บ๊วย (Prunus mume)
บ๊วย | |
---|---|
ดอกของบ๊วย | |
ผลของบ๊วยบนต้น | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Rosales |
วงศ์: | Rosaceae |
สกุล: | Prunus |
สกุลย่อย: | Prunus |
ส่วน: | Armeniaca[1] |
สปีชีส์: | P. mume |
ชื่อทวินาม | |
Prunus mume Siebold & Zucc. |
บ๊วย (จีน: 梅, แต้จิ๋วเพ็งอิม: bhuê5; ชื่อวิทยาศาสตร์: Prunus mume) เป็นผลไม้ที่อยู่ในสกุล Prunus มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน และพบในไต้หวัน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม และลาว[2][3] ในประเทศไทยนิยมปลูกบริเวณภาคเหนือของไทย เช่น ดอยอ่างขาง ในโครงการหลวง โดยนำพันธุ์มาจากไต้หวันและญี่ปุ่น ใบขนาดเล็ก สีเขียวอมเทา ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกมีกลิ่นหอม สีขาวหรือชมพู ผลเล็ก ทรงกลม เมื่ออ่อน ผลสีเขียว เมื่อสุกสีเหลิอง เนื้อนิ่ม รสเปรี้ยวอมหวาน เมล็ดแข็ง
ประโยชน์ของบ๊วย
แก้บ๊วยจัดเป็นผลไม้ที่มีสรรพคุณหลายอย่าง และเป็นที่รู้จักกันดีในการนำเอาผลไปใช้ประโยชน์ เช่น การนำไปทำเป็นน้ำบ๊วย เพื่อช่วยในการเพิ่มกำลัง บรรเทาอาการอ่อนเพลีย, เสริมสร้างระบบการย่อยอาหาร, ลดมลพิษและอาหารที่เป็นพิษที่ร่ายกายและยังช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร, แก้เหงือกอักเสบที่เป็นปัญหาของกลิ่นปาก, แก้อาการเมาค้าง ไม่ว่าจะเกิดจากการดื่มสุรา หรือจากการเดินทาง เช่น เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน และอาหารไม่ย่อย, ช่วยปรับสมดุลในกระเพาะอาหาร, แก้อาการแพ้ท้อง, ลดอาการกระหายน้ำ ลดการเสียเหงื่อในร่ายกาย
โดยส่วนใหญ่นำไปแปรรูปเป็นบ๊วยแช่อิ่ม, บ๊วยดอง, บ๊วยเค็ม หรือใช้ทำอาหารเช่น น้ำจิ้มบ๊วย, ซอสบ๊วย, ปลานึ่งบ๊วย เป็นต้น
อ้างอิง
แก้- ↑ Rehder, A. (1927). Manual of cultivated trees and shrubs hardy in North America exclusive of the subtropical and warmer temperate regions. New York: Macmillan publishing.
- ↑ Fang J, Twito T, Zhang Z, Chao CT (October 2006). "Genetic relationships among fruiting-mei (Prunus mume Sieb. et Zucc.) cultivars evaluated with AFLP and SNP markers". Genome. Canadian Science Publishing. 49 (10): 1256–64. doi:10.1139/g06-097. eISSN 1480-3321. PMID 17213907.
- ↑ Uematsu, Chiyomi; Sasakuma, Tetsuo; Ogihara, Yasunari (1991). Phylogenetic relationships in the stone fruit group of Prunus as revealed by restriction fragment analysis of chloroplast DNA. The Japanese Journal of Genetics 66 (1): 60. "P. mume had its origin in South China around the Yangtze River (Kyotani, 1989b)." ISSN 0021-504X. doi:10.1266/jjg.66.59.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Prunus mume ที่วิกิสปีชีส์
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Prunus mume