รัฐบาลอินเดีย
รัฐบาลประเทศอินเดีย (ISO: Bhārat Sarkār; ภารตสรการ) หรือเรียกด้วยชื่อย่อว่า GoI เป็นรับบาลสหภาพที่แต่งตั้งตามรัฐธรรมนูญอินเดียเพื่อปกครองละบริหารด้านนิติบัญญัติ การบริหาร และขบวนการยุติธรรม ของสหภาพอันประกอบด้วยยี่สิบแปดรัฐ และแปด ดินแดนสหภาพ ภายใต้สาธารณรัฐในระบอบประชาธิปไตย ศูนย์กลางรัฐบาลอินเดียตั้งอยู่ที่นิวเดลี เมืองหลวงของประเทศอินเดีย
ก่อตั้ง | 26 มกราคม 1950 |
---|---|
ประเทศ | สาธารณรัฐอินเดีย |
เว็บไซต์ | india |
ศูนย์กลาง | ราษฎรบดีภวัน (ที่พักอาศัยอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีอินเดีย) |
นิติบัญญัติ | |
นิติบัญญัติ | รัฐสภา |
สภาสูง | ราชยสภา |
ผู้นำ | ประธาน (เวนไกอาห์ ไนฑู) |
สภาล่าง | โลกสภา |
ผู้นำ | โฆษก (โอม พิรลา) |
สถานที่ประชุม | สันสัทภวัน |
บริหาร | |
ประมุข | ประธานาธิบดี รามนาถ โกวินทะ |
หัวหน้ารัฐบาล | นายกรัฐมนตรี นเรนทร โมดี |
คณะหลัก | คณะรัฐมนตรี |
หัวหน้าฝ่ายบริหาร | เลขานุการรัฐมนตรี (ราชีพ คาวบา, IAS) |
สถานที่ประชุม | อาคารเซเครทาเรียตกลาง |
กระทรวง | 57 |
รับผิดชอบต่อ | โลกสภา |
ยุติธรรม | |
ศาล | ศาลสูงอินเดีย |
ประธานตุลาการ | ศราท อรวินท์ โบบเด |
โครงสร้าง
แก้รัฐบาลอินเดียใช้รูปแบบที่รับมาจากระบบเวสต์มินส์เตอร์ในการปรครองรัฐ[1] รัฐบาลสหภาพ (Union government) ของอินเดียนั้นหลัก ๆ แล้วประกอบด้วยฝ่ายบริหาร, ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายกระบวนการยุติธรรม ภายใต้รัฐธรรมนูญอินเดีย ในนายกรัฐมนตรี, รัฐสภา และศาลสูง ประเทศอินเดียมีประธานาธิบดีอินเดียเป็นประมุขของรัฐ และผู้นำทหารสูงสุดของกองทัพอินเดีย ในขณะที่นายกรัฐมนตรีที่ได้มาจากการเลือกตั้งเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารและมีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลขับเคลื่อนรัฐบาลสหภาพ[2] รัฐสภาของอินเดียเป็นระบบสองสภา ประกอบด้วยโลกสภาเป็นสภาล่าง และราชยสภาเป็นสภาสูง ระบบยุติธรรมประกอบด้วยศาลสูงสุดอินเดียเป็นศาลสูงสุด, 24 ศาลสูง และศาลประจำอำเภออีกจำนวนหนึ่งภายใต้ศาลสูงสุดอินเดีย[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ Subramanian, K. (17 June 2014). "A prime ministerial form of government". The Hindu. ISSN 0971-751X. OCLC 13119119. สืบค้นเมื่อ 9 March 2018.
- ↑ "Government of India, Structure of Government India". elections.com. 8 January 2018.
- ↑ "Constitution of India's definition of India". Indiagovt.in. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2019.