ดอริส เมย์ เลสซิง (อังกฤษ: Doris Lessing, CH, OBE) (22 ตุลาคม ค.ศ. 191917 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013) ดอริส เลสซิงเป็นนักเขียนคนสำคัญชาวอังกฤษผู้เกิดในเปอร์เชียผู้เขียนนวนิยายเช่น The Grass is Singing และ The Golden Notebook.

ดอริส เลสซิง
Doris Lessing CH
ดอริส เลสซิงที่งานเทศกาลวรรณกรรมแห่งโคโลญในปี ค.ศ. 2006
ดอริส เลสซิงที่งานเทศกาลวรรณกรรมแห่งโคโลญในปี ค.ศ. 2006
เกิดDoris May Tayler
22 ตุลาคม ค.ศ. 1919(1919-10-22)
เคร์มอนชอฮ์ อิหร่าน
เสียชีวิต17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013(2013-11-17) (94 ปี)
ลอนดอน อังกฤษ
นามปากกาJane Somers
อาชีพนักเขียน
สัญชาติอังกฤษ
พลเมืองสหราชอาณาจักร
ช่วงเวลา1950–2013
แนวนวนิยาย เรื่องสั้น อัตชีวประวัติ ดรามา เนื้อเรื่องอุปรากร โคลงกลอน
แนวร่วมในทางวรรณคดีนวยุคนิยม แนวคิดหลังยุคนวนิยม ลัทธิศูฟี สังคมนิยม สิทธิสตรี นวนิยายวิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์
ผลงานที่สำคัญ
คู่สมรส
บุตรJohn (1940–1992), Jean (1941-), Peter (1946–2013)[1]
เว็บไซต์
dorislessing.org

ในปี ค.ศ. 2007 เลสซิงได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ราชสถาบันสวีเดน (Swedish Academy) บรรยายเลสซิงว่า “that epicist of the female experience, who with scepticism, fire and visionary power has subjected a divided civilisation to scrutiny”[2] เลสซิงเป็นสตรีคนที่สิบเอ็ดที่ได้รับรางวัลโนเบลในประวัติศาสตร์ของรางวัลในรอบ 106 ปี[3][4] และเป็นผู้มีอายุสูงสุดที่ได้รับรางวัลในสาขาวรรณกรรม[5]

ประวัติ

แก้

เลสซิงเกิดในเปอร์เซีย (อิหร่าน) เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1919 บิดาชื่อกัปตันอัลเฟรด เทย์เลอร์ และเอ็มมิลี มอด เทย์เลอร์ (สกุลเดิม แม็คเวห์)[6] บิดาผู้เสียขาข้างหนึ่งระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งพบเอ็มมิลีผู้เป็นพยาบาลที่ Royal Free Hospital ที่ไปรักษาตัวจากการถูกตัดขาอยู่[7][8]

อัลเฟรดและเอ็มมิลีย้ายไปเคร์มอนชอฮ์ (Kermanshah) ในอิหร่าน เพื่อไปรับหน้าที่เป็นเสมียนกับธนาคารหลวงแห่งเปอร์เซีย (Imperial Bank of Persia) เลสซิงถือกำเนิดที่นั่นในปี ค.ศ. 1919[9][10] หลังจากนั้นครอบครัวก็ย้ายไปยังอาณานิคมอังกฤษ โรดีเชียใต้ (Southern Rhodesia) (ซิมบับเวปัจจุบัน) ในปี ค.ศ. 1925 เพื่อไปทำฟาร์มข้าวโพด อัลเฟรดซื้อที่ดินราวหนึ่งพันเอเคอร์ เอ็มมิลีพยายามดำเนินชีวีตแบบเอ็ดเวิร์ดท่ามกลางสิ่งแวดล้อมในอาณานิคม ซึ่งก็ไม่ควรจะเป็นปัญหาถ้าเป็นครอบครัวที่มีฐานะดี แต่ครอบครัวเทย์เลอร์ไม่อยู่ในฐานะเช่นนั้น ฟาร์มที่ทำก็ไม่ประสบความสำเร็จและมิได้สร้างฐานะให้แก่ตามที่เทย์เลอร์หวัง[11]

เลสซิงได้รับการศึกษาที่โรงเรียนคอนแวนต์โดมินิคันสำหรับสตรีที่ซอลสบรี (ปัจจุบันคือ กรุงฮาราเร)[12] และออกจากโรงเรียนเมื่อมีอายุ 14 ปี หลังจากนั้นก็ทำการศึกษาด้วยตนเอง เลสซิงออกจากบ้านเมื่ออายุ 15 ปีไปทำงานเป็นผู้ช่วยพยาบาล ในช่วงเวลานี้เลสซิงก็เริ่มอ่านงานที่เกี่ยวกับการเมืองและสังคมวิทยาที่นายจ้างมอบให้อ่าน[8] และเริ่มการเขียนในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ในปี ค.ศ. 1937 เลสซิงก็ย้ายกลับไปซอลสบรีเพื่อไปทำงานเป็นพนักงานโทรศัพท์ และไม่นานหลังจากนั้นก็สมรสกับแฟรงค์ วิสดอม และมีลูกด้วยกันสองคนก่อนที่จะหย่ากันในปี ค.ศ. 1943[8]

หลังจากการหย่าร้างแล้วเลสซิงก็หันไปสนใจกับสมาคมหนังสือเล็ฟต์ (Left Book Club) ซึ่งเป็นสมาคมผู้ขายหนังสือเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์[11] เลสซิงพบสามีคนต่อมาที่นั่น ก็อตต์ฟรีด เลสซิง (Gottfried Lessing) ไม่นานทั้งสองคนก็สมรสกันและมีลูกด้วยกันคนหนึ่ง แต่การแต่งงานก็มาสิ้นสุดด้วยการหย่าร้างในปี ค.ศ. 1949 ก็อตต์ฟรีด เลสซิงต่อมาเป็นทูตเยอรมนีตะวันออกประจำยูกันดา และถูกฆาตกรรมในปี ค.ศ. 1979 ระหว่างการปฏิวัติต่อต้านอีดี อามิน (Idi Amin)[8]

เลสซิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 ที่บ้านพักในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ขณะมีอายุได้ 94 ปี[13]

อ้างอิง

แก้
  1. Stanford, Peter (22 November 2013). "Doris Lessing: A mother much misunderstood". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 27 June 2017.
  2. "NobelPrize.org". สืบค้นเมื่อ 2007-10-11.
  3. Crown, Sarah. Look at her face.Doris Lessing wins Nobel prize. Look at her face.. The Guardian. Retrieved 2007-10-12.
  4. Editors at BBC. Author Lessing wins Nobel honour. BBC News. Retrieved on 2007-10-12.
  5. Marchand, Philip. Doris Lessing oldest to win literature award. Toronto Star. Retrieved on 2007-10-13.
  6. Hazelton, Lesley (2007-10-11). "`Golden Notebook' Author Lessing Wins Nobel Prize". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2007-10-11.
  7. Klein, Carole. "Doris Lessing". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2007-10-11.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 "Doris Lessing". kirjasto.sci.fi. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-08. สืบค้นเมื่อ 2007-10-11.
  9. Hazelton, Lesley (1982-07-25). "Doris Lessing on Feminism, Communism and 'Space Fiction'". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2007-10-11.
  10. "Author Lessing wins Nobel honour". BBC News Online. 2007-10-11. สืบค้นเมื่อ 2007-10-11.
  11. 11.0 11.1 "Biography". A Reader's Guide to The Golden Notebook & Under My Skin. HarperCollins. 1995. สืบค้นเมื่อ 2007-10-11.
  12. Carol Simpson Stern. Doris Lessing Biography. biography.jrank.org. Retrieved on 2007-10-11.
  13. "Doris Lessing dies aged 94". The Guardian. 17 November 2013.

งานเขียนของเลสซิง

แก้
นวนิยาย
หนังสือชุด Children of Violence
  • Martha Quest (1952)
  • A Proper Marriage (1954)
  • A Ripple from the Storm (1958)
  • Landlocked (1965)
  • The Four-Gated City (1969)
หนังสือชุด Canopus in Argos: Archives
อุปรากร
ดรามา
  • Each His Own Wilderness (three plays, 1959)
  • Play with a Tiger (1962)
โคลงกลอน
  • Fourteen Poems (1959)
  • The Wolf People - INPOPA Anthology 2002 (poems by Lessing, Robert Twigger and T.H. Benson, 2002)
รวบรวมเรื่อง
  • Five Short Novels (1953)
  • The Habit of Loving (1957)
  • A Man and Two Women (1963)
  • African Stories (1964)
  • Winter in July (1966)
  • The Black Madonna (1966)
  • The Story of a Non-Marrying Man (1972)
  • This Was the Old Chief's Country: Collected African Stories, Vol. 1 (1973)
  • The Sun Between Their Feet: Collected African Stories, Vol. 2 (1973)
  • To Room Nineteen: Collected Stories, Vol. 1 (1978)
  • The Temptation of Jack Orkney: Collected Stories, Vol. 2 (1978)
  • Through the Tunnel (1990)
  • London Observed: Stories and Sketches (1992)
  • The Real Thing: Stories and Sketches (1992)
  • Spies I Have Known (1995)
  • The Pit (1996)
  • The Grandmothers: Four Short Novels (2003)
นิทานแมว
  • Particularly Cats (stories and nonfiction, 1967)
  • Particularly Cats and Rufus the Survivor (stories and nonfiction, 1993)
  • The Old Age of El Magnifico (stories and nonfiction, 2000)
  • On Cats (2002) – หนังสือรวมเล่มที่มีสามเล่มข้างต้น
สารคดี
  • In Pursuit of the English (1960)
  • Prisons We Choose to Live Inside (ความเรียง, 1987)
  • The Wind Blows Away Our Words (1987)
  • African Laughter: Four Visits to Zimbabwe (บันทึกความทรงจำ, 1992)
  • A Small Personal Voice (ความเรียง, 1994)
  • Conversations (บทสัมภาษณ์ บรรณาธิการโดย Earl G. Ingersoll, 1994)
  • Putting the Questions Differently (บทสัมภาษณ์ บรรณาธิการโดย Earl G. Ingersoll, 1996)
  • Time Bites (ความเรียง, 2004)
  • On Not Winning the Nobel Prize (Nobel Lecture, 2007, published 2008)
อัตชีวประวัติ และบันทึกความทรงจำ
  • Going Home (บันทึกความทรงจำ, 1957)
  • Under My Skin: Volume One of My Autobiography, to 1949 (1994)
  • Walking in the Shade: Volume Two of My Autobiography, 1949 to 1962 (1997)
  • Alfred and Emily (ผสมนวนิยายและบันทึกความทรงจำ, 2008)

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ดอริส เลสซิง