ธงชาติอินเดีย
ธงชาติอินเดีย หรือ ติรังคา (ฮินดี: तिरंगा, อักษรโรมัน: Tiraṅgā) เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสามแถบสีในแนวนอนประกอบด้วยสีฝรั่นอินเดีย, สีขาว และ สีเขียวอินเดีย ตรงกลางคือจักรอโศกสีน้ำเงินเนวีมี 24 แฉก ธงชาติอินเดียในรูปปัจจุบันนี้ถูกนำมาใช้จากการตกลงในการประชุมของคณะนิติบัญญัติเมื่อ 22 กรกฎาคม 1947 และกลายมาเป็นธงชาติของอาณาเขตกรรมสิทธิ์อินเดียเมื่อ 15 สิงหาคม 1947 และใช้ต่อเนื่องมาหลังได้รับเอกราชเป็นสาธารณรัฐอินเดีย ในประเทศอินเดีย คำว่า "สามสี" (tricolour; ไตรรงค์) เป็นคำใช้เรียกธงชาติของตน การออกแบบธงนำมาจากการออกแบบเดิมในธงสวราช (Swaraj) ธงประจำพรรคคองเกรสแห่งชาติอินเดีย ออกแบบโดยปิงคาลี เวนกัยยะ[N 1]
Tiraṅgā; ติรังคา (แปลว่า "สามสี") | |
การใช้ | ธงชาติ |
---|---|
สัดส่วนธง | 2:3 |
ประกาศใช้ | 22 กรกฎาคม 1947 |
ลักษณะ | แถบสามแถบในแนวนอนประกอบด้วยสีฝรั่นอินเดีย, ขาว และสีเขียวอินเดีย; ตรงกลางเป็นตรารูปจักรสีน้ำเงิน 24 แฉก |
ออกแบบโดย | ปิงคาลี เวนกัยยะ[N 1] |
ตามกฎหมายแล้ว ธงจะต้องผลิตด้วยผ้า ขาที ซึ่งเป็นผ้าหรือไหมพิเศษที่ผลิตด้วยการทอมือ และถูกทำให้เป็นที่นิยมโดยมหาตมะ คานธี ข้อกำหนดและกระบวนการผลิตของธงกำหนดไว้โดยสำนักงานมาตรฐานอินเดีย กรรมสิทธิ์ในการผลิตธงจึงเป็นของคณะกรรมการพัฒนาผ้าขาทีและอุตสาหกรรมหมู่บ้าน ผู้จัดสรรให้กับกลุ่มในท้องถิ่นต่าง ๆ ข้อมูลจากปี 2009 พบว่ามีแห่งเดียวในอินเดีย คือกรณาฏกะขาทีครโมทโยคสามยุคตะสังฆะ
การใช้งานธงอยู่ภายใต้ข้อกำหนดธงอินเดีย และกฎหมายเกี่ยวข้อง ข้อกำหนดเดิมห้ามการใช้งานธงโดยพลเมืองเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคลยกเว้นแต่ในวันชาติต่าง ๆ ของอินเดีย เช่น วันเอกราชและวันสาธารณรัฐ ในปี 2002 ภายหลังการอุทธรณ์โดยภาคพลเมือง นวีน จินดอล ตุลาการสูงสุดของอินเดียได้กำหนดให้รัฐบาลอินเดียปรับแก้กฎให้อนุญาตให้มีการใช้ธงเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคล/เอกชนได้ ต่อมาคณะรัฐมนตรีสหภาพแห่งอินเดียจึงแก้กฎหมายเพื่ออนุญาตให้ใช้งานได้เพิ่มเติมภายในข้อกำหนด กฎหมายนี้ถูกแก้อีกครั้งในปี 2005 โดยเพิ่มส่วนที่อนุมัติให้ใช้งานธงได้ เช่นในเครื่องแต่งกายบางกลุ่ม
สำหรับขนาดจักรอโศกสำหรับขนาด5,7,8,9 อยู่ด้านล่าง
รายละเอียดการออกแบบและสร้าง
แก้ขนาดธง[1][2] | ความกว้างและความสูง (มม) | ขนาดของอโศกจักร (มม)[3] |
---|---|---|
1 | 6300 × 4200 | 1295 |
2 | 3600 × 2400 | 740 |
3 | 2700 × 1800 | 555 |
4 | 1800 × 1200 | 370 |
5 | 1350 × 900 | 280 |
6 | 900 × 600 | 185 |
7 | 450 × 300 | 90[4] |
8 | 225 × 150 | 40 |
9 | 150 × 100 | 25[4] |
ข้อกำหนดธงอินเดียระบุอัตราส่วนความกว้าง:ความสูงของธงชาติอินเดียอยู่ที่ 3:2 แถบทั้งสามสีมีขนาดเท่ากัน ส่วนอโศกจักร มี 24 แง่งที่ขนาดเท่า ๆ กัน[5]
ไม่ปรากฏการกำหนดขนาดของอโศกจักรในข้อกำนหดธง แต่ในกฎหมายบทที่ 4.3.1 ของ "IS1 ว่าด้วยการผลิตมาตรฐานของธงอินเดีย" มีชาร์ตที่อธิบายขนาดของธงและจักรอยู่[3]
ทั้งข้อกำหนดธงและในกฎหมาย IS1 ล้วนกำหนดให้อโศกจักรปรากฏอยู่บนทั้งสองด้านของธง และให้ใช้สีน้ำเงินเนวี[3][5] รายการต่อไปนี้เป็นเฉดสีต่าง ๆ ที่ปรากฏใช้ในธงชาติ ยกเว้นสีน้ำเงินเนวีซึ่งระบุไว้ใน IS1 ส่วน 1931 CIE Colour Specifications ประกอบอิลลูมิแนนท์ C[3] สีของนำเงินเนวีปรากฏในมาตรฐาน IS:1803–1973[3]
สี | X | Y | Z | ความสว่าง |
---|---|---|---|---|
สีฝรั่นอินเดีย (เกสารี) | 0.538 | 0.360 | 0.102 | 21.5 |
สีขาว | 0.313 | 0.319 | 0.368 | 72.6 |
สีเขียวอินเดีย | 0.288 | 0.395 | 0.317 | 8.9 |
ข้อมูลในตารางนี้ใช้ระบบ ซีไออี 1931 ค่าประมาณของสีในระบบ RGB ที่ยอมรับทั่วไปได้แก่สีฝรั่นอินเดีย #FF9933, ขาว #FFFFFF, เขียวอินเดีย #138808, น้ำเงินเนวี #000080[6] ค่าแพนโทนใกล้เคียงสุคือ 130 U, White, 2258 C และ 2735 C
สี |
ส้ม (ฝรั่น) | ขาว | เขียว | น้ำเงิน |
---|---|---|---|---|
แพนโทน | 130 U | White | 258 C | 2735 C |
CMYK | 0-40-80-0 | 0-0-0-0 | 86-0-94-47 | 100-100-0-50 |
HEX | #FF9933 | #FFFFFF | #138808 | #000080 |
RGB | 255-153-51 | 255-255-255 | 19-136-8 | 0-0-128 |
สัญลักษณ์
แก้มหาตมะ คานธีเสนอธงต่อคองเกรสแห่งชาติครั้งแรกในปี 1921 โดยเป็นผลงานออกแบบของปิงคาลี เวนกัยยะ โดยตรงกลางเป็นรูปเครื่องปั่นด้ายแบบท้องถิ่น อันเป็นสัญลักษณ์ถึงเป้าหมายของคานธีในการสร้างอินเดียที่พึ่งพาตนเองได้โดยการทอผ้าใช้เอง อยู่ระหว่างแถบสีแดงสื่อถึงชาวฮินดู และแถบสีเขียวสื่อถึงชาวมุสลิม ต่อมาได้ถูกปรับโดยใช้สีฝรั่นแทนที่สีแดง และเพิ่มสีขาวเข้าไปตรงกลางเพื่อแทนชุมชนศาสนิกชนอื่น ๆ เช่นเดียวกับเพื่อเป็นสัญลักษณ์ถึงสันติภาพระหว่างศาสนิก ในภายหลังได้มีการปรับแต่งความหมายของสีเพื่อไม่ให้ธงชาติมีลักษณะขอบการแบ่งศาสนา (sectarianism) โดยความกล้าหาญและการเสียสละ, สันติและความจริง, ศรัทธาและความรอบคอบ ตามลำดับ[7]
ดูเพิ่ม
แก้หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Flag Code of India". Ministry of Home Affairs, Government of India. 25 January 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2006. สืบค้นเมื่อ 11 October 2006.
- ↑ "IS 1 (1968): Specification for The National Flag of India (Cotton Khadi, PDF version)" (PDF). Government of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 October 2016. สืบค้นเมื่อ 9 October 2016.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 Bureau of Indian Standards (1968). IS 1 : 1968 Specification for the national flag of India (cotton khadi). Government of India. สืบค้นเมื่อ 23 July 2012.
- ↑ 4.0 4.1 Bureau of Indian Standards (1979). IS 1 : 1968 Specification for the national flag of India (cotton khadi), Amendment 2. Government of India.
- ↑ 5.0 5.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อCode2002
- ↑ Wikipedia articles for the respective colour names
- ↑ "Flag of India". Encyclopædia Britannica. 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2008. สืบค้นเมื่อ 2 July 2009.
บรรณานุกรม
แก้- Virmani, Arundhati (2008). A National Flag for India. Rituals, Nationalism and the Politics of Sentiment. Delhi, Permanent Black. pp. 356 p. ISBN 978-81-7824-232-3.
- Virmani, Arundhati (August 1999). "National Symbols under Colonial Domination: The Nationalization of the Indian Flag, March–August 1923". Past & Present. 164 (164): 169–197. doi:10.1093/past/164.1.169. JSTOR 651278..
- Roy, Srirupa (August 2006). "A Symbol of Freedom: The Indian Flag and the Transformations of Nationalism, 1906–". Journal of Asian Studies. 65 (3). ISSN 0021-9118. OCLC 37893507.
- Jha, Sadan (25 October 2008). "The Indian National Flag as a site of daily plebiscite". Economic and Political Weekly: 102–111. ISSN 0012-9976. OCLC 1567377..
- "Indian Standards" (PDF). Bureau of Indian Standards. สืบค้นเมื่อ 1 July 2005.
- "India". Flags of the World. สืบค้นเมื่อ 30 June 2005.
- "India: Historical Flags". Flags of the World. สืบค้นเมื่อ 30 June 2005.
- "Flying the real tricolour". Rediff.com. สืบค้นเมื่อ 1 July 2005.
- "My Flag, My Country". Rediff.com. สืบค้นเมื่อ 1 July 2005.
- Royle, Trevor (1997). The Last Days of the Raj. John Murray. p. 217. ISBN 978-0-7195-5686-9.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- "National Flag". National Portal of India. Government of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2010. สืบค้นเมื่อ 8 February 2010.
- "History of Indian Tricolour". National Portal of India. Government of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 August 2010. สืบค้นเมื่อ 15 August 2010.
- "Flag Code of India" (PDF). Ministry of Home Affairs (India). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 19 October 2017. สืบค้นเมื่อ 26 July 2016.
- India ที่ Flags of the World (อังกฤษ)