levs and Monte Plott (2013-04-18). "Terrorism strikes Boston Marathon as bombs kill 3, wound scores". CNN. สืบค้นเมื่อ 2013-04-22.
- ↑ http://abcnews.go.com/International/wireStory/bangladesh-building-collapse-kills-traps-19027864 AP via ABC News
- ↑ http://www.smh.com.au/world/bangladesh-building-collapse-kills-25-20130424-2ieji.html Reuters via Sydney Morning Herald
- ↑ http://www.dailymail.co.uk/news/article-2313974/Eight-story-building-collapses-Bangladesh-killing-32-people-trapping-scores-mountain-rubble.html Daily Mail
- ↑ 何時知菲公務船開槍?國防部5點半 外交部7、8點 蘋果日報 [2013.5.13]
- ↑ "中央社:菲公務船攻擊 台促道歉賠償". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-17. สืบค้นเมื่อ 2013-05-18.
- ↑ "菲律賓坦承開槍:同情但非致歉". 中央通訊社. 2013-05-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-13. สืบค้นเมื่อ 2013-05-10.
- ↑ "Edward Snowden and the NSA files – timeline". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2013-07-27.
- ↑ Walker, Martin (2013-07-22). "Snowden's best refuge". United Press International. สืบค้นเมื่อ 2013-07-27.
- ↑ Myers, Steven Lee (August 1, 2013). "Russia Grants Snowden 1-Year Asylum". The New York Times. สืบค้นเมื่อ August 1, 2013.
- ↑ "Coup topples Egypt's Morsy; deposed president under 'house arrest'". CNN. July 3, 2013. สืบค้นเมื่อ July 11, 2013.
- ↑ "Egypt declares national emergency". BBC. August 14, 2013. สืบค้นเมื่อ August 14, 2013.
- ↑ "Ten Worst Typhoons of the Philippines (A Summary)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-22. สืบค้นเมื่อ 2008-05-22.