วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์

(เปลี่ยนทางจาก Scientific scepticism)

วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์[1] (อังกฤษ: Scientific skepticism, Scientific scepticism) เป็นหลักปฏิบัติในการที่จะสืบหาว่า เรื่องที่อ้างว่าเป็นจริงนั้นมีหลักฐานโดยงานวิจัยเชิงประสบการณ์ (เชิงประจักษ์) หรือไม่ สามารถทำซ้ำได้หรือไม่ เป็นหลักปฏิบัติที่ใช้เป็นปกติในการ "เพิ่มขยายความรู้ที่ยืนยันได้พิสูจน์ได้"[2] ยกตัวอย่างเช่น ศ. ดร. โรเบิรต์ เมอร์ตัน แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ผู้เป็นบิดาของสังคมวิทยาของความรู้วิทยาศาสตร์ (Sociology of scientific knowledge) ได้กล่าวยืนยันว่า ไอเดียทุกอย่างต้องมีการทดสอบ และต้องผ่านการตรวจสอบของสังคมและชุมชน ที่เข้มงวด และทำอย่างเป็นระบบ[3]

ศัพท์ แก้

วิมตินิยมทางวิทยาศาตร์บางครั้งก็เรียกว่า rational skepticism (วิมตินิยมตามเหตุผล[4]) และบางครั้งหมายถึง skeptical inquiry (การสอบสวนโดยไม่เชื่อ)

วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์ไม่เหมือนกับวิมตินิยมทางปรัชญา (อังกฤษ: philosophical skepticism) ซึ่งเป็นการไม่ปักใจว่า ความรู้ที่เรามีนั้นเป็นความจริงของธรรมชาติ ส่วนคำว่า Methodological skepticism (วิมตินิยมโดยระเบียบวิธี) เป็นการตั้งข้อสงสัยในความเชื่อของบุคคลว่าตรงกับความจริง เป็นแนวคิดที่คล้าย ๆ กันกับวิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์ แต่ไม่ใช่อันเดียวกัน แต่คำว่า "New Skepticism" (วิมตินิยมใหม่) ที่อธิบายโดยพอล์ เคิรตส์นั้น ตรงกับวิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์[5] นักเล่นกลผู้เป็นนักวิมตินิยม Jamy Ian Swiss ได้กล่าวไว้ว่า วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์เป็น "วิธีการคิด ไม่ใช่เรื่องที่คิด"[ต้องการอ้างอิง]

นิยามต่าง ๆ แก้

คำนิยามอื่น ๆ ของ "วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์" รวมทั้ง

นักวิมตินิยมเป็นผู้ชอบใจประเด็นความเชื่อและข้อสรุปที่เชื่อถือได้และเป็นจริง มากกว่าประเด็นที่ทำให้เบาใจหรือเหมาะกับสถานการณ์ และดังนั้น จะใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์และการคิดด้วยเหตุผล อย่างเข้มงวดและอย่างเปิดเผย เพื่อตรวจสอบข้ออ้างความจริงต่าง ๆ โดยเฉพาะ (ในเรื่องความเชื่อและข้อสรุป)ของตนเอง นักวิมตินิยมจะยอมรับอย่างมีเงื่อนไขและไม่ปักใจ ซึ่งข้ออ้างความจริงต่าง ๆ ที่ผ่านการตรวจสอบทางตรรกะที่ถูกต้อง และที่ผ่านการประเมินหลักฐานที่มีอยู่อย่างถี่ถ้วน และจะศึกษาข้อบกพร่องของการคิดหาเหตุผล และกลไกการหลอกลวงของมนุษย์ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการถูกหลอกทั้งโดยตนเองและโดยผู้อื่น นักวิมตินิยมให้ความสำคัญกับวิธีการ (ในการสืบหาความจริง) มากกว่าข้อสรุปอย่างใดอย่างหนึ่ง[6]

วิมตินิยมเป็นวิธีการปฏิบัติอย่างมีเงื่อนไขและไม่ปักใจ ต่อข้ออ้างความจริง เป็นการหาเหตุผลต่อไอเดียทุกอย่างอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยไม่มีไอเดียอะไร ๆ ที่เป็นข้อยกเว้น กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ วิมตินิยมเป็นวิธีการ ไม่ใช่เป็นทัศนคติ[7]

วิมตินิยมเป็นวิธีการตรวจสอบข้ออ้างความจริงเกี่ยวกับโลก เครื่องมือของนักวิมตินิยมรวมทั้งการหาเหตุผล, การคิดวิเคราะห์ (critical thinking), และความต้องการที่จะได้หลักฐานที่ยืนยันได้ ตรวจสอบได้ เกี่ยวกับข้ออ้างความจริง (โดยเฉพาะที่พิเศษเหนือมนุษย์) โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว การคิดหาหลักฐานเหตุผลโดยวิมตินิยม เป็นวิธีการที่อยู่ในระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว[8]

สาระสำคัญ แก้

ประวัติ แก้

ตัวอย่าง แก้

ตัวอย่างประเด็นที่วารสารวิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์ทำการตรวจสอบรวมทั้ง[9][10]

มีนักวิมตินิยมเช่นนักมายากลแฮร์รี ฮูดินี (ค.ศ. 1874-1926) และนักมายากลชาวอเมริกันเจมส์ แรนดี้ ที่ได้กลายมาเป็นผู้มีชื่อเสียงในการพิสูจน์เรื่องอ้างที่ไม่น่าเป็นไปได้ ว่าเป็นเรื่องเท็จ ถึงอย่างนั้น นักพิสูจน์เรื่องเหนือธรรมชาติบางท่านเตือนว่า ผู้ทำการเช่นนี้ต้องระวังที่จะติดตามเรื่องอ้างเหนือธรรมชาติเช่นนี้อย่างจริง ๆ จัง ๆ โดยไม่มีความเอนเอียง เพราะว่า การพิสูจน์หาเหตุผลที่เปิดใจโปร่งใส สามารถที่จะเปลี่ยนใจและสอนคนได้ดีกว่าการพิสูจน์ว่าเท็จ[11][12]

วิมตินิยมเทียม แก้

มีการกล่าวไว้ว่า "นักวิมตินิยมเทียมจริง ๆ แล้วก็คือผู้ที่ยึดถือความคิดเห็นของตนโดยปราศจากเหตุผล ภายใต้คราบ (ของนักวิมตินิยมจริง ๆ) เป็นคนยิ่งอันตรายด้วยการแสดงรูปแบบ เหมือนกับผู้ทำการสอบสวนที่ไม่มีความเอนเอียงและเปิดใจ"[13] โดยมีตัวอย่างให้เห็นในกลุ่มบุคคลผู้ยึดถือหลักทางวิชาการที่ต่อมาพบว่าใช้ไม่ได้เช่น การปฏิเสธโรคเอดส์ การปฏิเสธเหตุการณ์ฮอโลคอสต์ การปฏิเสธปรากฏการณ์โลกร้อน ผู้เรียกตนเองว่านักวิมตินิยม แต่ความจริงแสดงพฤติกรรมของนักวิมตินิยมเทียม คือเลือกถือเอาและเลือกแสดงแต่หลักฐานที่เข้ากับความคิดความเชื่อของตน (ดูความเอนเอียงเพื่อยืนยัน) ลักษณะเฉพาะของวิมตินิยมเทียมก็คือ "ไม่ได้มีจุดหมายเป็นการสืบหาความจริงอย่างเป็นกลาง ๆ แต่เป็นการพิทักษ์จุดยืนทางความคิดที่มีอยู่แล้ว"[14]

แต่ว่า แม้นักวิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์แท้ ๆ ก็ยังอาจถูกวิจารณ์ด้วยข้อหาเช่นนี้ได้ คือ มักจะมีการกล่าวหาว่าเป็นวิมตินิยมเทียม ในประเด็นต่าง ๆ ที่มีการขัดแย้งกันในระดับสูงกับพวกนักวิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์ ยกตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 1994 นักจิตวิทยาเหนือธรรมชาติที่ต่อมากลายเป็นผู้ที่ไม่เชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติ และได้รับเลือกเป็นสมาชิกขององค์กรวิมตินิยม CSICOP ได้กล่าวถึงสิ่งที่เธอคิดว่า "เป็นวิมตินิยมเทียมประเภทที่แย่ที่สุด"

มีสมาชิกบางพวกในกลุ่มนักวิมตินิยมที่มีความเห็นที่ชัดเจนว่า ตนรู้คำตอบที่ถูกต้องแม้ก่อนที่จะทำการสอบสวน พวกเขาไม่ปรากฏว่าสนใจที่จะชั่ง (ตรวจสอบ) แนวคิดที่ต่าง ๆ กัน ที่จะตรวจสอบเรื่องอ้างที่แปลก ๆ หรือที่จะลองประสบกับเหตุการณ์เหนือธรรมชาติ หรือที่แปลกไปจากปกติธรรมดา ด้วยตนเอง (ช่างเป็นไปไม่ได้!) แต่สนใจแต่จะโปรโหมตความเชื่อและความเห็นของตน[15]

โดยวิจารณ์คำที่สมาชิกจาก "สมาคมการตรวจสอบโดยวิมตินิยม" (Association for Skeptical Investigation) ได้ใช้เรียกนักวิมตินิยมที่วิจารณ์เรื่องเหนือธรรมชาติบางคนว่า "ยึดถือความคิดของตนโดยปราศจากเหตุผล" และ "เป็นโรค"[16] โรเบิรต์ ท็อดด์ คาร์โรลล์ ผู้จัดตั้งเว็บไซต์ Skeptic's Dictionary (พจนานุกรมของนักวิมตินิยม)[17] ได้กล่าวว่า สมาคมนั้น

เป็นกลุ่มของนักตรวจสอบเรื่องเหนือธรรมชาติโดยวิมตินิยมเทียม เป็นพวกที่สนับสนุนเรื่องเหนือธรรมชาติ ผู้ไม่ชอบใจคำวิจารณ์ต่องานศึกษาเรื่องเหนือธรรมชาติ ซึ่งเป็นคำวิจารณ์จากนักวิมตินิยมแท้ และจากนักคิดวิเคราะห์ ความไม่เชื่อ (วิมติ) อย่างเดียวที่คนกลุ่มนี้โปรโหมตก็คือ ความไม่เชื่อในนักวิจารณ์และคำวิจารณ์ต่องานศึกษาเรื่องเหนือธรรมชาติ[17]

อันตรายจากวิทยาศาสตร์เทียม แก้

วิมตินิยมเป็นวิธีการศึกษาเรื่องอ้างที่ไม่ปกติธรรมดาหรือแปลก ๆ ที่โน้มไปทางความไม่เชื่อเหนือกว่าความเชื่อ เพราะว่าไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนสรุปได้ นักวิมตินิยมโดยทั่ว ๆ ไปพิจารณาว่า ความเชื่อเกี่ยวกับการมาถึงมนุษยโลกโดยมนุษย์ต่างดาว และอำนาจรับรู้เหนือธรรมชาติ เป็นแนวความคิดที่ผิด เนื่องจากไม่มีหลักฐานโดยประสบการณ์ (empirical evidence) ที่จะสนับสนุนเหตุการณ์เหล่านี้ นักปราชญ์กรีกโบราณเพลโต คิดว่า การปลดเปลื้องบุคคลอื่นให้พ้นจากความไม่รู้แม้ว่าจะมีการขัดขืนในเบื้องต้น เป็นการกระทำที่ยิ่งใหญ่และประเสริฐ[18] ซึ่งนักวิมตินิยมในปัจจุบันก็ได้พยายามที่จะเดินตามแนวคิดนี้โดยวิธีต่าง ๆ

นักปราชญ์ทรงอิทธิพลชาวอังกฤษเบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ เสนอว่า การกระทำของบุคคล จะอาศัยความเชื่อของบุคคลนั้น และถ้าความเชื่อนั้นไม่มีหลักฐานสนับสนุน ก็อาจจะนำไปสู่การกระทำที่ก่อความเสียหาย[19] นักมายากลเจมส์ แรนดี้ บ่อยครั้งเขียนบทความเกี่ยวกับกลฉ้อฉลของผู้ที่อ้างว่าตนรับรู้ได้เหนือธรรมชาติ หรือรักษาโรคได้โดยอำนาจเหนือธรรมชาติ[20] นักวิจารณ์การแพทย์ทางเลือกบ่อยครั้งชี้คำแนะนำที่ไม่ดีของผู้รักษาผู้ไม่มีคุณสมบัติ ที่นำไปสู่อาการสาหัสหรือถึงความตาย ส่วนนักชีววิทยาริชาร์ด ดอว์กินส์ ชี้ว่า ศาสนาเป็นแหล่งก่อเหตุความรุนแรง และพิจารณาว่า ความเชื่อว่าพระผู้สร้างสร้างโลกขึ้น (creationism) เป็นอันตรายต่อการใช้ความรู้จากชีววิทยา (เช่นผู้เชื่อมีความเห็นขัดแย้งต่อหลักความจริงทางชีววิทยา ทำให้เกิดการกระทำมีผลกระทบต่อสังคมที่ขัดกับหลักความจริง)[21][22] และนักวิมตินิยมบางพวกก็ต่อต้านลัทธิศาสนาใหม่ ๆ (New religious movement) เพราะสอนว่า มีปาฏิหาริย์ (เหนือธรรมชาติ) ที่ไม่จริง หรือว่าผู้นำลัทธิศาสนาสามารถทำปาฏิหาริย์ได้[23] และบางพวกก็มักวิจารณ์ระบบความเชื่อต่าง ๆ ที่เห็นว่าวิตถาร แปลกประหลาด หรือว่าไม่มีเหตุผล

สื่อวิมตินิยม แก้

  • มิธบัสเตอร์ส รายการโทรทัศน์พิสูจน์ตำนานเมือง และเรื่องเล่าขานที่เล่าต่อกันปากต่อปาก

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ skepticism ว่า "วิมตินิยม"
  2. Stemwedel, Janet D. (2008-01-29), "Basic concepts: the norms of science" (blog), ScienceBlogs: Adventures in Ethics and Science, Seed Media Group: quoting Robert K. Merton (1942)
  3. Merton, R. K. (1942). The Normative Structure of Science. in Merton, Robert King (1973). The Sociology of Science: Theoretical and Empirical Investigations. Chicago: University of Chicago Press. ISBN 978-0-226-52091-9.
  4. "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ rational ว่า "ตามเหตุผล"
  5. Kurtz, Paul (1992). The New Skepticism: Inquiry and Reliable Knowledge. Prometheus Books. p. 371. ISBN 0-87975-766-3.
  6. Novella, Steven (2008-11-07). "SKEPTIC – THE NAME THING AGAIN". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-20. สืบค้นเมื่อ 2015-02-20.
  7. "A BRIEF INTRODUCTION". สืบค้นเมื่อ 2015-02-20.
  8. "What is skepticism?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-15. สืบค้นเมื่อ 2015-02-20.
  9. Gardner, Martin (1957). Fads and Fallacies in the Name of Science. Dover. ISBN 0-486-20394-8.
  10. "Skeptics Dictionary Alphabetical Index Abracadabra to Zombies". skepdic.com. 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-05-27.
  11. Nickell, Joe, Skeptical inquiry vs debunking
  12. Hansen, George P. (1992). "CSICOP and the Skeptics: An Overview". สืบค้นเมื่อ 2010-05-25.
  13. Wilson, Richard (2008-09-18), "Against the Evidence", New Statesman, Progressive Media International, ISSN 1364-7431
  14. Wilson, Richard C. (2008). Don't get fooled again: the sceptic's guide to life. Icon. ISBN 978-1-84831-014-8.
  15. Kennedy, J. E. (2003). "The capricious, actively evasive, unsustainable nature of psi: A summary and hypotheses". The Journal of Parapsychology. 67: 53–74. See Note 1 p. 64 quoting Blackmore, S. J. (1994). "Women skeptics". ใน Coly, L.; White, R. (บ.ก.). Women and Parapsychology. New York: Parapsychology Foundation. pp. 234-236).
  16. "Skeptical Investigations". Association for Skeptical Investigation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-12. สืบค้นเมื่อ July 6, 2013.
  17. 17.0 17.1 Carroll, Robert Todd. "Internet Bunk: Skeptical Investigations (or Skeptical About Skeptics)". Skeptic's Dictionary. สืบค้นเมื่อ 2015-02-20.
  18. Plato. "Allegory of the cave". The Republic. translation by Griffith, Tom and Ferrari, G.R.F. into English. New Cambridge University Press. ISBN 0-521-48443-X.
  19. Russell, Bertrand (1928). "On the Value of Scepticism". The Will To Doubt. Positive Atheism. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-25. สืบค้นเมื่อ 2007-05-27.
  20. "Fighting Against Flimflam". นิตยสารไทม์. 2001-06-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-02. สืบค้นเมื่อ 2015-02-20.
  21. Dawkins, Richard (2007). The God Delusion. Black Swan. ISBN 9780618918249.
  22. "Better living without God? - Religion is a dangerously irrational mirage, says Dawkins". San Francisco Chronicle. 2006-10-15.
  23. Langone, Michael D. (June 1995). Recovery from Cults: Help for Victims of Psychological and Spiritual Abuse. W. Norton. American Family Foundation. p. 432. ISBN 0-393-31321-2.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  • Carroll, Robert Todd (2003). The Skeptic's Dictionary: A Collection of Strange Beliefs, Amusing Deceptions, and Dangerous Delusions. John Wiley & Sons. ISBN 0-471-27242-6.
  • Randi, James (June 1982). Flim-Flam! Psychics, ESP, Unicorns, and Other Delusions. Prometheus Books. p. 342. ISBN 0-345-40946-9.
  • Randi, James; Arthur C. Clarke (1997). An Encyclopedia of Claims, Frauds, and Hoaxes of the Occult and Supernatural. St. Martin's Griffin. p. 336. ISBN 0-312-15119-5.
  • Sagan, Carl; Ann Druyan (1997). The Demon-Haunted World: Science as a Candle in the Dark. Ballantine Books. p. 349. ISBN 0-345-40946-9.
  • Gardner, Martin (1957). Fads and Fallacies in the Name of Science. Dover Publications. p. 373. ISBN 0-486-20394-8.
  • Shermer, Michael (1997). Why People Believe Weird Things. St Martins Griffin and Company. p. 349. ISBN 978-0-8050-7089-7.