พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน (พ.ศ. 2556)

พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน (อักษรโรมัน: Haiyan, จีน: 白鹿)[nb 1] หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นโยลันดา (ตากาล็อก: Yolanda)[nb 2] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกมา เมื่อพายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนขึ้นฝั่งพายุก็ได้สร้างความเสียหายบางส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะประเทศฟิลิปปินส์[1] และนี่เป็นหนึ่งในพายุที่มีการบันทึกไว้ในประเทศฟิลิปปินส์ที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่พายุได้คร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 6,300 ราย ในประเทศนั้นเพียงประเทศเดียว[2][3] ด้วยความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 315 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (195 ไมล์ต่อชั่วโมง) ตามรายงานของศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนมีความเร็วลมเท่ากับพายุไต้ฝุ่นเมอรันตีในปี พ.ศ. 2559 เนื่องจากเป็นพายุที่เคลื่อนตัวพัดขึ้นฝั่งที่มีกำลังแรงที่สุดเป็นอันดับสองเป็นประวัติการณ์ และตามหลังพายุไต้ฝุ่นโคนีในปี พ.ศ. 2563 เท่านั้น จนถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2557 ยังคงพบผู้เสียชีวิตอยู่[4] นอกจากนี้ ยังเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงที่สุดในโลกในโลกในปี พ.ศ. 2556 อีกด้วย

ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนที่ระดับความรุนแรงสูงสุดใกล้เป็นประวัติการณ์ขณะเข้าใกล้ฟิลิปปินส์ในวันที่ 7 พฤศจิกายน
ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนที่ระดับความรุนแรงสูงสุดใกล้เป็นประวัติการณ์ขณะเข้าใกล้ฟิลิปปินส์ในวันที่ 7 พฤศจิกายน
ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนที่ระดับความรุนแรงสูงสุดใกล้เป็นประวัติการณ์ขณะเข้าใกล้ฟิลิปปินส์ในวันที่ 7 พฤศจิกายน
ก่อตัว 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
สลายตัว 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
ความเร็วลม
สูงสุด
เฉลี่ยลมใน 10 นาที:
235 กม./ชม. (145 ไมล์/ชม.)
เฉลี่ยลมใน 1 นาที:
315 กม./ชม. (195 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด 895 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.43 นิ้วปรอท)
ผู้เสียชีวิต เสียชีวิต 6,195 ราย, 1,785 รายสูญหาย
ความเสียหาย อย่างน้อย 1.08 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี 2013)
พื้นที่ได้รับ
ผลกระทบ
ไมโครนีเชีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม จีนตอนใต้
ส่วนหนึ่งของ
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556

ประวัติ แก้

 
แผนที่แสดงเส้นทาง และความรุนแรงของพายุตามมาตราส่วนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
ความรุนแรงของพายุ
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุที่ไม่ทราบความเร็วลม
ประเภทของพายุ
  พายุหมุนกึ่งเขตร้อน
  พายุหมุนนอกเขตร้อน / หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ / รบกวนของเขตร้อน / ลมมรสุมพายุดีเปรสชั่นเขตร้อน

พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน เริ่มก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำขนาดหลายร้อยกิโลเมตรทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะโปนเปของสหพันธรัฐไมโครนีเชียเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน และมีทิศทางการเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก สภาพแวดล้อมทำให้หย่อมความกดอากาศต่ำพัฒนาเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในวันรุ่งขึ้น หลังจากนั้นก็ได้พัฒนาเป็นพายุโซนร้อนและได้รับการตั้งชื่อว่า ไห่เยี่ยน ในเวลาเที่ยงคืนของวันที่ 4 พฤศจิกายนตามเวลาสากล และได้พัฒนาเป็นพายุที่ที่มีความรุนแรงในเวลาอันรวดเร็ว เมื่อเวลา 18:00 น. ของวันที่ 5 พฤศจิกายนตามเวลาสากล โดยในวันที่ 6 พฤศจิกายน ศูนย์เตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) ได้ปรับระดับเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 5 เทียบเท่าซูเปอร์ไต้ฝุ่น พายุได้ผ่านเกาะกายาเงลของปาเลาไม่นานหลังจากที่ได้พัฒนาขึ้นเป็นซูเปอร์ไต้ฝุ่น หลังจากนั้นพายุยังคงพัฒนายิ่งขึ้นไปอีก เมื่อเวลา 12.00 น. ของวันที่ 7 พฤศจิกายน สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้บันทึกความเร็วลมสูงสุดตามค่าเฉลี่ย 10 นาที ที่ 235 กม./ชม. ในเวลา 18.00 น. ตามเวลาสากล JTWC ได้ประมาณระดับความเร็วลมสูงสุดตามค่าเฉลี่ย 1 นาที ที่ 315 กม./ชม. ทำให้พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดเท่าที่ได้สังเกตการณ์มา หลายชั่วโมงต่อมา ตาของพายุได้เคลื่อนเข้าสู่ฟิลิปปินส์ ที่เมืองกีวาน จังหวัดซีลางังซามาร์ โดยไม่ได้มีการลดระดับความรุนแรงใด ๆ ทำให้พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนเป็นพายุไต้ฝุ่นที่มีความรุนแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ได้พัดขึ้นฝั่ง สุงสุดที่เคยบันทึกได้คือ 305 กม./ชม.ทำไว้โดยเฮอริเคนคามิลล์ ในปี พ.ศ. 2512 หลังจากนั้นพายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนได้อ่อนกำลังลงทีละน้อย และได้ขึ้นฝั่งเพิ่มเติมอีก 5 ครั้งตามเกาะต่าง ๆ ในประเทศฟิลิปปินส์ ก่อนที่จะเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ และมีทิศทางการเคลื่อนที่เบี่ยงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ในที่สุดก็ขึ้นฝั่งทางตอนเหนือของประเทศเวียดนามในระดับพายุโซนร้อนเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน และอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันในวันต่อมา

ความเสียหาย แก้

พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนได้สร้างความเสียหายเป็นอย่างมากทางตอนกลางของประเทศฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนเกาะซามาร์และเลย์เต ทางการได้คาดการไว้ว่ามีผู้เสียชีวิตในเมืองตักโลบันอย่างเดียวประมาณอย่างน้อย 10,000 คน ตามที่สหประชาชาติรายงานว่าราว 11 ล้านคนได้รับผลกระทบและอีกจำนวนมากไร้ที่อยู่อาศัย[5]

การถอนชื่อ แก้

เนื่องจากความเสียหายที่กว้างขวางและจำนวนผู้เสียชีวิตสูง PAGASA จึงประกาศถอนชื่อ โยลันดา PAGASA เลือกชื่อ Yasmin เพื่อแทนที่ โยลันดาสำหรับฤดูกาล 2560 ในระหว่างการประชุมประจำปี 2557 คณะกรรมการ ESCAP/WMO Typhoon ได้ประกาศว่าชื่อ ไห่เยี่ยน จะถูกปลดออกจากรายชื่อในวันที่ 1 มกราคม 2015 และถูกแทนที่ด้วยชื่อ ไป๋ลู่ชื่อนี้ถูกใช้ครั้งแรกในฤดูกาล 2562

อ้างอิง แก้

  1. Why Typhoon Haiyan Caused So Much Damage (Report). NPR. 2013-11-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2014. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.
  2. Typhoon Haiyan death toll rises over 5,000 (Report). BBC. 2013-11-22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 November 2013. สืบค้นเมื่อ 22 November 2013.
  3. "FINAL REPORT re EFFECTS of Typhoon "YOLANDA" (HAIYAN)" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). NDRRMC. 2014. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2020. สืบค้นเมื่อ 5 November 2020.
  4. Gabieta, Joey (2014-11-09). "More bodies turning up in Tacloban". Philippine Daily Inquirer (ภาษาอังกฤษ). Asia News Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 January 2014. สืบค้นเมื่อ 21 January 2014.
  5. "Tacloban: City at the centre of the storm". BBC. November 12, 2013. สืบค้นเมื่อ November 13, 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้



อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "nb" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="nb"/> ที่สอดคล้องกัน