ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)

ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง เริ่มขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 ระหว่างรัฐบาลสาธารณรัฐแอฟริกากลางกับกบฏซึ่งหลายคนเคยมีส่วนเกี่ยวข้องในสงครามกลางเมืองสาธารณรัฐแอฟริกากลาง กลุ่มกบฏกล่าวหารัฐบาลประธานาธิบดีฟร็องซัว บอซีเซว่าไม่สามารถปฏิบัติตามความตกลงสันติภาพที่ลงนามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550

ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)
2012 Battles in the C.A.R. (
วันที่10 ธันวาคม พ.ศ. 2555 – ปัจจุบัน
(11 ปี 3 เดือน 3 สัปดาห์ 1 วัน)
สถานที่
ผล ยังคงมีความรุนแรงระหว่างฝ่ายอยู่
คู่สงคราม

สาธารณรัฐแอฟริกากลาง Séléka

 สาธารณรัฐแอฟริกากลาง
 ฝรั่งเศส (2013–16)
 แอฟริกาใต้ (2012–13)

สาธารณรัฐแอฟริกากลาง Anti-balaka

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

สาธารณรัฐแอฟริกากลาง Maj. Gen. Joseph Zindeko[1]
สาธารณรัฐแอฟริกากลาง Michel Djotodia (2013–14)

สาธารณรัฐแอฟริกากลาง Catherine Samba-Panza (2014–16)
สาธารณรัฐแอฟริกากลาง Faustin-Archange Touadéra
ฝรั่งเศส François Hollande
แอฟริกาใต้ Jacob Zuma
EUFOR RCA:
สหภาพยุโรป ฝรั่งเศส Philippe Pontiès
MICOPAX:
กาบอง Jean-Felix Akaga (until 2013)
สาธารณรัฐแอฟริกากลาง Levy Yakete
สาธารณรัฐแอฟริกากลาง Patrice Edouard Ngaissona
กำลัง
3,000 (Séléka claim)[2]
1,000–2,000 (Other estimates)[3]
สาธารณรัฐแอฟริกากลาง 3,500[3]
ฝรั่งเศส 2,000[4]
แอฟริกาใต้ 200[5]
ECCAS: 3,500+ peacekeepers[2][4]
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก Democratic Republic of the Congo: 1,000
ประเทศจอร์เจีย Georgia: 140[6]
African Union: 6,000[4]
United Nations peacekeeping: 12,000 by Pakistan[7]
50,000[8]-72,000[9]
ความสูญเสีย
500+ rebel casualties (Bangui only, South African claim) สาธารณรัฐแอฟริกากลาง Unknown number killed or captured
1 policeman killed
แอฟริกาใต้ 15 soldiers killed[10]
สาธารณรัฐคองโก 3 soldiers killed
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก 2 soldiers killed[11]
ฝรั่งเศส 3 soldiers killed
ปากีสถาน 1 soldier killed
53
พลัดถิ่น 200,000 คน; ลี้ภัย 20,000 คน (1 สิงหาคม 2013)[12]
พลัดถิ่น 700,000 คน; ลี้ภัย +288,000 คน (กุมภาพันธ์ 2014)[13]
รวม: เสียชีวิตหลายพันคน[14] เสียชีวิต +5,186 คน (ถึงกันยายน 2014)[15]

กองกำลังกบฏซึ่งมีชื่อว่า "เซเลกา" (Séléka CPSK-CPJP-UFDR) ยึดเมืองหลักหลายเมืองในภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศ พันธมิตรดังกล่าวประกอบด้วยสองกลุ่มหลัก คือ UFDR และ CPJP ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่นเดียวกับ CPSK[16] ซึ่งรู้จักกันน้อยกว่า อีกสองกลุ่มประกาศการสนับสนุนแนวร่วมนี้เช่นเดียวกัน ได้แก่ FDPC[17] และ FPR (ในประเทศชาด)[18] ทั้งสองตั้งอยู่ในภาคเหนือของประเทศ ทุกกลุ่มแยกยกเว้น FPR และ CPSK เป็นฝ่ายในสัญญาความตกลงสันติภาพและกระบวนการปลดอาวุธ

ประเทศชาด[19] กาบอง แคเมอรูน[20] แองโกลา[21] แอฟริกาใต้[22] และสาธารณรัฐคองโก[23] ส่งทหารช่วยเหลือรัฐบาลบอซีเซยับยั้งการรุกคืบของฝ่ายกบฏสู่กรุงบังกี เมืองหลวงของประเทศ

วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556 มีการลงนามความตกลงหยุดยิงในกรุงลีเบรอวีล ประเทศกาบอง ฝ่ายกบฏสละข้อเรียกร้องของพวกตนที่จะให้ประธานาธิบดีฟร็องซัว บอซีเซลาออก แต่เขาต้องแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่จากพรรคฝ่ายค้านภายในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556[24] วันที่ 13 มกราคม บอซีเซลงนามกฤษฎีกาซึ่งถอดถอนนายกรัฐมนตรีโฟสแต็ง-อาร์ช็องฌ์ ตัวเดราจากตำแหน่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงกับแนวร่วมกบฏ[25] วันที่ 17 มกราคม นีกอลา ตีย็องกาย (Nicolas Tiangaye) ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี[26]

วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556 การหยุดยิงถูกละเมิด โดยรัฐบาลประณามเซเลกาว่าละเมิดการหยุดยิง[27] และเซเลกาประณามรัฐบาลโดยกล่าวหาว่ารัฐบาลไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขของความตกลงแบ่งสรรอำนาจ[28] จนถึงวันที่ 21 มีนาคม กบฏรุกคืบถึงเมืองบูกาซึ่งอยู่ห่างจากเมืองหลวง 300 กิโลเมตร[28] วันที่ 22 มีนาคม การสู้รบมาถึงเมืองดามารา ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองหลวง 75 กิโลเมตร[29] กบฏยึดด่านตรวจที่ดามาราและรุกคืบสู่กรุงบังกี แต่ถูกหยุดด้วยการโจมตีทางอากาศจากเฮลิคอปเตอร์จู่โจม[30] อย่างไรก็ดี วันรุ่งขึ้น ฝ่ายกบฏเข้าสู่กรุงบังกี มุ่งหน้าสู่ทำเนียบประธานาธิบดี[31] วันที่ 24 มีนาคม ฟร็องซัว บอซีเซหลบหนีออกนอกประเทศหลังกบฏยึดทำเนียบได้[32] ผู้นำกบฏ มีแชล จอตอดียา ประกาศตนเป็นประธานาธิบดีในวันเดียวกัน[33]

อ้างอิง แก้

  1. "CAR crisis: Meeting the rebel army chief". BBC News. 29 July 2014.
  2. 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ reuters
  3. 3.0 3.1 "Seleka, Central Africa's motley rebel coalition" เก็บถาวร 2014-09-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Radio Netherlands Worldwide
  4. 4.0 4.1 4.2 "More military help sought by UN to protect CAR civilians". The Africa News.Net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-09. สืบค้นเมื่อ 22 February 2014.
  5. "Zille warns of 'CAR scandal'".
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ civil.ge
  7. "Estonian troops fly to C.A.R Friday morning".
  8. http://reliefweb.int/sites/reliefweb.int/files/resources/20141124_CAR.pdf
  9. http://cscubb.ro/cop/central-african-republic-roots-of-the-conflict-and-actors/#.V070UyFOY0Y
  10. "CAR battle claims another SANDF soldier". Enca. South Africa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-03. สืบค้นเมื่อ 2016-12-03.
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ english.rfi.fr
  12. "CrisisWatch Database". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-05. สืบค้นเมื่อ 2016-12-03.
  13. Casey-Maslen, Stuart (2014). The War Report: Armed Conflict in 2013. Oxford University Press. p. 411. ISBN 978-0-19-103764-1.
  14. Massacre evidence found in CAR Al Jazeera. 8 November 2013.
  15. Larson, Krista. "AP: More than 5,000 dead in C. African Republic". AP Bigstory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-25. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
  16. "Three rebel groups threaten to topple C.African regime". ReliefWeb (AFP). 18 December 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-03. สืบค้นเมื่อ 31 December 2012.
  17. "Centrafrique : Le FDPC d'Abdoulaye Miskine a rejoint la coalition Séléka". Journal de Bangui. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-28. สืบค้นเมื่อ 2 January 2013.
  18. "Le FPR soutient l'UFDR dans son combat contre le Dictateur Bozizé" (Press release). FPR. 18 December 2012. สืบค้นเมื่อ 2 January 2013.
  19. "Chad sends troops to back CAR army against rebels". AlertNet. Reuters. 18 December 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-20. สืบค้นเมื่อ 31 December 2012.
  20. "Region sends troops to help embattled C. African army". Channel NewsAsia. 2 January 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-31. สืบค้นเมื่อ 2013-03-29.
  21. Sayare, Scott (2 January 2013). "Central Africa on the Brink, Rebels Halt Their Advance". New York Times.
  22. "South Africa to send 400 soldiers to CAR". Al Jazeera English. 6 January 2013.
  23. Polgreen, Lydia (31 December 2012). "Fearing Fighting, Residents Flee Capital of Central African Republic". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 31 December 2012.
  24. Sayare, Scott (11 January 2013). "Rebel Coalition in Central African Republic Agrees to a Short Cease-Fire". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 12 January 2013.
  25. "Prime minister booted from job in Central African Republic, part of peace deal with rebels". The Washington Post. 13 January 2013. สืบค้นเมื่อ 15 January 2013.[ลิงก์เสีย]
  26. Patrick Fort, "Tiangaye named Central African PM, says 'hard work' begins" เก็บถาวร 2014-02-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Agence France-Presse, 17 January 2013.
  27. "CAR Rebels Break Terms of Cease-Fire". VOA. 23 January 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-03-22.
  28. 28.0 28.1 "Central African Republic Seleka rebels 'seize' towns". BBC. 21 March 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-03-22.
  29. Paul Marin Ngoupana (22 March 2013). "Central African Republic rebels reach outskirts of capital". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-30. สืบค้นเมื่อ 2013-03-22.
  30. "CAR forces 'halt rebel advance'". BBC. 22 March 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-03-23.
  31. Nossiter, Adam (23 March 2013). "Rebels Push into Capital in Central African Republic". New York Times.
  32. Al Jazeera (24 March 2013). "CAR rebels 'seize' presidential palace". Al Jazeera English. สืบค้นเมื่อ 2013-03-24.
  33. "Centrafrique: Michel Djotodia déclare être le nouveau président de la république centrafricaine" (ภาษาฝรั่งเศส). Radio France International. 24 March 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-03-24.