ดอยอ่างขาง
ดอยอ่างขาง ตั้งอยู่บนทิวเขาแดนลาว ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูงโดยค่าเฉลี่ย 1,400 เมตรจากระดับน้ำทะเล และมียอดดอยสูงสุดถึง 1,928 เมตร เป็นที่ตั้งของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ซึ่งเป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง เริ่มดำเนินงานเมื่อปี พ.ศ. 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 ที่ว่า “ให้เขาช่วยตัวเอง” เปลี่ยนพื้นที่จากไร่ฝิ่นมาเป็นแปลงเกษตรเมืองหนาวที่สร้างรายได้ดีกว่าเก่าก่อน [1] และเปิดรับการช่วยเหลือชาวเขาเผ่าดาราอั้ง (ปะหล่อง) จากภัยสงครามในประเทศพม่า ได้อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารเมื่อปี พ.ศ. 2527 ผู้นำชาวปะหล่องได้เข้ากราบบังคมทูลขอในหลวงอาศัยอยู่ในประเทศไทย ทรงโปรดเกล้าให้อาศัยบริเวณบ้านนอแลและบ้านขอบด้ง ซึ่งเป็นหมู่บ้านใกล้กับพื้นที่รับผิดชอบของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง และได้รับสัญชาติไทยตามลำดับ ต่อมาได้ให้ชาวดาราอั้งเข้ามาทำงานในสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ปลูกสตรอว์เบอร์รีสายพันธุ์พระราชทานต่าง ๆ ตามที่สถานีเกษตรหลวงได้วิจัยพันธุ์ออกมาเป็นที่แห่งแรกในประเทศไทย เช่น สตรอว์เบอร์รีสายพันธุ์พระราชทาน 80, 88, 89 เป็นต้น รวมถึงไม้เมืองหนาวทั้งดอกไม้และผลไม้ ดอยอ่างขางยังเป็นสถานที่รวบรวมสายพันธุ์ต้นนางพญาเสือโคร่ง โดยมีนางพญาเสือโครงดอกสีขาวมากที่สุดในประเทศไทย และนำเข้าพืชในสกุล Prunus หรือซากุระ จากประเทศญี่ปุ่น, จีน, ไต้หวัน เข้ามาปลูกในแปลงทดลองเพื่อเปรียบเทียบกับนางพญาเสือโคร่งของไทยที่อยู่ในสกุลเดียวกันอีกด้วย
ดอยอ่างขาง | |
---|---|
สวนดอยอ่างขาง | |
จุดสูงสุด | |
ความสูง เหนือระดับน้ำทะเล | 1,400 เมตร (4,593 ฟุต) |
พิกัด | 19°54′1.2″N 99°2′21.5″E / 19.900333°N 99.039306°E |
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ | |
เทือกเขา | ทิวเขาแดนลาว |
ข้อมูลทางธรณีวิทยา | |
ประเภทภูเขา | หินปูน |
การพิชิต | |
เส้นทางง่ายสุด | ขับยานพาหนะ |
ภูมิอากาศ
แก้สภาพอากาศเย็นตลอดทั้งปี อุณหภูมิเฉลี่ยโดยประมาณ 15-17 °C อุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ 35-38 °C ในเดือนเมษายน ส่วนอุณหภูมิต่ำสุดอยู่ที่ติดลบ -3 °C ในเดือนมกราคม มีหยาดน้ำฝนเฉลี่ย 2,075 มิลลิเมตรต่อปี
ข้อมูลภูมิอากาศของดอยอ่างขาง (พ.ศ. 2524–2553) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 20.0 (68) |
23.0 (73.4) |
26.2 (79.2) |
27.4 (81.3) |
24.3 (75.7) |
24.0 (75.2) |
22.9 (73.2) |
22.4 (72.3) |
22.6 (72.7) |
21.6 (70.9) |
19.8 (67.6) |
18.7 (65.7) |
22.7 (72.9) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 13.0 (55.4) |
15.0 (59) |
17.5 (63.5) |
18.6 (65.5) |
17.6 (63.7) |
17.8 (64) |
17.7 (63.9) |
17.7 (63.9) |
17.5 (63.5) |
16.8 (62.2) |
14.3 (57.7) |
12.6 (54.7) |
16.3 (61.3) |
ความชื้นร้อยละ | 64 | 47 | 46 | 59 | 80 | 85 | 88 | 91 | 88 | 88 | 77 | 73 | 74 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 272.8 | 240.1 | 275.9 | 243.0 | 198.4 | 159.0 | 161.2 | 158.1 | 183.0 | 198.4 | 249.0 | 251.1 | 2,590 |
แหล่งที่มา: สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา - กรมชลประทาน[2] |
ข้อมูล
แก้ดอยอ่างขางมีชาวไทยภูเขาหลายกลุ่ม เช่น ชาวจีนยูนนาน, ไทใหญ่, มูเซอดำ, และดาราอั้ง อาศัยอยู่ประมาณ 600 ครัวเรือนใน 6 หมู่บ้าน
ดอยอ่างขางมีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจมากมาย เช่น สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง, สวนบอนไซ, จุดชมวิวกิ่วลม, จุดชมวิวม่อนสน, หมู่บ้านขอบดัง, หมู่บ้านนอแล เป็นต้น
ภาพ
แก้-
หุบเขาฝางจากหนึ่งในสองถนนที่เข้าถึงดอยอ่างขางได้
-
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
อ้างอิง
แก้- ↑ Dawson, Alan (24 December 2017). "Living the high life". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 24 December 2017.
- ↑ "ปริมาณการใช้น้ำของพืชอ้างอิงโดยวิธีของ Penman Monteith (Reference Crop Evapotranspiration by Penman Monteith)" (PDF). สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา - กรมชลประทาน. p. 15. สืบค้นเมื่อ 31 July 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- คู่มือการท่องเที่ยว Doi Ang Khang จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- Tourism Authority of Thailand: Doi Angkhang