เหมย์โจว
เหมย์โจว (จีน: 梅州市, ฮากกา: Mòichû หม่อยจู) เป็นนครระดับจังหวัดในมณฑลกวางตุ้ง ทางตะวันออกของจีน มีพื้นที่ 15,864.51 ตารางกิโลเมตร (6,125.32 ตารางไมล์) ประกอบด้วยเขตเหม่ย์เจียง เขตเหม่ย์เชี่ยน ชิงหนิง และอีกห้าอำเภอ และจากสำมะโนประชากร พ.ศ. 2553 มีประชากร 4.33 ล้านคนพื้นที่ตัวเมืองที่ประกอบด้วยสองเขตมีประชากร 935,516 คน[2]
นครเหมย์โจว 梅州市 หม่อยจู | |
---|---|
สถานที่ต่าง ๆ ในนครเหมย์โจว | |
สมญา: Kezhou (客州) (เมืองแคะ) | |
คำขวัญ: เมืองหลวงของชาวจีนแคะ | |
ที่ตั้งในมณฑลกวางตุ้ง | |
พิกัด (ศูนย์ราชการนครเหมย์โจว): 24°17′20″N 116°07′19″E / 24.289°N 116.122°E | |
ประเทศ | จีน |
มณฑล | กวางตุ้ง |
ศูนย์กลางการปกครอง | เขตเหม่ย์เจียง |
พื้นที่ | |
• นครระดับจังหวัด | 15,864.51 ตร.กม. (6,125.32 ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 3,047.5 ตร.กม. (1,176.6 ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 3,047.5 ตร.กม. (1,176.6 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 96 เมตร (315 ฟุต) |
ประชากร (สำมะโน ค.ศ. 2010[1]) | |
• นครระดับจังหวัด | 4,328,461 คน |
• ความหนาแน่น | 270 คน/ตร.กม. (710 คน/ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 935,516 คน |
• ความหนาแน่นเขตเมือง | 310 คน/ตร.กม. (800 คน/ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 935,516 คน |
• ความหนาแน่นรวมปริมณฑล | 310 คน/ตร.กม. (800 คน/ตร.ไมล์) |
• กลุ่มชาติพันธุ์หลัก | ชาวฮั่น |
เขตเวลา | UTC+8 (เวลามาตรฐานจีน) |
รหัสไปรษณีย์ | 514000 |
รหัสพื้นที่ | 753 |
รหัส ISO 3166 | CN-GD-14 |
License Plate Prefix | 粤M |
เว็บไซต์ | www |
เหมย์โจว | |||||||||||||||||
"เหมย์โจว" ตามที่เขียนในภาษาจีน | |||||||||||||||||
ภาษาจีน | 梅州 | ||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ฮากกา | Mòi-chû | ||||||||||||||||
ไปรษณีย์ | Meichow (ปัจจุบัน) Meihsien (อดีต) Kaying (อดีต; ก่อน พ.ศ. 2455) | ||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | Plum/prune Prefecture | ||||||||||||||||
|
ประวัติ
แก้ชื่อ เหมย์โจว มาจากแม่น้ำเหม่ย์ และคำว่า (ดอก) บ๊วยในภาษาจีน (จีน: 梅, เหมย์ méi) เหมย์โจวก่อตั้งในช่วงฮั่นใต้ (พ.ศ. 1460–1514) ให้เป็นเขตปกครองของเมืองเกงจิ๋ว และกลายเป็น เหมย์โจว ในช่วงราชวงศ์ซ่งเหนือ (พ.ศ. 1503–1670) และเป็นเมืองเจียยิงในช่วงราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187–2454) หลังจากการเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครองที่ตามมาหลายครั้งก็กลายชื่อเป็นเมืองเหมย์โจวในปี พ.ศ. 2531 ปัจจุบันเหมย์โจวเป็นเมืองประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียง[3]
ภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ
แก้เหมย์โจวตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑลกวางตุ้ง ติดกับมณฑลฝูเจี้ยนทางตะวันออกเฉียงเหนือและมณฑลเจียงซีทางตะวันตกเฉียงเหนือ โครงสร้างทางธรณีวิทยาที่ซับซ้อนส่วนใหญ่เกิดจากหินแกรนิต, หินแตก, หินแปร, หินทราย, หินแดง และหินปูน[4] เขตการปกครองของนครระดับจังหวัดเหมย์โจว อยู่ในช่วงละติจูดจาก 23 ° 23 'ถึง 24 ° 56' N และในลองจิจูดจาก 115 ° 18 'ถึง 116 ° 56' E ครอบคลุมพื้นที่ 15,836 km2 (6,114 sq mi)
เหมย์โจวมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Cfa เคิพเพิน) โดยมีฤดูหนาวที่ค่อนข้างสั้นมีเมฆมากและไม่หนาวมาก และมีฤดูร้อนที่ยาวและร้อนชื้นมาก อุณหภูมิเฉลี่ยรายวันในเดือนมกราคมคือ 12.6 องศาเซลเซียส (54.7 องศาฟาเรนไฮต์) และในเดือนกรกฎาคมคือ 28.9 องศาเซลเซียส (84.0 องศาฟาเรนไฮต์) ฤดูมรสุมอยู่ในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ไต้ฝุ่นมักจะไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่เหมย์โจวมากนักเนื่องจากภูมิประเทศที่มีภูเขากำบัง แต่ทั้งนี้ภูมิประเทศแบบภูเขาอาจประสพปัญหาจากน้ำท่วมได้ง่าย
ข้อมูลภูมิอากาศของเหมย์โจว (1981−2010) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 29.5 (85.1) |
33.0 (91.4) |
33.4 (92.1) |
36.0 (96.8) |
37.2 (99) |
38.4 (101.1) |
39.5 (103.1) |
38.6 (101.5) |
38.0 (100.4) |
35.8 (96.4) |
34.8 (94.6) |
30.2 (86.4) |
39.5 (103.1) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 18.4 (65.1) |
19.5 (67.1) |
22.4 (72.3) |
26.4 (79.5) |
29.9 (85.8) |
32.1 (89.8) |
34.3 (93.7) |
33.7 (92.7) |
32.0 (89.6) |
29.4 (84.9) |
25.0 (77) |
20.3 (68.5) |
26.95 (80.51) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 12.6 (54.7) |
14.4 (57.9) |
17.4 (63.3) |
21.7 (71.1) |
25.1 (77.2) |
27.3 (81.1) |
28.9 (84) |
28.4 (83.1) |
26.8 (80.2) |
23.7 (74.7) |
18.7 (65.7) |
13.9 (57) |
21.58 (70.84) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 8.7 (47.7) |
10.9 (51.6) |
14.0 (57.2) |
18.4 (65.1) |
21.7 (71.1) |
24.0 (75.2) |
25.0 (77) |
24.8 (76.6) |
23.2 (73.8) |
19.6 (67.3) |
14.3 (57.7) |
9.6 (49.3) |
17.85 (64.13) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | -2.0 (28.4) |
0.1 (32.2) |
0.3 (32.5) |
8.3 (46.9) |
13.8 (56.8) |
17.6 (63.7) |
20.5 (68.9) |
21.8 (71.2) |
15.1 (59.2) |
8.5 (47.3) |
2.6 (36.7) |
-2.9 (26.8) |
−2.9 (26.8) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 45.2 (1.78) |
102.7 (4.043) |
149.5 (5.886) |
202.8 (7.984) |
183.5 (7.224) |
225.3 (8.87) |
160.3 (6.311) |
203.7 (8.02) |
122.0 (4.803) |
31.1 (1.224) |
38.8 (1.528) |
35.9 (1.413) |
1,500.8 (59.087) |
ความชื้นร้อยละ | 75 | 78 | 79 | 80 | 79 | 81 | 76 | 78 | 77 | 72 | 71 | 73 | 76.6 |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm) | 8.2 | 12.1 | 16.0 | 16.5 | 18.7 | 18.0 | 14.5 | 16.6 | 12.9 | 6.2 | 5.2 | 5.6 | 150.5 |
แหล่งที่มา 1: China Meteorological Data Service Center | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: Weather China (precipitation days 1971-2000) |
การปกครอง
แก้ศาลาว่าการเทศบาลนคร, ศาลกลาง, สำนักงานพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนประจำนคร และสำนักความปลอดภัยสาธารณะ (สำนักงานตำรวจ) ตั้งอยู่ในแขวงเจียงหนาน ของเขตเหมย์เจียง บนฝั่งขวาของแม่น้ำเหม่ย์
แผนที่ | |||||
---|---|---|---|---|---|
เขตเหม่ย์เจียง
เขตเหม่ย์เซี่ยน
นครซิงหนิง
อำเภอ
เฟิงชุ่น อำเภอ
อู่หฺวา อำเภอ
ผิงหยวน อำเภอ
เจียวหลิง อำเภอ
ต้าปู้ | |||||
ชื่อ | ภาษาจีนตัวย่อ | พินอิน | ประชากรปี ค.ศ. 2010 (คน) | พื้นที่ (ตร.กม.) | ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) |
เขตเหม่ย์เจียง | 梅江区 | Méijiāng Qū | 380771 | 570.62 | 667 |
เขตเหม่ย์เซี่ยน | 梅县区 | Méixiàn Qū | 554745 | 2,476.87 | 224 |
อำเภอต้าปู้ | 大埔县 | Dàbù Xiàn | 374666 | 2,461.82 | 152 |
อำเภอเฟิงชุ่น | 丰顺县 | Fēngshùn Xiàn | 478974 | 2,706.34 | 177 |
อำเภออู่หฺวา | 五华县 | Wǔhuá Xiàn | 1050528 | 3,237.83 | 324 |
อำเภอผิงหยวน | 平远县 | Píngyuǎn Xiàn | 230045 | 1,373.98 | 167 |
อำเภอเจียวหลิง | 蕉岭县 | Jiāolǐng Xiàn | 205849 | 961.64 | 214 |
นครระดับอำเภอซิงหนิง | 兴宁市 | Xīngníng Shì | 962883 | 2,075.39 | 464 |
เศรษฐกิจ
แก้เหมย์โจวอุดมไปด้วยแหล่งแร่อุตสาหกรรมและแหล่งท่องเที่ยว แร่อุตสาหกรรม 48 ชนิด ได้แก่ ถ่านหิน เหล็ก หินปูน ดินหายาก ดินเกาลิน เหมย์โจวเป็นแหล่งแร่แมงกานีสสำรองในอันดับหนึ่งของมณฑลกวางตุ้ง เหมย์โจวมีแหล่งน้ำธรรมชาติ น้ำพุร้อน และน้ำแร่ที่ผ่านการรับรองมากมาย มีแหล่งท่องเที่ยว เช่น แหล่งประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมที่สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ที่อยู่อาศัยของบุคคลที่มีชื่อเสียงของจีนในอดีต ทิวทัศน์ธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมจีนแคะ (ฮากกา)[5]
เนื่องจากที่ตั้งที่เป็นภูเขา เหมย์โจวจึงมีพื้นที่ธรรมชาติที่สวยงามและคุณภาพอากาศที่ดี นักท่องเที่ยวหลายคนมาที่สวนชายานหนานเฟย์เพื่อปีนเขา
การขนส่ง
แก้เหมย์โจวเป็นศูนย์กลางการคมนาคมเชื่อมสามมณฑล คือ กวางตุ้ง ฝูเจี้ยน และเจียงซี และจุดเชื่อมระหว่างชายฝั่งและพื้นที่บกด้วยทางหลวงหมายเลข 205 และ 206
สถานีรถไฟเหมย์โจวตะวันตก (Meizhou West Railway Station) เปิดบริการใน พ.ศ. 2562 ใช้สำหรับเส้นทางรถไฟโดยสารเหมย์โจว–เฉาซ่าน (แต้ซัว) และให้บริการเชื่อมโยงรถไฟความเร็วสูงไปยังกว่างโจว จูไห่ เซินเจิ้น ซัวเถา เฉาโจว อี้ชาง และเซียะเหมิน [6] เส้นทางรถไฟกว่างโจว–เหมย์โจว–ซัวเถา และเส้นทางรถไฟเหมย์โจว–ขั่นซื่อ (坎市镇)
สถานีรถไฟเหมย์โจว (เก่า) ในเมืองยังคงให้การบริการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟ (ธรรมดา) กับกวางโจว เซี่ยเหมิน ซัวเถา เซินเจิ้น ต่าปู้ อู่ชาง และคุนหมิง
ท่าอากาศยานเหม่ย์เซียน ในเมืองเหมย์โจวให้บริการเส้นทางการบินในภูมิภาคในเส้นทางกวางโจวและฮ่องกง
ทางน้ำผ่านแม่น้ำเหม่ย์และแม่น้ำฮั่นไปถึงเฉาโจว (แต้จิ๋ว) และซ่านโถว (ซัวเถา)[7]
วัฒนธรรม
แก้เหมย์โจวถือเป็นศูนย์กลางของภาษาแคะ (ฮากกา) มาตรฐาน ร่วมกับ Mei County และ Dabu County ที่อยู่ใกล้เคียง
จีนแคะ (ฮากกา) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งของชาวจีนฮั่นมีพื้นเพมาจากบริเวณแม่น้ำหวง ซึ่งต่อมาอพยพลงใต้เพื่อหลีกเลี่ยงความวุ่นวายในสงครามเมื่อหลายศตวรรษก่อน แต่เนื่องจากการต่อต้านจากชาวพื้นถิ่นกวางตุ้งต่อผู้ย้ายถิ่นฐานเข้ามาใหม่ ทำให้ชาวจีนแคะจำนวนมากถูกบังคับให้ใช้ชีวิตในเขตภูเขาของมณฑลกวางตุ้ง การอพยพย้ายถิ่นนี้ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมีการส่งต่อชาวจีนแคะอพยพไปยังประเทศอื่น ๆ ยังคงมีผู้คนจำนวนมากอพยพมาที่เหมย์โจวในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาเพื่อหารายได้ให้กับครอบครัว
ชาวจีนแคะโพ้นทะเลบางส่วนอพยพกลับหรือส่งเงินช่วยเหลือไปยังเหมย์โจว อาคารหลายหลังได้รับการตั้งชื่อตามคนที่มีชื่อเสียงในเหมย์โจวและชาวจีนแคะโพ้นทะเล
การศึกษา
แก้การศึกษาในเหมย์โจวนั้นมีความสำคัญสูงมาตั้งแต่สมัยโบราณ เมืองนี้เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเจียยิง (嘉应大学) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นที่ดึงดูดนักศึกษาจากจังหวัดอื่น ๆ มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงด้านการวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมแคะ
อาหาร
แก้ผลไม้ที่เป็นพืชเศรษฐกิจของเหมย์โจว คือ ส้มโอ ซึ่งออกผลจำนวนมากในช่วงหลังเดือนสิงหาคมหรือเดือนกันยายน
ไก่อบเกลือเป็นอาหารที่รู้จักกันดีในชาวแคะ ซึ่งยังพบได้ในเมืองอื่น ๆ อาหารท้องถิ่นอีกอย่างคือ เย็นตาโฟ (Yong Tau Fu) ว่ากันว่าเมื่อชาวแคะมาทางใต้ครั้งแรกไม่มีแป้งสาลีสำหรับเกี๊ยว ซึ่งแทนด้วยเต้าหู้ การเติมเนื้อสัตว์นั้นให้รสชาติที่พิเศษและกลายเป็นจุดเด่นของอาหารแคะ เนื้อวัวและขิงดองเป็นที่นิยมในท้องถิ่นเช่นกัน
บุคคลที่มีชื่อเสียง
แก้- Huang Zunxian (2391–2448) นักการทูตและนักปฏิรูป
- ชุ่นเส็ง แซ่คู (เกิดประมาณคริสต์ทศวรรษ 1840) ชาวไทยเชื้อสายจีนต้นตระกูลชินวัตร และทวดของทักษิณ ชินวัตร[ต้องการอ้างอิง] (นักธุรกิจ นักการเมือง และอดีตนายกรัฐมนตรีของไทย) และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (นักธุรกิจไทย นักการเมือง และนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย)
- เย่ เจียนหยิง (2440–2529) ผู้นำทางทหารและนักการเมืองการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ของจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งฝ่ายทหารของกองทัพปลดปล่อยประชาชน เป็นผู้นำสูงสุดทางทหารในการรัฐประหาร พ.ศ. 2519 ที่ล้มระบบแก๊งสี่คนและยุติการปฏิวัติวัฒนธรรม
- หลิน เฟงเมียน (2443–2534) จิตรกร
- Lee Wai Tong (2448–2522) นักฟุตบอลจีน
- Liu Fuzhi (2460–2556) นักการเมืองจีน
- Jana Chen (2532) นักร้อง
ระเบียงภาพ
แก้-
New Century Square มหาวิทยาลัยเจียยิงในเหมย์โจว (ตั้งอยู่ในใจกลางของวิทยาเขตหลัก)
-
ถนนเก่าในเหมย์โจว (พ.ศ. 2543)
-
นาข้าวในเหมย์โจว
-
มุมถนนในเหมย์โจว
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.citypopulation.de/php/china-guangdong-admin.php
- ↑ http://www.citypopulation.de/php/china-guangdong-admin.php
- ↑ https://web.archive.org/web/20061212110609/http://www.chinaculture.org/gb/en_travel/2003-09/24/content_35994.htm
- ↑ https://web.archive.org/web/20070627170757/http://www.meizhou.gov.cn/modules/article/view.article.php?18%2Fc1
- ↑ https://web.archive.org/web/20061014114829/http://www.gddoftec.gov.cn/sq/en/tz_mz.html
- ↑ http://cnrail.geogv.org/enus/departure-list/89610054
- ↑ https://web.archive.org/web/20060822120202/http://www.getgd.net/gd_city/meizou/mzintr.e.html