สันนิบาตฮันเซอ
ฮันเซอ (เยอรมัน: Hanse) หรือ ฮันซา (เยอรมัน: Hansa) มีความหมายว่า สันนิบาต ในที่นี้หมายถึงสันนิบาตการค้า เป็นการรวมกลุ่มเพื่อผลประโยชน์ด้านการค้าและเศรษฐกิจของแว่นแคว้นเยอรมันทางตอนเหนือ และได้ขยายอิทธิพลตามชายฝั่งทะเลของยุโรปเหนือตั้งแต่ทะเลบอลติกไปจนถึงทะเลเหนือ ตลอดจนบนภาคพื้นทวีป นครสันนิบาตฮันเซอมีระบบกฎหมายและการป้องกันภัยเป็นของตน ตลอดจนมีระบบความช่วยเหลือระหว่างกันและกัน
สันนิบาตฮันซาเริ่มก่อตัวขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่อแรกก่อตั้งใช้ชื่อว่า "สมาพันธ์พ่อค้าฮันเซอ" เป็นความร่วมมือระหว่างเมืองลือเบ็คและฮัมบวร์คเพื่อค้าขายปลาเฮร์ริงกับเกลือ ต่อมาในปีค.ศ. 1241 สมาพันธ์พ่อค้าเข้าผูกขาดเส้นทางค้าเกลือที่เมืองลือเนอบวร์ค[1] สมาพันธ์พ่อค้าระหว่างสองเมืองนี้สร้างประโยชน์และอิทธิพลมหาศาล จนพ่อค้าจากเมืองโคโลญและดันท์ซิชขอเข้าร่วมด้วย และมีอีกหลายเมืองตามมา
เมื่อสันนิบาตมีสมาชิกเพิ่มมากขึ้นทั้งที่เป็นเมืองเยอรมันและเมืองฝั่งยุโรปเหนือ จึงมีการจัดระเบียบการปกครองเพื่อความเป็นเอกภาพ นโยบายของสันนิบาตถูกกำหนดจากเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมซึ่งประกอบด้วยตัวแทนพ่อค้าจากเมืองต่างๆ เมืองที่เข้าร่วมสันนิบาตต้องใช้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของลือเบ็คและใช้ภาษาเยอรมันเป็นภาษากลางในการติดต่อสื่อสาร
อ้างอิง
แก้- ↑ hilipe Dollinger, The German Hansa, (Stanford: Stanford University Press, 1964), p. 37.
- P. Dollinger The German Hansa (1970; repr.1999).
- E. Gee Nash. The Hansa. 1929 (Reprint. 1995 Edition, Barnes and Noble)