แห้วทรงกระเทียม
แห้วจีน หรือ แห้วทรงกระเทียม (อังกฤษ: Ground chesnut; ชื่อวิทยาศาสตร์: Eleocharis dulcis) เป็นพืชวงศ์กกและเป็นพืชหลายฤดู เป็นพืชกึ่งพืชน้ำ มีเหง้าใต้ดิน เหง้าสั้นมีไหลยาว หัวกลมแบนเกิดในส่วนปลายไหล สีน้ำตาลหรือสีดำ ขึ้นเป็นกอ ลำต้นแข็งแรง ลำต้นตรง กลม ใบย่อส่วนเหลือเพียงโคนกาบหุ้มไม่มีแผ่นใบ สีน้ำตาลแดงหรือสีม่วง ยาว 15-20 เซนติเมตร ช่อดอกเดี่ยวเป็นช่อเชิงลด ดอกช่อยาว 1.5 -3.0 เซนติเมตร ดอกย่อยเป็นแบบ spike ยาว 2-5 เซนติเมตร มีริ้วประดับเป็นเยื่อบางๆ กลีบดอกคล้ายเส้นด้ายสีขาวหรือสีน้ำตาล ผลเป็นผลแห้งเมล็ดล่อน สีเหลืองมันจนถึงสีน้ำตาล ขยายพันธุ์ด้วยไหล หน่อ และเมล็ด ชอบที่ชื้นแฉะ พบในพื้นที่ลุ่มที่รกร้าง หนองน้ำและนาข้าว กระจายพันธุ์ทั่วประเทศไทย
แห้วทรงกระเทียม | |
---|---|
ภาพวาด ป. ค.ศ.1880[1] | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophytes |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงเดี่ยว Monocots |
เคลด: | Commelinids Commelinids |
อันดับ: | อันดับหญ้า Poales |
วงศ์: | วงศ์กก Cyperaceae |
สกุล: | Eleocharis Eleocharis (Burm.f.) Trin. ex Hensch. |
สปีชีส์: | Eleocharis dulcis |
ชื่อทวินาม | |
Eleocharis dulcis (Burm.f.) Trin. ex Hensch. | |
ชื่อพ้อง | |
|
กระจายพันธุ์ในเขตร้อนของโลกเก่า ตั้งแต่แอฟริกาตะวันตก มาดากัสการ์ อินเดีย จีน ญี่ปุ่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก มีทั้งพันธุ์ป่าและพันธุ์ปลูก โดยพันธุ์ป่าหัวขนาดเล็ก ค่อนข้างดำ พันธุ์ปลูกหัวใหญ่สีออกม่วงหรือน้ำตาล แห้วใช้ปรุงอาหารได้หลายอย่าง ทั้งในจีน อินโดจีน ไทย และประเทศอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำมารับประทานเป็นของหวาน หัวขนาดใหญ่นิยมรับประทานสด หัวขนาดเล็กใช้ผลิตแป้ง ในฟิลิปปินส์ใช้ทำข้าวเกรียบ ลำต้นใช้สานเสื่อหรือเป็นอาหารสัตว์
อ้างอิง
แก้- ↑ Francisco Manuel Blanco (O.S.A.) (c. 1880s). Flora de Filipinas [...] Gran edicion [...] [Atlas I].
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Porcher Michel H. et al. 1995 - 2020, Sorting Eleocharis Names. Multilingual Multiscript Plant Name Database - A Work in Progress. Institute for Land & Food Resources. The University of Melbourne (2004)
- Karnjanatawe, Karnjana (28 May 2020). "Step into the mud". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 28 May 2020.
- Noda, K., Teerawatsakul, M., Prakongvongs, C., Chaiwiratnukul, L.1994. Major weed in Thailand. Ministry of Agriculture and cooperative
- พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 9: พืชให้คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่เมล็ด. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 130 - 132