การถอดเป็นอักษรโรมันแบบไปรษณีย์จีน
การถอดเป็นอักษรโรมันแบบไปรษณีย์ (อังกฤษ: Postal romanization)[1] เป็นระบบทับศัพท์ชื่อสถานที่ในประเทศจีนที่พัฒนาโดยหน่วยงานไปรษณีย์ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สำหรับหลายเมือง อักษรโรมันแบบไปรษณีย์เป็นรูปแบบที่ใช้ในการเขียนชื่อเมืองในภาษาอังกฤษมากที่สุดในคริสต์ทศวรรษ 1890 จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1980 ที่มีการแทนที่อักษรโรมันแบบไปรษณีย์ด้วยพินอิน แต่ยังคงมีการใช้งานในไต้หวันจนถึง ค.ศ. 2002
การถอดเป็นอักษรโรมันแบบไปรษณีย์ 郵政式拼音;邮政式拼音 | |
---|---|
ชนิด | ระบบการถอดเป็นอักษรโรมันสำหรับ |
ช่วงยุค | ค.ศ. 1892–2002 |
ภาษาพูด | จีน |
การถอดเป็นอักษรโรมันแบบไปรษณีย์จีน | |||||||||||||||||||||||||||||||
แผนที่ประเทศจีนพร้อมถอดรูปอักษรโรมัน ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1947 | |||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 郵政式拼音 | ||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 邮政式拼音 | ||||||||||||||||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | ระบบการถอดเป็นอักษรโรมันแบบไปรษณีย์ | ||||||||||||||||||||||||||||||
|
ใน ค.ศ. 1892 เฮอร์เบิร์ต ไจลส์สร้างระบบการถอดเป็นอักษรโรมันที่มีชื่อว่าชุดตัวหนังสือพยางค์หนานจิง ที่ทำการไปรษณีย์ศุลกากรทางทะเลจักรวรรดิ (Imperial Maritime Customs Post Office) จะยกเลิกไปรษณียากรพร้อมประทับตราที่ระบุเมืองต้นทางเป็นอักษรละติน ส่วนใหญ่แปลงเป็นอักษรโรมันด้วยระบบของไจลส์ ต่อมาใน ค.ศ. 1896 ไปรษณีย์ศุลกากรถูกควบรวมเข้ากับบริการไปรษณีย์อื่น ๆ และเปลี่ยนชื่อเป็นไปรษณีย์จักรวรรดิจีน (Chinese Imperial Post) ในฐานะหน่วยงานระดับชาติ ไปรษณีย์จักรวรรดิจึงเป็นผู้มีอำนาจในเรื่องชื่อสถานที่ของจีน[2]
เมื่อระบบเวด-ไจลส์เริ่มมีการใช้งานแพร่หลาย บางคนโต้แย้งว่าหน่วยงานไปรษณีย์ควรใช้งานระบบนี้ แนวคิดนี้ถูกปัดตกไปในการประชุมที่จัดขึ้นที่เซี่ยงไฮ้ใน ค.ศ. 1906 โดยทางการประชุมนำชุดตัวหนังสือพยางค์หนานจิงมาใช้งานอย่างเป็นทางการแทน[3] การตัดสินครั้งนี้อนุญาตให้หน่วยงานไปรษณีย์ยังคงใช้ระบบการถอดเป็นอักษรโรมันหลายแบบทีมีการใช้งานมาก่อนหน้านี้ การถอดเป็นอักษรโรมันแบบเวด–ไจลส์อิงจากสำเนียงปักกิ่งที่เป็นรูปสะกดมาตรฐานตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1850 การใช้ชุดตัวหนังสือพยางค์หนานจิงไม่ได้เสนอแนะว่าหน่วยงานไปรษณีย์ถือว่ารูปสะกดแบบหนานจิงเป็นรูปมาตรฐาน แต่เป็นความพยายามที่จะรองรับรูปสะกดภาษาจีนกลางที่หลากหลายด้วยระบบการถอดเป็นอักษรโรมันเพียงระบบเดียว
ตารางเปรียบเทียบ
แก้อักษรจีน | D'Anville (1790)[4] | ไปรษณีย์ | เวด–ไจลส์[5] | พินอิน[6] | |
---|---|---|---|---|---|
1907[a] | 1919,[7] 1947[b] | ||||
北京 | Peking |
|
Peking (1919) | Pei-ching | Běijīng |
北平 | — | Peiping (1947) | Pei-pʻing | Běipíng | |
成都 | Tching-tou-fou | Ch'êngtu | Chengtu | Ch’êng-tu | Chéngdū |
重慶;重庆 | Tchong-kin-fou | Ch'ungk'ing | Chungking | Ch’ung-ch’ing | Chóngqìng |
廣東;广东 | Quang-tong | Kwangtung | Kwangtung | Kuang-tung | Guǎngdōng |
廣州;广州 |
|
Kwangchow |
|
Kuang-chou | Guǎngzhōu |
桂林 | Quei-li-ng-fou | Kweilin | Kuei-lin | Guìlín | |
杭州 | Hang-tcheou | Hangchow | Hang-chou | Hángzhōu | |
江蘇;江苏 | Kiang-nan | Kiangsu | Chiang-su | Jiāngsū | |
濟南;济南 | Tci-nan-fou | Tsinan | Chi-nan | Jǐnán | |
南京 | Nan-king | Nanking | Nan-ching | Nánjīng | |
青島;青岛 | — | Ts'ingtao | Tsingtao | Ch’ing-tao | Qīngdǎo |
四川 | Se-tchuen | Szechw'an | Szechwan | Ssu-ch’uan | Sìchuān |
蘇州;苏州 | Sou-tcheou-fou |
|
Soochow | Su-chou | Sūzhōu |
天津 | Tien-king-oei | T'ientsin | Tientsin | T’ien-chin | Tiānjīn |
廈門;厦门 |
|
Hsiamên | Amoy | Hsia-mên | Xiàmén |
西安 | Si-ngan-fou | Singan |
|
Hsi-an | Xī'ān |
รูปสะกด "Amoy" อิงตามการอ่านชื่อเมืองเซี่ยเหมินจากภาษาฮกเกี้ยนสำเนียงจางโจวว่า 廈門; Ēe-mûi ซึ่งในอดีตมีส่วนในการจัดตั้งสำเนียงอามอยแห่งฮกเกี้ยนในเซี่ยเหมิน รูปสะกด "Peking" นำมาจากแผนที่ของ d'Anville ซึ่งมาจากตำราก่อนหน้า เช่น De Bello Tartarico Historia (1654) และ Novus Atlas Sinensis (1655) ของมาร์ติโน มาร์ตินี เยซูอิตชาวอิตาลี ส่วนชุดตัวหนังสือพยางค์หนานจิง ชื่อนครนี้เขียนเป็น Pehking[8] อักขรวิธี oo ใน "Soochow" ที่เขียนไม่ตามกฎ เพื่อแยกนครนี้จากซูโจวในมณฑลเจียงซูตอนเหนือ[9] การถอดเป็นอักษรโรมันแบบไปรษณีย์อื่น ๆ อิงจาก "ภาษาจีนกลางตอนใต้" สำเนียงราชสำนักในอดีตที่อิงจากสำเนียงหนานจิง ซึ่งใช้เป็นภาษากลางราชสำนักในสมัยราชวงศ์หมิงตอนปลายถึงราชวงศ์ชิงตอนต้น รูปสะกดพินอินอิงจากภาษาจีนมาตรฐานที่มีฐานจากสำเนียงปักกิ่งที่ใช้ในระบบการศึกษาจีน
หลังก๊กมินตั๋งขึ้นมามีอำนาจใน ค.ศ. 1927 จึงย้ายเมืองหลวงจากปักกิ่ง ('เมืองหลวงทางเหนือ') ไปยังหนานจิง ('เมืองหลวงทางใต้') ปักกิ่งจึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "Peiping" ('สันติภาพทางเหนือ')[10]
ประวัติ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
หมายเหตุ
แก้- ↑ Richard, Louis, Kennelly, M, L. Richard's Comprehensive geography of the Chinese empire and dependencies Shanghai: Tusewei press, 1908, pp. 590 and ff. Cites the Government Red Book of April 1907.
- ↑ 1947 Chinese Republic, Outer Mongolia," 1947. p. 6. This map uses postal romanization, but with some misspellings.
อ้างอิง
แก้- ↑ Postal Romanization. Taipei: Directorate General of Posts. 1961. OCLC 81619222.
- ↑ Harris (2009), p. 96.
- ↑ Harris (2009), p. 101.
- ↑ Anville, Jean Baptiste Bourguignon, Atlas général de la Chine, de la Tartarie chinoise, et du Tibet : pour servir aux différentes descriptions et histoires de cet empire (1790). This is an expanded edition of an atlas first published in 1737.
- ↑ "Mongolia and China", Pergamon World Atlas, Pergamon Press, Ltd, 1967).
- ↑ "China.," United States. Central Intelligence Agency, 1969.
- ↑ Jacot-Guillarmod (1919).
- ↑ Richard, p. 618.
- ↑ Richard, p. 625.
- ↑ Harris, Lane J. (2009). "A "Lasting Boon to All": A Note on the Postal Romanization of Place Names, 1896–1949". Twentieth-Century China. 34 (1): 96–109. doi:10.1353/tcc.0.0007. S2CID 68653154.
บรรณานุกรม
แก้- China Postal Working Map 大清郵政公署備用輿圖, Shanghai: Oriental Press, 1903.
- China Postal Album: Showing the Postal Establishments and Postal Routes in Each Province (1st ed.), Shanghai: Directorate General of Posts, 1907.
- Jacot-Guillarmod, Charles, บ.ก. (1919), China Postal Album: Showing the Postal Establishments and Postal Routes in Each Province (2nd ed.), Beijing: Directorate General of Posts.
- Postal Atlas of China 中華郵政輿圖, Nanjing: Directorate General of Posts, 1933.
- China Postal Atlas 中華民國郵政輿圖, Nanjing: Directorate General of Posts, 1936.
- Playfair, G.M.H. (1910), The Cities and Towns of China: A Geographical Dictionary (2nd ed.), Shanghai: Kelly & Walsh.
- Stanford, Edward (1917), Complete Atlas of China (2nd ed.), London: China Inland Mission.
- Stoneman, Elvyn A.; และคณะ, บ.ก. (July 1979), Gazetteer of the People's Republic of China, Washington, DC: United States Board on Geographic Names.
- "邮政式拼音 Postal-Style Spelling", 中国大百科全书 (ภาษาจีน), Beijing: Encyclopedia of China Publishing House, 1998.